แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีบ้าน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีบ้าน แสดงบทความทั้งหมด

ประเพณีไทย งานบุญกลางบ้าน



ประเพณีงานบุญกลางบ้าน
เป็นประเพณีงานบุญ ที่เกิดขึ้นหลังเสร็จสิ้นจากการเก็บเกี่ยวข้าวของเกษตรกรชาวนา ที่จัดขึ้นในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี มักจัดขึ้นในราวกลางเดือน 3 - 6 ซึ่งเป็นเวลา ปัจจุบันเทศบาลเมืองพนัสนิคมได้นำมาผสมผสานกับประเพณีของไทย ลาว และจีน จนกลายเป็นประเพณีที่รวมกิจกรรมของทั้งไทย ลาว และจีนไว้ด้วยกัน จัดขึ้นในวันศุกร์ สัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมของทุกปี เรียกว่า ประเพณีงานบุญกลางบ้านและเผยแพร่เครื่องจักสานพนัสนิคม

ถือว่ามีขึ้นพร้อมกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชน มีความแตกต่างไปจากการทำบุญอื่น ๆ ซึ่งแทนที่จะทำที่วัดหรือที่บ้าน แต่จะทำบุญที่บริเวณลานกว้างกลางหมู่บ้านอันเป็นที่สาธารณะ หรือบริเวณลานวัดร้าง หรือลานท้องนา โดยนำเอาความเชื่อถือเรื่องผีแบบโบราณ เข้ามผสมผสานกับพิธีทางพระพุทธศาสนา คือมีการสวดมนต์เลี้ยงพระ

ประเพณีดั้งเดิมจะกระทำระหว่างเดือนสามถึงเดือนหก โดยมีความเชื่อว่าผู้ที่ทำบุญเดือนสามกลางเดือน จะเป็นผู้อยู่รอดปลอดภัย ประเพณีนี้ทำกันมานานนับร้อยปีมาแล้ว เป็นการทำบุญตลอดจนบูชาและอุทิศส่วนกุศลแก่พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรรมนายเวร ฯลฯ เพื่อคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข และประสบความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ขับไล่สิ่งร้ายในรอบปีที่ผ่านมาให้หมดสิ้นไป โดยการสะเดาะห์เคราะห์ ขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล (บางตำบลมีการแห่นางแมวขอฝน)

ขั้นตอนการพิธี คือตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์เก้ารูปหรือมากกว่า มาสวดมนต์เย็นหลังจากพระสงฆ์สวดจบหนึ่งบท ในชุมชนบางแห่งจะมีการตีฆ้องสามครั้ง หลังสวดมนต์เสร็จแล้วบางแห่งอาจมีการละเล่นจำพวก หมดลำ ลิเก รำวง ฯลฯ เช้าวันรุ่งขึ้นจะนิมนต์พระสงฆ์มาฉันเช้า โดยชาวบ้านจะนำข้าวหม้อแกงหม้อมารวมกัน เพื่อถวายพระในบางแห่งจะมีการเผาข้าวหลามถวายพระด้วย บางแห่งมีการทำกระทงด้วยใบตอง แล้วใส่ถาดกาบกล้วยที่ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วใช้กาบกล้วยตัดเป็นรูปคน หรือบางครั้งใช้ดินเหนียวปั้นเป็นรูปคนเท่าจำนวนคนในบ้าน รวมไปถึง วัวควาย ไก่ หรือสัตว์เลี้ยงอื่นด้วย และใส่เสื้อผ้าให้ด้วย จากนั้นนำถาดดังลก่าวไปวางทางทิศตะวันตก ของที่ใส่ในกระทงบ่งแห่งใส่ชิ้นพล่า ปลายำ พริกแห้ง เกลือ หัวหอม ข้าวดำ ข้าวสาร แล้วจุดธูปปักลงในกระทง และใส่สตางค์ไปด้วย เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วก็จะนำน้ำมารูปละหนึ่งแก้ว ยืนเป็นวงกลม แล้วกรวดน้ำราดลงไปในกระทง เสร็จแล้วนำไปวางไว้ที่ทางสามแพร่งหรือที่โคก หลังเสร็จพิธีแล้ว ชาวบ้านจะนั่งรับประทานอาหารร่วมกัน



ที่มา http://school.obec.go.th
เรีบบเรียงโดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}