แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ความหมายประเพณี แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ความหมายประเพณี แสดงบทความทั้งหมด

ความหมายของประเพณีไทย

ประเพณี (tradition) เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิต ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย และชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล เป็นต้น


  • ความหมายของประเพณี

                                   ประเพณี คือ ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ปฎิบัติสืบต่อกันมาจนเป็น แบบอย่างเดียวกัน เป็นระเบียบแบบแผน ที่เห็นว่าถูกต้อง หรือเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ และมีการปฎิบัติสืบต่อกันมา
  •   ประเภทของประเพณี

  1. จารีตประเพณี
  2. ขนบประเพณี
  3. ธรรมเนียมประเพณี     

  1. จารีตประเพณี เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับศีลธรรม และสวัสดิภาพของสังคมส่วนรวม มีการบังคับให้กระทำ ถ้าไม่ทำถือว่าผิดหรือชั่วต้องมีการลงโทษ
  2. ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่ได้มีระเบียบแบบแผนวางไว้โดยตรง หรือโดย อ้อม         
                     โดยตรง คือมีระเบียบกฎเกณฑ์กำหนดไว้ชัดเจน
                     โดยอ้อม เป็นประเพณีที่รู้จักกันทั่วไป ไม่ได้วางไว้แน่นอน ปฎิบัติโดยการ บอกเล่าสืบต่อกันมา          
   3.   ธรรมเนียมประเพณี เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดา ไม่มีระเบียบแบบแผน เหมือนขนบธรรมเนียม ไม่มีถูกผิดเหมือนจารีตประเพณี เป็นเรื่องที่ปฎิบัติกัน มาจนเกิด ความเคยชิน จนไม่รู้สึกเป็นหน้าที่

อ้างอิงจาก wikipedia และ itgo.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}