ประเพณีไทย ขึ้นเขาพนมรุ้ง

ตำนานเรื่องเล่า

ประเพณีไทย ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นศาสนสถานสำคัญบนยอดเขาของนครขอมโบราณนาม วนัมรุงปุระ ตั้งอยู่เชิงเขาพนมรุ้งวนัมรุงปุระ เป็นเมืองใหญ่และมีคามสำคัญมากเมืองหนึ่งบนเส้นทางปราสาทหินโบราณ จากปราสาทหินพิมายไปถึงเมืองพระนคร เมืองแห่งนี้ล่มสลายลงในยุคขอมสิ้นอำนาจและไม่เคยกลับคืนมาเป็นเมืองอีกเลย คงปล่อยให้ศาสนสถานอันสวยงามที่ยังสร้างไม่เสร็จแห่งนี้เปลี่ยวร้าง ปรักหักพังไปตามกาลเวลา

ปราสาทหินพนมรุ้ง น่าจะได้รับการจัดสร้างโดย นายช่างฝีมือเยี่ยมของขอม การรังวัดจัดสร้างต้องทำอย่างมีระเบียบแบบแผน โดยเฉพาะการจัดสร้างแนวประตูปราสาท ที่ต้องวางแนวขนานกับยอดเขา เล็งให้ศูนย์กลางประตูอยู่ในแนวเดียวกับพระอาทิตย์ขึ้นตรงกันตลอดแล้วทำเครื่องหมายไว้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 ของทุกปีเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นขนานกับยอดเขา จึงสามารถมองเห็นพระอาทิตย์ได้เป็นแนวเดียวตลอดทั้ง 22 ประตู และเกิดขึ้นในลักษณะนี้ได้เพียงวันเดียวในรอบปี

ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง เป็นประเพณีที่จัดขึ้นใหม่ด้วยการผนวกเอาตำนาน การสร้างปราสาทหินพนมรุ้งรวมเข้ากับความเชื่อดั้งเดิมของประชาชนท้องถิ่นจัดเป็นงานเทศกาลวันเดียวที่มีเนื้อหาและมีจุดสำคัญของงานต่อเนื่องกันตลอดทั้งวัน นับตั้งแต่การรอชมพระอาทิตย์ขึ้น การทำบุญตักบาตร ขบวนแห่จำลองขบวนเดินทางของเจ้าเมือง การเฉลิมฉลองสมโภชปราสาท และการจัดเลี้ยงอาหารค่ำพร้อมชมการแสดงแสงเสียง ประกอบการแสดงในพื้นที่โบราณสถานอันยิ่งใหญ่ในช่วงกลางคืน 

วันเวลาจัดพิธีกรรม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี

รูปแบบประเพณี


เป็นงานประเพณีไทยวันเดียวที่มีจุดเด่นเป็นระยะ ๆ ตลอดทั้งวัน เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้าพระอาทิตย์ขึ้น จะเป็นการเฝ้าชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ได้เป็นแนวเดียวกันตลอดทั้ง 22 ประตู ปัญหาสำคัญคือ ทุกปีจะมีผู้เฝ้าชมมากแต่ประตูปราสาทเล็กทำให้ชมได้ลำบาก หากไม่ต้องการเบียดชม ก็มีการทำบุญตักบาตรบนยอดเขาในอีกด้านหนึ่ง กระบวนการเดินทางของเจ้าเมืองวนัมรุงปุระนำขบวนนำขบวนข้าราชบริพารขึ้นมานมัสการองค์ปราสาท การนำชมตัวปราสาท และตกค่ำจะเป็นการจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำพร้อมชมแสงเสียงประกอบการแสดงพื้นในที่ลานกว้างหน้าปราสาทท่ามกลางแสดงจันทร์และแสงดาว


จุดเด่นของพิธีกรรม

มีจุดเด่นของพิธีกรรมเป็นระยะ ๆ ตลอดช่วงเช้าและมีช่วงพักในเวลากลางคืน นับเป็นงานเทศกาลที่มีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายกิจกรรมติดต่อกันอย่างน่าสนใจยิ่ง 

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ข้อมูลอ้างอิงจาก ku.ac.th
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}