แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ชาวล้านนา แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ชาวล้านนา แสดงบทความทั้งหมด

ประเพณีไทย วันขึ้นปีใหม่ของชาวล้านนา

ชาวล้านนาถือเอาเดือนเมษายน หรือเดือน 7 เหนือ เป็นเดือนเปลี่ยนศักราชใหม่ เรียกกันว่า ปี๋ใหม่

    ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของชาวล้านนา มีความแตกต่างจากสงกรานต์ของชาวไทยภาคกลาง ทั้งระยะเวลา กิจกรรม ความเชื่อ และความมุ่งหมาย ดังนั้น ปีใหม่เมืองของชาวล้านนา จึงมีวันและกิจกรรมต่างๆ ที่ปฏิบัติกัน มากกว่าสงกรานต์ของชาวไทยภาคกลาง ซึ่งประกอบด้วย วันสังขานต์ล่อง วันเน่า วันพญาวัน วันปากปี วันปากเดือน และวันปากยาม


   ปีใหม่เมืองของชาวล้านนาตรงกับเดือนเมษายน ซึ่งอยู่ในฤดูร้อนเป็นช่วงเวลาที่มีอากาศร้อนมาก และช่วงเวลาว่างจากการทำไร่และเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว จึงถือเอาวันปีใหม่เป็นวันทำบุญใหญ่วันหนึ่งในรอบปี เป็นวันที่สนุกสนานรื่นเริงด้วยการเล่นน้ำสงกรานต์ให้เย็นฉ่ำ ถือขันน้ำรดน้ำให้แก่กัน มีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น มะกอน ม้าจ๊กคอก อีโจ้ง (โยนหลุม) จึงเป็นโอกาสที่เด็กๆหนุ่มสาว ผู้เฒ่าผู้แก่ได้พบเจอกันและทำกิจกรรมร่วมกันผ่านประเพณีต่างๆ เช่น สรงน้ำพระ ขนทรายเข้าวัด ดำหัว ทำบุญที่วัดในวันพญาวัน


ก่อนจะถึงวันปีใหม่ บรรยากาศในทุกหมู่บ้านคึกคักด้วยการจัดเตรียมช่อตุงปีใหม่ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยนั่งตัดตุง หลากหลายสี


   มีตุงไส้หมู ตุงรูปคน ตุงสิบสองราศี ส่วนแม่เรือนพ่อเรือนปัดกวาดแผ้วถางบ้านให้สะอาดงดงาม เพื่อชำระล้างความสกปรกที่หมักหมมมาตลอดทั้งปี และต้อนรับสิ่งดีงามที่จะเกิดขึ้นในปีใหม่

   การคำนวณวันขึ้นปีใหม่ในแต่ละปี โหราจารย์หรือผู้รู้ด้านวัฒนธรรมล้านนาจะเป็นผู้คำนวณ และประกาศปีใหม่เมืองของปีนั้นๆ เรียกว่า ปักขะทืนล้านนา หรือหนังสือปีใหม่เมือง โดยถือเอาวันที่ราศีมีนย้ายเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกันในแต่ละปี

   การคำนวณวันขึ้นปีใหม่ในแต่ละปี โหราจารย์หรือผู้รู้ด้านวัฒนธรรมล้านนาจะเป็นผู้คำนวณ และประกาศปีใหม่เมืองของปีนั้นๆ เรียกว่า ปักขะทืนล้านนา หรือหนังสือปีใหม่เมือง โดยถือเอาวันที่ราศีมีนย้ายเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกันในแต่ละปี


   เมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้วจึงประกาศให้ชาวเมืองรับรู้ และปฏิบัติตนตามประเพณี เช่น วันที่ ๑๔ เมษายน อาจเป็นวันสังขานต์ล่อง ๑๕ เมษายน อาจเป็นวันเน่า ๑๖ เมษายน อาจเป็นวันพญาวัน เป็นต้น ปัจจุบัน ชาวล้านนานิยมทำบุญ และทำกิจกรรมเทศกาลปีใหม่เมือง ตามวันหยุดราชการในปฏิทินสากล วันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันสังขานต์ล่อง ๑๔ เมษายน เป็นวันเน่า ๑๕ เมษายน เป็นวันพญาวัน

   ประเพณีปีใหม่ของชาวล้านนา มีคติความเชื่อเกี่ยวกับขุนสังขานต์หรือขุนสังกรานต์ ซึ่งแตกจากความเชื่อของชาวไทยภาคกลาง คือไม่ได้กล่าวถึงท้าวกบิลพรหมและธรรมบาลกุมารแต่อย่างใด แต่กล่าวถึงขุนสังขานต์ในลักษณะ บุคลาธิษฐาน หมายถึงพระอาทิตย์ เป็นตัวแทนของการเปลี่ยนศักราชในแต่ละปี และมีอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกมนุษย์ จากการคำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร์

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
อ้างอิงข้อมูลจาก library.cmu.ac.th

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}