แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีภาคเหนือ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีภาคเหนือ แสดงบทความทั้งหมด

ประเพณีไทย พิธีสืบชะตาแม่น้ำ


ในยามที่เห็นว่าแม่น้ำกำลังเปลี่ยนแปลงไป เช่น น้ำแห้ง น้ำแล้ง หรือแม้แต่ปลาลดลง ชาวบ้านก็จะจัดพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ ชาวบ้านเชื่อว่าการสืบชะตาหมายถึง การต่ออายุให้ยืนยาวออกไป

ในกรณีของทางภาคเหนือนั้น การต่อชะตามีหลายอย่าง และนิยมทำในหลายกรณี ชาวบ้านบางกลุ่มที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับแม่น้ำ ชาวบ้านก็นิยมจัดพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ เพื่อต่ออายุ และความเป็นสิริมงคลจะได้เกิดขึ้นกับแม่น้ำรวมทั้งผู้คนในชุมชนไปด้วย การสืบชะตาให้กับแม่น้ำจึงเป็นการแสดงความศรัทธา ความเคารพ และเหนือสิ่งอื่นใดคือการร่วมกันแสดงออกถึงความห่วงใยต่อแม่น้ำ

พิธีสืบชะตาแม่น้ำประยุกต์มาจากพิธีสืบชะตาคนและสืบชะตาหมู่บ้าน มีความสำคัญดังนี้ 
๑. ก่อให้เกิดความร่วมมือ ความสามัคคีและช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในชุมชน
๒. ทำให้เกิดความเลื่อมใส เคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องรักษาแม่น้ำ
๓. เกิดความรักหวงแหนและสำนึกในการดูแลรักษาแม่น้ำ ตลอดจนต้นน้ำลำธาร



พิธีกรรม
๑. ก่อนทำพิธีสืบชะตาแม่น้ำ ชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกัน ขุดลอกลำคลองและแหล่งน้ำ โดยใช้เครื่องไม้เครื่องมือพื้นบ้าน
๒. ในวันกระทำพิธีจะมีการบวงสรวงเทวดา เพื่อเป็นการขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาแม่น้ำ
๓. เครื่องสืบชะตาประกอบด้วย กระโจมไม้สามขา ท่อนแสก เรียกว่าสะพานเงิน สะพานทอง อีกท่อนหนึ่ง จะผูกติดด้วยไม้ค้ำท่อนเล็ก ๆ จำนวนพอประมาณแต่ลงท้ายด้วยเลข ๙ เครื่องประกอบอื่น ๆ ได้แก่กระบอกน้ำ หน่อกล้วย อ้อย ลูกมะพร้าว หม้อเงิน หม้อทอง เทียนถุง เมี้ยง บุหรี่ หมากพลู ข้าวตอกดอกไม้รวมกันในด้ง บทสวดที่ใช้ในการสืบชะตาแม่น้ำ คือบทสืบชะตาหลวง (อินทชาตา, ชินบัญชร อัฏฐอุณหัสสและธรรมสาลาวิจารสูตร)


อย่างไรก็ดีการสืบชะตาถ้าพูดง่ายๆ ก็คือการต่ออายุให้มีอายุยืนยาวขึ้นนั่นเอง เราคงเคยได้ยินหรือคุ้นเคยกับคำพูด  สืบชะตาเมือง    

จากโหร หรือนักโหราศาสตร์ในช่วงบ้านเมืองเกิดวิกฤต  โดยพิธีสืบชะตาแม่น้ำนี้  จัดขึ้นเพื่อเป็นการต่อชีวิตให้กับแม่น้ำ  และเป็นการขอขมาต่อแม่น้ำ สายน้ำที่มีความสำคัญต่อสรรพสิ่งทั้งมวลรวมถึงผู้คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำและเป็นการกระตุ้นเตือนให้คนที่อาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำมีจิตสำนึกช่วยกันรักษาสายน้ำแห่งนี้ให้ยืนยาวอย่างยั่งยืน

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
บทความ : อ. สิริชัย พยากรณ์

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย แห่สลุงหลวง

ประวัติประเพณี
  ในเทศกาลสงกรานต์ คือในวันที่ 12 เมษายน ชาวลำปางจะจัดขบวนแห่ที่เรียกว่า "ประเพณีแห่สลุงหลวงจังหวัดลำปาง" ( สลุงหลวง แปลอีกความหมายว่าขันเงินใบใหญ่
พิธีการคือนำน้ำจากแหล่งน้ำสำคัญไปสรงพระเจ้าแก้วมรกตดอนเต้า วัดพระธาตุลำปางหลวง ที่อัญเชิญมาให้ประชาชนได้ร่วมกันสรงน้ำในช่วงวันขึ้นปีใหม่ไทย

  การสรงน้ำพระที่ถูกต้องตามประเพณีไทย คือใช้วิธีตักน้ำจากสลุงเทสู่ รางริน ซึ่งเป็นทางให้น้ำขมิ้น ส้มป่อย น้ำอบ น้ำหอม ไหลไปสรงองค์พระ อันถือว่าเป็นการสรงน้ำที่ถูกต้องตามประเพณี น้ำที่สรงองค์พระจะไหลไปสู่ภาชนธ และถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวล้านนานำมาประพรมศีรษะ ร่างกายหรือที่อยู่อาศัยเพื่อควาเป็นสิริมงคล ร่มเย็นเป็นสุขแก่ชีวิตและครอบครัวของตนสืบไป
ชาวลำปาง ยึดถือประเพณีสรงน้ำองค์พระแก้วมรกตดอนเต้าสืบมาตลอด การจัดขบวนแห่สลุงหลวง เพื่อรับน้ำขมิ้น ส้มป่อย น้ำอบ น้ำหอม ถือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมแต่โบราณ

พิธีกรรม
  ขบวนแห่สลุงเริ่มจากการแห่ตุง(ธง) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่เต็มไปด้วยสีสันในขบวนแห่ตุงแต่ละผืน มีความหมายในตัว มีทั้งตุงสีชมพูอ่อน ชมพูเข้ม สีส้ม สีเหลือง เขียวสลับลายชมพูและฟ้า ผู้แห่ในขบวนส่วนใหญ่ประกอบด้วยชายฉกรรจ์ โพกผ้าขาวไว้บนศีรษะ เปลือยกายท่อนบนส่วนท่านล่างบางคนนุ่งกางเกงขาสั้นสีแดงบ้าน สีดำบ้าง ในขณะทีบางคนนุ่งกางเกงขายาวสีขาว มีผู้ร่วมขบวนแห่นับร้อยคนแลดูตื่นตาตื่นใจสำหรับผู้พบเห็น


  ต่อจากขบวนตุง ก็เป็นขบวนเครื่องสายและเครื่องเป่าที่คอยประโคมให้ขบวนแห่ครบเครื่อง ทั้งสีสันอันสดสวย และเสียงเครื่องดนตรีขับกล่อมที่สร้างมนต์ตราตรึงให้ผู้พบเห็นได้เข้าถึงพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ได้ง่ายขึ้น

  ต่อจากขบวนเครื่องสาย ก็เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในขบวนแห่ คือ ชาวลำปางจะอาราธนาพระเจ้า แก้วมรกตและพระเจ้าแก่นจันทร์ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะบูชาอย่างสูงของชาวลำปางร่วมในงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ของเมืองลำปาง เพื่อให้ผู้คนชาวลำปางได้ร่วมกันสรงน้ำพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ จากสลุงหลวงเงินสู่ลำรางสรงน้ำต่อไปตามลำดับ

  ขบวนเครื่องสักการะจะมีส่วนประกอบหลักๆได้แก่ สุ่มดอก หรือต้นดอก หรือหลักบายศรี เป็นเครื่องสักการบูชาประเภทหนึ่ง ที่ใช้ใบไม้ ดอกไม้ ตกแต่งคล้ายกับบายศรี ทำรูปลักษณะเหมือนกรวย หรือเป็นพุ่ม หมากสุ่ม คือ การนำผลหมากที่ผ่าซีกแล้วเสียบร้อยด้วยปอหรือด้ายผูกไว้เป็นพวงตากแห้งเก็บไว้กิน 


ซึ่งคนทางเหนือเรียก “หมากไหม” มาปักคลุมโครงไม้หรือโครงเหล็กที่ทำเป็นต้นพุ่มไว้ หมากเบ็ง มีลักษณะเดียวกับหมากสุ่ม แต่ใช้ผลหมากดิบหรือหมากสุกทั้งลูกแทน มีจำนวน ๒๔ ลูก ผูกติดตรึงโยงไว้กับโครงไม้หรือโครงเหล็กที่ทำเป็นพุ่ม ลักษณะการผูกโยงตรึงกันนี้ คนเหนือเรียกว่า “เบ็ง” จึงเป็นที่มาของชื่อต้นพุ่มชนิดนี้ ต้นเทียน มีการนำเทียนเล่มเล็กๆ มาผูกห้อยกับโครง เพื่อให้พระสงฆ์เก็บนำไปใช้สอยได้เลย สะดวกกว่าต้นผึ้งที่ต้องสะสมไปหล่อเทียนเอง


เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
อ้างอิงข้อมูลจาก lampangclub.com/board
ขอบคุณภาพจาก อีเมล์ psuka49@hotmail.com

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย ปอยหลวงของชาวล้านนา


  งานบุญประเพณีไทยของชาวล้านนาไม่ว่าจะเป็นงานน้อยงานใหญ่ ก็ล้วนแล้วมาจากพลังศรัทธาของชาวบ้านทั้งสิ้น เช่นเดียวกับงานบุญปอยหลวง วิถีการดำรงชีวิตของผู้คนแต่ละท้องถิ่นบ่งบอกถึงวัฒนธรรม ประเพณีที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมา จนกลายเป็นแบบแผนที่คนรุ่นหลังจำต้องยึดถือปฏิบัติ และดำรงรักษาไว้

  ความเชื่อของคนล้านนาส่วนใหญ่มักจะสอดคล้องกับหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา อาจเป็นเพราะว่าศาสนา ได้เข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนล้านนามาช้านาน จะเห็นได้จากการร่วมแรงร่วมใจในการจัดงานบุญประเพณีนั้น สร้างความสามัคคี และพลังศรัทธาอันมหาศาลต่อพระพุทธศาสนา ดังความเชื่อที่ว่า อานิสงส์ของการสร้างกุศลผลบุญ จะส่งผลให้ดวงวิญญาณของผู้ทำบุญได้ขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์ ดังนั้น ในงานบุญประเพณีของชาวล้านนา ไม่ว่าจะเป็นงานน้อย งานใหญ่ ก็ล้วนแล้วมาจากพลังศรัทธาของชาวบ้านทั้งสิ้น เช่นเดียวกับงานบุญปอยหลวง


  คำว่า "ปอยหลวง" ในภาษาล้านนา หมายถึง การจัดงานเฉลิมฉลองศาสนสถาน ที่สร้างขึ้นจากศรัทธาของชาวบ้าน เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลา กุฏิ หรือ กำแพงวัด การที่เรียกว่า "ปอยหลวง" เพราะเป็นงานใหญ่ที่ต้องอาศัยความร่วมมือ จากชาวบ้านเป็นจำนวนมาก ในงานจะมีกิจกรรมต่างๆ ทั้งพิธีทางศาสนา และมหรสพบันเทิง

  ก่อนที่จะถึงวันงานประมาณ 2-3 วัน ชาวบ้านจะมีการทานตุง ซึ่งทอด้วยฝ้ายหลากสีสัน ประดับด้วยดิ้น สีเงิน สีทอง บางผืนทอขึ้นเป็นสีธงชาติไทย หรือปักเป็นรูปนักษัตร 12 ราศี ยาวประมาณ 2 เมตร นำไปติดไว้กับปลายไม้ไผ่ ศรัทธาชาวบ้านจะนำตุงของแต่ละบ้านไปปักไว้ตามถนนระหว่างหมู่บ้าน ตุงหลากสีสันที่เรียงรายอย่างสวยงาม ตลอดสองข้างทางของหมู่บ้านนั้น จะเป็นสัญลักษณ์ให้ผู้คนที่ผ่านไปมาได้ทราบว่า วัดแห่งนั้นกำลังจะมีงานปอยหลวง


งานประเพณีปอยหลวงของชาวล้านนา นิยมจัดขึ้น 2-3 วัน   วันแรก เรียกว่า "วันแต่งดา"  หรือ  "วันห้างดา"   วันที่ 2  เรียกว่า "วันกิน"   ส่วนวันสุดท้าย เรียกว่า  "วันตาน"  หรือ  "วันครัวตานเข้า"

 วันแต่งดา  คือ  วันที่มีการเตรียมอาหารคาวหวาน ผลไม้ รวมทั้งข้าวของ เครื่องใช้ที่จะนำไปถวายวัด
ใส่ใน "ครัวตาน" ซึ่งสร้างขึ้นจากไม้ เป็นรูปสี่เหลี่ยมสำหรับใช้คนหาม  ด้านบนมียอดแหลม  ทำมาจากใบคา สำหรับปักเงิน หรือสิ่งของเครื่องใช้ไม้สอยสำหรับพระภิกษุ สามเณร  เช่น  แป้ง สบู่  ผงซักฟอก  แปรงสีฟัน  สมุด  ดินสอ  ปากกา  เพื่อนำไปถวายให้กับวัด   ส่วนยอดของครัวตานแต่ละบ้านจะไม่เหมือนกัน  บางบ้านทำเป็นรูปใบโพธิ์  นำถ้วย  ช้อน 
จาน  ชามมาประดับ    บางบ้านนำโต๊ะ เก้าอี้ สำหรับถวายให้กับวัด  ซึ่งแล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบ้าน   ถ้าต้นครัวตานของใครสวยงาม ก็จะเป็นที่ชื่นชอบของบรรดาผู้มาร่วมงาน   สิ่งสำคัญของครัวตาน คือ ยอด มักนิยมนำธนบัตรมาหนีบไว้กับไม้ไผ่  แล้วนำมาปักประดับตามยอดเป็นช่อชั้นอย่างสวยงาม

  เมื่อถึงวันกิน จะมีบรรดาญาติสนิท มิตรสหาย แขกผู้มีเกียรติ ซึ่งเจ้าของบ้านได้บอกกล่าวให้มาร่วมงาน
ก็จะมีการยกสำรับกับข้าว เหล้ายาปลาปิ้งมาเลี้ยง ซึ่งวันนี้ถือว่าเป็นวันที่สนุกสนาน รุ่งขึ้นอีกวันถือเป็นวันตาน มีการแห่ต้นครัวตานของแต่ละบ้านไปวัด บรรยากาศในวันนี้ก็ยิ่งสนุกสนานคึกคัก ด้วยว่าแต่ละบ้านจะมีมหรสพ แตรวง ดนตรีพื้นบ้านนำหน้าครัวตาน ญาติพี่น้องก็จะออกมาร่วมรำวงฟ้อนรำ


  ขณะเดียวกันบรรยากาศภายในวัดก็ดูคึกคักไม่แพ้กัน มีทั้งคนเฒ่า หนุ่มสาว เด็กเล็ก พ่อค้าแม่ค้านำสินค้ามาจำหน่าย
รวมถึงศรัทธาญาติโยม ตลอดจนพระสงฆ์องค์เจ้า ที่มาร่วมงานตามคำเชิญของวัดเจ้าภาพ พระภิกษุสงฆ์ที่อาราธนามาเป็นเจ้าพร หรือ ตุ๊เจ้าปั๋นปอน จะเป็นพระที่มีน้ำเสียงไพเราะ มีโวหารที่สละสลวย เพราะต้องให้ศีล ให้พรแก่ศรัทธาที่นำครัวตานมาถวาย เจ้าพรอาจจะพรรณนาถึงความงดงามของครัวตานนั้นๆ เพื่อให้ผู้ที่นำครัวตานมาถวายเกิดความปลาบปลื้มใจ

  ส่วนบริเวณใกล้ๆ วัดจะมีการแสดงมหรสพพื้นบ้าน เช่น ซอ ลิเก ให้กับผู้มาร่วมงานชม งานปอยหลวงจะดำเนินไป
ทั้งกลางวัน และกลางคืน เป็นเวลาติดต่อกันหลายวัน ในบางหมู่บ้าน เวลากลางคืนจะมีคนมาเที่ยวงานเป็นจำนวนมาก เพราะกลางวันอาจติดภารกิจ การงาน ประการหนึ่งยังเป็นโอกาสที่หนุ่มสาวจะได้พบปะพูดคุยกันอีกด้วย
ประเพณีปอยหลวงของชาวล้านนา ถือว่าเป็นงานบุญถวายทานที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งนานปีจะมีสักครั้ง ดังนั้นงานประเพณี
ปอยหลวง จึงเป็นงานที่ทุกคนปลาบปลื้มภูมิใจ บางคนชั่วอายุหนึ่งอาจมีโอกาสได้เป็นเจ้าภาพในงานปอยหลวงเพียงครั้ง หรือสองครั้งเท่านั้น เพราะงานปอยหลวง จะจัดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการก่อสร้างศาสนสถานขึ้นเท่านั้น 

ขอบคุณข้อมูลและภาพสวยๆ จาก http://student.nu.ac.th/chollathit

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย ตานก๋วยสลาก ภาคเหนือ

 

วัน เดือน ปีที่จัดกิจกรรมนิยมปฏิบัติกันตั้งแต่เดือน ๑๒ เหนือ ถึงเดือนยี่เหนือ หรือตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคมของทุกปี
สถานที่จัดกิจกรรม- วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมืองน่าน
- วัดบุญยืน ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา
- วัดพงษ์ ตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาหมื่น
- วัดนาทะนุง ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น
- วัดปิงหลวง ตำบลปิงหลวง อำเภอนาหมื่น

ประวัติความเป็นมา 

ตานก๋วยสลาก ตานสลาก กิ๋นข้าวสลาก กิ๋นก๋วยสลากหรือกิ๋นสลาก  ล้วนแต่เป็นภาษาถิ่นของชาวล้านนาที่มักมีการเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น แต่ความหมายนั้นเหมือนกันโดยหลักการ อาจจะแตกต่างกันไปบ้านในเรื่องรายละเอียด ถ้าเป็นภาษาไทยเรียกว่า “ สลากภัต”ของชาวล้านนา  คือ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ หรือสังฆทาน มีประวัติความเป็นมาเล่ากันว่า “ ครั้งพุทธกาลพระบรมโพธิสัตว์พร้อมพระสาวกำด้เดินทางจาริกแสวงบุญ เผยแพร่หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา ตลอดระยะเวลาได้มีศรัทธา ญาติโยมนำอาหารคาวหวานมาถวาย ในบรรดาญาติโยมเหล่านั้น แต่ละคนมีฐานะแตกต่างกัน คนที่มีฐานะดีก็นำอาหารอย่าดี จำนวนมากมาถวาย ส่วนคนที่มีฐานะยากจน แต่มีจิตศรัทธาใคร่ทำบุญก็นำอาหารเท่าที่หามาได้มาทำบุญ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในหมู่สงฆ์ที่รับถวาย  พระพุทธองค์พิจารณาเห็นดังนั้น จึงบัญญัติวิธีการให้พระสงฆ์จับสลารับถวายอาหารจากญาติโยม ซึ่งเป็นวิธีการที่ยุติธรรม และความพอใจให้แก่ทุกฝ่าย และได้ปฏิบัติสืบทอดกันมา

ความมุ่งหมายของประเพณี 
ประเพณีตานก๋วยสลาก ปฏิบัติในช่วงที่ชาวบ้านได้ทำนากันเสร็จแล้ว หยุดพักผ่อน พระสงฆ์จำพรรษาอยู่วัดไม่ได้ไปไหนและบวกกับในช่วงเวลานี้มีผลไม้สุก เช่นลำไย พระสงฆ์ ส้มโอ เมื่อต้นข้าวในนาเริ่มเขียวขจี ชาวนาที่มีฐานะไม่ค่อยดีการดำรงชีวิตเริ่มขัดสน เมื่อข้าวในยุ้งหมดก่อนฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะมาถึง ดังนั้นการตานก๋วยสลากในช่วงนี้ จึงเท่ากับได้สงเคราะห์คนยาก คนจนเป็นสังฆทานได้กุศลเอง 

 

ขั้นตอนปฏิบัติงานหรือพิธีกรรม
วันดา  หรือวันสุกดิบ หรือวันเตรียม ก่อนจะถึงวัดตานก๋วยสลาก ๑ วัน เรียกว่าวันดา  หรือวันสุกดิบ วันนี้จะเป็นวันที่ชาวบ้านได้จัดเตรียมข้าวของไม่ว่าจะเป็นของกินหรือของใช้ต่างๆ  เริ่มจากเตรียมก๋วยสลาก บรรจุลงในก๋วย  (ชะลอมสานจากไม้ไผ่ขนาดเล็ก ) แล้วนำอาหารคาวหวาน อาหารแห้งและของใช้ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต อาทิ ข้าวเปลือก ข้าวสาร พริกแห้ง หอม กระเทียม เกลือ  กะปิ   น้ำปลา  หมาก พลู น้ำดื่ม ขนม ข้าวต้ม  กล้วย ส้ม สมุด  ดินสอ  สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน และยารักษาโรค ที่จำเป็น ฯลฯ   เท่าที่หาได้พร้อมอาหารคาว หวาน และข้าวสุกที่พระสงฆ์จะนำไปฉัน  สำหรับจะนำมาจัดดาใส่ก๋วยสลาก และวันนี้มักจะมีญาติมิตรสหาย ที่อยู่ต่างบ้านมาร่วมจัดดา สลากด้วย ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีได้ทำบุญร่วมกัน ผู้ชายจะเป็นคนสานก๋วยสลาก (ตะกร้า) สำหรบที่จะบรรจุใส่ของกินของใช้ต่างๆ ก๋วยจะกรุด้วยใบตองหรือกระดาษก็ได้ เมื่อรวบปากก๋วยมัดเสร็จเรียบร้อย แล้วจะมีไม้ไผ่เหลาเป็นเส้นเล็กๆ สำหรับเสียบเงินที่เป็นธนบัตร เพื่อทำยอดก๋วยสลาก จะมากน้อยบ้างตามแก่กำลังศรัทธาและฐานะ  คณะศรัทธาใดที่จะจัดงานประเพณีสลากจะต้องจัดเตรียมสถานที่ ทำความสะอาดบ้าน จัดเตรียมสถานที่ จัดหาข้าวของใช้ อาหาร หรือวัสดุในการทำอาหารความหวานไว้อย่างเพียงพอ รวมทั้งจัดสถานที่ ที่จะจัดเตรียมก๋วยสลากที่วัด  วันนี้มักเรียกว่า วันเตรียมหรือวันสีเตียน


วันตานสลาก ผู้จะถวายสลากภัต จะนำก๋วยสลาก พร้อมก้านตานสลาก ดอกไม้ ธูปเทียน ไปวางไว้ ณ สถานที่ในบริเวณวัดจัดไว้ เพื่อทำพิธีทางศาสนา และถวายก๋วยสลากแด่พระสงฆ์ตามหมายเลขที่พระสงฆ์จับได้   การตานสลากภัต จะเขียนคำอุทิศถวาย ที่เรียกว่า ด้านสลาก หรือก้านตาน หรือใบสลาก มักทำด้วยกระดาษแข็งหรือใบลาน เพื่อให้พระสงฆ์กรวดน้ำ ในสมัยก่อนนั้น จะนำเอาใบลานมาทำเป็นเส้นสลาก แต่ปัจจุบันจะเขียนลงบนแผ่นกระดาษ เมื่อนำเอาก๋วยสลากไปรวมกันไว้ที่วัดแล้วเส้นสลากจะถูกนำมาบางสันปันส่วนกันไปในหมู่ของพระสงฆ์ที่ได้นิมนต์ จากจากวัดต่างๆ รูปละ ๕ เส้น ๑๐ เส้น บ้างแล้วแต่  กรณีส่วนหนึ่งแบ่งให้วัดที่เป็นเจ้าภาพก่อน จะถึงเวลาเพล พระสงฆ์ก็จะนำเส้นสลากไปอ่าน  โดยเริ่มจากเจ้าอาวาสก่อน  โดยจะมีการเรียกชื่อหาเจ้าของสลากนั้นๆ ว่านั่งอยู่ที่ใด เมื่อพบแล้วจะมีการมีการให้ศีลให้พรหยาดน้ำอุทิศ ส่วนบุญกุศลให้กับผู้ล่วงลับเป็นอันเสร็จพิธี

ก๋วยสลากถูกแกะเอาข้าวปลาอาหาร ออกมากิน จะกลายเป็นอาหารมื้อเที่ยงสำหรับชาวบ้านที่มารอรับ  สำหรับของใช้และอาหารแห้งต่างๆ ชาวล้านจะเป็นเอาไว้ใช้ประโยชน์

ก๋วยสลากจะมี ๒ ลักษณะ 
๑.ก๋วยฉลาก เป็นก๋วยสลากสำหรับที่จะถวายทานไปให้กับผู้ที่ล่วงลับ  ซึ่งไม่เพียงแต่ญาติพี่น้องเท่านั้น อาจจะเป็นเพื่อนสนิทมิตรสหายก็ได้ หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงที่เราเคยรัก และมีคุณต่อเราเมื่อครั้งยังมีชีวิตเช่น  ช้าง  ม้า  วัว ควาย และสุนัข  เป็นต้น  หรือถ้าไม่รู้ว่าจะถวายทานไปให้ใครก็ถวายทานเอาไว้ในภายหน้า

๒.ก๋วยใหญ่ เป็นก๋วยที่จัดทำขึ้นใหญ่เป็นพิเศษ ซึ่งจะบรรจุข้าวของได้มากขึ้น ถวายเป็นมหากุศลสำหรับคนที่มีกำลังศรัทธาและฐานะดี  เป็นพลวปัจจัย นับว่าได้กุศลแรงสิ่งที่นำมาบรรจุใส่ในก๋วยสลาก เพื่อจะนำไปถวาย  ได้แก่ ข้าวสาร บุหรี่ กะปิ  น้ำปลา เกลือ กระเทียม หอม น้ำ ขนม ข้าวต้ม ข้าวนึ่งจิ้นทอด เมี่ยง พริกแห้ง ไม้ขีดไฟเทียนไข สบู่ ยาสีฟัน สมุด แปรงสีฟัน ดินสอ ผลไม้ต่างๆ และที่สำคัญ คือ เงินสำหรับ ที่จะทำยอดของก๋วยสลาก

สลากที่มักจัดทำขึ้นเป็นพิเศษ อีกอย่างหนึ่งคือ  สลากโชค  มักจะเป็นสลากของผู้ที่มีฐานะระดับเศรษฐี (บางคน)  ที่ต้องการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้กับบิดามารดา หรือญาติผู้ใหญ่ที่ได้ล่วงลับ อันเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูรู้คุณคน   สลากโชค มักทำเป็นต้นสลากที่สูงใหญ่สำหรับที่จะนำเอาวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ผูกมัดติดกับต้นสลาก เช่นผ้าห่ม ที่นอนหมอน หม้อนึ่ง ไหข้าว หม้อแกง ถ้วย ชาม ช้อน ร่ม เครื่องนุ่มห่ม อาหารแห้งต่างๆ และเงินธนบัตรชนิดต่างๆ ต้นสลากจะมีการประดับตกแต่งให้สวยงามกว่าสลากธรรมดา ก่อนที่จะนำก๋วยสลากไปรวมกันที่วัด  ต้องเขียนเส้นสลากเสียก่อน ตัวอย่าง เช่น “ ศรัทธาหมายมีนายบุญมีนางคำมา ถวายตานไปหาพ่ออุ้ยตาแม่อุ้ยเฟยผู้ล่วงลับ ขอหื้อไปรอด ไปเถิงจิ่มเต่อ”  เป็นต้น


แหล่งข้อมูล
๑. หนังสือโครงการสืบค้นวัฒนธรรมอำเภอนาหมื่น อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน รวบรวมโดยนายบรรเจิด   ติ๊บตุ้ย  นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ

๒. หนังสือข้อมูลด้านการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมประเพณีอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน(อำเภอเวียงสา)  รวบรวมโดยนางอารีย์วรรณ์ ปันสอน  นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ

บทความดีๆจาก http://www.m-culture.go.th
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย การเลี้ยงขันโตก


  ประเพณีไทยการเลี้ยงขันโตก เป็นประเพณีของชาวเหนือที่นิยมปฏิบัติสืบต่อกันมา ตั้งแต่โบราณ การเลี้ยงแขกโดยการกินข้าวขันโตก ซึ่งอาจมีหลายชื่อทีใช้เรียก ขานกัน เช่น กิ๋นข้าวแลงขันโตก หรือเรียกสั้นๆ ว่า ประเพณี ขันโตก หรือสะโตก 

    ขันโตกเป็นภาชนะที่ทำด้วยไม้ โดยนำมากลึงให้เป็นลักษณะกลมเหมือนถาด ขันโตกขนาดเล็กนั้น จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๔ นิ้ว และขนาดใหญ่ จะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ ๒๐ นิ้ว หรือถ้าเป็น ขันโตกสำหรับ เจ้านายฝ่ายเหนือ หรือคหบดีก็จะดัดแปลงให้หรูหราตามแต่ฐานะ บ้างก็ใช้เงินทำหรือ "ทองกาไหล่" หรือไม่ก็ลงรัก ปิดทอง 

    ในสมัยก่อน ชาวเหนือนิยมรับประทานอาหารกับพื้น เมื่อแม่บ้านทำกับข้าว เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะยกออกมาตั้งโตก โดยในขันโตกนั้นจะมีกับข้าวพร้อม และเมื่อรับประทานอาหารเรียบร้อยแล้วก็ยก ไปเก็บทั้งโตก เป็นการประหยัดเวลา ในการจัดและเก็บ ถือเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวเหนือที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ซึ่งการเลี้ยงขันโตกก็ยังได้รับความนิยมและใช้เลี้ยงรับรองผู้มาเยือนอยู่เสมอๆ 

    จุดมุ่งหมายของการกินข้าว แบบขันโตกที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็ได้มีการพัฒนา มาจากสมัยก่อน โดยถือว่านอกจากจะ เพื่อเป็นการเลี้ยงรับรองแขกที่มาเยือน ให้หรูหรา สมเกียรติ และเพื่อให้เกิดความอบอุ่นประทับใจใน การต้อนรับแล้วยัง ไ้ด้มีการประยุกต์ เอาวิธีการเลี้ยงดูแขกให้มีความหมายลึกซึ้งยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่ม สีสันของการจัดงาน ให้ยิ่งใหญ่ดูวิจิตรพิสดาร เพียบพร้อมไปด้วย บรรยากาศของ เมืองเหนือจริงๆ โดย ประดับประดาเวทีด้วย ดอกไม้ต้นไม้ให้ดูผสมผสานและดู กลมกลืนกันไป การตระเตรียมขั้นตอนการดำเนินงานเลี้ ยงขันโตก เพื่อให้พิธีการ หรูหรา ประณีต และงดงาม เหล่านี้เป็นการสร้างบรรยากาศเลี้ยงรับรองแขกเหรื่อ เพื่อให้ประทับใจ และถือเป็นการให้ ความยกย่องแขกทั้งสิ้น 


    จะเห็นว่า การกินข้าวขันโตกของชาวเหนือนั้น นอกจากจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อ แสดงน้ำใจในการต้อนรับแขก และเป็นการให้เกียรติแก่ผู้มาเยือนแล้วในปัจจุบัน ก็ยังได้มีจุดมุ่งหมายที่แฝงอยู่หลายประการ เช่น บาง ท้องถิ่นก็ได้จัดงานเลี้ยง ขันโตก เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีไทย ในท้องถิ่นของตนเอง เพื่อฟื้นฟูการแต่งกายแบบพื้นเมือง เพื่อการทำอาหารพื้นเมืองเพื่อส่งเสริมการ ท่องเที่ยว ให้ชาวบ้านมีรายได้มีงานทำด้วย บางแห่งก็มีการจัดงาน เลี้ยงขันโตก เพื่อหารายได้สำหรับสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่น 

    งานจะเริ่มจากการร่วมแรงร่วมใจกันตระเตรียมสิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ ตลอด ไปจนสถานที่ โดยจะประดับเวที ฉาก และการแสดงบนเวที สำหรับสถานที่นิยม จัดในที่กลางแจ้ง เช่น สนามหญ้าต่างๆ แล้วนำเสื่อมาปู ส่วนมากเป็นเสื่อยาวๆ จะนั่งกันประมาณ ๕ ถึง ๖ คน มีขันโตกตั้งอยู่ตรงกลาง ในขันโตกส่วนมากก็จะมี อาหารประมาณ ๕ อย่าง ตัวอย่างเช่น แกงอ่อม แคบหมู แกงฮังเล น้ำพริกอ่อง ชิ้นปิ้ง ผักสด และที่ขาดไม่ได้ คือ ข้าวเหนียว หรือที่ชาวเหนือเรียกกันว่า ข้าวนึ่ง ข้าวนึ่งของชาวเหนือ นั้นจะต้องอาศัยทักษะและ ความรู้ในการทำพอสมควร คือ เริ่มจากนำข้าวไปแช่น้ำ เรียกว่า การหม่าข้าวไว้ ๑ คืน ในหม้อข้าวหม่า (หม้อที่ ใช้สำหรับแช่ข้าวเหนียว) ซึ่งก่อนที่จะทำการนึ่งต้องซาวข้าวด้วยการใช้ ซ้าหวด (คือ ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่สำหรับ ใส่ข้าวเหนียวเอาไปล้างน้ำให้สะอาดก่อน ที่จะนำไปนึ่ง) การนึ่งจะต้องใช้ไหข้าวมีฝาปิดมิดชิดให้ข้าวสุกดีขึ้น แล้วยกลงมา นำไปวางในภาชนะที่เรียกว่า กั๊วะข้าว หรือถาด ต้องคอยคนให้ไอน้ำในข้าวระเหย ออกไปบ้าง และคอยระวังไม่ให้ข้าวแฉะ ข้าวแข็ง หรือสุกไม่ทั่วกัน เมื่อข้าวสุก ได้ที่แล้ว ก็นำข้าวไปใส่ กระติ๊บบ้าง หรือที่ทางเหนือเรียกว่า แอ๊บ หรือก่องข้าว ซึ่งนิยมสานด้วย 

    สำหรับงานเลี้ยงข้าวขันโตก จะมีกระติ๊บข้าวนึ่งที่มีขนาดใหญ่อีกกระติ๊บหนึ่ง เรียกว่า กระติ๊บหลวง มีลักษณะเหมือนกระติ๊บทั่วไปแต่มีขนาดใหญ่มาก อาจต้อง ใช้คนหามเข้าขบวนแห่นำขบวน ขันโตก โดยมีขบวนสาวงามช่างฟ้อนนำขบวน ขันโตกเข้ามาในงาน ผสมกับเสียงดนตรี และเสียงโห่ร้องเพื่อแสดงความยินดี เมื่อสาวงามช่างฟ้อนมาถึงงานเลี้ยงแล้ว ก็จะนำกระติ๊บหลวงไปวางไว้กลางงาน และนำข้าวนึ่ง ในกระติ๊บหลวง ออกแบ่งใส่กระติ๊บเล็กๆ แจกจ่ายไปตามโตกต่างๆ จนทั่วบริเวณงาน ซึ่งมีโตกกับข้าวเตรียมไว้ก่อนแล้ว 

    การนั่งรับประทานอาหารในงานขันโตก จะนั่งกับพื้นบนสาดเติ้ม (เสื่อไผ่สาน) หรือจะนั่ง รับประทานขันโตกบนพื้นไม้ที่ยกพื้นขึ้นมาในระดับเวทีก็ได้ 



    ผู้ที่มาร่วมงานทุกคนจะแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองของชาวเหนือ ผู้ชายสวมเสื้อ ม่อฮ่อม มีผ้า ขาวม้าคาดเอว มีพวงมาลัยดอกมะลิคล้องคอ ส่วนผู้หญิงนุ่งผ้าถุง ยาวถึงตาตุ่ม สวมเสื้อแขนกระบอก ทัดดอกไม้ที่หู หรือคล้องพวงมาลัยดอกมะลิ 

    นอกจากอาหารคาวแล้ว ยังมีอาหารหวาน ที่นิยมเลี้ยงกันในงานขันโตก เช่น ขนมปาด ข้าวแตน ข้าวควบ มีน้ำต้นคนโท ขันน้ำสำหรับล้างมือก่อนหยิบข้าวนึ่ง มีกระโถนใส่เศษอาหาร และเมี่ยง บุหรี่ไว้สำหรับ แขกเหรื่อที่มาร่วมงาน บุหรี่ที่ใช้ คือ บุหรี่ขี้โย เป็นบุหรี่ยาเส้น นำมามวนใบตอง ชาวบ้านนิยมสูบกันทั่วไป เมี่ยง คือ ใบชานำมาหมักให้ได้ที่ใช้อมกับเกลือ มีรสเปรี้ยว อมเรียกน้ำลายทำให้ชุ่มคอ

    สำหรับบรรยากาศที่น่าประทับใจของงาน คือ จะให้แสงสว่างบนเวทีจากไฟ ตะเกียง หรือแสงเทียน บนโตกมีการจุดเทียน ๒ - ๓ เล่ม ให้พอมองเห็นหน้ากัน บนเวทีมีการตกแต่งประดับประดาให้เข้าบรรยากาศเมืองเหนือ และมีวงดนตรีอยู่ที่ มุมหนึ่งของเวที ในขณะที่แขกเหรื่อกำลังรับประทานอาหารก็มีการบรรเลงดนตรี ขับกล่อมตลอดเวลาสลับกับการแสดงบนเวที และส่วนมากนิยมนำเอาศิลปะการ ฟ้อนรำแบบชาวเหนือมาแสดงบนเวที สลับกับการแสดงดนตรีพื้นเมือง เช่น ชุดการแสดงฟ้อนสาวไหม ฟ้อนตาว (ฟ้อนดาบ) ฟ้อนเทียน 

    การจัดงานประเพณีกินข้าวแลง ที่ทำกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ได้มีการนำเอาศิลปะ วัฒนธรรมของ ชาวเหนือเข้ามาผสมผสานเพื่อให้มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น เช่น จัดให้ มีการประกวดโคมลอย การประกวดจิบอกไฟ (จุดบอกไฟ) หรือจุดพลุในเวลา กลางคืนให้ดูสวยงาม เพิ่มสีสันให้แก่งานอย่างมาก 

    งานประเพณีต้อนรับแขกชาวเหนือ เป็นงานประเพณีที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ ของชาวไทยภาคเหนือ เป็นการอนุรักษ์วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตั้งแต่ดั้งเดิมที่สืบมา จนถึงทุกวันนี้ ทั้งยังเป็นการสร้างบรรยากาศ ในการต้อนรับให้อบอุ่น และสร้าง ความประทับใจแก่ผู้มาเยือน ยากที่จะลืมเลือน


บทความประเพณีขันโตก ศึกษาต่อเกี่ยวกับเรื่อง ฟ้อนรำ สถานที่ รายการอาหาร ได้ที่ http://ขันโตก.com

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย พิธีสืบชะตา


   พิธีสืบชะตาของชาวล้านนามีมาแต่โบราณกาลแล้วและมีการประกอบพิธีมาก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเผยแผ่เข้าสู่อาณาจักรล้านนา   เนื่องจากแต่เดิมนั้นพิธีสืบชะตาถือเป็นพิธีพราหมณ์  โดยมีอาจารย์ประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นฆราวาสที่มีความเชี่ยวชาญด้านพิธีกรรมพื้นบ้านและถือเป็นตัวแทนของพราหมณ์    เป็นผู้ประกอบพิธี  ครั้นต่อมาเมื่อพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาจนมีความเจริญรุ่งเรือง  พิธีสืบชะตาจึงมีการผสมผสานระหว่างพิธีพุทธกับพิธีพราหมณ์  โดยมีพระสงฆ์มาทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบพิธีสืบชะตาแทนอาจารย์ซึ่งเป็นฆราวาสจวบจนถึงปัจจุบัน


ในการสืบชะตานั้นจะแต่งดาเครื่องสืบชะตาหลายอย่างซึ่งถือเป็นเครื่องบูชาอย่างหนึ่งตามพิธีที่สืบทอดกันมา

ประกอบด้วย

  1.  ไม้ค้ำ มีลักษณะเป็นไม้ง่าม  ๓  อัน สำหรับนำมาประกอบกันเป็นซุ้ม  เรียกว่า  ไม้ค้ำชะตา  แต่ด้วยลักษณะไม้ค้ำที่มีขนาดใหญ่และยาวพอประมาณจึงเรียกว่า  ไม้ค้ำหลวง  บางแห่งก็มีขนาดยาว บางแห่งก็มีขนาดสั้นพอประมาณแล้วแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น   แต่ส่วนมากนิยมใช้ขนาดยาวเท่ากับวาแขนหรือความสูงของเจ้าของชะตา ไม้ค้ำมีความหมายว่าเพื่อให้เป็นสิ่งค้ำจุนชีวิตให้มีความเจริญรุ่งเรืองมีอายุยืนยาวเปรียบเสมือนต้นไม้ที่ใกล้จะล้ม  หากมีไม้มาค้ำไว้ก็จะทำให้เจริญงอกงามต่อไป  เหมือนชีวิตคนเราที่ได้รับการค้ำชูย่อมจะมีความสุขความเจริญต่อไปฉันใดก็ฉันนั้น


  สมัยก่อน  ไม้ค้ำ  เป็นชื่อของต้นไม้ประเภทหนึ่ง  หากนำมาตัดกิ่งออกแล้วขุดดินฝังสำหรับใช้เป็นไม้ค้ำต้นไม้ประจำหมู่บ้านหรือไม้หมายเมือง  ไม้ค้ำนี้จะไม่เหี่ยวแห้งเพราะจะมีรากออกมา   ปัจจุบันยังมีต้นไม้ค้ำอยู่ที่บ้านแม่ไทย  อำเภอแม่ทะ  จังหวัดลำปาง     ซึ่งชาวบ้านที่นั้นก็ยังนิยมเอาต้นไม้ค้ำมาใช้ในพิธีสืบชะตาอยู่  คนปัจจุบันไม่ค่อยรู้จักต้นไม้ชนิดนี้แล้ว  จึงเอาต้นไม้ชนิดอื่นที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงมาทำเป็นไม้ค้ำแทน

  2. กระบอกน้ำ  กระบอกทราย  กระบอกข้าวเปลือก  กระบอกข้าวสาร หมายถึง  ธาตุ  ๔  ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ  ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้คนเรามีความแข็งแรงยิ่งขึ้น

  3.  สะพาน (ขัว)  หมายถึง  สะพานแห่งชีวิตที่ทอดให้เดินข้ามจากฝั่งที่เลวร้ายไปสู่ฝั่งที่ดีงามกว่า

  4.  บันได (ขั้นได)  หมายถึง  บันไดแห่งชีวิต  สำหรับพาดให้เราปีนป่ายขึ้นสู่ที่สูง  เสมือนคนเราตกบ่อน้ำแล้วต้องปีนป่ายด้วยบันไดออกจากบ่อน้ำ

  5.  ลวดเงิน  ลวดคำ  ลวดหมาก  ลวดเหมี้ยง หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของชีวิตที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์สินเงินทองและอาหารการกิน

  6.  ไม้ค้ำขนาดเล็ก ไม้ค้ำขนาดเล็กยาวเท่าศอกของเจ้าของชะตาต่างกับไม้ค้ำหลวงที่มีขนาดเท่าวาหรือความสูง  ไม้ค้ำเล็กมีจำนวนเท่าอายุของเจ้าของชะตา  แต่นิยมให้มีจำนวนเกินอายุไปประมาณ  ๒-๓  อัน  เพื่อให้มีอายุยืนยาวขึ้นไปอีก

  7. ช่อ ทำจากกระดาษสีขาวจำนวน  ๑๐๘  อัน

  8.  ตุงค่าคิง หรือตุงชะตา  มีขนาดความยาวเท่าความสูงของเจ้าของชะตา

  9.  เทียนค่าคิง หรือเทียนชะตา  มีขนาดความยาวเท่ากับความสูงของเจ้าของชะตาเหมือนกัน  แต่ต่อมาภายหลังเห็นว่า  เทียนมีขนาดยาว   เมื่อจุดไฟจะทำให้งอ  ก็เลยสีด้วยขี้ผึ้งประมาณคืบหนึ่ง    ส่วนฝ้ายที่เป็นไส้เทียนนั้นยังมีขนาดยาวเท่าความสูงผู้สืบชะตาอยู่

  10.  พระเจ้าไม้ หรือพระพุทธรูปที่แกะสลักด้วยไม้  สำหรับนำมาประดิษฐานที่ยอดไม้ค้ำ  แต่เดิมไม่มีพระพุทธรูป  ครั้นต่อมาเมื่อพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาสู่ล้านนาจนมีความเจริญรุ่งเรืองก็มีการผสมผสานระหว่างพิธีพุทธและพิธีพราหมณ์  จึงนำพระพุทธรูปไม้มาประดิษฐานบนยอดไม้ค้ำเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนา

  11.  หน่อกล้วย  หน่อยอ้อย  หน่อหมาก  หน่อมะพร้าว มีความหมายว่า  คนที่ได้รับการสืบชะตาจะมีชีวิตที่เหมือนกับได้เกิดใหม่แล้วจะมีความหอมหวาน  มีความเจริญงอกงาม  เหมือนต้นกล้วย  ต้นอ้อย  ต้นหมาก  ต้นมะพร้าวที่พร้อมจะเจริญเติบโตต่อไป

  12.  สื่อใหม่  (สาด) หมอนใหม่ มีความหมายว่า   ผู้ที่สืบชะตาแล้วจะมีความสุขสบายและนอนหลับฝันดี

    เครื่องสืบชะตาทั้งหมดนี้เมื่อนำมาประกอบกันจัดให้เป็นระเบียบตามแบบโบราณพิธีเรียกว่า  โขงชะตา ถือเป็นบริเวณพิธีหรือเขตศักดิ์สิทธิ์สำหรับสืบชะตาให้มีความสุขความเจริญต่อไป


   ส่วนพิธีส่งนพเคราะห์นั้น  ถือเป็นพิธีพราหมณ์อีกประการหนึ่ง  เมื่อจะทำพิธีส่งก็ต้องจัดเตรียมเครื่องบูชาให้พร้อม  ประกอบด้วย  สะตวง (กะบะ)  ทำจากกาบกล้วยดิบมีขนาดความกว้างเท่ากับศอกของเจ้าของชะตา  ๑  ศอก  แล้วแบ่งเป็น  ๙  ห้อง หรือ  ๙  ช่อง  ด้วยกาบกล้วยดิบเช่นกัน  แต่ละห้องให้ใส่เครื่องบูชาชนิดต่างๆ ตามกำหนด  ได้แก่  ข้าว  อาหาร   ผลไม้  พริก  เกลือ  ขนม  น้ำ  หมาก  เหมี้ยง  บุหรี่  ดอกไม้  ธูป  เทียน  และช่อ  เครื่องบูชาเหล่านี้นำใส่แต่ละห้องจำนวนไม่เหมือนกัน  แต่ขึ้นอยู่กับกำลังวันของดาวนพเคราะห์   ๙  ดวง  ได้แก่  พระอาทิตย์   พระจันทร์    พระอังคาร     พระพุธ    พระพฤหัสบดี    พระศุกร์     พระเสาร์    พระราหู    และพระเกตุ

   การประกอบพิธีสืบชะตานั้น  อันดับแรกอาจารย์จะทำพิธีปัดเคราะห์  ส่งเคราะห์ก่อนแล้วจึงทำพิธีสืบชะตาทีหลัง  เพื่อให้เคราะห์ภัยที่มีอยู่ในตัวเราสูญไป  แล้วจึงทำพิธีสืบชะตาให้มีความสุขความเจริญ  เมื่อทำพิธีสืบชะตาเสร็จแล้ว  เครื่องบูชาทั้งหลายจะนำไปใช้สาธารณะประโยชน์ต่อไป   กล่าวคือ

ไม้ค้ำ นำไปค้ำต้นไม้ประจำหมู่บ้าน  หรือไม้หมายเมือง  แต่ปัจจุบันคนสมัยใหม่ไม่เข้าใจวิถีปฏิบัติตามแบบโบราณ  มักจะนำไม้ค้ำไปวางไว้ที่ใต้ต้นสรี  (ต้นศรีมหาโพธิ์)

สะพาน นำไปพาดร่องน้ำหรือลำเหมืองเล็ก  เพื่อเป็นสะพานให้ผู้คนเดินข้ามลำเหมืองนั้น

หน่อกล้วย  หน่อยอ้อย  หน่อหมาก  หน่อมะพร้าว นำไปปลูกในที่สาธารณะของหมู่บ้านหรือป่าหมู่บ้าน  บางคนอาจจะปลูกริมร่องน้ำสาธารณะก็ได้  เมื่อผลิดอกออกผล  ใครจะเก็บไปกินไปใช้ก็ไม่มีใครว่า  เพราะถือเป็นของสาธารณะ


การประกอบพิธีสืบชะตาของพ่อหนานศรีเลา   เกษพรหม  แต่งกายด้วยชุดสีขาวหรือชุดสุภาพพร้อมกับมีผ้าพาด  การประกอบพิธีแต่ครั้งจะเป็นผู้กำหนดวัน  เวลา  และเครื่องประกอบพิธีตามที่สืบทอดมาแต่โบราณกาลอย่างเคร่งครัด  เพื่อให้การประกอบพิธีมีความถูกต้องและสมบูรณ์  อันจะทำให้เจ้าของชะตามีความสุขความเจริญต่อไป


เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก folklore.culture.go.th

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย เทศน์มหาชาติ

การเทศน์มหาชาติ เทศน์มหาชาติ คือ เทศนาเวสสันดรชาดก เป็นบุญพิธีที่นิยมจัดให้มีกันมาแต่โบราณ ส่วนมากจัดให้มีในวัดเป็นหน้าที่ของชาวบ้านและวัดนั้น ๆ จะตกลงร่วมกันจัด ปกตินิยมให้มีหลังฤดูทอดกฐิน ผ่านไปแล้วจนตลอดฤดูเหมันต์ นิยมจัดเป็นงานสองวัน คือ วันเทศน์เวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์วันหนึ่ง และวันเทศน์จตุราริยสัจจกถา ท้ายเวสสันดรชาดกอีกวันหนึ่ง
งานเทศน์มหาชาตินี้ นิยมทำกันหลังออกพรรษาพ้นหน้ากฐินไปแล้ว อาจทำในวันขี้น ๘ ค่ำกลางเดือน ๑๒ หรือในวันแรม ๘ ค่ำก็ได้ ซึ่งในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน ๔ เรียกว่า “งานบุญผะเหวด” ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกันในเดือน ๕ ต่อเดือน ๖ ก็มี งานเทศน์มหาชาตินั้นจะทำในกาลพิเศษจะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัดฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน ๑๐
การเทศน์มหาชาตินั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วันแรกเริ่มงานด้วยพิธีทำบุญตักบาตรพระทั้งวัด หรือเลี้ยงพระตามจำนวนที่เห็นสมควร แล้วเริ่มเทศน์เวสสันดรชาดก ตามแบบเทศน์ต่อกันไปจนสุด ๑๓ กัณฑ์ ถึงเวลากลางคืนบางแห่งจัดปีพาทย์ประโคมระหว่างกัณฑ์หนึ่ง ๆ ตลอดทั้ง ๑๓ กัณฑ์ด้วย วันรุ่งขึ้นทำบุญเลี้ยงพระอีกแล้วมีเทศน์ จตุราริยสัจจกถาในระหว่างเพลจบแล้วเลี้ยงพระเพลเป็นอันเสร็จพิธี
ระเบียบพิธีในการเทศน์มหาชาติ
๑. ตกแต่งบริเวณพิธีให้มีบรรยากาศคล้ายอยู่ในบริเวณป่า ตามท้องเรื่องเวสสันดรชาดก โดยนำเอา ต้นกล้วย ต้นอ้อย และกิ่งไม้มาผูกตามเสา และบริเวณรอบ ๆ ธรรมาสน์ ประดับธงทิว และ ราวัติ ฉัตร ตามสมควร
๒. ตั้งขันสาครใหญ่ หรือจะใช้อ่างใหญ่ที่สมควรก็ได้ใส่น้ำสะอาดเต็ม สำหรับปักเทียนบูชาประจำกัณฑ์ ในระหว่างที่พระเทศน์ น้ำในภาชนะที่ตั้งนี้เสร็จพิธีแล้ว ถือว่าเป็นน้ำพระพุทธมนต์ที่สำคัญ ภาชนะใส่น้ำนี้ตั้งหน้าธรรมาสน์ กลางบริเวณพิธี
๓. เตรียมเทียนเล็ก ๆ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม แล้วนับแยกจำนวนเป็นมัด มัดหนึ่งมีจำนวนเท่าคาถาของกัณฑ์หนึ่ง แล้วทำเครื่องหมายไว้ให้ทราบ ว่ามัดไหนสำหรับบูชาคาถากัณฑ์ใด เมื่อถึงคราวเทศน์กัณฑ์นั้นก็จะเอาเทียนมัดนั้นออกจุดบูชาติดรอบ ๆ ภาชนะน้ำ ต่อกันไปจนจบกัณฑ์ให้หมดมัดพอดี ครบ ๑๓ กัณฑ์ถ้วน จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม เท่าจำนวนคาถา บางแห่งนิยมทำธงเล็ก ๆ ๑,๐๐๐ คัน แบ่งจำนวนเท่าคาถาประจำกัณฑ์เช่นอย่างเทียน แล้วปักธงบูชาระหว่างกัณฑ์บนหยวกกล้วย แต่การใช้ธงไม่เป็นที่นิยม เช่น เทียน การจุดเทียนหรือปักธงบูชากัณฑ์ดังกล่าวเป็นหน้าที่ของเจ้าภาพผู้รับกัณฑ์นั้น ๆ
การเทศน์เวสสันดร มีวิธีเทศน์เป็นทำนองโดยเฉพาะ จะต้องได้รับการฝึกอบรมศึกษาต่อท่านผู้ทรงคุณวุฒิทางนี้เป็นพิเศษ ส่วนการเทศน์จตุราริยสัจจกถา มีระเบียบพิธีอย่างเทศน์ในงาน
ไม่ทราบแหล่งที่มาแน่ชัด
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย ฮีตสิบสอง คองสิบสี่

                                                    
ฮีตสิบสองคองสิบสี่

ฮีตสิบสองฮีตสิบสองมาจากคำ 2 คำ คือ ฮีต กับ สิบสองฮีตมาจากคำว่า จารีต หมายถึงสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีที่ดีงามชาวอีสาน เรียกว่า จาฮีต หรือฮีต สิบสอง หมายถึง เดือนทั้ง 12 เดือนในหนึ่งปีฮีตสิบสอง จึงหมายถึงประเพณีที่ประชาชนชาวอีสานได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาในโอกาสต่างๆ ทั้งสิบสองเดือนในแต่ละปีประเพณีทั้งสิบสองเดือนที่ชาวอีสานถือปฏิบัติกันมานั้นล้วนเป็นประเพณีที่ส่งเสริมให้คนในชุมชน ได้ออกมาร่วมกิจกรรมพบปะสังสรรค์กันเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงและเพื่อความสมานสามัคคีมีความรักใคร่กัน ของคนในท้องถิ่นซึ่งเป็นการสืบทอดสิ่งที่ดีงามมาจวบจนปัจจุบัน ประเพณีอีสานส่วนใหญ่จะมีเอกลักษณ์แตกต่างจากประเพณีภาคอื่นๆ (อาจคล้ายคลึงกับประเพณีของทางภาคเหนือบ้างเพราะมีที่มาค่อนข้างใกล้ชิดกัน)ประเพณีอีสานได้รับอิทธิพลมา จากวัฒนธรรมล้านช้าง(แถบหลวงพระบางประเทศลาว)จึงจะเห็นได้ว่าประเพณีของชาวอีสานและชาวลาวมีความคล้ายกันเพราะมีที่มาเดียวกันและชาวอีสานและชาวลาวก็ไปมาหาสู่กนเป็นประจำเยี่ยงญาติพี่น้องทำให้มีการถ่ายเทวัฒนธรรมระหว่างกันด้วย

                                             
เดือนอ้าย(เดือนเจียง)-บุญเข้ากรรม

บุญเข้ากรรมเป็นกิจกรรมของสงฆ์ เมื่อถึงเดือนอ้ายพระสงฆ์จะต้องเข้ากรรม ซึ่งเป็น พิธีที่เรียกว่าเข้าปริวาสกรรม" โดยให้พระภิกษุผู้ต้องอาบัติ(กระทำผิด) ได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์ เพื่อเป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตนเอง และมุ่งประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระวินัยพิธีเข้าปริวาสกรรมจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ โดยกำหนดไว้9ราตรี พระภิกษุสงฆ์ที่ต้อง การเข้าปริวาสกรรมต้องไปพักอยู่ในสถานที่สงบ ไม่มีผู้คนพลุกพล่าน(อาจจะเป็นบริเวณวัดก็ได้ โดยมีกุฏิชั่วคราวเป็นหลังๆพระภิกษุสงฆ์ที่เข้าปริวาสกรรมคราวหนึ่งๆ จะมีจำนวนเท่าใดก็ได้แต่ต้องบอกไว้ก่อนว่าตนเองจะเข้ากรรม และเมื่อถึงเวลาออกกรรมจะมีพระสงฆ์ 20 รูปมารับออกกรรม พิธีทำบุญเข้ากรรมหรือเข้าปริวาสกรรมของพระภิกษุสงฆ์นี้ไม่ถือว่าเป็นการล้างบาป แต่จะถือว่าเป็นการปวารณาตนว่าจะไม่กระทำผิดอีก ส่วนกิจของชาวพุทธศาสนิกชนในบุญเข้ากรรมนี้ คือการหาข้าวของเครื่องอุปโภคบริโภถวายพระ ซึ่งถือว่าจะได้บุญมากกว่าการทำบุญตักบาตรทั่วไป

อ้างอิงจาก http://nonchan2505.blogspot.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย ลอยโคม

ใครที่ชอบบรรยากาศพื้นเมืองรอยยิ้มที่เป็นกันเอง และความเป็นล้านนา การลอยกระทงและลอยโคมประทีปของที่นี่ จะสร้างความสดใสมีชีวิตชีวาให้กับคุณ



     โคมไฟหลายพันดวงลอยเป็นสายเต็มฟากฟ้ายามราตรี ทำให้ฟ้าค่ำคืนนี้สว่างไสวประดุจดวงดาวนับล้านๆดวงชาวบ้านเชื่อกันว่าประเพณีลอยโคมยี่เป็งเป็นการปลดปล่อยความทุกข์ความโศก และสิ่งไม่ดีในชีวิตให้ลอยไปกับโคมประทีป ตามวัดวาอารามบ้านเรือนของชาวล้านนาจะประดับประดาไปด้วยโคมไฟและดอกไม้นานาพันธุ์

     อรุณรุ่งของ วันยี่เป็ง ชาวบ้านจะถวายข้าวมธุปายาส แด่พระพุทธเจ้าจากนั้นจะเดินทางไปที่วัดนำข้าวปลาอาหารไปถวายพระสงฆ์ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ และร่วมฟังเทศน์มหาชาติพร้อมกัน




     สำหรับใครที่ชอบความครึกครื้น ช่วงกลางวันที่ถนนท่าแพ จะมีขบวนแห่กระทงขนาดใหญ่มีการประกวดกระทงที่น่าตื่นตาตื่นใจ อบอวลไปด้วยบรรยากาศรื่นเริงของ นางรำ นางฟ้อน ที่วาดลีลาอ่อนช้อยไปตามท้องถนน

     ตกเย็นเป็นเวลาที่โคมลอยหลายพันดวงจะถูกจุดขึ้นพร้อมๆกัน แล้วทยอยปล่อยโคมเป็นสายยาวพร้อมอธิษฐานจิตให้โคมนั้นลอยไป เพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้า พระเกตุแก้ว จุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ปล่อยทุกข์โศกโรคภัยในชีวิตให้ลอยหายมลายสิ้นไปพร้อมกับโคมลอยนั่นเอง

     รู้ก่อนเดินทาง - ลอยโคมยี่เป็ง จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ประมาณ เดือนพฤศจิกายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันลอยกระทงอีกด้วย 

ข้อมูล http://www.scb.co.th ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}