ประเพณีไทย ค้ำโพธิ์ค้ำไทร


  ความเชื่อเรื่องประเพณีค้ำโพธิ์ ค้ำไทร เมื่อคนป่วย มีอาการนอนไม่หลับ ผอมเหลือง ทำงานไม่ได้ ปวดหัวตัวร้อนตลอดเวลาต้องพึ่งพระ ให้จัดหาไม้คูณ ไม้ยอ ถากกลบเท่า ประมาณขาของคนป่วย ยาวประมาณ 1-2 วา

  เมื่อถึงวันพระ 15 ค่ำ กลางเดือน นำดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู บุหรี่ ข้าวตอกดอกไม้ นำผู้ป่วยไปจัดเพื่อประกอบพิธี นิมนต์เจ้า อาวาส พร้อมลูกวัด 4 รูป ร่วมพิธีรับศีล ชุมนุมเทวดา

  ประกาศรุกขเทวดารักษาต้นโพธิ์ ต้นไทร ขอให้อาการป่วย บรรเทาต่ออายุให้ยืนยาว แล้วนำไม้เสานั้นค้ำโพธิ์ ค้ำไทร พระสงฆ์สวดอนุโมทนา ผู้ป่วยกรวดน้ำ

  ความเชื่อเรื่องประเพณีสูตรธาตุ-ชะตา เมื่อมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย นอนอาการหนักจนผู้มีความรู้เห็นว่าชะตาถึงฆาต ดวงชะตาขาด ควรสูตรชะตา ซึ่งใช้ภาชนะสองอัน ภาชนะ อันหนึ่งใช้ดินเหนียวทำเป็นเจดีย์เล็ก ๆ สูงแค่ศอกคนป่วย

  รอบเจดีย์บนภาชนะนั้น เจดีย์เล็ก ๆ อีก 9 อัน รอบเจดีย์ใหญ่นำไม้ไผ่ยาวแค่ศอกเท่าอายุคนป่วย กรรไกรตัดกระดาษ เป็นธงสามเหลี่ยมติดปลาย ไม้ไผ่ มัดเรียงที่ยอดเจดีย์ ทำธงเล็กเท่าอายุ

  ภาชนะอันที่สองนั้นเอามัดธงกระดาษ และมัดธงเหล็กนั้นเอาตั้งไว้บนภาชนะ ตัดกระบอกไม้ไผ่ยาวเท่านิ้วชี้มีรูหลวมนิ้วชี้ผู้ป่วย 5 อัน อันหนึ่งเอาถ่านไฟใส่ให้เต็ม อัน ที่สองยัดนุ่นให้เต็ม อันที่สามใส่ดินให้เต็ม อันที่สี่ใส่น้ำให้เต็มเป็นเครื่องหมายธาตุ คือ

  น้ำ ไฟ ลม มัดติดกับเสาธงกระดาษและธงเหล็กบนภาชนะ กระบอกไม้ไผ่อันที่ 5 ใช้ตวงข้าวสารเท่าอายุผู้ป่วย ใส่ขันหรือกะละมังไว้แล้วเย็บกระทงตองกล้วยเท่ากำมือผู้ป่วย 5 อัน ใส่ข้าวตอกกระทงหนึ่ง ใส่ดอกบานไม่รู้โรยกระทงหนึ่ง ใส่ข้าวเปลือกกระทงหนึ่ง ใส่ถั่วงากระทงหนึ่งใส่เมี่ยงหมากกระทงหนึ่ง วางบนภาชนะรอบเสาธง เทียนยาวรอบหัว เทียนสูงแค่หัว วัดจากสะดือผู้ป่วยถึงลูกกระเดือก เทียนเล่มบาท 1 คู่ ขัน 5-8 ปัจจัยเท่าอายุ

  พอถึงตอนเย็นแบกไปที่วัดถวายเจ้าอาวาส พระสงฆ์ 4 รูป จะนำไปสวดในพระอุโบสถสวดเสี่ยงทายอยู่ 3 วัน 3 คืน หลังทำวัตรสวดมนต์เย็นแล้ว ผู้ป่วยชะตาขาดธาตุ สูญตวงข้าวสารในกระบอกไม้ไผ่เท่าอายุ ชะตาผู้ป่วยยังไม่ขาดธาตุยังไม่สูญ ข้าวสารที่ตวงเท่าอายุนั้นเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยต้องหายแน่

  ถ้าข้าวสารในกระบอกขาดไปจัดแจงสวด ตามกำลังวัน ตวงดูยังขาดอย่างเดิม ผู้ป่วยไปไม่รอดแน่ คืนที่สองสวดอีกตวงข้าวสารแล้วมีข้าวสารเพิ่มขึ้นเหนือกระบอกโดยลำดับผู้ป่วยหายแน่ เช่น

  พิธีตัดกรรม-ตัดเวร คนไข้เจ็บป่วย อัมพาต ป่วยมานานจนลุกเดินไปไหนมาไหนไม่ได้ ชาวอีสาน เกิดจากกรรมเวรในชาติก่อนหรือชาตินี้ตามสนอง จึงต้องได้รับ ความทุกข์ทรมาน ผู้ที่มีความรู้ก็จะจัดแจงแต่งเครื่องตัดกรรมตัดเวร มีหม้อแกง 4 หม้อ เครื่องหมายธาตุ 4 มีคาวหวาน ห่อพริก ห่อเกลือ ห่อปลาร้า ปลาเค็ม บุหรี่ตัว หมากคำ เงินสตางค์ห่ออันละนิดใส่ลงในหม้อ ทั้งสี่หม้อเหมือนกันหมด ด้ายสายสิญจน์ 4 เส้นยาว 2 วามีดน้อย 4 ดวง ขัน 5-8 หมาก พลู บุหรี่ถวายพระ

  พอถึงตอนเย็นนำไปที่วัดพร้อมเชิญคนป่วยไปด้วย คนป่วยใส่ล้อหรือนั่งเก้าอี้หามไปที่ต้นโพธิ์ นิมนต์พระสงฆ์นั่งทิศตะวันออกต้นโพธิ์ ให้คนป่วยนั่งหรือนอนอยู่ตรงกลาง ตั้ง หม้อในทิศทั้ง 4 ด้วยสายสิญจน์ผูกปากหม้อ พระสงฆ์ทั้ง 4 รูป จับด้ายสายสิญจน์ ไหว้พระรับศีลอาราธนาพระสงฆ์สวดตัดกรรม-ตัดเวร สวดตามกำลังวัน


  พิธีการแต่งบูชาพระเคราะห์แห่งปี ชาวอีสานถือเป็นประเพณีประจำครอบครัว ในเรื่องการประกอบสัมมาอาชีพ การป่วยไข้ หมอชาวบ้านจะแนะนำให้แต่งบูชา พระเคราะห์ ประเภทแก้พระเคราะห์บูชาโรค การบูชาพระเคราะห์ในบ้านเรือนครอบครัวจะมีความสุข เจ็บไข้ได้ป่วยป้องกันอันตราย ความเดือดร้อนในการครองเรือน โชค ร้ายจะหายไป จะได้โชคลาภ ป้องกันอันตราย ความเดือดร้อนในการครองเรือนโชคร้ายจะหายไปจะได้โชคลาภ

  หมอแต่งบูชานพเคราะห์นุ่งขาวห่มขาว จุดธูปเทียน บูชาพระรัตนตรัยชุมนุมเทวดา ใช้ใบตองกล้วยสดปู จึงเอากระทงบูชานพเคราะห์วางบน เจ้าชะตามานั่งตรงหน้า ประกาศบอกเทวดา บอกชื่อเจ้าชะตามีความเคารพพรหมชาติชะตาของตน แต่งเครื่องบูชาพระนพเคราะห์บูชาพระเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะ

  ขอเชิญพระนพเคราะห์คือ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุทธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหูและพระเกตุ จงมารับเครื่องสักการะของเจ้าชะตา อันมีมา ในทักษาและมหาทักษา อีกทั้งพระมฤตยูผู้เป็นใหญ่ใน 12 ราศี อันเจ้าชะตานี้สักการะบูชาพระรัตนตรัยได้จัดลงใส่ในกระทงคาวหวานเป็นอเนกประการ

  ขอความสวัสดีมีชัยในลาภข้าวของเงินทองอันเนืองนอง จงมีแก่เจ้าชะตาเจริญรุ่งเรืองทุกเมื่อเทอญ พิธีสูตรขวัญก่อง การเจ็บป่วยของชาวอีสานได้ใช้พระพุทธศาสนาเข้าช่วย ผู้ป่วยที่กินไม่ได้นอนไม่หลับ ฝันร้ายตลอดเวลาขวัญหนีดีฝ่อ ร่างกายผอมเหลือง

  ซึ่งญาติพี่น้องจะนิมนต์ให้พระสงฆ์ สอดขวัญก่องให้ด้วยการหาก่องข้าวสูงแค่ศอก ผู้ป่วย ผู้ป่วยเป็นผู้ชายจัดเอาหวี แป้งหอม น้ำหอม ผ้าเช็ดหน้า แหวน กระจกเงา เครื่องแต่ง ตัว ของผู้ชายใส่ลงในก่องข้าว พร้อมทั้งเขียนชื่อผู้ป่วยและปัจจัยเท่าอายุ เทียนรอบหัว เทียนยาวแค่ตัววัดแค่สะดือถึงลูกกระเดือก ผ้านุ่ง ผ้าอาบของผู้ป่วยใส่ภาชนะขัน 5-8 ดอก ไม้ธูปเทียนข้าวตอก หมากพลู บุหรี่

นำไปถวายเจ้าอาวาส ถ้าเป็นผู้หญิงป่วยให้แต่งเครื่องผู้หญิง มีช่องหวี สร้อยคอ กำไลมือ กระจอนหู ต่างหู แป้งหอม น้ำหอม และ เขียนชื่อผู้ป่วยใส่ลงในก่องข้าว

  นอกนั้นเหมือนกันกับของผู้ชาย พอถึงเวลาเย็นนำไปวัดเจ้าอาวาสรู้แล้วพอถึงเย็นทำวัตรสวดมนต์ก่อนจำวัตรเจริญภาวนา จะนำก่องข้าวมาตรวจดู วางภาชนะเสื้อผ้าชิดก่อง ข้าว จุดธูปเทียน ชุมนุมเทวดาประกาศให้รู้ว่าคนป่วยชื่อนั้น ไม่สบายเป็นไข้ นำก่องข้าวมาให้ข้าสวดมงคลเรียกขวัญ ขวัญคนชื่อนี้ไปเที่ยวที่ใด จงมาลงในก่องข้าวนี้

  ขณะที่สวดให้เปิดฝาก่องข้าวไว้ ห้ามพูดกับใคร จำวัตรเลย คืนแรกฝันดีห้ามเอาคืนที่สองสวดอีกเหมือนเดิมห้ามพูด จำวัตรเลย มีนิมิตดีฝันดีไม่ต้องเอา คืนที่สามให้ สวดเหมือนเดิม คืนนี้เป็นคืนสุดท้าย สุบินนิมิตจะฝันดีเหมือนคืนที่แล้วมา เวลาประมาณตี 4 หรือตี 5. ลุกขึ้นให้ปิดฝาก่องข้าว ปิดให้แน่นห้ามเปิด

  พอถึงตอนเย็นพระผู้สวดนั้นถือก่องข้าวและภาชนะผ้าเข้าไปในบ้านเรือนของคนป่วย ห้ามใช้พระรูปอื่นแทน ทำพิธีเอาก่องข้าวและภาชนะไว้ใต้แขนประมาณ 30-40 นาที

  จึงเอาด้ายผูกข้อมือคนป่วยและลูกเมียในครอบครัว ฮายความส่งบัตรพลี กระทงหน้าวัว กระทงกาบกล้วยพร้อมทั้งบัตรพลี เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วจะนำไปไว้ที่ต้นโพธิ์หรือทาง 4 แพร่ง คนป่วยจะจัดสิ่งของบูชาหมอตามประเพณี

  ความเชื่อเป็นเรื่องของความรู้สึกและจิตใจ อาจจะมีเหตุผลหรือไม่มีซึ่งเกิดจากการยอมรับภายในจิตสำนึกของมนุษย์ในด้านนั้น ๆ แม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้ก็ตาม แต่ความเชื่อก็ยังสืบต่อกันมาแฝงอยู่ในวิถีชีวิตของชาวอีสาน

  ความเชื่อก็ได้เกิดขวัญกำลังใจในภาระหน้าที่การงาน ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ความสามัคคีในหมู่คณะ ความร่วมมือร่วมใจทำงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานก่อให้เกิดปัญญา ความคิดค้นหาเหตุผล

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ข้อมูลอ้างอิงจาก kku.ac.th ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}