แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ข้อมูลประเพณีไทย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ข้อมูลประเพณีไทย แสดงบทความทั้งหมด

ประเพณีสงกรานต์


ภาพ:สงกรานต์.jpg

        สงกรานต์ แปลว่า การย้ายที่ คือ เป็นวันที่พระอาทิตย์โครจรย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ตามการคำนวณของผู้รู้ทางโหราศาสตร์ ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 1 คำ เดือน 5 แต่การนับวันทางจันทรคตินี้ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติ ในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน จึงถือเอาวันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวันสงกรานต์ แต่เดิมเราถือเอาวันสงกรานต์ เป็นวันปีใหม่ของไทย และแม้ว่าในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามสากลเพื่อให้สอดคล้องกับนานาอารยปนะเทศ แต่ก็ยังยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่มาจนถึงทุกวันนี้ และยังถือว่าวันที่ 15 เมษายน เป็นวันครอบครัวอีกด้วย
        ประเพณีวันสงกรานต์ปกติมีทั้งหมด๓วัน คือเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน โดยถือเอาวันที่ ๑๓ เป็นวันต้น หรือวันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนาหรือวันกลาง และวันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก หรือวันสุดท้าย แต่วันต้นวันเนาวันเถลิงศกนี้ หากนับทางจันทรคติหรือคำนวณทางโหราศาสตร์อาจจะคลาดเคลื่อนกันบ้างในแต่ละปี
ความสำคัญของวันสงกรานต์
1. เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปี
2. เป็นวันทำบุญสร้างกุศล และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ


ภาพ:แห่ผ้าขึ้นธาตุ.gif
        ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ เป็นประเพณีประจำเมืองนครศรีธรรมราชอีกประเพณีหนึ่งซึ่งจะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้งคือในวันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชา โดยชาวนครศรีธรรมราช จะร่วมแรงร่วมใจกันบริจาคทรัพย์สินเงินทองตามกำลังศรัทธา แล้วรวบรวมเงินจำนวนนั้นไปซื้อผ้าเป็นชิ้นๆ ซึ่งมักจะเป็นสีเหลือง สีขาว หรือสีแดงแล้วนำมาเย็บต่อกันเข้าเป็นแถบยาวนับเป็นพันๆ หลา จากนั้นก็จะพากันแห่ผ้าดังกล่าวไปยัง วัดพระมหาธาตุมหาวิหาร โดยแห่ทักษิณาวรรตรอบองค์ พระธาตุ 3 รอบ แล้วจึงนำเข้าสู่วิหารพระม้าหรือพระ ทรงม้า ซึ่งเป็นพระวิหารที่มีบันไดขึ้นสู่ภายในกำแพงแก้ว ล้อมฐานพระบรมธาตุ เพื่อนำผ้านั้นไปพันโอบรอบฐาน องค์พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของ พระพุทธเจ้าเป็นการถวายสักการะอย่างหนึ่งประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุหรือพระธาตุเมืองนครศรี ธรรมราชนับเป็นประเพณีที่รวบรวมเอาศรัทธาของพุทธศาสนิกชนมาหล่อหลอมแสดงความเป็น เป็นปึกแผ่นในศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างไม่เสื่อมคลาย
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

จัดหล่อเทียนพรรษา สืบสานประเพณีไทย



มจร.น่าน จัดหล่อเทียนพรรษา สืบสานประเพณีไทย สืบทอดพระพุทธศาสนา
       ที่ จ.น่าน พระครูสิริธรรมภาณี ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้องเรียนวัดพระธาตุแช่แห้ง วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เป็นประธานจัดหล่อเทียนพรรษาร่วมกับ คณะครู-อาจารย์ พระภิกษุ-สามเณร และนิสิตนักศึกษา คณะพุทธศาสตร์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา , คณะสังคมศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ (การปกครอง) สาขารัฐศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้องเรียนวัดพระธาตุแช่แห้งวิทยาลัย สงฆ์นครน่าน ร่วมกันจัดประเพณีหล่อเทียนพรรษาขึ้น โดยเปิดโอกาสให้คณะศรัทธา-นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างจังหวัด ได้ร่วมกัน หล่อเทียนพรรษา จำนวน 3 ต้น การจัดกิจกรรมหล่อเทียนพรรษาในครั้งนี้ เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีไทยที่มีมาแต่สมัยโบราณ และเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา รวมถึงการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวอีกด้วย
      
       สำหรับ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา ได้ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี กล่าวคือ เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา บรรดาภิกษุสามเณรต้องเข้าจำพรรษาในวัดหรือสถานที่ ที่กำหนดตลอดระยะเวลา 3 เดือน โดยมิให้ไปค้างแรมที่อื่น ในการนี้พระภิกษุสามเณรจะมีการทำวัตร สวดมนต์ทุกเช้าเย็น
      
       ในสมัยโบราณยังไม่มีไฟฟ้าใช้ยามค่ำคืน ต้องอาศัยแสงสว่างจากไส้ตะเกียงน้ำมัน หรือประทีปโคมไฟอื่น ๆ พุทธศาสนิกชนจึงร่วมในกันหล่อเทียนเข้าพรรษา เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้ใช้จุดเวลาทำวัตรสวดมนต์ หรือจุดบูชาพระตลอด 3 เดือน การถวายเทียนพรรษาจึงถือเป็นอานิสงส์อย่างสูงสุด ดั่งความเชื่อว่า หากผู้ใดถวายเทียนซึ่งเป็นแสงสว่าง จะส่งผลให้ผู้นั้นมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด และชีวิตรุ่งเรื่องดั่งแสงเทียน
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย ของไทยเรา

ประเพณี หมายถึง กิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ เป็นกฎระเบียบในการประปฏิบัติตนและ การวางระวางบุคคลในสังคมเช่นมารยาทในห้องรับประทานอาหาร ประเพณีของ ไทยนั้นให้ความสำคัญในการให้ความสำคัญกับผู้อาวุโส ผู้น้อยต้องรู้จักสัม มาคารวะให้ความเคารพผู้ใหญ่ เช่น นักเรียนต้องให้ความเคารพครูบาอาจารย์
          ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิต ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย และชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล เป็นต้น


ประเพณีนบพระเล่นเพลง จังหวัดกำแพงเพชร
          คำว่าประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง ธรรมเนียมมีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป
          ประเพณีไทย นั้นเป็นประเพณีที่ได้อิทธิพลอย่างสูงจากศาสนาพุทธ แต่อิทธิพลจากศาสนาอื่นเช่น ศาสนาพราหมณ์และ การอพยพของชาวต่างชาติเช่นคนจีนก็มีอิทธิพลของประเพณีไทย 
          ประเพณีไทยนั้นสามารถแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่คือ ภาษา , ศิลปะ และประเพณี          ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติของคนไทย ตัวอักษรของภาษาไทยถูกสร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงในค.ศ. 1283 ตัวอักษรของภาษาไทยได้รับอิทธิพลมาจากภาษาบาลี และสันสกฤตจากสื่อของขอมโบราณ ปัจจุบันภาษาไทยประกอบด้วยตัวอักษร สี่สิบสี่ตัว ภาษาไทยมีห้าโทนคือ : สามัญ , เอก, โท, ตรี, จัตวา ซึ่งแตกต่างจากภาษาอื่นเช่นภาษาอังกฤษ เช่นคำว่า บ่า กับบ้านั้นมีความที่แตกต่างกัน ภาษาไทยในปัจจุบันได้รับอิทธพลมาจากภาษาต่างๆ ทั่วโลกเช่น บาลี, ขอม, มาเล, ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน


ประเพณีผีตาโขน จังหวัดเลย
          ศิลปะไทย นั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากพระราชาและชาววังครั้งแต่โบราณ ประเพณีการสร้างภาพวาดฝาหนังก็ยังถูกนิยมมาใช้เพื่อเล่าเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ พิธีกรรมทางการศาสนา
          ตั้งแต่สมัยโบราณคนไทยให้ความสำคัญกับพระพุทธศาสนา จะเห็นได้ว่าคนไทยจากสมัยโบราณจนถึงปัจจุบันนิยม สร้างสิ่งก่อสร้าง ในทางพระพุทธศาสนาเช่น เจดีย์,วัด,หรือสถูป โดยสิ่งปลูกสร้าง ทางพระพุทธศาสนาเหล่านี้นิยม ใช้ในพิธีกรรมที่สำคัญต่างๆในชุมชน เช่นวัดมักนิยมเป็นที่จัดงานประจำปี นอกจากนี้แล้ววัดจึงเป็นจุดศูนย์กลางของหมู่บ้าน เป็นสถานที่เรียนหนังสือกับเยาวชนและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
          ในภาษาบาลีนั้น คำว่าเจดีย์หมายถึง จิตใจหรืออนุสรณ์เตือนใจ คำว่าสถูปนั้นหมายถึงเดือน สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ถูกสร้างมาเพื่อตอน ให้รำลึกถึงความเชื่อใน ศาสนาพุทธที่ว่าสังขารของคนนั้นไม่เที่ยงแท้ เมื่อมีการเกิดก็ย่อมต้องมีวันแตกดับได้เป็นไปตามปัจจัยของโลก คนโบราณจึงมีประเพณีนิยมสร้างเจดีย์ใน วัดเพื่อเตือนใจคนในสังคมไม่ให้ทำความชั่ว และหมั่นสร้างความดีเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมในภพนี้และภพหน้า
          เจดีย์ยังนิยมให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของพระพุทธรูป หากบรรจุพระบรมสารีริกธาตของ พระพุทธเจ้าหรือของพระมหากษัตริย์นั้นก็จะเรียกว่าธาตุเจดีย์
          ประเพณีไทย อันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนา และการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทั่วแผ่นดินไทย เช่น  
          ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน  
          ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร             
          ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา     
          ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น 
          ประเพณี และอารยธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่น นับเป็นมรดกอันลำค่าที่เราคนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป

อ้างอิงจาก http://blog.eduzones.com/eve123/3506
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ความหมายของประเพณีไทย

ประเพณี (tradition) เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิต ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย และชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล เป็นต้น


  • ความหมายของประเพณี

                                   ประเพณี คือ ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ปฎิบัติสืบต่อกันมาจนเป็น แบบอย่างเดียวกัน เป็นระเบียบแบบแผน ที่เห็นว่าถูกต้อง หรือเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ และมีการปฎิบัติสืบต่อกันมา
  •   ประเภทของประเพณี

  1. จารีตประเพณี
  2. ขนบประเพณี
  3. ธรรมเนียมประเพณี     

  1. จารีตประเพณี เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับศีลธรรม และสวัสดิภาพของสังคมส่วนรวม มีการบังคับให้กระทำ ถ้าไม่ทำถือว่าผิดหรือชั่วต้องมีการลงโทษ
  2. ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่ได้มีระเบียบแบบแผนวางไว้โดยตรง หรือโดย อ้อม         
                     โดยตรง คือมีระเบียบกฎเกณฑ์กำหนดไว้ชัดเจน
                     โดยอ้อม เป็นประเพณีที่รู้จักกันทั่วไป ไม่ได้วางไว้แน่นอน ปฎิบัติโดยการ บอกเล่าสืบต่อกันมา          
   3.   ธรรมเนียมประเพณี เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดา ไม่มีระเบียบแบบแผน เหมือนขนบธรรมเนียม ไม่มีถูกผิดเหมือนจารีตประเพณี เป็นเรื่องที่ปฎิบัติกัน มาจนเกิด ความเคยชิน จนไม่รู้สึกเป็นหน้าที่

อ้างอิงจาก wikipedia และ itgo.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}