แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีโยนบัว แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีโยนบัว แสดงบทความทั้งหมด

ประเพณีไทย งานรับบัวพระ

บทความที่ผมนำเสนอนี่เป็นข้อมูลอ้างอิงส่วนหนึ่งเท่านั่นซึ่งผมได้อ่านแล้วก็ย่อๆมาให้เพื่อนๆแล้วนะครับ ประเพณีไทยนี่แทบจะไม่มีคนรู้จักเลยผมก็เห็นว่ามันน่าสนใจดี



งานโยนบัว ผมอยู่บางบ่อไม่ไกลจากวัดหลวงพ่อโตบางพลีใหญ่ที่มีการจัดงานโยนบัวกันทุกปี แต่ผมก็ไม่เคยได้มาเที่ยวเลยสักครั้งเดียว ปีนี้จังหวะดีได้มาเที่ยวครับ งานโยนบัวคืองานที่ชาวบ้านจะโยนบัวไปบนเรือที่แห่หลวงพ่อโตจำลองที่มาทางเรือ โดยผู้มาร่วมงานจะจรดฝักบัวที่หัวอธิฐาน แล้วจึงโยนบัวให้ลงในหน้าหลวงพ่อให้สำเร็จครับ

สำหรับดอกบัวในงาน ก็มีแม่ค้ามาวางขายริมคลอง ผมเดาว่าสมัยก่อนนี้แต่ละคนน่าจะนำดอกบัวกันมาเอง เพราะที่บางพลีใหญ่มีดอกบัวเยอะอยู่แล้ว ตอนที่หลวงพ่อโตมาก็มาขึ้นที่สระบัวตามตำนานครับ มาถึงวันนี้บัวหายากขึ้นชาวบ้านและนักท่องเที่ยวเลยต้องซื้อมาโยนบังกัน

สำหรับหลวงพ่อโต นั้นเป็นพี่น้องกับหลวงพ่อโสธร และหลวงพ่อวัดบ้านแหลมครับ ลอยน้ำมาพร้อมกันแต่ขึ้นกันคนละที่ หลวงพ่อโตมาขึ้นที่สระบัวที่วัดบางพลีใหญ่ในปัจจุบันนี้ เลยมีการระลึกถึงหลวงพ่อโต ในการรับหลวงพ่อโต ทำให้มีงานโนบัวรับในจนทุกวันนี้ งานโยนบัวจะจัดขึ้นช่วงออกพรรษาของทุกปี



ช่วงเวลา 
 -เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ถึง ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ก่อนออกพรรษา

ความสำคัญ 
 -ประเพณีรับบัวเป็นประเพณีประจำท้องถิ่น ของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็น
 -ประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมิได้ปรากฏหลักฐานว่ามีมาแต่ยุคใดสมัยใด 
 -ประเพณีรับบัวนี้มีข้อสันนิษฐานความเป็นมาได้ 3 ประการ




พิธีกรรม
 พอถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ตั้งแต่ตอนเย็นชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการ ชาวพระประแดง และชาวต่างถิ่นจะชักชวนพวกพ้องเพื่อนฝูงลงเรือพร้อมด้วยเครื่องดนตรีนานาชนิดเช่น ซอ ปี่ กระจับ โทน รำมะนาโหม่ง กรับ ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น พายกันไปร้องรำทำเพลงกันไปตลอดทาง ตลอดคืน ซึ่งบางพวกจะผ่านมาทางลำน้ำเจ้าพระยา บางพวกจะผ่านมาทางลำคลองอื่นๆเข้าคลองสำโรงและมุ่งหน้ามายังหมู่บ้านบางพลีใหญ่สำหรับชาวบางพลีนั้นจะถือปฏิบัติกันเป็นประเพณีว่าเมื่อถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็จะต้องเตรียมหาดอกบัวหลวง สำหรับมอบให้แก่ชาวบ้านที่ต้องการและมิตรต่างถิ่นมาเยือนในโอกาสเช่นนี้ ก็คงแสดงมิตรจิตออกต้อนรับ จัดหาสุราอาหารมาเลี้ยงดูกันตั้งแต่ตอนค่ำของวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ส่วนพวกที่มารับบัวคนใดรู้จักมักคุ้นกับชาวบางพลีผู้เป็นเจ้าของบ้าน ก็จะพาขึ้นไปเยี่ยมเยือนบ้านนั้นบ้านนี้ และต่างก็สนุกสนานร้องรำทำเพลงและร่วมรับประทานอาหารสุรากันตลอดคืน พอเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านต่างก็นำเรือของตนออกไปตามลำคลองสำโรงเพื่อไปขอรับบัวจากชาวบ้านบางพลีทั้งสองฝั่งคลอง การให้และการรับดอกบัวก็จะทำกันอย่างสุภาพ คือส่งและรับกันมือต่อมือ หรือก่อนให้จะยกมือพนมอธิษฐาน เสียก่อนระหว่างชาวบ้านบางพลีกับชาวต่างถิ่นที่สนิทสนมคุ้นเคยกันป็นพิเศษ บางทีชาวบางพลีก็จะโยนดอกบัวลงไปให้กันโดยไม่มีพิธีรีตอง เหตุที่มีการโยนบัวให้กัน แบบมือต่อมือจึงเลือนไปจนมีการนำไปพูดกันตอนหลังว่า รับบัว โยนบัว การรับดอกบัวของชาวต่างบ้านจากชาวบางพลีจะสิ้นสุดเมื่อเวลาประมาณ 08.00 น. หรือ 09.00 น. และชาวบ้านก็จะพากันกลับ ตอนขากลับจะมีการแข่งเรือกันไปด้วยแต่เป็นการแข่งขันโดยมีเส้นชัย ไม่มีกรรมการตัดสินและไม่มีการแบ่งประเภทหรือชนิดของเรือ ใครพอใจจะแข่งกับใครเมื่อไหร่ที่ใดก็แข่งกันไปหรือจะเปลี่ยนคู่เปลี่ยนคู่แข่งกันไปเรื่อยๆตามแต่จะตกลงกันดอกบัวที่ชาวต่างถิ่นรับจากชาวบางพลีไปนั้นจะนำไปบูชาในเทศกาลออกพรรษาตามวัดในหมู่บ้านของตน ประเพณีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ครั้นนานมาชาวต่างถิ่นที่นำเรือมารับดอกบัวจากชาวบางพลีมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ เสียงกระจับ ปี่ สีซอ กลองรำมะนา เสียงเพลงเสียงเฮฮาที่เคยเซ็งแซ่ตามลำคลองสำโรงในคืนวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็ค่อยๆเงียบหายไป 

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ข้อมูลอ้างอิง hotsia.com แหล่งรวมข้อมูลความรู้
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}