ประเพณีไทย จีน แห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพ

  
  มีงานประเพณีที่สำคัญของท้องถิ่นที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาของชาวปากน้ำโพ เพื่อเป็นการเคารพสักการะเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ มีความเป็นมาดังนี้คือ เมื่อประมาณ ๗๐ กว่าปีที่ผ่านมาได้เกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) ขึ้น ชาวบ้านปากน้ำโพได้รับความเดือดร้อน เจ็บป่วยล้มตายกันมาก สมัยนั้น การแพทย์ยังไม่เจริญเหมือนกับปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อความอยู่รอด จึงได้มีชาวบ้านเข้าไปบนบานกับเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ให้ช่วยรักษาให้พ้นจากโรคร้าย 

  เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ได้ช่วยเหลือโดยการเข้าร่างผู้ที่เป็นร่างทรง และ เขียนยันต์หรือที่ชาวจีนเรียกว่า ฮู้ เผาไฟใส่น้ำ ให้ชาวบ้านดื่มกิน เป็นที่อัศจรรย์โรคร้ายหายไป ชาวบ้านอยู่กันอย่างมีความสุข ความเจริญยิ่งขึ้น จึงเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไปถึงความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ดังนั้น ชาวตลาดปากน้ำโพจึงได้มีการร่วมแรงร่วมใจกันจัดประเพณี การแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพขึ้นโดยจัดให้มีขบวนแห่เจ้า เป็นขบวนใหญ่โตมโหฬาร
  เช่นขบวนของเจ้าแม่กวนอิม โดยการคัดเลือกสาวงามที่มีคุณสมบัติ ให้เป็นตัวแทนของเจ้าแม่กวนอิม ขบวนเองกอ ล่อโก้ว ขบวนนางฟ้า สาวงามถือธง เด็กหญิงน้อย ๆ หาบกระเช้าดอกไม้ การเชิดสิงโต ของสมาคมต่าง ๆในจังหวัดนครสวรรค์ ขบวนอัญเชิญเจ้าและผู้เข้าทรง บางปีก็มีการลุยไฟ และขบวนที่ขาดเสียไม่ได้และเป็นจุดเด่นของงานทุกปี ก็คือ ขบวนแห่มังกร ซึ่งการเชิดมังกรทองที่จังหวัดนครสวรรค์มีชื่อเสียงมากในด้านความสวยงาม และการแสดงที่ตื่นเต้นเร้าใจ

  ตรุษจีนนั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณี และพิธีกรรมความเป็นมาของการฉลองตรุษจีน นั้นมีมานานกว่าศตวรรษ จริงๆแล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลอง เป็นเวลานานถึง 15 วัน การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อน วันตรุษจีน (คล้ายกับวันคริสต์มาสของประเทศตะวันตก)เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ 

ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูก ทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่าง หน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูก ประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืนเป็นต้น วันก่อนวันตรุษจีนนั้นเป็นวันแห่งการการรอคอย จะว่าไปถือวันที่น่าตื่นเต้นมากที่สุด ในบรรดาการฉลองทั้งหมดเห็นจะได้ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆกัน


  อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรือง และความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสด จะนำมาซึ่งโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึง บรรพชนอวยพร และเป็นธรรมดาเสื้อผ้าที่ใส่สีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคลเป็นการไล่ปีศาจร้ายให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาว เป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้า เพื่อรอวันใหม่ โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง เมื่อถึงวันตรุษจีน ประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อังเปา ซึ่งหมายถึง กระเป๋าแดง เป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง 


หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว ต่าง ออกมาเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ เริ่มจากญาติๆ แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับ การที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป) ในวันตรุษนี้ อารมณ์โมโห โกรธาจะถูกลืม และไม่สนใจ การฉลองวันตรุษจีนสิ้นสุดลงในงานโคมไฟ ซึ่งฉลองโดยการร้องเพลง เต้นรำ และงานแสดงโคมไฟ ถึงแม้ว่าการฉลองวันตรุษจีน จะมีแตกต่างกันออกไปแต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การอวยพร ความสงบ และความสุขให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนทุกคน

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ขอบคุณข้อมูลจาก
- prapayneethai.com 
- student.nu.ac.th/rachida
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}