แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีแปลกๆ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีแปลกๆ แสดงบทความทั้งหมด

ประเพณีไทย การทำขวัญผึ้ง

 
   เป็นประเพณีไทยพื้นบ้านที่เก่าแก่ของหมู่บ้านโซกกระบาท ตำบลคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ประเพณีนี้ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่หลังจากสูญหายไปราว 40 ปี ในอดีตเมืองศรีคีรีมาศต้องส่งส่วยน้ำผึ้งทดแทนการถูกเกณฑ์แรงงานตามพระราชกำหนดตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้มีการยกเลิกการส่งส่วยน้ำผึ้ง

การส่งส่วยดังกล่าวเป็นผลให้เกิดมีประเพณีการทำขวัญผึ้งเพื่อให้ผึ้งมาทำรังตามต้นไม้มากๆ ต่อมาประเพณีได้ค่อย ๆ เลือนหายไป ศูนย์ศึกษาและวิจัยวัฒนธรรมพื้นบ้าน หัวเมืองฝ่ายเหนือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก) ได้ฟื้นฟูประเพณีการทำขวัญผึ้งตำบลคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัยขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2526 ตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3

   สถานที่ประกอบพิธีทำขวัญผึ้งเป็นป่าใหญ่อยู่ไกลออกไปจากหมู่บ้าน บริเวณเขาหลวงนี้อุดมไปด้วยว่านนานาชนิด จึงเป็นแหล่งที่เกิดน้ำผึ้งดอกว่านขึ้น ก่อนจะถึงวันทำพิธี ชาวบ้านจะช่วยกันเตรียมข้าวของเครื่องใช้ ข้าวปลาอาหาร สำหรับรังผึ้งปลอมต้องทำไว้ตั้งแต่กลางคืน คือ การทำขนมแดกงา เริ่มด้วยการนำข้าวเหนียวล้างสะอาด แช่น้ำไว้จนข้าวเหนียวขึ้นน้ำ นำไปนึ่งให้สุกเมื่อสุกแล้วเทข้าวเหนียวร้อน ๆ ใส่ครกผสมกับเกลือเล็กน้อยโขลกให้เกลือเหลวแล้วจึงค่อย ๆ เอางาดำที่คั่วแล้วผสมลงไปโขลกด้วยจนน้ำมันงาออกทำให้ข้าวเหนียวไม่ติดครก เมื่อโขลกเหนียวได้ที่แล้วเอาข้าวเหนียวผสมงาไปใส่กระด้งนวดให้เหนียวผสมงาอีกครั้งหนึ่งจนมีสีดำ


   จากนั้นทำเป็นรังผึ้งขนาดต่าง ๆ ติดกิ่งไม้ไว้เพื่อเตรียมไปแขวนที่ป่า เช้าของวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ชาวบ้านจะพากันเดินทางไปยังบริเวณที่ประกอบพิธีในป่า บริเวณที่จะทำพิธีต้องมีต้นไม้ใหญ่และเคยมีรังผึ้งมาก่อนแล้ว เรียกลักษณะเช่นนี้ว่า "โซกลำเกลียว" เท่าที่ผ่านมาต้นไม้ที่ใช้ประกอบพิธี คือ ต้นยาง เมื่อได้ต้นไม้ในลักษณะที่ต้องการแล้ว กำหนดเขตโดยใช้ไม้ไผ่สานสูงประมาณเอว กั้นเป็นอาณาเขตห่างจากต้นไม้ประมาณ 3 วา เว้นช่องทางให้เข้าทั้งหมด 8 ช่อง เพื่อเป็นประตู 8 ทิศ แต่ละประตูสร้างศาลตีนเดียวสูงประมาณ 2 วา ที่ศาลจะมีเครื่องเซ่นสังเวยด้วย ก่อนที่จะเริ่มพิธีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งจะเอารังผึ้งปลอม (ทำจากขนมแดกงา) ไปติดตามต้นไม้รอบบริเวณนั้นจะมีกี่รังก็ได้ แต่จะต้องมีรังหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 1 ศอกเป็นรังผึ้งหลวงเพื่อใช้ประกอบพิธี อีกกลุ่มหนึ่งก็เอาผ้าสามสีและด้ายขาวแดงมาพันรอบต้นไม้ใหญ่ แต่เดิมนั้นใช้ผ้าม่วงผ้าไหมปัจจุบันหาไม่ได้แล้วจึงใช้ผ้าสามสีแทน และที่ผ้าสามสีจะประดับด้วยเหรียญเงินโดยรอบ เรียกว่า พวงเงิน พวงทอง ด้ายแดงขาวอีกส่วนหนึ่งนำไปพันที่รอบต้นไม้ใหญ่ 9 รอบ ตรงหน้าต้นไม้ใหญ่สร้างศาลตีนเดียวขนาดใหญ่หนึ่งศาล หน้าศาลมีที่วางเครื่องเซ่นสังเวย ได้แก่ บายศรี 1 ปาก หัวหมู 1 หัว ตีนหมู 8 ตีน หางหมู 1 หาง ไก่ต้ม 1 ตัว เหล้าป่า ข้าวเหนียวขาว ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ข้าวสุกจากปากหม้อ ผักหญ้า ปลายำ ไข่ต้ม มะพร้าวอ่อน 1 ผล หมากพลูอย่างละ 3 คำ ธูป 3 ดอก เทียน 3 เล่ม เครื่องเซ่นเหล่านี้จะแบ่งไปตามศาลตีนเดียวทั้ง 8 ศาลด้วย

   เมื่อจะเริ่มพิธีมีการจุดธูปเทียนที่ศาลใหญ่และศาลทั้ง 8 ทิศ ผู้ทำพิธีจะทำน้ำมนต์เพื่อปัดเสนียดจัญไร แล้วเอาน้ำมนต์พรมที่เครื่องสังเวยและคนในบริเวณนั้น จากนั้นจะไหว้พระรัตนตรัย กระทำธรณีสาร กล่าวคาถาชุมนุมเทวดาให้มารับเครื่องเซ่นสังเวยและร้องเชิญพ่อผึ้ง แม่ผึ้งให้ชวนบริวารมาทำรัง จากนั้นจะมีชาวบ้านชายหญิงสมมติเป็นพ่อผึ้ง แม่ผึ้ง ลูกผึ้ง ชวนกันมาทำรังที่ต้นไม้นี้ โดยจะเข้ามาทางประตูทั้ง 8 ทิศ ชาวบ้านที่สมมติเป็นเทวดาผู้เฝ้าประตูจะคอยซักถามว่า พ่อผึ้ง แม่ผึ้ง ลูกผึ้งนี้มาจากไหน และเชิญชวนให้มาทำรังผึ้งที่ป่าแห่งนี้ เมื่อขบวนผึ้งเข้ามาแล้วก็จะออกไปยังประตูตรงกันข้ามแล้วเข้ามาใหม่โดยมีเทวดาผู้เฝ้าประตูซักถามอีก จะเดินเข้าออกในลักษณะนี้จนครบทั้ง 8 ทิศ เป็นอันว่าเสร็จพิธี


   หลังจากนั้นชาวบ้านที่มาร่วมในพิธีนี้จะเล่นขโมยรังผึ้งกัน โดยจะขโมยขนมแดกงาที่มีผู้นำไปแขวนไว้ตามต้นไม้ในบริเวณพิธีและจะมีตำรวจคอยจับขโมย ถ้าขโมยคนใดถูกตำรวจจับได้ ตำรวจก็จะจับส่งฟ้องศาล ซึ่งศาลจะตัดสินจำคุกกี่ปีก็ได้ การลงโทษจำคุกนี้ใช้วิธีการดื่มเหล้าแทน เช่นจำคุก 5 ปี ก็ให้ดื่มเหล้า 5 จอก เป็นการละเล่นที่สนุกสนานของชาวบ้านมาก

 เมื่อสิ้นสุดการละเล่นแล้วจะมีการสมมติตีรังผึ้งจากต้นยาง ที่ใช้ประกอบพิธี เป็นการเสร็จสิ้นพิธีการทำขวัญผึ้งโดยสมบูรณ์

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
อ้างอิงจาก www.info.ru.ac.th/province/sukhotai

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย ผีนางด้งประเพณีภาคอีสาน

  ประวัตินางด้ง

  นางด้ง เป็นการละเล่นแต่ครั้งสมัยโบราณ ซึ่งผู้สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยปู่-ย่า ตา-ยาย ซึ่งแต่ก่อนจะมีการละเล่นอย่างอื่นอีกมากมาย จากการสอบถามผู้สูงอายุคนเก่าคนแก่ของหมู่บ้านเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนจะมีการละเล่นมากมายหลายอย่างตามความเชื่อถือ ผี สาง เทวดา จะเข้าแค่แขนของคนทรง และยังมีการละเล่นอีกบางอย่างที่คนเฒ่าคนแก่ได้เล่าให้ฟังว่า ผี สาง เทวดา จะเข้าทรงทั้งตัว คือ นางแม่สี นางช้าง แต่ปัจจุบันจะเหลือการละเล่นเพียงแค่ นางด้งเท่านั้น แต่บางปีก็จะมีการละเล่น นางหัวควาย นาไซ นางข้อง บ้างแต่ก็ไม่ค่อยนิยม ที่นิยมมากและก็จะเล่นสืบต่อกันมาตลอดคือ นางด้ง จะเล่นกันตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ และอีกอย่างที่คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังให้คือ

  ที่การละเล่นทั้งหลายที่กล่าวมานี้ช่วงหลังๆ จนถึงปัจจุบันไม่ได้เล่น ก็เพราะว่าคนไม่เหมือนแต่ก่อนและก็ปากคนไม่เหมือนแต่ก่อนและก็ปากคนไม่เหมือนสมัยก่อนไม่ค่อยรักษาขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม บางครั้งชอบพูดจาไม่เป็นมงคล ตามคำเชื่อถือจึงทำให้ ผี สาง เทวดา ไม่ทรงลงมาประทับเข้าทรง การละเล่นเหล่านี้จะเล่นกันในเวลากลางคืนยกเว้นวันพระ และจะเล่นกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์และวันสงกรานต์ของชาวบ้านชมพูจะเล่นกันทั้งหมด 7 วัน วันสุดท้ายของวันสงกรานต์คือวันที่ 19 เมษายน จะมีพิธีรดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่และสรงน้ำพระ จะทำสืบต่อกันมาทุกปี


  การละเล่นที่กล่าวมาก็จะเล่นกันมากในสมัยก่อนเพราะสมัยก่อนไม่มีดนตรี ก็จะมีแต่เพลงพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านตอนกลางวันเล่นกันที่ลานวัด พอกลางคืนก็จะเล่นการละเล่นดังที่กล่าวมาข้างต้นที่ลานกลางบ้านซึ่งเป็นศูนย์กลางหรือบริเวณที่มีพื้นที่กว้างขวางเหมาะที่จะเล่นด้วยคนจำนวนมากๆ

  การละเล่นนางด้ง จะเล่นสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันและจะเล่นกันทุกปี เป็นการเล่นที่ทุกเพศทุกวัยชอบได้รับความสนุกสนานถึงจะเจ็บตัวกันเป็นแถวๆ แต่ก็ไม่มีใครว่าอะไรกัน นางด้งจะมีคนเข้าทรงครั้งละ 2 คน เป็นผู้หญิง เมื่อเข้าทรงได้แล้วจะถือกระด้งเป็นอาวุธคอยเฝ้าสาก (จากการสอบถามคนเข้าทรงหลังจากออกจากทรงแล้วคนเข้าทรงเล่าว่าจะชาที่ช่วงแขนเหมือนมีอะไรบังคับซึ้งตัวเองก็ไม่รู้เหมือนกัน และจะรู้สึกหวงสากมากที่สุด เพราะสากที่วางอยู่คู่กันจะเห็นเป็นทองคำ เมื่อมีใครเข้ามาจะเอาสากก็จะไล่ตี) 


  ส่วนคนที่ไม่ได้เข้าทรงก็คือคนดูไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงจะเข้าไปแย่งสาก เมื่อมีคนเข้ามาแย่งสากก็จะถูกนางด้งไล่ตี บางคนหลบไม่ดีถูกตีหัวแตกก็มี บางคนก็แขน ขา หน้าถลอกเป็นแผลก็มี แต่ก็ไม่มีใครถือโทษโกรธอะไรเพราะเป็นการละเล่นมีแต่เสียงหัวเราะ เสียงฮา อยากมีความสุขสนุกสนานบางครั้งถ้าไม่เข้าไปแย่งสากก็จะเข้าไปฟ้อนรำหรือถามหาคู่ว่าอยู่ทิศใด นางด้งก็จะชี้และก็รำกับคนเข้าไปรำด้วย เวลานางด้งจะออกจากการทรงก็จะโยนหรือวางกระด้งที่ถือหงายขึ้นถ้ากระด้งคว่ำจะต้องหงายใหม่เพราะไม่อย่างนั้น ผีสาง เทวดา ไม่ยอมออก พอนางด้งออกจากร่างทรงก็จะเริ่มทำพิธีบวงสรวงอัญเชิญเข้าทรงอีก 

  ก็จะมีกลุ่มคนคอยเคาะไม้ไผ่เป็นจังหวะและก็จะร้องเพลงของนางด้งไปด้วย อีกกลุ่มก็จะไปยืนมุงดูการทรงล้อมวงและก็ร้องเพลงนางด้งไปด้วย จะมีคนคนเฒ่าผู้สูงอายุเป็นคนคอยเซ่นบวงสรวงเจ้าลงมาประทับเข้าทรงนางด้ง นางด้งเข้าหรือไม่เข้าดูได้จากกระด้งที่คนเข้าทรงจับกระด้งเริ่มสั่นก็แสดงว่าเจ้าเริ่มเข้าประทับทรงคนดูคนเชียร์ก็จะเร่งจังหวะร้องเพลงให้เร็วขึ้นพอเข้าเสร็จวงก็จะแตกฮือออกจากบริเวณนั้นเพราะกลัวถูกตี คืนหนึ่งก็จะเล่นกันประมาณ 2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับคนเข้าทรงว่ามีเยอะหรือน้อย และขึ้นอยู่กับคนเล่นและคนดูว่าเล่นกันสุภาพหรือไม่ ถ้าเล่นกันไม่ดีไม่สุภาพก็จะเลิกเล่นกันทันที และจะเล่นกันจนครบ 3 วัน และคนเฒ่าคนแก่ยังบอกอีกว่าคนที่จะเข้าทรงนั้นต้องเป็นคนขวัญอ่อน จิตอ่อน ถึงจะเข้าทรงได้


ความสำคัญ การเล่นนางด้ง เป็นพิธีการขอฝนพิธีหนึ่งของชาวชมพู ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนทุกวันนี้

สาระ การประกอบพิธีการเล่นนางด้งเป็นการแสดงออกถึงความร่วมมือ ร่วมใจ ความสามัคคีปรองดองและเป็นการแก้ปัญหาของท้องถิ่นร่วมกัน

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
อ้างอิงจาก npnfe.wordpress.com

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย แห่ปลา


   
ช่วงเวลา
    ช่วงเวลาที่จัดงาน คือ หลังจากงานสงกรานต์ ๑๓ เมษายน ไปแล้วประมาณ ๑ สัปดาห์
ความสำคัญ
    ประเพณีแห่ปลา ไม่ว่าชาวไทยหรือชาวต่างประเทศรู้จักประเพณีนี้และไปชมกันปีละไม่ต่ำกว่าห้าหมื่นคนความเป็นมาของประเพณีนี้ก็สืบเนื่องมาจากตำนานของมอญที่เล่าต่อๆ กันมาว่า
มีพระอาจารย์องค์หนึ่งมีลูกศิษย์อยู่หลายคน พระอาจารย์องค์นี้มีความเชี่ยวชาญในการทำนายโชคชะตาเป็นยิ่ง วันหนึ่งพระอาจารย์ได้ตรวจดูดวงชะตาของลูกศิษย์คนหนึ่งซึ่งบวชเป็นสามเณรอยู่ ปรากฏว่าสามเณรองค์นั้นอยู่ในเกณฑ์ชะตาขาด จะต้องถึงแก่ความตายในไม่ช้า พระอาจารย์มีความสงสารเป็นอย่างยิ่ง แต่ไม่อาจจะช่วยเหลือได้ จึงบอกให้สามเณรกลับไปเยี่ยมญาติโยมที่บ้านเพื่อที่จะได้มีโอกาสพบปะกันก่อนตาย สามเณรเข้าอำลาพระอาจารย์แล้วเดินทางกลับไปบ้าน ระหว่างทางเดินผ่านไปตามทุ่งนาจนถึงหนองน้ำแห่งหนึ่งน้ำแห้งขอด มีปลาตกปลักจมอยู่ในโคลนรังแต่จะรอความตาย สามเณรเกิดความสงสารจึงได้จับปลาไปปล่อยในลำคลองแล้วเดินทางต่อไปจนถึงบ้าน เมื่อสมควรแก่เวลาแล้วก็เดินทางกลับวัด ฝ่าย
พระอาจารย์เมื่อเห็นสามเณรกลับมาก็แปลกใจเพราะยังเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองอยู่ จึงสอบถามจนได้ความว่าขณะที่เดินทางกลับบ้านนั้นได้ช่วยเหลือปลาที่รอความตายให้กลับมีชีวิตยืนยาวต่อไป พระอาจารย์จึงเข้าใจว่ากุศลที่สามเณรสร้างในครั้งนี้กลับเป็นผลานิสงส์หนุนนำให้สามเณรมีชีวิตยืนยาวต่อไป
จากตำนานดังกล่าวทำให้ชาวรามัญยึดถือเป็นตัวอย่างและปฏิบัติกันอยู่เสมอมา ส่วนประเพณีแห่นกที่ทำควบคู่กับแห่ปลาในปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นทีหลัง
     
    ขอกล่าวย้อนถึงสาเหตุที่จะกลายมาเป็นประเพณีแห่ปลาว่าเมื่อประมาณ ๕๐ ปีล่วงแล้วคุณย่าพ่วง พงษ์เวช ชาวมอญตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง เป็นผู้ที่ชอบทำบุญทำกุศลอย่างมาก ท่านจึงได้บอกให้ อาจารย์คล้าย พงษ์เวช ซึ่งเป็นบุตรชายให้จัดงานทำบุญเลี้ยงพระแล้วปล่อยปลาจำนวนมากๆ ท่านอาจารย์คล้าย พงษ์เวช จึงได้จัดให้ตามความประสงค์ทุกประการ แต่วิวัฒนาการจากการปล่อยปลาตามปกติมาเป็นการเชิญสาวๆในหมู่บ้านมาเข้าขบวนถือโหลปลา นำด้วยดุริยางค์แล้วนำไปปล่อยที่วัดทรงธรรมวรวิหาร ในปีรุ่งขึ้นท่านอาจารย์คล้าย พงษ์เวช เห็นว่าน่าจะกระทำเช่นนี้อีกต่อไป จึงได้เป็นเจ้าภาพจัดงานขึ้น โดยใช้โรงเรียนอำนวยวิทย์ อำเภอพระประแดง ซึ่งท่านเป็นเจ้าของอยู่เป็นสถานที่จัดงานและได้เชิญสาวๆจากหมู่บ้านต่างๆ (หมู่บ้านมอญ) รวม ๑๔ หมู่บ้าน มาร่วมในขบวนแห่ และในปีต่อมาท่านได้เชิญสาวมอญจากบางกระดี่ ตำบลแสมดำ อำเภอบางขุนเทียน จากบางขันหมาก จังหวัดลพบุรี จากปากเกล็ด จังหวัดนนทบุรี มาร่วมขบวนด้วย นับว่าเป็นการจัดงานที่ยิ่งใหญ่และตระการตา เนื่องจากสาวมอญแต่ละแห่งนั้นแต่งกายตามประเพณีในท้องถิ่นของตน ทำให้เกิดความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และปิดท้ายขบวนด้วยกลองยาวที่สร้างความครึกครื้นอยู่ตลอดเวลา ส่วนการแห่นกนั้นท่านอาจารย์ได้ผนวกเข้าทีหลังจนกลายเป็นประเพณีแห่นกแห่ปลาในที่สุด
    พ.ศ. ๒๔๙๘ รูปขบวนก็ได้เปลี่ยนไปอีก กล่าวคือมีขบวนนางสงกรานต์เพิ่มขึ้น ส่วนนางสงกรานต์นั้น ไม่มีการประกวด เพียงแต่เสาะหาสาวที่มีความงามที่สุดมาเป็นนางสงกรานต์ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๐๖ ท่านอาจารย์คล้าย พงษ์เวช ย่างเข้าสู่วัยชราจึงต้องการพักผ่อน แต่ทางราชการเห็นว่าประเพณีนี้เป็นประเพณีที่ดี สมควรจะอนุรักษ์ไว้จึงได้รับการปฏิบัติกันต่อๆ มา ครั้นถึง พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้มีการประกวดนางสงกรานต์พระประแดงขึ้นและต่อๆมาจนถึงปัจจุบัน

สาระ
     ขบวนแห่ปลา แห่นกในปัจจุบันได้รับความร่วมมือจากตำบลต่างๆ ในอำเภอพระประแดง จึงทำให้รูปขบวนวิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ มีสาวงามจำนวนมากขึ้น มีขบวนรถจากตำบลต่างๆ ตกแต่งอย่างสวยงามขั้นขบวนสาวงามอยู่เป็นระยะๆ มีวงดุริยางค์ของโรงเรียนต่างๆ นำแต่ละขบวนเป็นที่ครึกครื้นแล้วปิดท้ายด้วยขบวนกลองยาวอย่างเคย

ข้อมูลอ้างอิงจาก thaigoodview.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย ฮีตสิบสอง คองสิบสี่

                                                    
ฮีตสิบสองคองสิบสี่

ฮีตสิบสองฮีตสิบสองมาจากคำ 2 คำ คือ ฮีต กับ สิบสองฮีตมาจากคำว่า จารีต หมายถึงสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีที่ดีงามชาวอีสาน เรียกว่า จาฮีต หรือฮีต สิบสอง หมายถึง เดือนทั้ง 12 เดือนในหนึ่งปีฮีตสิบสอง จึงหมายถึงประเพณีที่ประชาชนชาวอีสานได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาในโอกาสต่างๆ ทั้งสิบสองเดือนในแต่ละปีประเพณีทั้งสิบสองเดือนที่ชาวอีสานถือปฏิบัติกันมานั้นล้วนเป็นประเพณีที่ส่งเสริมให้คนในชุมชน ได้ออกมาร่วมกิจกรรมพบปะสังสรรค์กันเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงและเพื่อความสมานสามัคคีมีความรักใคร่กัน ของคนในท้องถิ่นซึ่งเป็นการสืบทอดสิ่งที่ดีงามมาจวบจนปัจจุบัน ประเพณีอีสานส่วนใหญ่จะมีเอกลักษณ์แตกต่างจากประเพณีภาคอื่นๆ (อาจคล้ายคลึงกับประเพณีของทางภาคเหนือบ้างเพราะมีที่มาค่อนข้างใกล้ชิดกัน)ประเพณีอีสานได้รับอิทธิพลมา จากวัฒนธรรมล้านช้าง(แถบหลวงพระบางประเทศลาว)จึงจะเห็นได้ว่าประเพณีของชาวอีสานและชาวลาวมีความคล้ายกันเพราะมีที่มาเดียวกันและชาวอีสานและชาวลาวก็ไปมาหาสู่กนเป็นประจำเยี่ยงญาติพี่น้องทำให้มีการถ่ายเทวัฒนธรรมระหว่างกันด้วย

                                             
เดือนอ้าย(เดือนเจียง)-บุญเข้ากรรม

บุญเข้ากรรมเป็นกิจกรรมของสงฆ์ เมื่อถึงเดือนอ้ายพระสงฆ์จะต้องเข้ากรรม ซึ่งเป็น พิธีที่เรียกว่าเข้าปริวาสกรรม" โดยให้พระภิกษุผู้ต้องอาบัติ(กระทำผิด) ได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์ เพื่อเป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตนเอง และมุ่งประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระวินัยพิธีเข้าปริวาสกรรมจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ โดยกำหนดไว้9ราตรี พระภิกษุสงฆ์ที่ต้อง การเข้าปริวาสกรรมต้องไปพักอยู่ในสถานที่สงบ ไม่มีผู้คนพลุกพล่าน(อาจจะเป็นบริเวณวัดก็ได้ โดยมีกุฏิชั่วคราวเป็นหลังๆพระภิกษุสงฆ์ที่เข้าปริวาสกรรมคราวหนึ่งๆ จะมีจำนวนเท่าใดก็ได้แต่ต้องบอกไว้ก่อนว่าตนเองจะเข้ากรรม และเมื่อถึงเวลาออกกรรมจะมีพระสงฆ์ 20 รูปมารับออกกรรม พิธีทำบุญเข้ากรรมหรือเข้าปริวาสกรรมของพระภิกษุสงฆ์นี้ไม่ถือว่าเป็นการล้างบาป แต่จะถือว่าเป็นการปวารณาตนว่าจะไม่กระทำผิดอีก ส่วนกิจของชาวพุทธศาสนิกชนในบุญเข้ากรรมนี้ คือการหาข้าวของเครื่องอุปโภคบริโภถวายพระ ซึ่งถือว่าจะได้บุญมากกว่าการทำบุญตักบาตรทั่วไป

อ้างอิงจาก http://nonchan2505.blogspot.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}