ประเพณีไทย ลงแขกเกี่ยวข้าว


มารู้จักการลงแขกเกี่ยวข้าวกันเถอะ


ช่วงนี้อิสานบ้านเฮาก็ย่างเข้าสู่ปลายฝนต้นหนาวชาวนา ก็สิเริ่มเข้าสู่ฤดูการเก็บเกี่ยว ประเพณีอิสานบ้านเฮาอีกย่างหนึ่งคือประเพณี ลงแขกเกี่ยวข้าว หรือ การหา ,การวาน,เพื่อมาช่วยกัน โดยไม่มีค่าจ้าง ลักษณะสิเป็นการแสดงนําใจ ในการช่วยเหลือกัน ซึ่งชาวนาอิสานสิหมุนเวียนช่วยกันไปเรื่อยๆ หลังจากช่วยคนหนึ่งเสร็จ วันต่อไปก็ไปช่วยอีกคนหนึ่ง ซึ่งเจ้าของที่นาหลังจากเพื่อนบ้านมาช่วยแล้วก็ สิแต่ งสําหรับ กับข้าว เหล้าไห ไก่ตัว บางที่ก็ร้องรํา ทําเพลงม่วนชื่นกันไปหลังจากเหน็ดเหนื่อยมาทั้ง วัน เป็นการสังสรรค์ต่างตอบแทน ที่มาช่วยเหลือ ซึ่งการกระทําในลักษณะนี้ ยุควัตถุนิยมสิหาดูยากมาก ทุกวันนี้สิมีแต่การจ้าง ใช้เงินเป็นหลัก บ่อคือรุ่นก่อน สิช่วยกันด้วยใจจริง


    คนอีสานส่วนใหญ่ จะเป็นผู้มีน้ำใจไมตรี ดังนั้นในการทำกิจการ งานใดๆ ไม่ว่างานเล็กงานใหญ่ จะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเพราะทุกคนต่างมีน้ำใจให้กันและกัน ช่วยงานกันคนละมือละไม้ใช้เวลาไม่นานงานก็สำเร็จลุล่วงไปได้สมปรารถนา การทำงานแบบนี้ คนอีสานเรียกว่า "ลงแขก" การลงแขกในภาคอีสานก็คือการบอกกล่าวขอแรงบรรดาญาติสนิทมิตรสหาย ให้มาช่วยทำงานนั่นเอง งานที่จะลงแขกกันนั้นอาจจะเป็นงานส่วนรวมหรืองานส่วนตัวก็ได้ สำหรับงานส่วนตัวนั้นส่วนมากมักจะเป็นงานใหญ่สุดกำลังคนในครอบครัวจะทำได้ หรืออาจจะเป็นงานหนักแต่จำเป็นต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว จึงต้องบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยเหลือเพื่อให้งานเสร็จสิ้นไปงานที่มักลงแขก เช่น การลงแขกทำนา ซึ่งมีการลงแขกดำนา ลงแขกเกี่ยวข้าว ลงแขกตีข้าว (นวดข้าว) ลงแขกสร้างบ้าน ลงแขกขุดมัน ลงแขกลอกปอ เป็นต้น


  -การลงแขกทำนา ด้วยการทำนาเป็นงานหนักและในรอบปีหนึ่งต้องใช้ แรงงานมากถึง 4 วาระด้วยกันคือช่วงการดำนา การเกี่ยว การตี และเอาข้าวขึ้นเล้า ดังนั้นการทำงาน ทุกๆ ระยะ ส่วนมากจะใช้วิธีการลงแขก อาศัยแรงจากญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยกัน เมื่อลงแขกในนาตนเสร็จก็เปลี่ยนไปลงแขกนาของคนอื่นๆ ต่อไปเป็นการตอบแทน ซึ่งเป็น การแสดงน้ำใจที่มีให้กันและกัน โดยเฉพาะในปัจจุบันลูกหลานคนหนุ่มสาวไปทำงานต่างถิ่น ปล่อยให้พ่อแม่และคนแก่อยู่บ้าน การลงแขกจึงยังมีความจำเป็นสำหรับชาวร้อยเอ็ด

  -การลงแขกสร้างบ้าน การลงแขกขุดมัน การลงแขกลอกปอ ก็จะมีลักษณะ การทำงานเช่นเดียวกับ การลงแขกทำนาคือคนที่เป็นเจ้าของงานจะไปบอกกล่าวญาติมิตร และ เพื่อนบ้านให้ทราบว่าตนจะทำอะไร และขอแรงเขามาช่วยงาน จะต้องการแรงงานมากน้อยเพียงใด ก็บอกกล่าวไปตามจำนวนที่ต้องการ นัดกำหนดวันที่จะทำงาน
ในการลงแขกฝ่ายเจ้าบ้านจนเป็นฝ่ายตระเตรียมอาหารการกินไว้ให้พร้อมบริบูรณ์ มิให้ขาดตกบกพร่อง เป็นอาหารที่มีคุณค่า ทั้งปริมาณก็มากพอเพียง และต้องเป็นอาหารพิเศษ เช่น ลาบ ตำบักฮุ่ง(ส้มตำ) ปิ้งไก่ ต้มไก่ เป็นต้น

   ขณะทำงาน คณะลงแขกจะทำงานไปพูดคุยกันไป และมีการจ่ายผญา สลับกับ การเล่านิทานก้อม เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศให้สนุกสนานครื้นเครงและผ่อนคลายความเหนื่อยล้าเวลาทำงาน เมื่อทำงานเสร็จแล้วก็ต่างแยกย้ายกันกลับไป การลงแขกถือได้ว่าเป็นประเพณีที่ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้านที่สำคัญของชาวร้อยเอ็ดที่นำมาใช้ เพื่อให้คนได้แสดงความมีน้ำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และยังแสดงถึงกุศโลบายในการที่จะสร้างความรัก ความสามัคคีกลมเกลียวกันของคนในสังคมอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิงจาก http://blog.eduzones.com/yukiokung
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}