แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีแข่งว่าว แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีแข่งว่าว แสดงบทความทั้งหมด

ประเพณีไทย แข่งว่าวไทย.. จังหวัดสตูล


ช่วงเวลา ต้นสัปดาห์แรกเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี

ความสำคัญ


การแข่งขันว่าวประเพณีไทยจังหวัดสตูล เริ่มมีวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ โดยคณะครู-อาจาย์โรงเรียนสตูลวิทยา และชาวบ้านตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ริเริ่มจัดการแข่งขัน เนื่องจากช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ลงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ลมว่าวกำลังพัดย่านท้องที่สนามบิน และในจังหวัดภาคใต้ เหมาะแก่การเล่นว่าว ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นเมืองที่ลงทุนน้อย เล่นง่าย เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ประดิษฐ์ว่าวประเภทต่างๆ ขึ้นมา ประกอบคนชาวไทยเป็นนักประดิษฐ์ ช่างคิด ช่างทำ เห็นควายอยู่ในนาที่กำลังเก็บเกี่ยวจึงได้จำลองหน้าตาของควายลงในตัวว่าว ขณะที่ว่าวลอยกลางอากาศส่วนหางจะอยู่บน ส่วนหัว เขา จมูก หู อยู่ส่วนล่าง ว่าวมีเสียงดัง อยู่ไม่นิ่ง ส่ายไปมาเหมือนนิสัยบ้าบิ่นของควาย ชาวบ้านจึงเรียกว่าวควาย เป็นสัญลักษณ์ของการเล่นว่าวในจังหวัดสตูล เป็นที่นิยมของประชาชนในจังหวัดใกล้เคียง เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ



พิธีกรรม
อดีตว่าวเป็นเครื่องมือวัด ลม เป็นอุปกรณ์เสี่ยงทายถึงความเจริญก้าวหน้าของท้องถิ่นนิทาน หรือตำนานของไทย เช่น เรื่องแก้วหน้าม้า ว่าวสมัยก่อน พระมหากษัตริย์ให้ความสนใจมากหากว่าวตกลงบ้านใคร เจ้าของบ้านจะได้รับรางวัลเป็นสิ่งตอบแทน ชาวจีนใช้ว่าวทำสงคราม ชาวฝรั่ง เช่น เบ็ญจามิน แพรงกิน ใช้ว่าวทดลองทางวิทยาศาสตร์
ว่าวจุฬา - ปักเป้า เป็นว่าวที่พระราชาทรงโปรด จัดให้มีการแข่งขันท้องสนามหลวง ว่าวจุฬา แต่ละตัวที่จัดทำขึ้นต้องมีพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น การค้นหาไม้ไผ่ที่แก่จัด อยู่กลางกอไผ่ มีอายุที่กำหนดไว้ เมื่อตัดไม้ไผ่แล้วต้องไปแช่น้ำระยะหนึ่ง จึงจะมาตกแต่ง มีการรมควันเพื่อให้ไม้ไผ่ทนทาน ไม่มีมอด แมลงมาชอนไช การตกแต่งโครงว่าว การผูกเชือก การติดกระดาษ ล้วนแต่ใช้ภูมิปัญญาไทย บางครั้งต้องมีการเซ่นไหว้ เพื่อให้มีชัยชนะ

สาระ
๑. เป็นการตอบแทนบุญคุณของควายที่ช่วยเหลือชาวนา ทำนา จึงเทอดทูนผู้มีพระคุณ
๒. เป็นการอนุรักษ์ช่างฝีมือในการทำว่าว ซึ่งนับวันจะหายากยิ่งขึ้น
๓. เสริมสร้างความสัมพันธ์ไมตรีที่ดีต่อกันระหว่างรัฐต่าง ๆ ของประเทศมาเลเซียที่มีชายแดนติดต่อกับจังหวัดสตูล
๔. เป็นศูนย์รวมของว่าวภาคใต้
๕. เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ปลูกฝังให้เยาวชนให้ตระหนักถึงภูมิปัญญาไทย มรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรม


เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
อ้างอิงข้อมูลจาก prapayneethai.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}