ประเพณีไทยชิงเปรต


ประเพณีไทยชิงเปรต


ชิงเปรต เป็นประเพณีไทยของภาคใต้ที่ทำกันในวันสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีไทยที่ดำรงอยู่บนความเชื่อของการนับถือผีบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วหากยังมีบาปอยู่จะกลายเป็นเปรตในนรกปีหนึ่งจะถูกปล่อยให้มาเมืองมนุษย์ 15 วัน โดยมาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวัน “รับเปรต” หรือวันสารทเล็ก ลูกหลานต้องเตรียมขนมมาเลี้ยงดูให้อิ่มหมีพีมันและฝากกลับเมืองเปรตในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 นั่นคือวันส่งเปรตกลับคืนเมืองเรียกกันว่าวันสารทใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการได้บุญเพราะเชื่อกันว่าลูกหลานของเปรตใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อม
ได้รับส่วนบุญนั้น พิธีกรรม





ประเพณีไทยชิงเปรต

การตั้งเปรตและชิงเปรตจะกระทำกันในวันยกหมฺรับไปวัดหลักๆก็จะเป็นขนมพอง ขนมลา ขนมเบซำ (ดีซำ) นอกจากนี้ก็อาจจะมีเป็นผลไม้หรืออาหารแห้งอื่นๆที่บรรพบุรุษที่เป็นเปรตชอบไปวางรวมกันไว้บน “ร้านเปรต” หลังจากที่พระสงฆ์ได้ทำพิธีกรรมและกำลังฉันเพล ชาวบ้านก็จะออกมาตักบาตรข้าวสวยและเริ่มชิงเปรตกันซึ่งขั้นตอนนี้ก็จะมีทั้งความชุลมุนและความสนุกสนานผสมกันเป็นที่เฮฮาของบรรดาผู้

  

ประเพณีไทย

การทำบุญวันสารท เดือน ๑๐ กำหนดทำ ๒ ครั้ง คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ โดยเชื่อว่า วันแรม ๑ ค่ำ เป็นวันที่ยมบาลปล่อยให้เปรต หรือเปตชนขึ้นมาเยี่ยมลูกหลาน ๆ ก็จะทำบุญเลี้ยงต้อนรับ เมื่อถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ ก็ถือว่าเป็นวันที่ปู่ย่าตายาย ต้องกลับยมโลก ลูกหลานก็ทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง การเตรียมข้าวของ ขนม ในวันทำบุญ เดือน ๑๐ ๑. ลา มีความหมายใช้แทนเสื้อผ้า ๒. พอง มีความหมายว่าเป็นเครื่องประดับ ๓. ขนมเบซำ (ขนมเจาะหู) ใช้แทนเงิน หรือสตางค์มีรูในสมัยก่อน ๔. ขนมบ้า มีความหมายว่า เงินเหรียญ ๕. ขนมเทียน ใช้แทนหมอนหนุน การชิงเปรต เป็นประเพณีไทยที่ชาวพัทลุงถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณ เป็นประเพณีไทยสำคัญที่กระทำกันจนทุกวันนี้ ชาวพัทลุงแม้จะไปทำมาหากินในท้องถิ่นอื่น เมื่อถึงเดือน ๑๐ ก็มักจะกลับมาร่วมพิธีกับญาติทางบ้าน นับเป็นการช่วยเสริมการผูกพันระหว่างครอบครัวและญาติพี่น้อง ทั้งยังเป็นการระลึกถึงบุญคุณ และคุณงามความดีของบรรพบุรุษของตน แม้จะล่วงลับไปแล้วก็ตาม

ข้อมูลนี้อ้างอิง ປະເພນີປະເທດໄທ.blogspot.com ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}