แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ลอยกระทง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ลอยกระทง แสดงบทความทั้งหมด

ประเพณีไทย ลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัด.สุโขทัย


ประวัติความเป็นมา เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทง เริ่มมีมาแต่ สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าว ศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่า พิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีปและนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสอง มาใช้ใส่เทียนประ ทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอน ต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของ ไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ" ประเพณีลอยกระทงนั้นมีมาแต่โบราณ โดยมีคติความเชื่อหลายอย่าง เช่น เชื่อว่าเป็นการบูชาและขอขมา แม่พระคงคาเป็นการสะเดาะเคราะห์ เป็น การบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น การลอยกระทงนิยมทำกัน ในวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกๆ ปี อันเป็นช่วงที่น้ำในแม่น้ำลำคลองขึ้นสูง


ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง

  • เป็นการขอขมาพระแม่คงคาที่มนุษย์ได้ใช้น้ำได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่ น้ำ
  • เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมม ทานที ในประเทศอินเดีย
  • เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
  • ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่าพระอุป คุตทรงสามารถปราบพระยามารได้
ประวัติความเป็นมาประเพณีลอยกระทง

    ลอยกระทง (Loi Krathong Day) เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบ ต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทง เริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน 11 ถึง กลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมาก คือ ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะ อาดแสงจันทร์ส่องเวลากลางคืนเป็น บรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่ การลอยกระทง
 เดิมพิธีลอยกระทง เรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคมลอยโคม ซึ่ง เป็นพิธีของพราหมณ์เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระ นารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอิน เดีย
    ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญ โดยเฉพาะ ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง และประกวดธิดางาม ประ จำกระทงด้วย




    การลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง ในเดือน 12 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วยและดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะ อธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวัง พร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคาตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวด กระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้กระทงควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย ตามธรรมชาติ



ข้อมูลอ่างอิง thaigoodview.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย ลอยกระทงสาย ไหลประทีป 1,000 ดวง


image  
 ประเพณีลอยกระทงสาย จังหวัดตาก เป็นประเพณีที่นำเอาพระพุทธศาสนา ภูมิปัญญาชาวบ้าน งานศิลปวัฒนธรรมมาหล่อหลอมรวมกันจนเป็นรูปแบบที่โดดเด่นปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งจะแตกต่างจากจังหวัดอื่นเพราะส่วนประกอบของกระทงที่ใช้กะลามะพร้าว ประกอบกับแม่น้ำปิงที่ไหลผ่านจังหวัดตากจะมีสันทรายใต้น้ำทำให้เกิดเป็นร่องน้ำที่สวยงามตามธรรมชาติ เมื่อนำกระทงลอยกระทงจะไหลไปตามร่องน้ำดังกล่าวเกิดเป็นสายยาวต่อเนื่องของกระทงทำให้แสงไฟของกระทงส่องแสงระยิบระยับเป็นสายยาวตามความยาวของร่องน้ำมีความสวยงามมาก จึงได้มีการพัฒนารูปแบบจากการลอยในชุมชนมาเป็นการแข่งขันลอยกระทงสาย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศเป็นประจำทุกปี และยังได้รับพระราชทานพระประทีปจากพระบรมวงศานุวงศ์รวม 10 พระองค์ มาลอยเป็นปฐมฤกษ์ในการจัดงาน
  สำหรับการจัดงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1,000 ดวงนี้จะแตกต่างจากจังหวัดอื่นอีกประการหนึ่งคือ ก่อนที่จะมีการแข่งขันลอยกระทงสาย 1 วัน จะต้องนำกระทงขนาดใหญ่ที่เรียกว่ากระทงนำพร้อมกระทงกะลา และกระทงปิดท้าย ซึ่งประดิษฐ์อย่างวิจิตรงดงามออกมาแห่ โดยมีผู้ร่วมขบวนแห่จำนวน 100 คน แต่งกายอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ซึ่งถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อแข่งขันในวันต่อไป
ข้อมูลอ้างอิง mthai.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย วันลอยกระทง



ลอยกระทง เป็นประเพณีที่สำคัญและเก่าแก่ของไทย ตรงกับวันขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งอยู่ในช่วงน้ำหลาก มีที่มากจากพิธีกรรมเกี่ยวกับน้ำ ซึ่งปัจจัยสำคัญในวัฒนธรรมของไทย ถึงแม้จุดมุ่งหมายความเชื่อในวันลอยกระทงจะแตกต่างกัน แต่ความหมายที่เหมือนกันของประเพณีลอยกระทงก้อคือ การแสดงออกถึงความกตัญญู รู้จักสำนึกถึงคุณค่าของน้ำ ที่ช่วยให้เรามีชีวิตที่ดี นับเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่ดีงามอย่างหนึ่งของไทย ปัจจุบันประเพณีลอยกระทงได้ถูกดัดแปลงไปบ้าง การให้ความสำคัญของความหมายของวันลอยกระทง

                                                      

 เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม
ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย

การลอยกระทง ตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทงรูปดอกบัว และรูปต่างๆถวาย พระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน"
   ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า

   "ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรง พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอก ทำประกวดประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้าง วิจิตรไปด้วยเครื่องสด คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20 ชั่งบ้าง ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง"
    ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญ โดยเฉพาะ ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง และประกวดธิดางามประจำกระทงด้วย
     ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยังนิยมทำกัน ชาวบ้านจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆ ถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุด ที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคม บนท้องฟ้า พร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาวสวยงามมากทีเดียว ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}