ประเพณีไทย ผีนางด้งประเพณีภาคอีสาน

  ประวัตินางด้ง

  นางด้ง เป็นการละเล่นแต่ครั้งสมัยโบราณ ซึ่งผู้สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยปู่-ย่า ตา-ยาย ซึ่งแต่ก่อนจะมีการละเล่นอย่างอื่นอีกมากมาย จากการสอบถามผู้สูงอายุคนเก่าคนแก่ของหมู่บ้านเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนจะมีการละเล่นมากมายหลายอย่างตามความเชื่อถือ ผี สาง เทวดา จะเข้าแค่แขนของคนทรง และยังมีการละเล่นอีกบางอย่างที่คนเฒ่าคนแก่ได้เล่าให้ฟังว่า ผี สาง เทวดา จะเข้าทรงทั้งตัว คือ นางแม่สี นางช้าง แต่ปัจจุบันจะเหลือการละเล่นเพียงแค่ นางด้งเท่านั้น แต่บางปีก็จะมีการละเล่น นางหัวควาย นาไซ นางข้อง บ้างแต่ก็ไม่ค่อยนิยม ที่นิยมมากและก็จะเล่นสืบต่อกันมาตลอดคือ นางด้ง จะเล่นกันตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ และอีกอย่างที่คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังให้คือ

  ที่การละเล่นทั้งหลายที่กล่าวมานี้ช่วงหลังๆ จนถึงปัจจุบันไม่ได้เล่น ก็เพราะว่าคนไม่เหมือนแต่ก่อนและก็ปากคนไม่เหมือนแต่ก่อนและก็ปากคนไม่เหมือนสมัยก่อนไม่ค่อยรักษาขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม บางครั้งชอบพูดจาไม่เป็นมงคล ตามคำเชื่อถือจึงทำให้ ผี สาง เทวดา ไม่ทรงลงมาประทับเข้าทรง การละเล่นเหล่านี้จะเล่นกันในเวลากลางคืนยกเว้นวันพระ และจะเล่นกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์และวันสงกรานต์ของชาวบ้านชมพูจะเล่นกันทั้งหมด 7 วัน วันสุดท้ายของวันสงกรานต์คือวันที่ 19 เมษายน จะมีพิธีรดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่และสรงน้ำพระ จะทำสืบต่อกันมาทุกปี


  การละเล่นที่กล่าวมาก็จะเล่นกันมากในสมัยก่อนเพราะสมัยก่อนไม่มีดนตรี ก็จะมีแต่เพลงพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านตอนกลางวันเล่นกันที่ลานวัด พอกลางคืนก็จะเล่นการละเล่นดังที่กล่าวมาข้างต้นที่ลานกลางบ้านซึ่งเป็นศูนย์กลางหรือบริเวณที่มีพื้นที่กว้างขวางเหมาะที่จะเล่นด้วยคนจำนวนมากๆ

  การละเล่นนางด้ง จะเล่นสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันและจะเล่นกันทุกปี เป็นการเล่นที่ทุกเพศทุกวัยชอบได้รับความสนุกสนานถึงจะเจ็บตัวกันเป็นแถวๆ แต่ก็ไม่มีใครว่าอะไรกัน นางด้งจะมีคนเข้าทรงครั้งละ 2 คน เป็นผู้หญิง เมื่อเข้าทรงได้แล้วจะถือกระด้งเป็นอาวุธคอยเฝ้าสาก (จากการสอบถามคนเข้าทรงหลังจากออกจากทรงแล้วคนเข้าทรงเล่าว่าจะชาที่ช่วงแขนเหมือนมีอะไรบังคับซึ้งตัวเองก็ไม่รู้เหมือนกัน และจะรู้สึกหวงสากมากที่สุด เพราะสากที่วางอยู่คู่กันจะเห็นเป็นทองคำ เมื่อมีใครเข้ามาจะเอาสากก็จะไล่ตี) 


  ส่วนคนที่ไม่ได้เข้าทรงก็คือคนดูไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงจะเข้าไปแย่งสาก เมื่อมีคนเข้ามาแย่งสากก็จะถูกนางด้งไล่ตี บางคนหลบไม่ดีถูกตีหัวแตกก็มี บางคนก็แขน ขา หน้าถลอกเป็นแผลก็มี แต่ก็ไม่มีใครถือโทษโกรธอะไรเพราะเป็นการละเล่นมีแต่เสียงหัวเราะ เสียงฮา อยากมีความสุขสนุกสนานบางครั้งถ้าไม่เข้าไปแย่งสากก็จะเข้าไปฟ้อนรำหรือถามหาคู่ว่าอยู่ทิศใด นางด้งก็จะชี้และก็รำกับคนเข้าไปรำด้วย เวลานางด้งจะออกจากการทรงก็จะโยนหรือวางกระด้งที่ถือหงายขึ้นถ้ากระด้งคว่ำจะต้องหงายใหม่เพราะไม่อย่างนั้น ผีสาง เทวดา ไม่ยอมออก พอนางด้งออกจากร่างทรงก็จะเริ่มทำพิธีบวงสรวงอัญเชิญเข้าทรงอีก 

  ก็จะมีกลุ่มคนคอยเคาะไม้ไผ่เป็นจังหวะและก็จะร้องเพลงของนางด้งไปด้วย อีกกลุ่มก็จะไปยืนมุงดูการทรงล้อมวงและก็ร้องเพลงนางด้งไปด้วย จะมีคนคนเฒ่าผู้สูงอายุเป็นคนคอยเซ่นบวงสรวงเจ้าลงมาประทับเข้าทรงนางด้ง นางด้งเข้าหรือไม่เข้าดูได้จากกระด้งที่คนเข้าทรงจับกระด้งเริ่มสั่นก็แสดงว่าเจ้าเริ่มเข้าประทับทรงคนดูคนเชียร์ก็จะเร่งจังหวะร้องเพลงให้เร็วขึ้นพอเข้าเสร็จวงก็จะแตกฮือออกจากบริเวณนั้นเพราะกลัวถูกตี คืนหนึ่งก็จะเล่นกันประมาณ 2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับคนเข้าทรงว่ามีเยอะหรือน้อย และขึ้นอยู่กับคนเล่นและคนดูว่าเล่นกันสุภาพหรือไม่ ถ้าเล่นกันไม่ดีไม่สุภาพก็จะเลิกเล่นกันทันที และจะเล่นกันจนครบ 3 วัน และคนเฒ่าคนแก่ยังบอกอีกว่าคนที่จะเข้าทรงนั้นต้องเป็นคนขวัญอ่อน จิตอ่อน ถึงจะเข้าทรงได้


ความสำคัญ การเล่นนางด้ง เป็นพิธีการขอฝนพิธีหนึ่งของชาวชมพู ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนทุกวันนี้

สาระ การประกอบพิธีการเล่นนางด้งเป็นการแสดงออกถึงความร่วมมือ ร่วมใจ ความสามัคคีปรองดองและเป็นการแก้ปัญหาของท้องถิ่นร่วมกัน

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
อ้างอิงจาก npnfe.wordpress.com

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}