วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่คนไทยกำหนดสร้างขึ้น มีการเรียนรู้สืบต่อกันมามีลักษณะที่แสดงออกถึงความงอกงาม ความเป็นระเบียบร้อย ความกลมเกลียว ตลอดจนการมีศีลธรรมอันดีของสมาชิกไทย เช่น การใช้ภาษาไทย การรู้จักเคารพผู้อาวุโส การไหว้ ศิลปกรรม แบบไทย อาหารไทย รวมทั้งการแต่งกายที่สุภาพเรียบร้อย ถูกต้องตามกาลเทศะเหมาะสมตาฐานะและวัย
วัฒนธรรมมีความสำคัญต่อคนไทยและสังคมไทยหลายประการ ดังนี้
1. เป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญและเชิดชูเกียรติของบุคคลและประเทศชาติ
2. เป็นเครื่องที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะประจำชาติและดำรงความเป็นชาติไทย
3. เป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข
4. เป็นเครื่องช่วยให้คนไทยภูมิใจในชาติไทย
5. เป็นเครื่องช่วยในการสร้างสัมพันธ์กับนานาชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมของกันและกันและนำมาปรับใช้กับสังคมไทย
ลักษณะของวัฒนธรรมไทย
1. วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม นับตั้งแต่อดีตคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าว ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทย เช่น พิธีแรกนาขวัญ พิธีสู่ขวัญข้าว เป็นต้น
2. วัฒนธรรมไทยมีแบบแผนทางพิธีกรรม มีขั้นตอน รวมถึงองค์ประกอบในพิธีหลายอย่าง เช่นการทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำศพ พิธีมงคลสมรส เป็นต้น
3. วัฒนธรรมไทยเป็นความคิด ความเชื่อ และหลักการ ที่เป็นองค์ความรู้ซึ่งเกิดจากการสั่งสมและสืบทอดกันมา เช่นความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และศาสนา ค่านิยมการรักนวลสงวนตัวของสตรี เป็นต้น
4. วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน นอกจากคนไทยจะมีวัฒนธรรมเป็นของตนแล้ว ยังมีการรับวัฒนธรรมของชาติอื่นมาด้วย เช่น การไหว้ จากอินเดีย การปลูกบ้านโดย ใช้คอนกรีต จากวัฒนธรรมตะวันตก หรือการทำสวนยกร่อง จากวัฒนธรรมจีนเป็นต้น
5. วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะเป็น การดำเนินชีวิต บรรทัดฐานทางสังคม ศิลปกรรม วรรณกรรม พิธีกรรม ตลอดจนประเพณีต่างๆ
เช่น การตักบาตรเทโว ประเพณีการตักบาตรเทโว ประเพณีทอดกฐิน ประเพณีถวายสลากภัต เป็นต้น จนอาจกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญต่อลักษณะทาง วัฒนธรรมไทย
การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
การอนุรักษ์วัฒธรรมไทยนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือกันของคนไทยทุกคนมีวิธีการ ดังนี้
1. ศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งที่มีการรวบรวมไว้แล้วและยังไม่ได้ศึกษา เพื่อทราบความหมาย และความสำคัญของวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นมรดกของไทยอย่างถ่องแท้ ซึ่งความรู้ดังกล่าวถือเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิต เพื่อให้เห็นคุณค่า ทำให้เกิดการยอมรับ และนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ต่อไป
2. ส่งเสริมให้ทุกคนเห็นคุณค่า ร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยนและตอบสนองกระแสวัฒนธรรมอื่นๆ อย่างเหมาะสม
3. รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชน ตระหนักในความสำคัญ ของวัฒนธรรมว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้การรับผิดชอบร่วมกันในการส่งเสริมสนับสนุน ประสานงานการบริการความรู้ วิชาการ และทุนทรัพย์สำหรับจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม
4. ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยการใช้ศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน
5. สร้างทัศนคติ ความรู้ และความเข้าใจว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง ฟื้นฟู และการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของชาติ และมีผลโดยตรงของความเป็นอยู่ของทุกคน
6. จัดทำระบบเครื่อข่ายสารสนเทศทางด้านวัฒนธรรมเพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานเพื่อให้ประชาชนเข้าใจ สามารถเลือกสรร ตัดสินใจ และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตทั้งนี้สื่อมวลชนควรมีบทบาทในการส่งเสริม และสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}