แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ขันเงินใบใหญ่ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ขันเงินใบใหญ่ แสดงบทความทั้งหมด

ประเพณีไทย แห่สลุงหลวง

ประวัติประเพณี
  ในเทศกาลสงกรานต์ คือในวันที่ 12 เมษายน ชาวลำปางจะจัดขบวนแห่ที่เรียกว่า "ประเพณีแห่สลุงหลวงจังหวัดลำปาง" ( สลุงหลวง แปลอีกความหมายว่าขันเงินใบใหญ่
พิธีการคือนำน้ำจากแหล่งน้ำสำคัญไปสรงพระเจ้าแก้วมรกตดอนเต้า วัดพระธาตุลำปางหลวง ที่อัญเชิญมาให้ประชาชนได้ร่วมกันสรงน้ำในช่วงวันขึ้นปีใหม่ไทย

  การสรงน้ำพระที่ถูกต้องตามประเพณีไทย คือใช้วิธีตักน้ำจากสลุงเทสู่ รางริน ซึ่งเป็นทางให้น้ำขมิ้น ส้มป่อย น้ำอบ น้ำหอม ไหลไปสรงองค์พระ อันถือว่าเป็นการสรงน้ำที่ถูกต้องตามประเพณี น้ำที่สรงองค์พระจะไหลไปสู่ภาชนธ และถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวล้านนานำมาประพรมศีรษะ ร่างกายหรือที่อยู่อาศัยเพื่อควาเป็นสิริมงคล ร่มเย็นเป็นสุขแก่ชีวิตและครอบครัวของตนสืบไป
ชาวลำปาง ยึดถือประเพณีสรงน้ำองค์พระแก้วมรกตดอนเต้าสืบมาตลอด การจัดขบวนแห่สลุงหลวง เพื่อรับน้ำขมิ้น ส้มป่อย น้ำอบ น้ำหอม ถือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมแต่โบราณ

พิธีกรรม
  ขบวนแห่สลุงเริ่มจากการแห่ตุง(ธง) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่เต็มไปด้วยสีสันในขบวนแห่ตุงแต่ละผืน มีความหมายในตัว มีทั้งตุงสีชมพูอ่อน ชมพูเข้ม สีส้ม สีเหลือง เขียวสลับลายชมพูและฟ้า ผู้แห่ในขบวนส่วนใหญ่ประกอบด้วยชายฉกรรจ์ โพกผ้าขาวไว้บนศีรษะ เปลือยกายท่อนบนส่วนท่านล่างบางคนนุ่งกางเกงขาสั้นสีแดงบ้าน สีดำบ้าง ในขณะทีบางคนนุ่งกางเกงขายาวสีขาว มีผู้ร่วมขบวนแห่นับร้อยคนแลดูตื่นตาตื่นใจสำหรับผู้พบเห็น


  ต่อจากขบวนตุง ก็เป็นขบวนเครื่องสายและเครื่องเป่าที่คอยประโคมให้ขบวนแห่ครบเครื่อง ทั้งสีสันอันสดสวย และเสียงเครื่องดนตรีขับกล่อมที่สร้างมนต์ตราตรึงให้ผู้พบเห็นได้เข้าถึงพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ได้ง่ายขึ้น

  ต่อจากขบวนเครื่องสาย ก็เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในขบวนแห่ คือ ชาวลำปางจะอาราธนาพระเจ้า แก้วมรกตและพระเจ้าแก่นจันทร์ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะบูชาอย่างสูงของชาวลำปางร่วมในงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ของเมืองลำปาง เพื่อให้ผู้คนชาวลำปางได้ร่วมกันสรงน้ำพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ จากสลุงหลวงเงินสู่ลำรางสรงน้ำต่อไปตามลำดับ

  ขบวนเครื่องสักการะจะมีส่วนประกอบหลักๆได้แก่ สุ่มดอก หรือต้นดอก หรือหลักบายศรี เป็นเครื่องสักการบูชาประเภทหนึ่ง ที่ใช้ใบไม้ ดอกไม้ ตกแต่งคล้ายกับบายศรี ทำรูปลักษณะเหมือนกรวย หรือเป็นพุ่ม หมากสุ่ม คือ การนำผลหมากที่ผ่าซีกแล้วเสียบร้อยด้วยปอหรือด้ายผูกไว้เป็นพวงตากแห้งเก็บไว้กิน 


ซึ่งคนทางเหนือเรียก “หมากไหม” มาปักคลุมโครงไม้หรือโครงเหล็กที่ทำเป็นต้นพุ่มไว้ หมากเบ็ง มีลักษณะเดียวกับหมากสุ่ม แต่ใช้ผลหมากดิบหรือหมากสุกทั้งลูกแทน มีจำนวน ๒๔ ลูก ผูกติดตรึงโยงไว้กับโครงไม้หรือโครงเหล็กที่ทำเป็นพุ่ม ลักษณะการผูกโยงตรึงกันนี้ คนเหนือเรียกว่า “เบ็ง” จึงเป็นที่มาของชื่อต้นพุ่มชนิดนี้ ต้นเทียน มีการนำเทียนเล่มเล็กๆ มาผูกห้อยกับโครง เพื่อให้พระสงฆ์เก็บนำไปใช้สอยได้เลย สะดวกกว่าต้นผึ้งที่ต้องสะสมไปหล่อเทียนเอง


เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
อ้างอิงข้อมูลจาก lampangclub.com/board
ขอบคุณภาพจาก อีเมล์ psuka49@hotmail.com

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}