ประเพณีกวนข้าวทิพย์ เป็นพิธีกรรมของศาสนา พราหมณ์ที่มีสอดแทรกเข้ามาปะปนในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา เพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ และบูชาพระรัตนตรัยอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ผู้ตาย
ประเพณีกวนข้าวทิพย์ เป็นพระราชพิธีที่กระทำกันในเดือน ๑๐ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี และได้รับการฟื้นฟูครั้งใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ และมาละเว้นเลิกรา ไปในสมัยรัชกาล ที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ แล้วมาได้รับการฟื้นฟู อีกครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา แต่ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะจัดกันในเดือน ๑๒ บางแห่งก็เดือนหนึ่ง ซึ่งคงจะถือเอาระยะที่ข้าวกล้า ในท้องนามีรวงขาวเป็นน้ำนม ของแต่ละปี และชาวบ้านก็มีความพร้อมเพรียงกัน
ในจังหวัดสิงห์บุรีบริเวณที่ยังคงรักษาประเพณีกวน ข้าวทิพย์ มีเหลืออยู่เพียง ๓ หมู่บ้าน คือหมู่บ้านพัฒนา โภคาภิวัฒน์ หมู่บ้านวัดกุฎีทอง หมู่บ้านในอำเภอพรหมบุรี ยังคงรูปเค้าโครง ของการรักษาประเพณีไทย และมีความเชื่อถือ อย่างมั่นคง เป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งแฝงด้วยจริยธรรมและคติธรรมอยู่มาก ที่สมควรนำมากล่าวถึงคือ ความพร้อมเพรียงของ ชาวบ้านทั้งที่ทำนา และไม่ได้ทำนาถึงเวลาก็มาร่วมจัดทำและ ช่วยเหลือโดยยึดถือ ความสามัคคีเป็นหลัก พิธีกรรม สิ่งของเครื่องปรุงข้าวทิพย์ ได้เลือก คงไว้ ๙ สิ่ง คือ ถั่ว , งา , นม , น้ำตาล , น้ำผึ้ง , น้ำอ้อย เนย และน้ำนมที่คั้นจากรวงข้าว
ยังคงรักษารูปเดิมไว้ โดยมีพราหมณ์ เข้าพิธี มีสาวพรหมจารีซึ่งจะพิถีพิถันคัดเลือกจากหญิงสาว ที่ยังไม่มีดอกไม้ (ระดู) ด้วยต้องการบริสุทธิ์สำหรับสาว พรหมจารีที่จะเข้าร่วมพิธี ต้องสมาทานศีล ๘ และต้องถือ ปฏิบัติตามองค์ศีลอย่างมั่นคง แม้ที่พักก็จัดให้อยู่ส่วนหนึ่ง จนกระทั่งถึงเวลาถวายข้าวทิพย์แก่ พระสงฆ์ ในตอนเช้าจึง จะหมดหน้าที่ ความเชื่อ ข้าวทิพย์เป็นอาหารที่รวมโอชารสต่าง ๆ ไว้พร้อม บริโภคแล้วจะได้รับประโยชน์ มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน ตามหลักโภชนาการสมกับเป็นข้าวทิพย์ รวมเอนกรส ยากที่จะทำขึ้นบริโภคได้ เมื่อผู้ใดได้บริโภคแล้วจะทำให้มีกำลังแข็งแรง มีคุณค่าอาหาร คงอยู่ในตัวได้นานพิจารณาแล้ว จะเป็นทางสนับสนุนข้าวทิพย์ของนางสุชาดา ที่นำไปถวายพระพุทธเจ้า ในวันตรัสรู้
เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
อ้างอิงข้อมูลจาก kanchanapisek.or.th
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}