ประเพณีไทย ก่อเจดีย์ทราย




ประเพณีก่อเจดีย์ทราย เป็นประเพณีสำคัญประเพณีหนึ่งในช่วงเทศกาลของชาวไทย ประเพณีนี้มีที่มาจากหลักฐานใน พระไตรปิฎก ที่กล่าวพรรณาถึงอานิสงส์ที่พระโพธิสัตว์ก่อพระเจดีย์ทรายเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
ในประเทศไทยนั้น ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายถือว่าเป็นประเพณีหนึ่งที่มีที่มาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรง โดยคนไทยผูกโยงประเพณีนี้เข้ากับคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนา มีการก่อพระเจดีย์ทรายถวายวัดเพื่อนำเศษดินทรายที่ติดเท้าออกจากวัดไปมาคืนวัดในรูปพระเจดีย์ทราย และเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาให้เป็นกุศลอานิสงส์ และนอกจากประเพณีเพื่อเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังเป็นกุศโลบายของคนในอดีตให้มีการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อร่วมกันจัดประเพณีรื่นเริงเป็นการสังสรรค์สร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย
ปัจจุบันประเพณีนี้พบเพียงในประเทศไทยและลาวเท่านั้น โดยจัดในช่วงเทศกาลสำคัญเป็นการเฉลิมฉลองการเปลี่ยนศักราช เช่นในวันตรุษและวันสงกรานต์ เป็นต้น โดยในบางหมู่บ้านอาจเป็นประเพณีบุญคูนลาน บุญขวัญข้าว (ก่อเจดีย์ข้าวถวายเป็นพุทธบูชา)  ก็อาจนับว่าเป็นประเพณีก่อเจดีย์ทรายได้เช่นเดียวกัน เพราะไม่ได้สร้างเป็นพุทธศาสนสถานถาวรวัตถุใหญ่โต แต่เป็นเพียงเจดีย์ชั่วคราวเพื่อมุ่งถวายเป็นพุทธบูชาในการประเพณีหนึ่ง ๆ เท่านั้น
การทำขวัญข้าวถือเป็นประเพณีหนึ่งของชาวบ้านหนองขาว ที่อยู่ในการทำนา คือเมื่อข้าวเริ่มตั้งท้อง ชาวบ้านจะเตรียมทำขวัญข้าว เพราะเชื่อว่าข้าวจะต้องแพ้ท้องเหมือนกับคน และถ้าได้กินอาหารดีๆ จะงอกงาม ออกรวงได้ดี จึงนำอาหารคาว ผลไม้ที่รสเปรี้ยว หมาก พลู น้ำ น้ำหอม แป้งหอม ผ้านุ่ง ผ้าสไบ หวี สร้อย ไปทำขวัญข้าววันศุกร์ โดยใช้ไม้รวกหรือไม้ไผ่หลาวกลมๆ ส่วนปลายไม้ผูกด้วยผ้าสีต่างๆ อย่างน้อยสามสี ตรงกลางใช้ใบมะพร้าวสานเป็นวงกลมสำหรับใส่ของได้เรียกว่า "ยุ้งข้าว" นำไปยังทุ่งนา แล้วทำพิธีทำขวัญข้าว โดยรวบข้าว ๓ กอมัดรวมกันไว้ นำน้ำหอม แป้งหอมทาที่กอข้าว นุ้งผ้า หวีผม ห่มสไบ ใส่สร้อย นำไม้ไผ่ที่ผูกด้วยยุ้งข้าวและผ้าสีปักให้เรียบร้อย แล้วจุดธูป บอกกล่าวโดยพูดว่า "แม่โพสพ แม่โพศรี แม่จันทร์เทวี แม่ศรีโสภา มาแม่มา เชิญมาเสวยเครื่องกระยาบวช ของเปรี้ยว ของหวาน ข้าวพล่า ปลายำ แพ้ทองแพ้ไส้ ออกง่ายออกดาย" เสร็จแล้วนั่งรอสักครู่ จึงนำอาหารคาวหวานและผลไม้เปรี้ยวใส่ในยุ้งข้าวให้พูนจนล้น ส่วนที่เหลือก็จะใช้ใบตองปูและกองไว้ในบริเวณนั้น และนำผ้านุ่ง ผ้าสไบ สร้อย เก็บกลับมาบ้านเป็นเสร็จพิธี เชื่อว่าเมื่อทำขวัญข้าวแล้วข้าวจะงอกงามออกรวงได้ผลผลิตเต็มยุ้งเต็มฉาง
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}