แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีไทยมีอะไรบาง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีไทยมีอะไรบาง แสดงบทความทั้งหมด

จัดหล่อเทียนพรรษา สืบสานประเพณีไทย



มจร.น่าน จัดหล่อเทียนพรรษา สืบสานประเพณีไทย สืบทอดพระพุทธศาสนา
       ที่ จ.น่าน พระครูสิริธรรมภาณี ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้องเรียนวัดพระธาตุแช่แห้ง วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เป็นประธานจัดหล่อเทียนพรรษาร่วมกับ คณะครู-อาจารย์ พระภิกษุ-สามเณร และนิสิตนักศึกษา คณะพุทธศาสตร์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา , คณะสังคมศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ (การปกครอง) สาขารัฐศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้องเรียนวัดพระธาตุแช่แห้งวิทยาลัย สงฆ์นครน่าน ร่วมกันจัดประเพณีหล่อเทียนพรรษาขึ้น โดยเปิดโอกาสให้คณะศรัทธา-นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างจังหวัด ได้ร่วมกัน หล่อเทียนพรรษา จำนวน 3 ต้น การจัดกิจกรรมหล่อเทียนพรรษาในครั้งนี้ เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีไทยที่มีมาแต่สมัยโบราณ และเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา รวมถึงการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวอีกด้วย
      
       สำหรับ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา ได้ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี กล่าวคือ เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา บรรดาภิกษุสามเณรต้องเข้าจำพรรษาในวัดหรือสถานที่ ที่กำหนดตลอดระยะเวลา 3 เดือน โดยมิให้ไปค้างแรมที่อื่น ในการนี้พระภิกษุสามเณรจะมีการทำวัตร สวดมนต์ทุกเช้าเย็น
      
       ในสมัยโบราณยังไม่มีไฟฟ้าใช้ยามค่ำคืน ต้องอาศัยแสงสว่างจากไส้ตะเกียงน้ำมัน หรือประทีปโคมไฟอื่น ๆ พุทธศาสนิกชนจึงร่วมในกันหล่อเทียนเข้าพรรษา เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้ใช้จุดเวลาทำวัตรสวดมนต์ หรือจุดบูชาพระตลอด 3 เดือน การถวายเทียนพรรษาจึงถือเป็นอานิสงส์อย่างสูงสุด ดั่งความเชื่อว่า หากผู้ใดถวายเทียนซึ่งเป็นแสงสว่าง จะส่งผลให้ผู้นั้นมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด และชีวิตรุ่งเรื่องดั่งแสงเทียน
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

เทศกาลงานประเพณีไทยใน 12 เดือนมีอะไรบ้าง

เทศกาลงานประเพณีไทย
มกราคม 
  • งานกาชาดและงานรวมเผ่าไทยมุกดาหาร มะขามหวานชายโขง จังหวัดมุกดาหาร
  • งานเทศกาลร่มบ่อสร้างและศิลปวัฒนธรรมสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
  • งานวันวีรกรรมทหารเรือไทยในยุทธนาวีที่เกาะช้าง จังหวัดตราด
  • ประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์
  • งานอนุสรณ์ดอนเจดีย์ และงานกาชาด จังหวัดสุพรรณบุรี
  • งานไม้แกะสลักบ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่
  • งานเทศกาลอาหารและผลไม้นครปฐม จังหวัดนครปฐม
กุมภาพันธ์ 
  • งานกาชาด ดอกฝ้ายบาน มะขามหวามเมืองเลย จังหวัดเลย
  • งานมหกรรมหุ่นฝางนก งานของดี และงานกาชาด จังหวัดชัยนาท
  • งานเมืองสามหมอก จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • งานพระนครคีรีเมืองเพชร จังหวัดเพชรบุรี
  • งานไม้ดอกไม้ประดับ จังหวัดเชียงใหม่
  • งานสะโตกช้างลำปาง จังหวัดลำปาง
  • งานไหว้พระธาตุช่อแฮเมืองแพร่แห่ตุงหลวง จังหวัดแพร่
  • งานนมัสการพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก
  • งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
  • งานนมัสการองค์พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม
  • งานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จังหวัดปัตตานี
  • งานมหกรรมโปงลางแพรวา และงานกาชาด จังหวัดกาฬสินธุ์
  • งานบุญเบิกฟ้าและกาชาด จังหวัดมหาสารคาม
  • งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม
  • งานวันมะปรางหวาน และของดีที่นครนายก จังหวัดนครนายก
  • งานวันวีรชนค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
  • งานนมัสการรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
  • งานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • งานนบพระเล่นเพลงและฉลองมรดกโลก จังหวัดกำแพงเพชร
มีนาคม 
  • เทศกาลอนุรักษ์เต่าทะเล จังหวัดพังงา
  • งานมหกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน จังหวัดยะลา
  • ประเพณีเผ่าไทศรีสะเกษและเทศการดอกลำดวน จังหวัดศรีสะเกษ
  • เทศกาลว่าวนานาชาติ จังหวัดกรุงเทพ
  • งานฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
  • ประเพณีบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด
  • งานโลกทะเลชุมพร จังหวัดชุมพร
  • งานวันตราดรำลึก จังหวัดตราด
  • งานสัปดาห์องุ่นหวาน และตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
  • งานเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ จังหวัดอ่างทอง
เมษายน 
  • งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
  • งานบวชพระแห่นาคด้วยช้างของชาวหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย
  • งานสลุงหลวงเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
  • งานประเพณีสงกรานต์ เทศกาลดอกคูน-เสียงแคน จังหวัดขอนแก่น
  • งานประเพณีสงกรานต์และงานล้านนาไทยในอดีต จังหวัดเชียงใหม่
  • งานเทศกาลพัทยา จังหวัดชลบุรี
  • งานประเพณีสงกรานต์พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
  • งานประเพณีกองข้าว จังหวัดชลบุรี
  • งานวันแคนตาลูปและของดีเมืองอรัญ จังหวัดสระแก้ว
  • งานประเพณีสงกรานต์ชาวรามัญ จังหวัดนนทบุรี
  • งานวันอนุรักษ์มรดกไทยและมหกรรมชิงแชมป์หนังตะลุง จังหวัดปัตตานี
  • งานปอยส่างลอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
พฤษภาคม 
  • เทศกาลผลไม้และของดี จังหวัดระยอง
  • งานประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร
  • เทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  • งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
  • งานวันเกษตรและของดี จังหวัดปราจีนบุรี
มิถุนายน 
  • งานประเพณีการละเล่นผีตาโขน จังหวัดเลย
  • งานวันระกำหวานและผลไม้เมืองตราด จังหวัดตราด
  • เทศกาลของดีเมืองจันท์วันผลไม้ จังหวัดจันทบุรี
  • งานวันสุนทรภู่ จังหวัดระยอง
  • งานวันทุเรียนโลก จังหวัดจันทบุรี
  • งานบุญบั้งไฟ จังหวัดหนองบัวลำภู
กรกฎาคม 
  • ประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี
  • ประเพณีตักบาตรดอกไม้ จังหวัดสระบุรี
  • งานพัทยามาราธอน จังหวัดชลบุรี
  • งานแข่งขันแคนูและเทศกาลของดี จังหวัดนครนายก
สิงหาคม 
  • งานวันเงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • เทศกาลลำไยและของดีเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
  • งานล้านนาพฤกษาชาติ จังหวัดเชียงใหม่
  • งานส้มโอชัยนาท จังหวัดชัยนาท
  • งานวันผลไม้หลังสวน จังหวัดชุมพร
  • งานเทศกาลขนมเค้ก จังหวัดตรัง
กันยายน 
  • งานแข่งขันเรือยาวประเพณี จังหวัดพิจิตร
  • เทศกาลลางสาดหวาน และมหกรรมของดีเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
  • เทศกาลโคมไฟไหว้พระจันทร์ จังหวัดสงขลา
  • งานแข่งขันเรือยาวประเพณี ชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดพิษณุโลก
  • งานของดีเมืองนราฯ และการแข่งขันเรือกอและ ชิงถ้วยพระราชทานหน้าพระที่นัง จังหวัดนราธิวาส
  • งานประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
  • งานแข่งขันเรือยาวประเพณี จังหวัดสิงห์บุรี
  • เทศกาลหมูย่างเมืองตรัง จังหวัดตรัง
  • เทศกาลถือศีลกินเจ จังหวัดตรัง
  • ประเพณีสารทเดือนสิบ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ตุลาคม 
  • งานฉลองมรดกโลกบ้านเชียง 5,000 ปี จังหวัดอุดรธานี
  • ประเพณีกินผัก จังหวัดภูเก็ต
  • งานแข่งเรือประเพณีจังหวัดน่าน จังหวัดน่าน
  • งานประเพณีวิ่งควาย จังหวัดชลบุรี
  • งานประเพณีออกพรรษาแห่ปราสาทผึ้งและแข่งเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดสกลนคร
  • งานประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม
  • ประเพณีตักบาตรเทโว จังหวัดอุทัยธานี
  • ประเพณีแข่งโพนลากพระ จังหวัดพัทลุง
  • ประเพณีจองพารา จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • งานประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดปราจีนบุรี
พฤศจิกายน 
  • งานประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดบุรีรัมย์
  • เทศกาลเที่ยวพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
  • งานล่องสะเปาจาวเวียงละกอน จังหวัดลำปาง
  • ประเพณีลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย
  • งานประเพณีโคมยี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่
  • งานลอยกระทงตามประทีปศูนย์ศิลปาชีพบางไทร แข่งเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ประเพณีลอยกระทงสาย จังหวัดตาก
  • เทศกาลดอกบัวตอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • งานแสดงช้าง จังหวัดสุรินทร์
  • งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี
  • เทศกาลอาหารหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • เทศกาลไหมประเพณีผูกเสี่ยว จังหวัดขอนแก่น
  • งานจัดเลี้ยงโต๊ะจีนลิง จังหวัดลพบุรี
  • งานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
  • งานกระบี่เบิกฟ้าอันดามัน จังหวัดกระบี่
ธันวาคม 
  • งานประเพณีฮีตสิบสองและงานกาชาด จังหวัดอำนาจเจริญ
  • งานแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดภูเก็ต
  • งานมหกรรมว่าวอีสาน และงานขึ้นปล่องภูเขาไฟ จังหวัดบุรีรัมย์
  • งานอยุธยามรดกโลก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • งานมหกรรมอาหาร จังหวัดเชียงใหม่
  • งานตากสินมหาราชานุสรณ์และกาชาด จังหวัดตาก
  • งานแร่นองทะเลทองอันดามัน จังหวัดระนอง
อ้างอินจาก http://www.paiteaw.com ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย มีอะไรบาง รู้ไหมเอ๋ย??

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย



    มกราคม  ฤดูเก็บเกี่ยว 
เดือนยี่เมื่อการเก็บเกี่ยวข้าวในนาเเละนวดข้าวเสร็จสิ้นลง เกษตรกรชาวนาซึ่งทำงานหนัก เพราะต้องทำงานตรากตรำ กลางเเดดฝนอยู่ในโคลนตมเป็นเวลานานๆ เมื่อไถหว่านปักดำ จนต้นข้าวงอกงามเติบโตเเละออกรวง ได้เก็บเกี่ยวพืชผลที่ลงเเรงไว้ เมื่อนวดข้าวเเละเก็บข้าวขึ้นใส่ยุ้งฉางเรียบร้อยเเล้ว เสร็จสิ้น การทำงานอีกครั้งหนึ่ง ก็ร่วมกันทำบุญให้ทานเพื่อความเป็นศิริมงคล เเก่ตนเอง ครอบครัวเเละหมู่บ้าน
        
         ประเพณีไทย
         

    กุมภาพันธ์ เิดือนมาฆะ 
"มาฆะ" เเปลว่า เืดือน ๓ ทางจันทรคติเรียกว่า มาฆมาส หรือ มาฆบูชาจาตุรงคสันนิบาต วันมาฆบูชากำหนดตรงกับวันเพ็ญเดือน ๓ ของทุกๆปี พระราชพิธีกุศลวันมาฆบูชานี้ เกิดเมื่อครั้งรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชดำริว่า วันเพ็ญกลางเดือน ๓ เป็นวันพระจันทร์เสวยมาฆฟกษ์ มีเหตุการณ์สำคัญยิ่ง จึงได้พระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดทำพิธีมาฆบูชาขึ้น     
ประเพณีไทย


    มีนาคม วันตรุษสิ้นปี
พิธีทำบุญวันตรุษเดือน ๔ หรือประเพณีการทำบุญวันตรุษสิ้นปี เริ่่มตั้งเเต่วันเเรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ไปจนถึง วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ รวม ๓ วัน ตรุษนี้บอกกำหนดสิ้นปี มีการทำบุญให้ทาน เพื่อระลึกถึงสังขารที่ล่วงมา ด้วยดีอีกปีเเล้ว มีการยิงปืนใหญ่ จุดประทัด ดอกไม้ไฟ ตีกลอง เคาะระฆัง เพื่อขับไล่ สิ่งชั่วร้ายต่างๆ ออกจากเมือง ชาวบ้านต่างก็ทำความสะอาด เคหะสถาน เพื่อเตรียมตัวรับปีใหม่ ที่กำลังจะมาถึง 
    
ประเพณีไทย

    เมษายน  รดน้ำวันสงกรานต์
ในวันเเละเวลาที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เฉพาะในเดือน ๕ เรียกว่าวันมหาสงกรานต์ เพราะถือว่าเป็นวัน เเละ เวลาตั้งต้นปีใหม่คือ  วันที่ ๑๓ เป็นวันต้น คือวันสงกรานต์  วันที่ ๑๔ วันกลาง  คือวันเนา เเละ วันที่ ๑๕ วันสุดท้าย คือวันเถลิงศก  วันสงกรานต์ เป็นประเพณีที่ผู้คนมีความ สนุกสนานกัน หลังงานเก็บเกี่ยวว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา เป็นเวลาที่ ชาวเกษตรกร ได้พักผ่อน เวลาที่จะหาความสนุกใส่ตน ก่อนที่เวลา ที่จะต้องไปทำการเพาะปลูก อีกครั้ง  ผู้คนสาดน้ำใส่กัน ซึ่งหมายถึงอวยพร ให้เเก่กัน เเละขอให้โชคดี ในปีใหม่ที่จะย่างกลายเข้ามา
  
ประเพณีไทย

    พฤษภาคม  วิสาขบูชา
"วิสาขะ" เเปลว่า เดือนที่ ๖ หรือ เรียกว่า "วิสาขมาส"  ในรัชกาลที่สอง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดเกล้าให้ทำพิธี ถวายพระพร เนื่องในวันวิสาขบูชา เป็นครั้งเเรกเมื่อ พศ 2360 (ในราชวงศ์รัตน์โกสินทร์ตอนต้น),  ซึ่งเป็นประเพณีนิยมของชาวไทย มาครั้งตั้งเเต่ในสมัยกรุงสุโขทัย ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ นี้ ชาวบ้านร่วมกันประดับตกเเต่งบ้านเรือน เเละ วัดวาอาราม ด้วยโคมไฟ พู่กลิ่น พวงดอกไม้สด พวงดอกไม้เเห้ง เเละจุดเทียนสว่างไสว 
ประเพณีไทย

    มิถุนายน หล่อเทียนพรรษา
ก่อนเข้าพรรษา ๑ เดือน ประมาณเดือน ๗ ชาวบ้านจัดการเรี่ยไรขึ้ผึ้ง เเละ ร่วมกันทำพิธีหล่อเทียน เเละ เเกะสลัก ปิดทองอย่างสวยงาม เเห่ขบวน เทียนประกวดเเข่งขันกันสนุกสนาน ในสมัยหรุงัตนโกสินทร์ มีพระราชพิธี ถวายเทียนพรรษาไปตามพระอารามหลวงที่สำคัญๆ ซึ่งได้ปฏิบัติสืบทอด มาจนปัจจุบัน เเละ เนื่องจากเป็นเดือนที่มีผลไม้ต่างๆ ออกผลบริบูรณ์มาก จึงจัดให้มีงานบุญสลากภัต ไปถึงวันเข้าพรรษา   
    
ประเพณีไทย

    กรกฎาคม เข้าพรรษา
พรรษา เเปลว่า ฝน หรือ ฤดูฝน ฤดูเข้าพรรษาเริ่มต้นเเต่วันเเรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ราวกลางเดือนกรกฎาคมของทุกๆปี  จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ รวมเป็นเวลา ๓ เดือน เรียกว่า ไตรมาส ตลอดเวลาเข้าพรรษานี้ ชาวบ้าน ตั้งใจละเว้นอบายมุขทั้งปวง ทำจิตใจให้ผ่องเเผ้ว เยือกเย็น เป็นการสร้าง กุศล ซึ่งพระราชพิธีกุศล เข้าพรรษาถือ เป็นพระราชพิธีเเห่งราชสำนัก  มาตั้งเเต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สืบเนื่องมาจนปัจจุบัน  
ประเพณีไทย

    สิงหาคม  โกนจุก
"โกนจุก" เป็นประเพณีไทยเเต่โบราณ เมื่อเด็กอายุครบเดือนได้ทำขวัญเดือน เเละโกนผมไฟ  เมื่อผมมีผมขึ้นใหม่ก็จะเอารัดจุกไว้ตรงกลางศรีษะ ทำทั้งเด็กหญิงเเละชาย, ซึ่งมีความหมายว่าเด็กที่มีผมจุกนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ ไร้เดียงสา ก็จะได้รับความเมตตากรุณาตามสภาวะที่เป็นเด็ก เมื่อเด็กผู้หญิงอายุได้ ๑๑ ปี เเละ เด็กผู้ชาย ๑๓ ปี บิดามารดา่ก็จะจัดงาน เเละตัดผมจุกออก หรือ ปล่อยผมลงมา  เรียกว่า พิธีโกนจุก ซึ่งหมายความ ว่า เด็กนั้นได้เติบโตย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เเล้ว 
ประเพณีไทย

    กันยายน สาท 
"สารท" เเปลว่า ฤดูใบไม้ร่วง ประเพณีทำบุญในวันสารทนี้ กำหนดตรงสิ้นเดือน ๑๐ ชาวบ้านจะนำโภชนาหาร ทานวัตถุในพิธี เช่น ข้าวมทุปายาท ข้าวยาคูุ ข้าวทิพย์ กระยาสารท เเละ กล้วยไข่ ซึ่งพอดีเป็นหน้ากล้วยไข่สุก ไปตักบาตรธารณะ เสร็จเเล้วก็จะเเจกจ่าย ให้ปันกระยาสารทที่เหลือเเก่เพื่อนบ้าน พิธีสารทเป็นระยะที่ต้นข้าวออกรวง เป็นน้ำนม จึงจัดทำพิธีขึ้นเพือเป็นการรับขวัญรวงข้าว เเละ เป็นฤกษสิริมงคล เเก่ต้นข้าวในนาอีกด้วย   

ข้าวมทุปายาท ซึ่งทำจากข้าวที่เป็นน้ำนมข้างใน ซึ่งจำได้จากการเรียนวิชา ศาสนาพุทธ  พระพุทธเจ้าเสวยข้าวมทุปายาท ก่่อนที่จะตรัสรู้  
    ประเพณีไทย

    ตุลาคม เทศกาลทอดกระฐิน
ประเพณีทอดกระฐินนี้ได้ถือปฏิบัติมาตั้งเเต่สมัยกรุงสุโขทัย เเละสืบทอด มาถึงปัจจุบัน ระยะเวลาที่ให้มีการทอดกระฐิน คือ ตั้งเเต่วันเเรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒  เทศกาลทอดกระฐินเป็นงานรื่นเริง ของชาวบ้านในโอกาสที่จะได้ทำบุญควบคู่ไปกับความสนุกสนาน ด้วยเป็นระยะที่หว่าน เเละ ดำข้าวเเล้ว อีกไม่ช้าก็จะเก็บได้ จึงเป็นช่วงที่ จะได้พักผ่อนก่อนงานเก็บเกี่ยว การเลือกไปทอดกระฐินที่ต่างถิ่น เพือเป็นการท่องเที่ยว เยี่ยมเยียน เเละ เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างกันด้วย   ซึ่งเปิดโอกาศให้ผู้เข้าร่วมได้ ไปเปิดหูเปิดตา ได้เรียนรู้จักคนใหม่ๆ เเละ ได้เที่ยวในสถานที่อื่นด้วย 
ประเพณีไทย

    พฤศจิกายน  ลอยกระทง
ลอยกระทง คือวันเพ็ญเดือน ๑๒ ฤดูน้ำหลาก อากาศปลอดโปร่งเเจ่มใส ด้วยหมดฤดูฝนเเล้ว ชาวบ้านได้ประดิษฐ์ประดอยกระทงด้วยใบตอง ตกเเต่งด้วยดอกไม้ เมื่อพระอาทิตย์ตกดิน ผู้คนก็เเต่งกายสวยงาม เเละนำกระทงออกไปด้วย จุดธูปเทียนในกระทงสว่างสวยงาม ลอยไปตามลำน้ำอย่างสวยงาม เพื่อเป็นการขอขมาต่อพระเเม่คงคา      จุดประสงค์ของประเพณีลอยกระทงก็คือ เปิดโอกาศให้ประชาชนได้นึกถึง พระคุณของน้ำ เเละขออภัย พระเเม่คงคาที่ตนได้ใช้น้ำมาตลอด ในการดำรงชีพของตน   ในช่วงนี้เป็นช่วงที่อุดมสมบูรณ์ หน้าข้าว หน้าปลา  จะเห็นผู้คนส่วนใหญ่พูดกันว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว หรือ มีข้าวในนา มีปลาในหนอง ชาวบ้านควรจะทำบุญให้ทาน เเละพักผ่อน สนุกสนาน กันเสียทีหนึ่ง 
ประเพณีไทย

    ธันวาคม ตรุษ เลี้ยง ขนมเบื้อง
ขนมเบื้อง คืออาหารชนิดหนึ่งที่มีใส่ใส้ด้วยกุ้ง  พิธีเลี้ยงขนมเบื้อง  เดือนอ้าย นับเป็นตรุษอย่างหนึ่ง เฉพาะต้องเป็น หน้าหนาว  ตรุษเลี้ยงขนมเบื้องจะต้องเป็นฤดูหนาว เป็น เวลา ที่น้ำลดมีกุ้งชุกชุม เเละ ยังเป็นฤดูที่กุ้งมีมันมากน่า จะทำขนมเบื้องไส้กุ้ง เเต่ก่อนนั้น การละเลงขนมเบื้องนี้นับเป็นคุณสมบัติที่ได้รับความนิยมชมเชยด้วย อย่างหนึ่งของหญิงสาวในความสามารถ ถึงในสมัย รัชกาลที่ ๔ ยังถือกันว่าหญิงใดละเลงขนมเบื้องได้ จีบขนมจีบได้ ปอกมะปรางริ้วได้ จีบใบพลูได้ยาว คนนั้นมีค่าถึง ๑๐ ชั่ง ในสมัยนั้น   ๑๐ ชั่ง = 800 บาท, ซึ่งหมายความว่า ผู้หญิงคนนั้นมีคุญสมบัติที่ดี 

สมัยก่อนมีอัตราเงินดังนี้
4    สลึง  =  1 บาท   (25 สตางค์ = 1 สลึง)
4    บาท  =  1 ตำลึง (100  สตางค์ = 1 บาท)
20  ตำลึง  =  1 ชั่ง

ที่มาจาก http://www.buddhasd.se/tradition2.html
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}