ประเพณีไทย วัวลาน เมืองเพชรบุรี ต้นฉบับการแข่งวัวลาน

สวัสดีครับเพื่อนๆที่ติดตามผมอยู่วันนี้ผมจะมาเสนอข้อมูลประเพณีไทยเมืองเพรชบุรีแข่งวัวลานต้นฉบับแห่งการแข่งวัววานแบบดังเดิม ประเพณีนี้จัดทุกปีครับ ผมจะไม่พูดบรรยายความมากแล้วเชิญไปอ่านประวัติความเป็นมาต้นฉบับ....

ประวัติ / ความเป็นมา



การเล่นวัวลาน ได้มีวิวัฒนาการมาจากการใช้วัวนวดข้าว เพราะลักษณะลานนวดข้าวเป็นวงกลมเป็นดินเหนียวที่อัดแน่นเป็นพื้นเรียบ แล้วส่วนใหญ่ชาวนาจะทาพื้นด้วยมูลวัวอีกทีหนึ่ง วิธีการนวดข้าวนั้น ชาวนาจะแยกเมล็ดข้าวออกจากรวงหลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว โดยใช้แรงวัวมาช่วยนวดข้าว ชาวนาจะผูกวัวเรียงเป็นแถวหน้ากระดานไว้กับเสากลางลานบ้าน วัวที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลาง ไม่ต้องใช้กำลังและฝีเท้ามาก เพราะอยู่ในช่วงหมุนรอบสั้นวนเป็นรอบ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าข้าวจะหลุดออกจากรวงข้าวหมด แต่วัวตัวที่อยู่นอกสุดอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลาง ระยะทางที่ต้องหมุนจะยาวกว่า จึงต้องเลือกวัวตัวที่มีกำลังและฝีเท้าดีด้วยเหตุนี้ วัวหมุนรอบและเหยียบย่ำจนเมล็ดข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าว เมล็ดข้าวเปลือก วัวหมุนรอบและเหยียบย่ำจนเมล็ดข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าว เมล็ดข้าวเปลือกจะหล่นบนพื้นลานที่ปราบไว้ดีแล้ว การนวดข้าวจึงเกิดการละเล่นพื้นบ้านวัวลาน



วัวลาน จึงจัดเป็นการเล่นพื้นบ้านหรือกีฬาพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้ รับความนิยมอย่างสูง จัดเป็นหัวใจของคนท้องถิ่น ด้วยว่า “วัว” เป็นสัตว์ที่คลุกคลีอยู่กับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวบ้านมาแต่ครั้งบรรพกาล การแข่งขันวัวลานจึงเป็นกีฬาของลูกผู้ชายชาวเมืองเพชรโดยแท้ การแข่งขันวัวลาน ได้วิวัฒนาการและเปลี่ยนแปลงมาจากการนวดข้าวของชาวไทยท้องถิ่นซึ่งใช้วัวเดินวนนวดข้าวในลานวงกลม วัวของใครมีพละกำลังดี แข็งแรงมากก็จะเดินวนนวด ข้าวอยู่รอบนอก วัวตัวใดมีพละกำลังน้อยก็จะเดินคลุกอยู่วงในชิดเสากลางลาน ต่อมาคงมีการ พนันขันต่อสนุกสนานกันขึ้นในวงนวดข้าว การแข่งขันวัวลานจึงถือกำเนิดขึ้นมาจากประเพณีการ นวดข้าวดังกล่าวนี้ สำหรับในจังหวัดเพชรบุรีกล่าวกันว่า เริ่มมาจากตำบลท่าแร้ง ซึ่งมีชาวอิสลามมาเลี้ยงวัวอยู่มากก่อนตำบลอื่น จากนั้นก็ได้รับความนิยมขยายอาณาเขตจนนิยมกันไปทั้งเมือง

กำหนดงาน

การแข่งขันวัวลานคนที่จังหวัดเพชรบุรี มีกำหนดไม่แน่นอน ซึ่งก็แล้วแต่ว่าที่ไหนจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันบางครั้งก็จัดในช่วงสงกรานต์หรือบางครั้งจะแข่งขันกันในช่วงฤดูแล้ง หรือช่วงเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว และออก พรรษาแล้ว ในช่วงเข้าพรรษาจะงดการแข่งขันโดยสิ้นเชิง

อุปกรณ์การแข่งวัวลาน

  1.  เสาเกียรติ ทำด้วยเสากลม ต้องแข็งแรงพอที่จะต้านทานแรงดึงของวัว 18-19 ตัวได้ เสานี้จะ ปักกลางลานที่วิ่งสำหรับผูกวัวที่จะวิ่งแข่ง อาจมีการบวงสรวง ชุมนุมเทวดาด้วย ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว เหล้า และมะพร้าวอ่อน
  2. เชือกห่วงและเชือกพวน เชือกห่วงเป็นเชือกที่คล้องไว้ที่เสาเกียดสำหรับผูกวัว ส่วนเชือกพวน คือ เชือกที่ทาบคอวัวผูกติดกันเป็นราวแล้วผูกกับเชือกห่วงอีกทีหนึ่ง ขณะที่จะนำวัวผูกกับเสาเกียดนั้น เจ้าของวัวและคณะจะโห่เอาฤกษ์เอาชัย
  3. ราวพักวัว จะใช้ไม้ไผ่ผูกเป็นราวไว้
  4. วัวที่ใช้เล่นวัวลานจะมีลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นวัวพันธ์ไทยเพศผู้ แข็งแรงอดทน ซึ่งเจ้าของจะต้องฝึกวัวให้คุ้นเคยกับคนจำนวนมากๆ เพื่อวัวจะได้ไม่ตื่นคน และจะต้องให้อาหารเสริม เช่น เกลือแร่ ไข่ น้ำมันตัปปลา กล้วยน้ำว้าแช่น้ำผึ้ง
- วัวนอก คือ วัวที่อยู่ปลายเชือกจะต้องคัดเลือกวัวที่มีพละกำลัง เพราะจะต้องวิ่งชนะวัวในให้ได้
- วัวใน คือ อยู่ถัดจากวัวนอก ตัวที่ 2-4จะต้องเลือกวัวตัวที่มีฝีเท้าดีเช่นกัน
- วัวคาน คือ วัวที่ติดอยู่กับตัวที่ 4 (วัวใน)เข้าไปถึงเสาเกียด มีจำนวน 14-18 ตัว มีหน้าที่ช่วยพยุงวัวนอกและวัวในให้แข่งขัน

เครื่องประดับวัวลาน
  • เชือกขับเป็นเชือกที่ใช้ผูกวัว
  • กระดิ่งมีไว้เพื่อรู้ตำแหน่งของวัวเมื่อวัวหาย
  • เขาลองทำจากไหมพรมใช้ประดับวัว
  • ลูกเชือกทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างอ้อม สะพาย กับ เชือกขับ
  • หน้าเพชร
  • เกราะ
การจัดสนามแข่งวัวลาน

ประกอบด้วยลานดินมีลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เมตร ตรงกลางจะมีเสาใหญ่ทำด้วยเนื้อแข็งปักไว้อย่างมั่นคงที่สุดสำหรับผูกวัว ซึ่งเรียกเสาไม้นี้ว่า "เสาเกียด" ที่ริมสนามจะมีหอคอยสูงประมาณ 3-5 เมตร เพื่อให้คณะกรรมการ และโฆษกของงานขึ้นไปนั่งสังเกตการณ์


วิธีการเลือกวัวที่เข้าวิ่งจะประกอบไปด้วย


 วัวผูก หรือ วัวพวง วัวผูกนี้ส่วนใหญ่ผู้จัดการแข่งขันจะจัดหามาเอง โดยอาศัยการไหว้วานจากสมัครพรรคพวก และการวิ่งแต่ละรั้งจะต้องมีวัวผูกอย่างน้อย 19 ตัว

วัวสาม เป็นวัวที่ผูกถัดมาจากวัวพวง ซึ่งทางคณะกรรมการจะต้องเตรีมไว้เช่นกัน และจะต้องเลือกวัวที่มีฝีเท้าพอ ๆ กับวัวที่จะแข่งขัน (วันยืนและวัวติด) เพราะถ้าวัวสามวิ่งช้ากว่าวัวแข่งจะดึงวัวยืนให้แพ้

วัวยืน และ วัวติด วัวสองตัวนี้ เป็นวัวที่เข้าแข่งขัน ตัวที่ยืนติดจากวัวสาม เรียกว่า "วัวยืน" และตัวอยู่นอกสุดเรียกว่า "วัวติด" วัวยืน และวัวติดนี้คนที่เป็นเจ้าของจะต้องมาจับฉลากกันว่าตัวไหนจะเป็นวัวยืน ตัวไหนจะเป็นวัวติด แล้วจึงวิ่งรอบเสาเกียด 3 รอบ
ดังที่เรียนให้ทราบแล้วว่า วัวยืนและวัวติดจะต้องวิ่งกันคนละ สามรอบของเสาเกียด แต่ละรอบกรรมการซึ่งอยู่บนหอคอยจะขานว่า "หู" "ผาน" หรือ "สวาบ" หรือ "หลุด" เมื่อวัววิ่งเลยธงได้เสีย แต่ถ้าวัวหลุดตั้งแต่ยังไม่ถึงธงได้เสียจะต้อง กลับมาตั้งต้นกันใหม่ ถ้าวัวหลุด 3 ครั้ง ถือว่าแพ้ ต้องมาสลับที่กับวัวยืนใหม่ การที่กรรมการขานคำว่า "หู"หมายความว่า ชนะแค่หู ซึ่งจะมีคะแนนให้ 3 คะแนน และ "ผาน" แปลว่า ชนะแค่หน้าหนอก หรือระดับหนอกได้ 2 คะแนน "สวาบ" ชนะแค่สวายได้ 1 คะแนน คะแนนนี้ให้เฉพาะวัวติด ว่าจะเกาะวัวยืนได้นานแค่ไหน

การเตรียมความพร้อมของวัว
เจ้าของวัวจะนำวัวของตนเอวมารวมกันแล้วต้อนขึ้นรถยนต์ ซึ่งเป็นรถบรรทุก จะบรรทุกวัวไปยังสถานที่เล่นวัวลานตามที่นัดหมาย ซึ่งเรียกกันว่า "ลานวัว" ระหว่างทางก็จะมีการโห่ร้องอย่างสนุกสาน เพื่อให้เกิดความครึกครื้น วัวอยู่ตรงกลางรถ คนจะอยู่ที่ท้ายรถ และด้านบนของหัวรถ เมื่อไปถึงลานวัวเป็นเวลาที่พลบค่ำ เจ้าของวัวจะนำวัวลงจากรถบรรทุกนำไปผูกไว้ยัง "ราวผูกวัว" ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้จัดให้มีการเล่นวัวลานเป็นผู้จัดเตรียมไว้ ซึ่งก็จะอยู่ติดกับ "ลานวัว"


วิธีการเล่นวัวลาน
วัวลาน เป็นการเล่นพื้นเมืองของชาวเมืองเพชรบุรี ที่สะท้อนให้เห็นสภาพสังคมเกษตรกรรม เป็นการพักผ่อนหย่อนใจและเกมสนุกสนานตื่นเต้น ส่งเสริมอาชีพทางอ้อม กระตุ้นให้ผู้เลี้ยงวัว ดูแลวัวให้แข็งแรงสมบูรณ์ ด้วยมุ่งหวังให้วัวลงแข่งเพื่อรับเงินรางวัลและมีชื่อเสียง การละเล่นวัวลานวิวัฒนาการมาจากการใช้วัวนวดข้าว การเตรียมสถานที่เล่นวัวลาน ต้องมีที่เป็นลานกว้างสำหรับวัววิ่ง ปักหลักเกียด ซึ่งเป็นหลักไม้ไว้กลางลาน มีศูนย์กลางและเชือกพรวนไปตามแนวรัศมีของลานเป็นวงกลม แล้วนำวัวตัวผุ้มาผูกติดเป็นรัศมีออำไปยาว และมีราวสำหรับพักวัว การละเล่นจะมีผู้มาร่วมหลายคณะ 
การแข่งขันจะมี 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายวัวรอง และฝ่ายวัวนอก 

ฝ่ายวัวรอง จะผูกวัวไว้ตามเชือกพรวนตามรัศมีของบานประมาณ 17-20 ตัว ตามแต่ตกลง แต่ต้องคัดเลือกวัวฝีเท้าดีประมาณ 3 ตัว ไว้รอบนอกคอยวิ่งกันมิให้วัวนอกของอีกฝ่ายหนึ่งที่จะนำมาผูกวิ่งแซงได้ 

ฝ่ายวัวนอก จะนำวัวที่มีฝีเท้าดีที่สุดมาผูกทับกับวัวรอง เพื่อจะได้แข่งขันกันว่าวัวใครมีฝีเท้าดีและเมื่อปล่อยวัวแล้ว ถ้าวัวนอกวิ่งแซงวัวรองได้และสามารถลากวัวรองไปได้อย่างไม่เป็นขบวนและทำให้วัวรองดิ้นหลุดจากระดับแถว แสดงว่าวัวนอกชนะ แต่ถ้าวัวรองสามารถวิ่งแซงวัวนอกและลากวัวนอกไปจนทำให้ดิ้นออกมาจากรัศมีแถวได้ ก็ถือว่าวัวรองชนะ ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่สามารถแซงซึ่งกันและกันได้ก็เสมอกัน วัวลานมักเล่นในฤดูแล้งหรือว่างจากการทำนา

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ข้อมูลอ้างอิง mit.pbru.ac.th

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}