แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีไทยเดิม แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีไทยเดิม แสดงบทความทั้งหมด

ประเพณีไทย "การชนวัว"



อุปกรณ์และวิธีการเล่น

พันธุ์วัวชนเป็นพันธุ์ไทยเฉพาะ เจ้าของจะผสมพันธุ์วัวชนของตนเอง แล้วคัดเลือกวัวลูกคอกที่มีลักษณะดี นำมาเป็นวัวชน อายุ ๔-๖ ปี จัดว่าอยู่ในวัยหนุ่มถึกเต็มที่เหมาะที่จะชน

การเลี้ยงดู ในระยะแรกต้องเอาวัวที่คัดเลือกไว้นั้นมา "ปรน" (บำรุงเลี้ยงดู) ให้สมบูรณ์เสียก่อน ในกรณีที่เป็นวัวใหม่ อาหารหลักคือหญ้า วัวชนนั้นจะต้องตัดหญ้าใส่ลังหรือรางให้กินในโรงวัวหรือที่พักของวัว ไม่ปล่อยให้กินหญ้าเหมือนวัวประเภทอื่น ๆ อาหารหลักอย่างอื่นมีน้ำและเกลือ สำหรับน้ำจะต้องให้วัวกินละ ๒ ถึง ๓ ครั้ง เกลือให้กิน ๑๕ วันต่อครั้ง ครั้งละ๑ กำมือ หรืออาจจะมากน้อยไปกว่านั้นก็ได้ อาหารเสริมสำหรับวัวชนมีหลายอย่าง เช่น ถั่วเขียวต้มกับน้ำตาลกรวด กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม น้ำมะพร้าวอ่อน ขนุน ไข่ไก่และผลไม้อื่น ๆ สำหรับไข่ไก่ให้วัวชนกินครั้งละ ๑๐ ถึง ๑๕ ฟอง อาจจะเอาไข่ไก่ตีคนกับเบียร์ดำใส่กระบอกกรอกให้กินก็มี


ที่อยู่ของวัวชน จะปลูกสร้างเป็นโรงนอนให้อยู่ขนาดพอควร แต่ต้องก่อไฟแกลบไล่ยุงและริ้น ไม่ให้มารบรวนได้ บางตัวที่เจ้าของมีฐานะดี กางมุ้งหลังใหญ่ให้วัวนอน หรืออาจทำมุ้งลวดให้ โรงวัวดังกล่าวจะต้องทำความสะอาดทุกวัน


การออกกำลังกายและฝึกซ้อมก่อนชนวัว ในระยะก่อนชน คนเลี้ยงจะต้องนำวัวเดินหรือวิ่งออกกำลังกายในตอนเช้ามืดทุกวัน เป็นระยะเวลาทางประมาณ ๕ ถึง ๑๐ กิโลเมตร เมื่อเดินหรือวิ่งในตอนเช้ามืดแล้ว คนเลี้ยงวัวจะนำวัวไปอาบน้ำ ด้วยการขัดสีด้วยแปรง บางตัวฟอกสบู่จนเนื้อตัวสะอาดสะอ้านดีแล้ว จึงนำมากินหญ้ากินน้ำ แล้วเริ่มตากแดด เรียกว่า "กราดแดด" คือล่ามหรือผูกไว้กลางแดด เพื่อให้วัวชนมีน้ำอดน้ำทน เริ่ม "กราดแดด" ตั้งแต่ ๐๙.๐๐ ถึง ๑๒.๐๐ น. แต่บางตัวจะต้องกราดแดดต่อไปจนถึงบ่ายก็มี เมื่อกราดแดดแล้วก็นำเข้าเพื่อพักผ่อน ให้กินหญ้าให้กินน้ำ พอถึงเวลา ๑๕.๐๐ ถึง ๑๖.๐๐ น. คนเลี้ยงจะนำวัวพาเดินไปยังสนามที่จะชน เพื่อให้คุ้นเคยกับสถานที่ เรียกว่าให้ "ลงที่" ทุกวัน แล้วนำมากลับอาบน้ำเช็ดตัวให้แห้งอีกครั้งก่อนที่จะเข้าที่พัก เพื่อให้กินหญ้ากินน้ำและพักผ่อน จึงเห็นได้ว่าในช่วงเวลาวันหนึ่ง ๆ นั้น คนเลี้ยงวัวชนจะต้องเอาใจใส่โดยกระทำต่อวัวของตนเป็นกิจวัตรประจำวัน


การซ้อมคู่ การซ้อมคู่ หรือปรือวัว จะใช้เวลาประมาณ ๕-๑๐ นาที และต้องใช้เชือกยาว เพื่อสะดวกในการแยกคู่ออกจากกันเมื่อต้องการหยุดซ้อม การซ้อมคู่ทำได้ประมาณ ๑-๒ ครั้งต่อเดือน วัวชนตัวหนึ่งๆ ต้องซ้อมคู่อย่างน้อย ๔-๕ ครั้ง จึงจะทำกันชนได้



การเปรียบวัว การเปรียบวัว คือการจับคู่ชน นายสนามจะเป็นผู้นัดวันเปรียบวัวโดยให้นำวัวที่จะชนกันมาเข้ายืนเทียบกัน เพื่อพิจารณาความสูงต่ำ เล็กใหญ่ของลำตัว และเขาของวัวทั้งสอง เมื่อเจ้าของวัวตกลงจะชนกัน นายสนามจะกำหนดวันชนซึ่งเจ้าของวัวจะต้องปฏิบัติตามกติกาการชนวัวอย่างเคร่งครัด

โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การชนวัวมักจะชนในเทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลเดือนสิบ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ชาวบ้านหยุดการทำงาน มารื่นเริงสนุกสนานตามเทศกาล บางสนามวัวชนจะมีการชนวัว เดือนละครั้ง ในวันเสาร์และอาทิตย์ หรือแล้วแต่โอกาสอันเป็นที่ตกลงนัดหมาย

แนวคิด
กีฬาชนวัวเป็นกีฬาพื้นเมืองของนครศรีธรรมราช มีกติกาชัดเจนถึง ๑๔ ข้อ จนถึงขั้นแพ้ชนะ ให้ความสนุกสนานตื่นเต้นประทับใจแก่ผู้ชมยิ่ง ในระยะแรกจึงเชื่อกันว่า ชนเล่นเพื่อความสนุกสนานเพียงอย่างเดียว แต่ต่อมามีการพนันกันขึ้น มีการมัดจำวางเงินเดิมพันกัน จึงเป็นที่น่าวิตกว่ากีฬาชนวัวอาจก่อให้เกิดปัญหาอย่างอื่นตามมา เพราะการพนันย่อมมีทั้งผู้ได้และผู้เสีย เพื่อป้องกันความไม่สงบเรียบร้อย ทางราชการจึงควรเข้าไปควบคุมให้เป็นไปตามกฎหมาย และมีขอบเขตจำกัดให้การชนวัวเป็นเพียงกีฬาพื้นบ้าน เพื่อความสนุกสนานเท่านั้น


ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย ลงแขกเกี่ยวข้าว


มารู้จักการลงแขกเกี่ยวข้าวกันเถอะ


ช่วงนี้อิสานบ้านเฮาก็ย่างเข้าสู่ปลายฝนต้นหนาวชาวนา ก็สิเริ่มเข้าสู่ฤดูการเก็บเกี่ยว ประเพณีอิสานบ้านเฮาอีกย่างหนึ่งคือประเพณี ลงแขกเกี่ยวข้าว หรือ การหา ,การวาน,เพื่อมาช่วยกัน โดยไม่มีค่าจ้าง ลักษณะสิเป็นการแสดงนําใจ ในการช่วยเหลือกัน ซึ่งชาวนาอิสานสิหมุนเวียนช่วยกันไปเรื่อยๆ หลังจากช่วยคนหนึ่งเสร็จ วันต่อไปก็ไปช่วยอีกคนหนึ่ง ซึ่งเจ้าของที่นาหลังจากเพื่อนบ้านมาช่วยแล้วก็ สิแต่ งสําหรับ กับข้าว เหล้าไห ไก่ตัว บางที่ก็ร้องรํา ทําเพลงม่วนชื่นกันไปหลังจากเหน็ดเหนื่อยมาทั้ง วัน เป็นการสังสรรค์ต่างตอบแทน ที่มาช่วยเหลือ ซึ่งการกระทําในลักษณะนี้ ยุควัตถุนิยมสิหาดูยากมาก ทุกวันนี้สิมีแต่การจ้าง ใช้เงินเป็นหลัก บ่อคือรุ่นก่อน สิช่วยกันด้วยใจจริง


    คนอีสานส่วนใหญ่ จะเป็นผู้มีน้ำใจไมตรี ดังนั้นในการทำกิจการ งานใดๆ ไม่ว่างานเล็กงานใหญ่ จะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเพราะทุกคนต่างมีน้ำใจให้กันและกัน ช่วยงานกันคนละมือละไม้ใช้เวลาไม่นานงานก็สำเร็จลุล่วงไปได้สมปรารถนา การทำงานแบบนี้ คนอีสานเรียกว่า "ลงแขก" การลงแขกในภาคอีสานก็คือการบอกกล่าวขอแรงบรรดาญาติสนิทมิตรสหาย ให้มาช่วยทำงานนั่นเอง งานที่จะลงแขกกันนั้นอาจจะเป็นงานส่วนรวมหรืองานส่วนตัวก็ได้ สำหรับงานส่วนตัวนั้นส่วนมากมักจะเป็นงานใหญ่สุดกำลังคนในครอบครัวจะทำได้ หรืออาจจะเป็นงานหนักแต่จำเป็นต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว จึงต้องบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยเหลือเพื่อให้งานเสร็จสิ้นไปงานที่มักลงแขก เช่น การลงแขกทำนา ซึ่งมีการลงแขกดำนา ลงแขกเกี่ยวข้าว ลงแขกตีข้าว (นวดข้าว) ลงแขกสร้างบ้าน ลงแขกขุดมัน ลงแขกลอกปอ เป็นต้น


  -การลงแขกทำนา ด้วยการทำนาเป็นงานหนักและในรอบปีหนึ่งต้องใช้ แรงงานมากถึง 4 วาระด้วยกันคือช่วงการดำนา การเกี่ยว การตี และเอาข้าวขึ้นเล้า ดังนั้นการทำงาน ทุกๆ ระยะ ส่วนมากจะใช้วิธีการลงแขก อาศัยแรงจากญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยกัน เมื่อลงแขกในนาตนเสร็จก็เปลี่ยนไปลงแขกนาของคนอื่นๆ ต่อไปเป็นการตอบแทน ซึ่งเป็น การแสดงน้ำใจที่มีให้กันและกัน โดยเฉพาะในปัจจุบันลูกหลานคนหนุ่มสาวไปทำงานต่างถิ่น ปล่อยให้พ่อแม่และคนแก่อยู่บ้าน การลงแขกจึงยังมีความจำเป็นสำหรับชาวร้อยเอ็ด

  -การลงแขกสร้างบ้าน การลงแขกขุดมัน การลงแขกลอกปอ ก็จะมีลักษณะ การทำงานเช่นเดียวกับ การลงแขกทำนาคือคนที่เป็นเจ้าของงานจะไปบอกกล่าวญาติมิตร และ เพื่อนบ้านให้ทราบว่าตนจะทำอะไร และขอแรงเขามาช่วยงาน จะต้องการแรงงานมากน้อยเพียงใด ก็บอกกล่าวไปตามจำนวนที่ต้องการ นัดกำหนดวันที่จะทำงาน
ในการลงแขกฝ่ายเจ้าบ้านจนเป็นฝ่ายตระเตรียมอาหารการกินไว้ให้พร้อมบริบูรณ์ มิให้ขาดตกบกพร่อง เป็นอาหารที่มีคุณค่า ทั้งปริมาณก็มากพอเพียง และต้องเป็นอาหารพิเศษ เช่น ลาบ ตำบักฮุ่ง(ส้มตำ) ปิ้งไก่ ต้มไก่ เป็นต้น

   ขณะทำงาน คณะลงแขกจะทำงานไปพูดคุยกันไป และมีการจ่ายผญา สลับกับ การเล่านิทานก้อม เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศให้สนุกสนานครื้นเครงและผ่อนคลายความเหนื่อยล้าเวลาทำงาน เมื่อทำงานเสร็จแล้วก็ต่างแยกย้ายกันกลับไป การลงแขกถือได้ว่าเป็นประเพณีที่ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้านที่สำคัญของชาวร้อยเอ็ดที่นำมาใช้ เพื่อให้คนได้แสดงความมีน้ำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และยังแสดงถึงกุศโลบายในการที่จะสร้างความรัก ความสามัคคีกลมเกลียวกันของคนในสังคมอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิงจาก http://blog.eduzones.com/yukiokung
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}