แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีไทยอีสาน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีไทยอีสาน แสดงบทความทั้งหมด

ประเพณีไทย แห่นางแมวขอฝน




ประเพณีแห่นางแมวขอฝนของชาวบ้าน

ประเพณีแห่นางแมวขอฝน เพื่อนๆ หลายๆ คนคงจะเคยได้ยินมานะครับว่ามีวิธีการ ขอฝน อยู่อย่างหนึ่งคือ การ แห่นางแมว ซึ่งเป็นพิธีอ้อนวอนขอฝนตามความเชื่อของชาวอีสาน  ประเพณีแห่นางแมวขอฝน  ซึ่งจะจัดทำขึ้นในระหว่างเดือน 7- 9 และนิยมทำกันทั่วไปในภาคอีสาน แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นประเพณีประจำปี จะทำเฉพาะในปีใดที่ฟ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะกระทำจนกลายเป็น ประเพณีขอฝน ที่สืบทอดกันมาตราบจนทุกวันนี้ 




แมวสีดำที่ใช้ในการแห่นางแมว

ประเพณีแห่นางแมวขอฝน วันประกอบพิธีไม่มีวันกำหนดที่แน่นอน โดยมากมักจะเป็นวันพระ เมื่อตกลงกำหนดวันเรียบร้อยแล้วชาวบ้านจะจัดเตรียมสถานที่เกี่ยวกับพิธีที่วัด




การแห่นางแมวขอฝนจะใส่แมวไว้ในกระทอ

ประเพณีแห่นางแมวขอฝน จะมีการทำพิธีของชาวบ้านโดยการแห่แมว หรือเรียกว่า แห่นางแมว เพราะเชื่อว่าที่ฝนไม่ตกมีเหตุผลหลายประการ เช่น เกิดจากดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง,ประชาชนชาวบ้านหย่อนในศีลธรรม ,ทำผิดจารีตประเพณี เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ชาวอีสานจึงต้องประกอบพิธีขอฝน และการที่ต้องใช้แมวเป็นตัวประกอบสำคัญในการขอฝน นั้นเพราะเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ที่เกลียดฝน ถ้าฝนตกครั้งใดแมวจะร้องทันที ชาวอีสานจึงถือเอาเคล็ดนี้




ประเพณีแห่นางแมวขอฝนจะเป็นการแห่ที่สนุกสนานของชาวบ้าน

เมื่อแมวร้องในเวลาฝนตก จะเป็นเหตุให้ฝนตกจริงๆ ชาวบ้านจึงร่วมมือกันสาดน้ำและทำให้แมวร้องมากที่สุดจึงจะเป็นผลดี และชาวอีสานเชื่อว่าหลังจากทำพิธี แห่นางแมวขอฝน แล้วฝนจะตกลงมาตามคำอ้อนวอน และตามคำเซิ้งของการ 
แห่นางแมว
 
สิ่งสำคัญที่ใช้ใน พิธีแห่นางแมวขอฝน

1. กะทอหรือเข่งที่มีฝาปิดข้างบน 1 อัน
2. แมวสีดำตัวเมีย 1 ตัว (เหตุที่ใช้แมวสีดำเพราะ ให้เป็นสีดำเหมือนก้อนเมฆเมื่อฝนตก)
3. เทียน 5 คู่
4. ดอกไม้ 5 คู่
5. ไม้สำหรับสอดกะทอให้คนหาม 2 ท่อน

ขั้นตอนของ พิธีแห่นางแมวขอฝน

1.ชาวบ้านรวมทั้งคนแก่คนหนุ่มและเด็กส่วนมากจะเป็นผู้ชาย ปรึกษาหารือกัน คนที่เป็นผู้นำกล่าวเซิ้ง เพื่อให้ผู้ไปแห่ทั้งหมดเป็นผู้ว่าตาม ส่วนใหญ่จะเป็นคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน

2. จับเอาแมวตัวเมียสีดำ 1 ตัวใส่ในกะทอ ใช้เชือกผูกปิดปากะทอไม่ให้แมวออกได้ และใช้ไม้สอดกะทอให้คนหาม 2 คน ตั้งคายด้วยขันธ์ ห้า ป่าวสักเคเทวดา เพื่อให้เทวดาบันดาลให้ฝนตก

3. ได้เวลาพลบค่ำผู้คนกำลังอยู่บ้าน ก็เริ่มขบวนแห่โดยหามกะทอแมวออกข้างหน้า แล้วตามด้วยคนว่าคำเซิ้ง และผู้แห่ว่าตามเป็นท่อนๆ ไป ในขบวนก็จะมีการตีเกราะเคาะไม้ตีกลองเพื่อให้เกิดจังหวะตามไปด้วย และแห่ไปทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านนั้นๆ เมื่อแห่ไปถึงบ้านใครเจ้าของบ้านก็ต้องเอาน้ำสาดหรือรดที่ตัวแมวให้เปียกและทำให้แมวร้อง และสาดใส่ขบวนเซิ้งด้วย การแห่นางแมวขอฝนบางบ้านก็สาดใส่ขบวนเฉยๆ โดยไม่ให้ถูกแมว เพราะปรากฏว่าเซิ้งหนักๆ เข้า แมวตายวันละตัว

ประเพณีแห่นางแมวขอฝน จะมีคำเซิ้งแต่ละท้องถิ่น ไม่ค่อยเหมือนกันแต่สิ่งที่รวมอยู่ในคำเซิ้งคือมีการพรรณนาถึงความแห้งแล้งและขอให้ฝนตกเหมือนกัน 

คำเซิ้งในการแห่นางแมวขอฝน

"เต้าอีแม่นางแมว แมวมาขอไข่ ขอบ่ได้ขอฟ้าขอฝน
ขอน้ำมนต์หดหัวแมวบ้าง บ่ได้ค่าจ้างเอาแมวข้อยมา
บ่ได้ปลาเอาหนูกับข้าว บ่ได้ข้าว เหล้าเด็ดก็เอา
เหล้าโทก็เอา แมงเม่าเอย อย่าฟ้าวขายลูก ข้าวเพิ่นปลูก
ลูกน้อยเพิ่นแพง ตาเวนแดง ฝนแทงลงมา ตาเวนต่ำ
ฝนหน่ำลงมา ตาเวนตก ฝนตกลงมา
ดังเค็งๆข้ามดงมานี้แบ้นบักเลิกแบ้นพ่ออีเถิง
ฮ่งเบิงๆฝนเทลงมา ฝนบ่ตกข้าวไฮ่ตายเหมิดแล้ว
ฝนบ่ตกข้าวนาตายแล้งเหมิดแล้ว
ฝนบ่ตกกล้าแห้งตายพรายเหมิดแล้ว
ตกลงมาฝนตกลงมา เท่งลงมาฝนเท่งลงมา"






ชมภาพและบรรยากาศของประเพณีแห่นางแมวขอฝน

ประเพณีแห่นางแมวขอฝน ซึ่งถ้าเพื่อนๆได้เห็นบรรยากาศแล้วล่ะก็  คงสนุกสนานและเพลิดเพลินไปตามๆ กันนะครับ


ขอบคุณ:esanclick.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

เขยฝรั่งแต่งงานประเพณีไทยอีสาน

เรื่องราวความรักกว่าจะลงเอยด้วยการแต่งงานนั้นก็ดูเหมือนจะต้องอาศัยโชคบวกกับโอกาสอยู่ไม่น้อย ยิ่งเป็นเรื่องราวของคู่รักที่อยู่คนละประเทศก็ยิ่งทำให้อดคิดสงสัยไปต่างๆ นานาน่าใคร่อยากรู้นัก ดังคู่รักของสาวไทยกับชายฝรั่งจากเยอรมันคู่นี้ คือ "คุณอ้อย" และ "มิสเตอร์โทมัส"


ทั้งคู่เลือกที่จะแต่งงานตามแบบฉบับประเพณีไทยอีสาน ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างจากที่อื่นๆ อยู่บ้าง ก็ตรงที่ได้เห็นการผสมผสานหลากวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน อาทิ พิธีบายศรีสู่ขวัญแบบประเพณีอีสาน และการแต่งกายแบบชุดไทยกลางประยุกต์ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องประดับ ขันหมาก ขบวนแห่ขันหมาก และการโยนช่อดอกไม้ของเจ้าสาวให้กับคนโสดที่มาร่วมงานเพื่อเสี่ยงรักให้กับผู้ที่จะได้แต่งงานคนต่อไปตามความเชื่อการแต่งงานของฝรั่ง ( "ฝรั่ง" เป็นชื่อเรียกคนแถบยุโรปโดยรวม ซึ่งเป็นคนละความหมายกับภาษาอีสานที่เรียกว่า "บักสีดา" คือ "ฝรั่ง" เป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง )

                                                     

รื่องราวความรักระหว่าง "มิสเตอร์โทมัส" และ "คุณอ้อย"
ย้อนไปเมื่อ 3 ปี ที่พัทยา ณ ขณะนั้น... "คุณอ้อย" ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยทันตแพทย์ และมีชายฝรั่งนามว่า "โทมัส" มารักษาฟัน ที่ๆ คุณอ้อยทำงานอยู่ นี่คือจุดเริ่มต้นเรื่องราวความรักของคนทั้งสอง ตรงกับวันที่ 5 วันพ่อแห่งชาติ ซึ่งเป็นวันสำคัญของประเทศไทย ทั้งคู่คบหาดูใจกันมาตลอด 3 ปี ก่อนตัดสินใจแต่งงานกันในที่สุด และเลือกวันที่ 5 ธันวาคม ของปีนี้ ( พ.ศ. 2554 ) เป็นวันแต่งงานดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่แปลก...แต่ดูดี คือ คนไทยจะไม่นิยมแต่งงานในเดือนคี่ ตามตำราโหรไทยถือว่า เดือนธันวาคมเป็นเดือนคี่ แต่ทั้งคู่ก็ถือฤกษ์ที่ทั้งสองได้พบรักกันครั้งแรก คือ วันที่ 5 ธันวาคม ดังจะเห็นว่าการแต่งงานครั้งนี้ ตรงกับวันพ่อแห่งชาติของไทย และมีการจุดเทียนชัยถวายพระพรแด่ "ในหลวง" องค์พระมหากษัตริย์ ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 9 ของประเทศไทยในงานแต่งงานครั้งนี้ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ฝรั่งต่างแดนได้ให้ความสำคัญถึงวันดังกล่าว...

การที่ "มิสเตอร์โทมัส" ได้ตกลงปลงใจแต่งงานกับ "คุณอ้อย" เพราะชอบที่คุณอ้อยเป็นหญิงไทยที่ไม่รีบร้อน ความหมายคือ ไม่รีบร้อนที่จะรีบรักๆๆๆๆ รีบแต่งๆๆๆๆๆ ไวๆ เหมือนคู่อื่น ดังที่เขาได้พบเห็นมา และเห็นว่า "คุณอ้อย" ประพฤติตนได้เป็นธรรมชาติที่สุด "คุณอ้อย" มีนิสัยประหยัด มัธยัสถ์ อันจะสังเกตได้จาก "คุณอ้อย" ลงมือทาสีบ้านทั้งหลังด้วยตัวเอง เมื่อแน่ใจเช่นนั้นแล้ว จึงได้พาคุณอ้อยบินลัดฟ้าไปที่ประเทศเยอรมัน ไปเพื่อให้พ่อแม่ของมิสเตอร์โทมัสได้ดูตัวของ "คุณอ้อย " และเป็นที่ถูกอกถูกใจ ประทับใจ ในตัว "คุณอ้อย" จึงเห็นด้วยกับการแต่งงานของทั้งคู่ในครั้งนี้ และได้จดทะเบียนสมรสกันที่ประเทศเยอรมันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว "คุณอ้อย" จึงเป็นคนไทยสัญชาติเยอรมันตามกฏหมาย และเมื่อแต่งงานเสร็จแล้ว ก็ต้องไปใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศเยอรมันเป็นลำดับต่อไป......

ทั้งคู่จึงเลือกแต่งงานกันที่ประเทศไทย ณ บ้านอีโสด ต.หนองเทพ อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}