ประเพณีไทยชักพระหรือลากพระ


ประเพณีชักพระ เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นท้องประจำภาคใต้ตอนกลางของประเทศไทย  โดยเกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และวิถีชีวิตของชาวใต้ ที่มีความผูกพันกับน้ำ  ซึ่งประเพณีชักพระจะจัดขึ้นในช่วงออกพรรษาของทุกปี  โดยเฉพาะในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ที่เชื่อกันว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลงมายังโลกมนุษย์  ประชาชนจึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับ บนบุษบกที่จัดเตรียมไว้  แล้วจัดขบวนแห่ไปยังที่ประทับ  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการจัดขบวนแห่ทางเรือ  แต่ถ้าบริเวณใดที่ห่างไกลแม่น้ำก็จะจัดพิธีทางบกแทน
ประเพณีชักพระ ประกอบด้วยขบวนเรือที่ตกแต่งอย่างงดงาม  ภายในเรือมีพระพุทธรูปประทับอยู่บนบุษบกเรียกว่า “เรือประทาน หรือ เรือพนมพระ”  ที่หัวเรือมีสายเชือกยาวผูกสำหรับลาก  เรือพนมพระ นิยมทำเป็นตัวนาค  และภายในเรือยังมีพระสงฆ์นั่งมาด้วย  โดยพิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้ามืด  มีการจัดทำสลากและนิมนต์พระวัดต่างๆ มาชักผ้าป่าที่หน้าบ้านที่ได้ระบุสลากไว้  หลังจากถวายพุ่มผ้าป่าแล้ว พระผู้ใหญ่ที่ได้รับการเคารพนับถือ จะทำพิธีชักพระด้วยการจับปลายเชือกที่อยู่หัวเรือ  จากนั้นก็จะปล่อยให้เรือของชาวบ้านเข้าลากจูง  ด้วยเชื่อว่าจะได้บุญมาก  เรือจะถูกชักลากไปช้าๆ ตลอดเส้นทาง  พร้อมกับการตีกลองประโคม  เพื่อให้ชาวบ้านรู้ว่าเรือพนมพระกำลังผ่านมา  ชาวบ้านสองฝั่งแม่น้ำ จะออกมาตักบาตร เรียกว่า “ตักบาตรเทโว
เมื่อเรือจอดยังที่ที่กำหนดไว้แล้ว  จะมีการอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนโรงพิธีสงฆ์  เพื่อทำการสมโภชในวันถัดไป  และวันสุดท้ายจะทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นเรือกลับสู่วัด  หลังจากเสร็จพิธีทางศาสนาแล้วก็มีงานรื่นเริงของชาวบ้าน คือ “การแข่งเรือยาว
ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก  thaigoodview.com

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}