ประเพณีไทย การชิงเปรต


ความสำคัญ

ช่วงเวลา วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐

"ชิงเปรต" เป็นประเพณีของภาคใต้ที่กระทำกันในวันสารท เดือน ๑๐ เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวไว้ในสารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า การชิงเปรตที่ปฏิบัติกันในประเพณีสารทเดือน ๑๐ นี้ มีลักษณะคล้ายกับการทิ้งกระจาดของจีน แต่การทิ้งกระจาดของจีนมีเป้าหมายตรงกับการตั้งเปรต-ชิงเปรตเพียงบางส่วนเท่านั้น กล่าวคือการทิ้งกระจาดของจีนเป็นการทิ้งทานให้แก่พวกผีไม่มีญาติ ส่วนการชิงเปรตของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี(เปรต) ที่เป็นญาติพี่น้องของตนเอง และที่ไม่มีญาติด้วย นอกจากนี้วิธีการปฏิบัติในการทิ้งกระจาดและการชิงเปรตก็แตกต่างกันด้วย



ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการทำบุญด้วยซ้ำไป เพราะชื่อว่าบุตรหลานของเปรตตนใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนนั้น เพียงแต่ว่าผู้ชิงต้องระมัดระวังในการที่อาหารหรือขนมที่ตั้งเปรตอาจตกหลานลงพื้น ซึ่งจะทำให้เกิดความสกปรกและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น

พิธีกรรม


การตั้งเปรต และชิงเปรตจะกระทำกันในวันที่ยกหมรับไปวัด ไม่ว่าจะเป็นวันแรม ๑ ค่ำ หรือ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ ก็ตาม ผู้ตั้งเปรตจะนำอาหารอีกส่วนหนึ่งไปเพื่อการตั้งเปรตด้วย อาหารที่ใช้ตั้งเปรตนี้ส่วนมากเป็นอาหารที่บรรพบุรุษที่เป็นเปรตชอบอย่างละนิดอย่างละหน่อย ขนมที่ไม่ขาดคือ ขนมลา ขนมพอง ขนมบ้า ขนมเบซำ(ดีซำ) นอกจากขนมดังกล่าวแล้ว ยังมีของแห้งที่ใช้เป็นเสบียงกรังก็จัดฝากไปด้วย เช่น ข้าวสาร หอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล น้ำปลา กล้วย อ้อย มะพร้าว ด้าย เข็มเย็บผ้า ธูปเทียน นำลงจัดในหมรับ โดยเอาของแห้งรองก้นและอยู่ภายใน ส่วนขนมทั้งหลายอยู่ชั้นนอก ปิดคลุมด้วยผืนลาทำเป็นรูปเจดีย์ยอดแหลม หรือรูปอื่นแล้วแต่การประดิษฐ์ของผู้จัด ส่วนภาชนะที่ใช้ แต่เดิมนิยมใช้กระเชอหรือถาด นำหมรับ



ที่จัดแล้วไปวัด รวมกันตั้งไว้บน "ร้านเปรต" ซึ่งสร้างไว้กลางวัดยกเสาสูง ต่อมาในระยะหลัง ๆ ร้านเปรตทำเป็นศาลา หลังคามุงจากหรือมุงกระเบื้องแล้วแต่ฐานะของวัด บางถิ่นจึงเรียก "หลาเปรต" บนร้านเปรตจะมีสายสิญจน์วงล้อมไว้รอบและต่อยาวไปจนถึงพระสงฆ์ที่นั่งอยู่ในวิหารที่เป็นที่ทำพิธีกรรม โดยสวดบังสุกุลอัฐิหรือกระดาษเขียนชื่อของผู้ตาย ซึ่งบุตรหลายนำมารวมกันในพิธีต่อหน้าพระสงฆ์ บุตรหลานจะกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญไปยังเปรตชนที่เป็นบรรพบุรุษ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว เก็บสายสิญจน์ ขนมต่าง ๆ จะถูกแบ่งออกส่วนหนึ่ง พร้อมกับของแห้งไว้ถวายพระ อีกส่วนหนึ่งให้เปรตชนที่พอมีกำลังเข้ามาเสพได้ ในขณะเดียวกันผู้ที่มาร่วมทำบุญทั้งหนุ่มสาว เฒ่าแก่ และโดยเฉพาะเด็ก ๆ จะเข้าไปรุมกันแย่งขนมที่ตั้งเปรตด้วยความสนุกสนาน เชื่อกันว่า การแย่งขนมเปรตที่ผ่าการทำพิธีแล้วนี้จะได้กุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว และยังเชื่อกันต่อไปว่าขนมเหล่านี้ถ้านำไปหว่านในสวนในนา จะทำให้พืชผลอุดมสมบูรณ์เพิ่มผลผลิตสูง โดยเฉพาะขนมเทียน บางแห่งนำไปติดไว้ตามต้นไม้ผลเพื่อให้มีผลดก หลังจากนั้น ก็มักมีผู้ใจบุญโปรยทาน โดยใช้เหรียญสตางค์โดยไปที่ละมากเหรียญ ตรงไปยังฝูงชน ที่เรียกว่า "หว่านกำพรึก" แย่งกันอย่างนุกสนาน

สาระ
การทำบุญวันสารท เดือน ๑๐ กำหนดทำ ๒ ครั้ง คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ โดยเชื่อว่า วันแรม ๑ ค่ำ เป็นวันที่ยมบาลปล่อยให้เปรต หรือเปตชนขึ้นมาเยี่ยมลูกหลาน ๆ ก็จะทำบุญเลี้ยงต้อนรับ เมื่อถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ ก็ถือว่าเป็นวันที่ปู่ย่าตายาย ต้องกลับยมโลก ลูกหลานก็ทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง


การเตรียมข้าวของ ขนม ในวันทำบุญ เดือน ๑๐
๑. ลา มีความหมายใช้แทนเสื้อผ้า
๒. พอง มีความหมายว่าเป็นเครื่องประดับ
๓. ขนมเบซำ (ขนมเจาะหู) ใช้แทนเงิน หรือสตางค์มีรูในสมัยก่อน
๔. ขนมบ้า มีความหมายว่า เงินเหรียญ
๕. ขนมเทียน ใช้แทนหมอนหนุน


การชิงเปรต เป็นประเพณีไทยที่ชาวพัทลุงถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณ เป็นประเพณีสำคัญที่กระทำกันจนทุกวันนี้ ชาวพัทลุงแม้จะไปทำมาหากินในท้องถิ่นอื่น เมื่อถึงเดือน ๑๐ ก็มักจะกลับมาร่วมพิธีกับญาติทางบ้าน นับเป็นการช่วยเสริมการผูกพันระหว่างครอบครัวและญาติพี่น้อง ทั้งยังเป็นการระลึกถึงบุญคุณ และคุณงามความดีของบรรพบุรุษของตน แม้จะล่วงลับไปแล้วก็ตาม


เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ข้อมูลอ้างอิง trangzone.com

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย แซนโดนตา


สวัสดีครับวันนี้ "ที่นี่ประเพณีไทย" ขอนำเสนอประเพณีแปลกๆที่คนไทยอาจจะไม่รู้จักเลยก็ได้นั่นก็คือประเพณี "แซนโดนตา" บางก็ว่า "โฎนตา<<ประไปณี โฎนตา >> ประเพณีวันสารทของชาวอีสานใต้  "งั้นผมจะไม่พูดมากไปกว่านี้ละมาอ่านความเป็นมาย่อๆเลยละกันครับ"

แซนโดนตา   เป็นประเพณีไทยเซ่นไหว้บรรพบุรุษของเขมรชาวไทย  เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะชนชาวเขมรในเขตพื้นที่อีสานตอนใต้ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ  สุรินทร์  บุรีรัมย์ เป็นต้น  เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที ย้อนรำลึกถึงบรรพบุรุษผู้มีพระคุณ  สืบสานขนบธรรมเนียมที่ลูกหลานต้องปฏิบัติต่อบิดามารดา ครูอาจารย์  และยึดหลักคำสอนทางพุืทธศาสนา คำว่า "แซน" แปลว่า เซ่น ในภาษาไทย  โดนตา  เป็นคำนามที่ใช้เรียกบรรพบุรุษ หมายถึงญาติที่ล่วงลับไปแล้ว  ในวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 เป็นวันสาร์ทใหญ่ ชาวเขมรจะเตรียมการเป็นพิเศษ  เพราะเป็นวันรวมญาติก็ว่าได้  ลูกหลานไปอยู่แห่งหนใดก็จะกลับมาทำพิธีนี้อย่างพร้อมเพรียง  ส่วนวันขึ้น 15 ค่ำเดือนสิบก่อนหน้านี้ถือเป็นวันสาร์ทน้อย ชนชาวลาวจะถือเป็นวันสาร์ทของเขา

          พิธีแซนโดนตา ประเพณีในหมู่บ้านหนองคล้า กลุ่มชาวเขมร  (บ้านหนองคล้ามี 2 ภาษา ลาว,เขมร  ส่วนลาวได้รับอิทธิพลนี้มากทีเดียว)   จะเริ่มเตรียมสิ่งของก่อนถึงวันสาร์ท  เช่น บ่มกล้วยให้สุกทันวันห่อข้าวต้ม ผลไม้ต่าง ๆ ไก่ย่าง(ส่วนมากจะย่างทั้งตัว) ปลาย่าง หมูย่าง เนื้อย่าง  อาหารคาวหวานต่าง ๆ หมาก พลู บุหรี่มวน  ธูป เทียน ดอกไม้และอื่น ๆ   เมื่อพร้อมแล้วก็จัดสำรับเซ่นไหว้ใส่ภาชนะที่ใหญ่ ๆ เช่น ถาดหรือกระด้ง เพื่อจะได้ใส่เครื่องเซ่นได้เยอะ ๆ และอีกส่วนหนึ่งเตรียมไว้สำหรับทำบุญที่วัด


          วันขึ้น 14 ค่ำเดือนสิบ  ผู้ที่เป็นบุตรหลานไม่ว่าจะเป็นเขย  สะใภ้  จะต้องส่งข้าวสาร์ทหรือเครื่องเซ่นนี้ไปให้พ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย  เพื่อให้ท่านได้ใช้เครื่องเซ่นนั้นทำพิธีเซ่นต่ออีกทีหนึ่ง  ส่วนปู่ ย่า ตา ยาย ก็จะมอบสิ่งของตอบแทนให้ จะเป็นผ้าซิ่น ผ้าไหม หรือสิ่งใดก็แล้วแต่ เป็นรางวัลให้ลูกหลานผู้รู้จักกตัญญู   พอตอนเย็นวันนี้จะเริ่มทำพิธีเซ่นไหว้กัน  เมื่อพี่น้องลูกหลานมาพร้อมหน้ากันแล้วก็จุดธูปเทียน  โดยผู้อาวุโสที่สุดจะเป็นผู้บอกกล่าวอัญเชิญวิญญาณของบรรพบุรุษ  คนที่เป็นหมอพราหมณ์จะรู้ขั้นตอนนี้ดีจะมีคำกล่าวคำเชิญเฉพาะ  แต่ผู้ที่ไม่เป็นก็เพียงแค่กล่าวเอ่ยชื่อ นามสกุลของบรรพบุรุษให้ถูกต้อง มีศักดิ์เป็นปู่เป็นทวดอย่างไรก็เอ่ยให้ถูกต้องก็ใช้ได้แล้ว  และคนกล่าวอาวุโสรองลงมาตามลำดับ  จะต้องเอ่ยชื่อ นามสกุลของบรรพบุรุษให้ถูกต้องครบถ้วนทุกคน  เพื่อแสดงความรำลึกกตัญญูู  ในขณะกล่าวเชิญก็กรวดน้ำไปด้วย


        เมื่อครบทุกคนแล้วก็หยุดพักระยะหนึ่ง  แล้วทำพีธีต่ออีกจนครบคนละ 3 รอบ  รอบสุดท้ายนี้ให้รวมหยาดน้ำพร้อมกันเป็นอันเสร็จพิธี  แล้วนำเครื่องเซ่นส่วนหนึ่งออกไปโปรยข้างนอกเพื่อเผื่อแผ่แก่ผีพเนจร ผีไม่มีญาติ ผีอื่น ๆ ตามความเชื่อ  แต่ผู้เฒ่าผู้แก่จะยังทำพิธีเซ่นไหว้และกรวดน้ำนี้เป็นระยะ ๆ บางคนก็ทำตลอดคืน  ตื่นนอนเมื่อไรก็เซ่นไหว้กันตอนนั้น  ดึก ๆ เงียบสงัดจะได้ยินเสียงบ้านไกล้เรือนเคียงร้องเรียกวิญญาณบรรพบุรุษดังมาเป็นระยะ ๆ  บางครั้งก็ให้รู้สึกโหยหวนวังเวงน่าขนลุกเหมือนกัน  (เหอ ๆ ๆ).....


          พอได้เวลาตีสาม หรือเวลาประมาณ 3 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น(แรม 15 ค่ำเดือน 10 )  ชาวบ้านก็จะนำเครื่องเซ่นนี้ไปแห่เวียนรอบศาลาวัดหรืออุโบสถ 3 รอบ แล้วนำขึ้นไปให้พระสวดมนต์อุทิศส่วนกุศลทำพิธีกรรมทางศาสนา  โดยนำขนมข้าวต้ม กล้วยเป็นกระบุง ไก่ย่างเป็นตัว อาหารคาวหวานผลไม้ต่าง ๆ ตามที่กล่าวถวายพระแล้ว  พระจะได้ฉันมื้อนี้แต่เช้ามืด

เครื่องเซ่นไหว้ที่นำไปวัด

          เสร็จแล้วชาวบ้านก็จะนำเครื่องเซ่นที่พระสวดแล้วไปวางตามสถานที่ที่เหมาะสมเช่น ตามรั้ววัด ตามธาตุเจดีย์  หรือตามโคนไม้  เพื่อผีวิญญาณจะได้มากิน  บางคนก็นำออกไปวางตามไร่นาของตน ตามที่คิดว่าน่าจะมีผีเจ้าสถิตย์อยู่


เสร็จแล้วก็กลับบ้าน ไปเตรียมข้าวและอาหารมาทำบุญตักบาตร วันนี้วันพระ แรม 15 ค่ำ เดือน 10   ชาวบ้านพุทธศาสนิกชนจะร่วมใจกันทำบุญประเพณีแซนโดนตาครั้งนี้  โดยพระสงฆ์จะได้รับภัตตาหารฉันในมื้อเช้านี้อีก  ส่วนตอนเที่ยงก็จะได้รับภัตตาหารเพลปกติ  รวมวันนี้พระจะได้ฉันอาหาร  3  มื้อ......
          ประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติตามประเพณีนี้ ทำให้รู้จักการกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ  สืบสานพระพุทธศานา มีวัฒนธรรมและจารีตที่งดงาม

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ข้อมูลอ้างอิง sisaket.mots.go.th
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย งานรับบัวพระ

บทความที่ผมนำเสนอนี่เป็นข้อมูลอ้างอิงส่วนหนึ่งเท่านั่นซึ่งผมได้อ่านแล้วก็ย่อๆมาให้เพื่อนๆแล้วนะครับ ประเพณีไทยนี่แทบจะไม่มีคนรู้จักเลยผมก็เห็นว่ามันน่าสนใจดี



งานโยนบัว ผมอยู่บางบ่อไม่ไกลจากวัดหลวงพ่อโตบางพลีใหญ่ที่มีการจัดงานโยนบัวกันทุกปี แต่ผมก็ไม่เคยได้มาเที่ยวเลยสักครั้งเดียว ปีนี้จังหวะดีได้มาเที่ยวครับ งานโยนบัวคืองานที่ชาวบ้านจะโยนบัวไปบนเรือที่แห่หลวงพ่อโตจำลองที่มาทางเรือ โดยผู้มาร่วมงานจะจรดฝักบัวที่หัวอธิฐาน แล้วจึงโยนบัวให้ลงในหน้าหลวงพ่อให้สำเร็จครับ

สำหรับดอกบัวในงาน ก็มีแม่ค้ามาวางขายริมคลอง ผมเดาว่าสมัยก่อนนี้แต่ละคนน่าจะนำดอกบัวกันมาเอง เพราะที่บางพลีใหญ่มีดอกบัวเยอะอยู่แล้ว ตอนที่หลวงพ่อโตมาก็มาขึ้นที่สระบัวตามตำนานครับ มาถึงวันนี้บัวหายากขึ้นชาวบ้านและนักท่องเที่ยวเลยต้องซื้อมาโยนบังกัน

สำหรับหลวงพ่อโต นั้นเป็นพี่น้องกับหลวงพ่อโสธร และหลวงพ่อวัดบ้านแหลมครับ ลอยน้ำมาพร้อมกันแต่ขึ้นกันคนละที่ หลวงพ่อโตมาขึ้นที่สระบัวที่วัดบางพลีใหญ่ในปัจจุบันนี้ เลยมีการระลึกถึงหลวงพ่อโต ในการรับหลวงพ่อโต ทำให้มีงานโนบัวรับในจนทุกวันนี้ งานโยนบัวจะจัดขึ้นช่วงออกพรรษาของทุกปี



ช่วงเวลา 
 -เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ถึง ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ก่อนออกพรรษา

ความสำคัญ 
 -ประเพณีรับบัวเป็นประเพณีประจำท้องถิ่น ของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็น
 -ประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมิได้ปรากฏหลักฐานว่ามีมาแต่ยุคใดสมัยใด 
 -ประเพณีรับบัวนี้มีข้อสันนิษฐานความเป็นมาได้ 3 ประการ




พิธีกรรม
 พอถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ตั้งแต่ตอนเย็นชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการ ชาวพระประแดง และชาวต่างถิ่นจะชักชวนพวกพ้องเพื่อนฝูงลงเรือพร้อมด้วยเครื่องดนตรีนานาชนิดเช่น ซอ ปี่ กระจับ โทน รำมะนาโหม่ง กรับ ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น พายกันไปร้องรำทำเพลงกันไปตลอดทาง ตลอดคืน ซึ่งบางพวกจะผ่านมาทางลำน้ำเจ้าพระยา บางพวกจะผ่านมาทางลำคลองอื่นๆเข้าคลองสำโรงและมุ่งหน้ามายังหมู่บ้านบางพลีใหญ่สำหรับชาวบางพลีนั้นจะถือปฏิบัติกันเป็นประเพณีว่าเมื่อถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็จะต้องเตรียมหาดอกบัวหลวง สำหรับมอบให้แก่ชาวบ้านที่ต้องการและมิตรต่างถิ่นมาเยือนในโอกาสเช่นนี้ ก็คงแสดงมิตรจิตออกต้อนรับ จัดหาสุราอาหารมาเลี้ยงดูกันตั้งแต่ตอนค่ำของวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ส่วนพวกที่มารับบัวคนใดรู้จักมักคุ้นกับชาวบางพลีผู้เป็นเจ้าของบ้าน ก็จะพาขึ้นไปเยี่ยมเยือนบ้านนั้นบ้านนี้ และต่างก็สนุกสนานร้องรำทำเพลงและร่วมรับประทานอาหารสุรากันตลอดคืน พอเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านต่างก็นำเรือของตนออกไปตามลำคลองสำโรงเพื่อไปขอรับบัวจากชาวบ้านบางพลีทั้งสองฝั่งคลอง การให้และการรับดอกบัวก็จะทำกันอย่างสุภาพ คือส่งและรับกันมือต่อมือ หรือก่อนให้จะยกมือพนมอธิษฐาน เสียก่อนระหว่างชาวบ้านบางพลีกับชาวต่างถิ่นที่สนิทสนมคุ้นเคยกันป็นพิเศษ บางทีชาวบางพลีก็จะโยนดอกบัวลงไปให้กันโดยไม่มีพิธีรีตอง เหตุที่มีการโยนบัวให้กัน แบบมือต่อมือจึงเลือนไปจนมีการนำไปพูดกันตอนหลังว่า รับบัว โยนบัว การรับดอกบัวของชาวต่างบ้านจากชาวบางพลีจะสิ้นสุดเมื่อเวลาประมาณ 08.00 น. หรือ 09.00 น. และชาวบ้านก็จะพากันกลับ ตอนขากลับจะมีการแข่งเรือกันไปด้วยแต่เป็นการแข่งขันโดยมีเส้นชัย ไม่มีกรรมการตัดสินและไม่มีการแบ่งประเภทหรือชนิดของเรือ ใครพอใจจะแข่งกับใครเมื่อไหร่ที่ใดก็แข่งกันไปหรือจะเปลี่ยนคู่เปลี่ยนคู่แข่งกันไปเรื่อยๆตามแต่จะตกลงกันดอกบัวที่ชาวต่างถิ่นรับจากชาวบางพลีไปนั้นจะนำไปบูชาในเทศกาลออกพรรษาตามวัดในหมู่บ้านของตน ประเพณีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ครั้นนานมาชาวต่างถิ่นที่นำเรือมารับดอกบัวจากชาวบางพลีมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ เสียงกระจับ ปี่ สีซอ กลองรำมะนา เสียงเพลงเสียงเฮฮาที่เคยเซ็งแซ่ตามลำคลองสำโรงในคืนวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็ค่อยๆเงียบหายไป 

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ข้อมูลอ้างอิง hotsia.com แหล่งรวมข้อมูลความรู้
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย มวยตับจาก เมืองศรีราชา ชลบุรี


ประวัติมวยตับจาก
มวยตับจากเป็นกีฬาพื้นบ้านยอดนิยมของภาคตะวันออกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
จังหวัดชลบุรี เพราะเนื่องจากในอดีตมีการปลูกต้นจากเป็นจำนวนมาก
แต่ปัจจุบันกีฬาประเภทนี้สูญหายไปด้วยเหตุที่ป่าจากมีการปลูกลดน้อยลงไป

อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขันคือ
ใบจากแห้งจำนวนมากเพื่อปูให้ทั่วพื้นเวทีและเชื่อกสำหรับขึงเวที 
ขั้นตอน การนำใบจากมาปูบนเวทีมวย ซึ่งเวทีมวย ก็เป็นเวทีมวยที่ได้มาตรฐาน
ที่ใช้ชกมวยทั่วไป ขั้นตอนแรกก็ไปตัดใบจากมาตากให้แห้ง เวลาเหยียบย่ำจนได้ยิน
เสียงดัง กรอบแกรบ หลังจากใบจากแห้งแล้ว ก็จะนำใบจากมามัดร้อยในก้านไม้


ที่เหลามาเป็นอย่างดี มีความยาวประมาณ 3-4 เมตร โดยมัดร้อยเรียงให้เต็มก้านไม้ เมื่อร้อยเต็มแล้ว 1 อันเรียกว่าเป็นตับ  ซึ่งเป็นที่มาของการเรียก "มวยตับจาก" ก่อนทำการชก นักมวยทั้งคู่จะผูกตาด้วยผ้า และจับให้อยู่คนละมุมมีกรรมการกลางอยู่บนเวที 1 คน จากนั้นเมื่อมีสัญญาณเริ่มชก นักมวยจะเดินออกจากมุมเพื่อหาคู่ต่อสู้และต่อยกัน โดยจะใช้ฟังเสียงลั่นกรอบๆแกรบๆ ของใบจากที่ปูไว้ เพื่อจับทิศทางผู้ต่อสู้ของตน 

การเปรียบมวย เวลาการเปรียบมวยแล้วแต่กรรมการผู้จัดจะนัดเวลา จะเป็นเช้า หรือเย็น หรือบางครั้ง เปรียบกันข้างเวที่ีและขึ้นชก เดี๋ยวนั้นเลยก็มี หรืออาจจะเป็นเพื่อนกัน ประสงค์จะชกกันก็สามารถแจ้งต่อคณะผู้จัดเลยก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ชายชกกับผู้ชาย ผู้หญิงชกกับผู้หญิง หรือแม้แต่ผู้หญิงจะชกกับผู้ชายก็มี แต่ส่วนมากผู้หญิงที่ชกกับผู้ชายจะเป็นเด็กเสียมากกว่า เพราะเน้นเอาความ บันเทิง สนุกสนาน เป็นหลัก หรือบางคู่ ทางผู้พากย์มวยพิธีกร บอกว่าเป็นการชกระหว่างเมียหลวงกับเมีน้อยก็มี

กติกา การชกมวยตับจาก นักมวยทั้งคู่ก่อนขึ้นชกจะต้องสวมใส่นวม ใช้ผ้าปิดตาทั้งสองข้างให้สนิทการต่อยคือใครต่อยเข้าเป้ามากที่สุดก็จะได้คะแนนใครได้คะแนนมากเป็นฝ่ายชนะชก 3 ยก ยกละ 2 นาที สวมใส่นวมตามมาตรฐาน มวยตับจากจัดเป็นกีฬาพื้นบ้านที่เสริมสร้างไหวพริบในการฟังเสียงได้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่น่าเสียดายว่ากีฬาประเภทนี้ได้สูญหายไปแล้วตามกาลเวลาที่ผ่านมา


จุดเด่น การชกมวยตับจากเน้นความบันเทิงสนุกสนาน มากวก่าที่จะตั้งหน้าตั้งตาห้ำหั่นที่จะเอาชนะซึ่งกันและกันจุดเด่นการชกมวยนี้ คือการชกที่มองไม่เห็นเป้าหมายหรือคู่ต่อสู้ เพียงได้ยินเสียงเดินบนพื้นที่ปูด้วยใบจากแห้งเท่านั้น นักมวยทั้งสองฝ่าย คือมุมแดง และมุมน้ำเงิน ก็จะปรี่เข้าไปเตะ ต่อย ที่จุดกำเนิดเสียงที่ได้ยิน นอกจากเสียงเดินของนักมวยแล้ว ยังมี เสียงเดินของกรรมการด้วย ซึ่งนักมวยทั้งคู่จะไม่รู้หรือมองไม่เห็นว่าเป็นคู่ต่อสู้หรือกรรมการ นักมวยทั้งคู่จะเตะ ต่อย มั่วไปหมด บ่อยครั้งทั้งนักมวยทั้งสอง รุมชก เตะ ต่อย กรรมการ บางครั้งกรรมการเจ็บมากกว่านักมวยก็มี เพราะการชกมวยตับจาก การออกแรงชกก็ชกสุดแรงของแต่ละคน หรือหลายครั้ง ก็ล้มลุกคลุกคลานกันบนเวทีทั้งกรรมการและนักมวย และตกเวทีไปเลยก็มี บางคู่ก็มีการชกหมู่ สองคู่ในเวลา และเวทีเดียวกัน ชกพร้อมๆกัน ซึ่งแล้วแต่ผู้ดำเนินการหรือคุบคุมงานที่จะจัดเพิ่มเพื่อเป็นความสนุกสนานแก่ผู้เข้าไปชมสำหรับรางวัลของนักมวยนั้น มีมูลค่ามากน้อยต่างกันไป แล้วแต่ผู้จัดที่สามารถหามามอบให้ เช่นหม้อหุงข้าว พัดลม เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเป็นเงินสด หรือบางคู่ ชกได้สนุกสนาน เฮฮา ผู้ชมที่ชื่นชอบมีการให้รางวัลพิเศษก็มี

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ข้อมูลอ้างอิง srirachaoutlook.com


ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย บวชนาค ประเพณีลูกผู้ชาย



ตามประเพณีไทยชายอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ถือว่าเป็นอายุที่ครบบวช พ่อ แม่ ทุกคนจัดพิธีบวชให้ ชาวบ้านศรัทธาการบวชมาก เพราะถือว่าการบวชได้กุศลแรง มีความ เชื่อว่าบวชลูกได้ 3 คน พ่อแม่ไม่ต้องตกนรก และถือว่าการบวชเต็มพรรษา ซึ่งหมายถึงการบวชตั้งเข้าพรรษาย่อมได้บุญกุศลมากกว่าระยะเวลาสั้น 7 วัน 15 วัน หรือ 30 วัน เพราะถือว่าในระหว่างเข้าพรรษา พระบวชใหม่จะได้เรียนพระธรรมวินัยและได้บำเพ็ญภาวนามากกว่าบวชระยะสั้น

การบวชนั้น ผู้ชายสมัยนี้อาจไม่ศรัทธา แต่ก็ไม่มีผู้ใดขัดข้องที่จะบวชให้พ่อแม่ เพราะถือว่าเป็นการทดแทนพระคุณ และการบวชจะทำให้เป็นคนที่สมบูรณ์ เรียกว่าเป็น “บัณฑิต หรือ ฑิต” ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้บวชเรียนเรียกว่าเป็น “คนดิบ”

ค่านิยมของชาวบ้านในการบวชพระแต่เดิมนั้น ชายที่บวชเรียนแล้วจะมีสถานสูงกว่าผู้ที่ยังไม่ได้บวชเรียน การกระทำที่สนับสนุนค่านิยมนี้ได้แก่ การแต่งงาน การเลือกคู่ครอง บิดา มารดาฝ่ายหญิงจะพิจารณาเลือกผู้ที่บวชเรียนก่อน

ก่อนบวช เจ้าภาพ หรือบิดา มารดา ผู้ที่จะบวชอาจจะดูฤกษ์ยามวันดี ทั้งจะต้องนิมนต์พระอุปัชฌาย์ และพระคู่สวดไว้ล่วงหน้า

การจัดงานแบ่งออกเป็น 2-3 วัน แล้วแต่เจ้าภาพจะเห็นสมควร วันแรกเรียกว่าวันสุกดิบ เป็นวันเตรียมอาหารคาว หวาน และเครื่องใช้ต่างๆ ให้พร้อม ตอนเย็นจะรับนาค (ผู้ที่จะบวช) ซึ่งปลงผมมาจากวัดแล้วเพื่อทําพิธีทำขวัญนาค วันรุ่งขึ้นเป็น วันทำพิธีอุปสมบท ถ้าหากจัดงาน 2 วัน จะทำพิธีอุปสมบทในตอนเช้าและทำพิธี ฉลองพระที่บวชใหม่ในตอนเพลเป็นเสร็จพิธี แต่ถ้าจัดงาน 3 วัน จะมีพิธีฉลองพระ บวชใหม่ บางบ้านมีพิธีสวดมนต์เย็นอีกด้วย




การทำขวัญนาคเป็นความเชื่อตามลัทธิพราหมณ์ พิธีนี้เข้ามาเกี่ยวข้องกับ พุทธศาสนา หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพานไปแล้ว จุดประสงค์ของการทำ ขวัญนาคก็เพื่อที่จะให้ผู้อุปสมบทมีสมาธิและทำจิตใจให้สะอาด ยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ทั้งยังเป็นการเตือนให้ผู้จะบวชระลึถถึงคุณบิดามารดาที่ชุบเลี้ยงตนมา

วัสดุที่ใช้ในการประกอบพิธี

1. เทียน 11 เล่ม แยกเป็นเทียนสำหรับทำน้ำมนต์ 1 เล่ม เทียนชัยปักอยู่ยอดบายศรี 1 เล่ม เขียนสำหรับใช้เวียนเทียน แว่นเวียนเทียนใช้ 3 อัน ใช้เทียนแว่นละ 3 เล่ม (รวม 9 เล่ม)
2. บายศรี 3 ชั้นหรือ 5 ชั้น
3. ไม้ขนาบบายศรี 3 อัน
4. ใบตองหุ้มบายศรี 3 ยอด
5. ผ้าสำหรับห่มบายศรี
6. ไข่ต้น 1 ฟอง วางไว้บนยอดบายศรี (หลังพิธีมักให้หญิงมีครรภ์รับประทานเชื่อว่าน่าจะทำให้คลอดลูกได้ง่าย)
7. ขนมต้มขาว ขนมต้มเเดง
8. เครื่องสังเวยเป็นขนมต้มต่างๆ วางตามชั้นบายศรี
9. มะพร้าวอ่อน 1 ผล
10. กล้วย 1 หวี
11. พลู 7 ใบ
12. ขันใส่ข้าวสาร
13. เครื่องกระแจะจันทน์ (แป้งหอม น้ำมันหอม สำหรับไว้เจิมนาค)

ก่อนเริ่มพิธีต้องนำเครื่องอัฐบริขารทั้งหมดมาวางเรียงไว้หน้าบายศรี ผู้ทำพิธีแต่งตัวแบบพราหมณ์ คือนุ่งขาวห่มขาว เริ่มพิธีผู้ประกอบพิธีจะสวดนะโม 3 จบ แล้วกล่าวอัญเชิญเทพยดามาเป็นสักขีพยาน กล่าวนามนาคแล้วกล่าวคำปฎิสนธิ ให้นาคระลึกถึงคุณบิดามารดา หลังจากนั้นจะเป็นการสอนนาคให้รู้จักเพศบรรพชิต กล่าวเสร็จรดน้ำมนต์แล้วเปิดบายศรี ผู้ประกอบพิธีเอาผ้าม้วนใบตอง ระหว่างนั้นจะมีการ ร้องเพลงนางนาค ผู้ประกอบพิธีจะมอบผ้าม้วนใบตองให้นาค นาคส่งให้บิดา มารดานำไปเก็บไว้ในเรือน ถือเป็นมิ่งขวัญ กล่าวกันว่ามิ่งขวัญอยู่ที่ยอดตอง หลังจากเปิดบายศรีแล้ว ผู้ทำพิธีจะจุดเทียน 9 เล่ม ทำพิธีทักษิณาวรรตรอบบายศรี 3 รอบ เมื่อ เวียนเทียนเสร็จแล้ว ผู้ประกอบพิธีนำไข่ กล้วย ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง ใส่ลงไปในมะพร้าวอ่อน แล้วป้อนนาค 3 ช้อน นำแป้ง เครื่อง หอม พลู ใส่รวมกันเจิมที่หน้านาคเพื่อเป็นสิริมงคล เป็นอันเสร็จพิธี


ตอนเช้าจะมีขบวนแห่นาคไปวัด และเวียนทักษิณาวรรตรอบโบสถ์ 3 รอบ เสร็จแล้วนาคจะต้องสักการะเสมาด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เป็นการขอขมาและแสดงความเคารพแล้วจึงเข้าโบสถ์ได้

ต่อจากนั้นนาคจะเข้าไปสักการะพระอุปัชฌาย์และขอบรรพชาเป็นเณรก่อนแล้วจึงกล่าวคำขออุปสมบทด้วยคำภาษาบาลี พระคู่จะถามข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับ ตัวนาค เช่น เป็นหนี้ผู้ใดหรือไม่ เป็นโรคติดต่อหรือไม่ เป็นต้น หลังจากนั้นจะให้นาคไปครองผ้ากาสาวพัสตร์ รับศีล 227 ข้อ ซึ่งแสดงว่าเป็นพระภิกษุโดยสมบูรณ์แล้ว

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ข้อมูลอ้างอิง ilwc.aru.ac.th
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}