ประเพณีไทย ค้ำโพธิ์ค้ำไทร


  ความเชื่อเรื่องประเพณีค้ำโพธิ์ ค้ำไทร เมื่อคนป่วย มีอาการนอนไม่หลับ ผอมเหลือง ทำงานไม่ได้ ปวดหัวตัวร้อนตลอดเวลาต้องพึ่งพระ ให้จัดหาไม้คูณ ไม้ยอ ถากกลบเท่า ประมาณขาของคนป่วย ยาวประมาณ 1-2 วา

  เมื่อถึงวันพระ 15 ค่ำ กลางเดือน นำดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู บุหรี่ ข้าวตอกดอกไม้ นำผู้ป่วยไปจัดเพื่อประกอบพิธี นิมนต์เจ้า อาวาส พร้อมลูกวัด 4 รูป ร่วมพิธีรับศีล ชุมนุมเทวดา

  ประกาศรุกขเทวดารักษาต้นโพธิ์ ต้นไทร ขอให้อาการป่วย บรรเทาต่ออายุให้ยืนยาว แล้วนำไม้เสานั้นค้ำโพธิ์ ค้ำไทร พระสงฆ์สวดอนุโมทนา ผู้ป่วยกรวดน้ำ

  ความเชื่อเรื่องประเพณีสูตรธาตุ-ชะตา เมื่อมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย นอนอาการหนักจนผู้มีความรู้เห็นว่าชะตาถึงฆาต ดวงชะตาขาด ควรสูตรชะตา ซึ่งใช้ภาชนะสองอัน ภาชนะ อันหนึ่งใช้ดินเหนียวทำเป็นเจดีย์เล็ก ๆ สูงแค่ศอกคนป่วย

  รอบเจดีย์บนภาชนะนั้น เจดีย์เล็ก ๆ อีก 9 อัน รอบเจดีย์ใหญ่นำไม้ไผ่ยาวแค่ศอกเท่าอายุคนป่วย กรรไกรตัดกระดาษ เป็นธงสามเหลี่ยมติดปลาย ไม้ไผ่ มัดเรียงที่ยอดเจดีย์ ทำธงเล็กเท่าอายุ

  ภาชนะอันที่สองนั้นเอามัดธงกระดาษ และมัดธงเหล็กนั้นเอาตั้งไว้บนภาชนะ ตัดกระบอกไม้ไผ่ยาวเท่านิ้วชี้มีรูหลวมนิ้วชี้ผู้ป่วย 5 อัน อันหนึ่งเอาถ่านไฟใส่ให้เต็ม อัน ที่สองยัดนุ่นให้เต็ม อันที่สามใส่ดินให้เต็ม อันที่สี่ใส่น้ำให้เต็มเป็นเครื่องหมายธาตุ คือ

  น้ำ ไฟ ลม มัดติดกับเสาธงกระดาษและธงเหล็กบนภาชนะ กระบอกไม้ไผ่อันที่ 5 ใช้ตวงข้าวสารเท่าอายุผู้ป่วย ใส่ขันหรือกะละมังไว้แล้วเย็บกระทงตองกล้วยเท่ากำมือผู้ป่วย 5 อัน ใส่ข้าวตอกกระทงหนึ่ง ใส่ดอกบานไม่รู้โรยกระทงหนึ่ง ใส่ข้าวเปลือกกระทงหนึ่ง ใส่ถั่วงากระทงหนึ่งใส่เมี่ยงหมากกระทงหนึ่ง วางบนภาชนะรอบเสาธง เทียนยาวรอบหัว เทียนสูงแค่หัว วัดจากสะดือผู้ป่วยถึงลูกกระเดือก เทียนเล่มบาท 1 คู่ ขัน 5-8 ปัจจัยเท่าอายุ

  พอถึงตอนเย็นแบกไปที่วัดถวายเจ้าอาวาส พระสงฆ์ 4 รูป จะนำไปสวดในพระอุโบสถสวดเสี่ยงทายอยู่ 3 วัน 3 คืน หลังทำวัตรสวดมนต์เย็นแล้ว ผู้ป่วยชะตาขาดธาตุ สูญตวงข้าวสารในกระบอกไม้ไผ่เท่าอายุ ชะตาผู้ป่วยยังไม่ขาดธาตุยังไม่สูญ ข้าวสารที่ตวงเท่าอายุนั้นเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยต้องหายแน่

  ถ้าข้าวสารในกระบอกขาดไปจัดแจงสวด ตามกำลังวัน ตวงดูยังขาดอย่างเดิม ผู้ป่วยไปไม่รอดแน่ คืนที่สองสวดอีกตวงข้าวสารแล้วมีข้าวสารเพิ่มขึ้นเหนือกระบอกโดยลำดับผู้ป่วยหายแน่ เช่น

  พิธีตัดกรรม-ตัดเวร คนไข้เจ็บป่วย อัมพาต ป่วยมานานจนลุกเดินไปไหนมาไหนไม่ได้ ชาวอีสาน เกิดจากกรรมเวรในชาติก่อนหรือชาตินี้ตามสนอง จึงต้องได้รับ ความทุกข์ทรมาน ผู้ที่มีความรู้ก็จะจัดแจงแต่งเครื่องตัดกรรมตัดเวร มีหม้อแกง 4 หม้อ เครื่องหมายธาตุ 4 มีคาวหวาน ห่อพริก ห่อเกลือ ห่อปลาร้า ปลาเค็ม บุหรี่ตัว หมากคำ เงินสตางค์ห่ออันละนิดใส่ลงในหม้อ ทั้งสี่หม้อเหมือนกันหมด ด้ายสายสิญจน์ 4 เส้นยาว 2 วามีดน้อย 4 ดวง ขัน 5-8 หมาก พลู บุหรี่ถวายพระ

  พอถึงตอนเย็นนำไปที่วัดพร้อมเชิญคนป่วยไปด้วย คนป่วยใส่ล้อหรือนั่งเก้าอี้หามไปที่ต้นโพธิ์ นิมนต์พระสงฆ์นั่งทิศตะวันออกต้นโพธิ์ ให้คนป่วยนั่งหรือนอนอยู่ตรงกลาง ตั้ง หม้อในทิศทั้ง 4 ด้วยสายสิญจน์ผูกปากหม้อ พระสงฆ์ทั้ง 4 รูป จับด้ายสายสิญจน์ ไหว้พระรับศีลอาราธนาพระสงฆ์สวดตัดกรรม-ตัดเวร สวดตามกำลังวัน


  พิธีการแต่งบูชาพระเคราะห์แห่งปี ชาวอีสานถือเป็นประเพณีประจำครอบครัว ในเรื่องการประกอบสัมมาอาชีพ การป่วยไข้ หมอชาวบ้านจะแนะนำให้แต่งบูชา พระเคราะห์ ประเภทแก้พระเคราะห์บูชาโรค การบูชาพระเคราะห์ในบ้านเรือนครอบครัวจะมีความสุข เจ็บไข้ได้ป่วยป้องกันอันตราย ความเดือดร้อนในการครองเรือน โชค ร้ายจะหายไป จะได้โชคลาภ ป้องกันอันตราย ความเดือดร้อนในการครองเรือนโชคร้ายจะหายไปจะได้โชคลาภ

  หมอแต่งบูชานพเคราะห์นุ่งขาวห่มขาว จุดธูปเทียน บูชาพระรัตนตรัยชุมนุมเทวดา ใช้ใบตองกล้วยสดปู จึงเอากระทงบูชานพเคราะห์วางบน เจ้าชะตามานั่งตรงหน้า ประกาศบอกเทวดา บอกชื่อเจ้าชะตามีความเคารพพรหมชาติชะตาของตน แต่งเครื่องบูชาพระนพเคราะห์บูชาพระเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะ

  ขอเชิญพระนพเคราะห์คือ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุทธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหูและพระเกตุ จงมารับเครื่องสักการะของเจ้าชะตา อันมีมา ในทักษาและมหาทักษา อีกทั้งพระมฤตยูผู้เป็นใหญ่ใน 12 ราศี อันเจ้าชะตานี้สักการะบูชาพระรัตนตรัยได้จัดลงใส่ในกระทงคาวหวานเป็นอเนกประการ

  ขอความสวัสดีมีชัยในลาภข้าวของเงินทองอันเนืองนอง จงมีแก่เจ้าชะตาเจริญรุ่งเรืองทุกเมื่อเทอญ พิธีสูตรขวัญก่อง การเจ็บป่วยของชาวอีสานได้ใช้พระพุทธศาสนาเข้าช่วย ผู้ป่วยที่กินไม่ได้นอนไม่หลับ ฝันร้ายตลอดเวลาขวัญหนีดีฝ่อ ร่างกายผอมเหลือง

  ซึ่งญาติพี่น้องจะนิมนต์ให้พระสงฆ์ สอดขวัญก่องให้ด้วยการหาก่องข้าวสูงแค่ศอก ผู้ป่วย ผู้ป่วยเป็นผู้ชายจัดเอาหวี แป้งหอม น้ำหอม ผ้าเช็ดหน้า แหวน กระจกเงา เครื่องแต่ง ตัว ของผู้ชายใส่ลงในก่องข้าว พร้อมทั้งเขียนชื่อผู้ป่วยและปัจจัยเท่าอายุ เทียนรอบหัว เทียนยาวแค่ตัววัดแค่สะดือถึงลูกกระเดือก ผ้านุ่ง ผ้าอาบของผู้ป่วยใส่ภาชนะขัน 5-8 ดอก ไม้ธูปเทียนข้าวตอก หมากพลู บุหรี่

นำไปถวายเจ้าอาวาส ถ้าเป็นผู้หญิงป่วยให้แต่งเครื่องผู้หญิง มีช่องหวี สร้อยคอ กำไลมือ กระจอนหู ต่างหู แป้งหอม น้ำหอม และ เขียนชื่อผู้ป่วยใส่ลงในก่องข้าว

  นอกนั้นเหมือนกันกับของผู้ชาย พอถึงเวลาเย็นนำไปวัดเจ้าอาวาสรู้แล้วพอถึงเย็นทำวัตรสวดมนต์ก่อนจำวัตรเจริญภาวนา จะนำก่องข้าวมาตรวจดู วางภาชนะเสื้อผ้าชิดก่อง ข้าว จุดธูปเทียน ชุมนุมเทวดาประกาศให้รู้ว่าคนป่วยชื่อนั้น ไม่สบายเป็นไข้ นำก่องข้าวมาให้ข้าสวดมงคลเรียกขวัญ ขวัญคนชื่อนี้ไปเที่ยวที่ใด จงมาลงในก่องข้าวนี้

  ขณะที่สวดให้เปิดฝาก่องข้าวไว้ ห้ามพูดกับใคร จำวัตรเลย คืนแรกฝันดีห้ามเอาคืนที่สองสวดอีกเหมือนเดิมห้ามพูด จำวัตรเลย มีนิมิตดีฝันดีไม่ต้องเอา คืนที่สามให้ สวดเหมือนเดิม คืนนี้เป็นคืนสุดท้าย สุบินนิมิตจะฝันดีเหมือนคืนที่แล้วมา เวลาประมาณตี 4 หรือตี 5. ลุกขึ้นให้ปิดฝาก่องข้าว ปิดให้แน่นห้ามเปิด

  พอถึงตอนเย็นพระผู้สวดนั้นถือก่องข้าวและภาชนะผ้าเข้าไปในบ้านเรือนของคนป่วย ห้ามใช้พระรูปอื่นแทน ทำพิธีเอาก่องข้าวและภาชนะไว้ใต้แขนประมาณ 30-40 นาที

  จึงเอาด้ายผูกข้อมือคนป่วยและลูกเมียในครอบครัว ฮายความส่งบัตรพลี กระทงหน้าวัว กระทงกาบกล้วยพร้อมทั้งบัตรพลี เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วจะนำไปไว้ที่ต้นโพธิ์หรือทาง 4 แพร่ง คนป่วยจะจัดสิ่งของบูชาหมอตามประเพณี

  ความเชื่อเป็นเรื่องของความรู้สึกและจิตใจ อาจจะมีเหตุผลหรือไม่มีซึ่งเกิดจากการยอมรับภายในจิตสำนึกของมนุษย์ในด้านนั้น ๆ แม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้ก็ตาม แต่ความเชื่อก็ยังสืบต่อกันมาแฝงอยู่ในวิถีชีวิตของชาวอีสาน

  ความเชื่อก็ได้เกิดขวัญกำลังใจในภาระหน้าที่การงาน ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ความสามัคคีในหมู่คณะ ความร่วมมือร่วมใจทำงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานก่อให้เกิดปัญญา ความคิดค้นหาเหตุผล

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ข้อมูลอ้างอิงจาก kku.ac.th ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย จีน แห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพ

  
  มีงานประเพณีที่สำคัญของท้องถิ่นที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาของชาวปากน้ำโพ เพื่อเป็นการเคารพสักการะเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ มีความเป็นมาดังนี้คือ เมื่อประมาณ ๗๐ กว่าปีที่ผ่านมาได้เกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) ขึ้น ชาวบ้านปากน้ำโพได้รับความเดือดร้อน เจ็บป่วยล้มตายกันมาก สมัยนั้น การแพทย์ยังไม่เจริญเหมือนกับปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อความอยู่รอด จึงได้มีชาวบ้านเข้าไปบนบานกับเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ให้ช่วยรักษาให้พ้นจากโรคร้าย 

  เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ได้ช่วยเหลือโดยการเข้าร่างผู้ที่เป็นร่างทรง และ เขียนยันต์หรือที่ชาวจีนเรียกว่า ฮู้ เผาไฟใส่น้ำ ให้ชาวบ้านดื่มกิน เป็นที่อัศจรรย์โรคร้ายหายไป ชาวบ้านอยู่กันอย่างมีความสุข ความเจริญยิ่งขึ้น จึงเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไปถึงความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ดังนั้น ชาวตลาดปากน้ำโพจึงได้มีการร่วมแรงร่วมใจกันจัดประเพณี การแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพขึ้นโดยจัดให้มีขบวนแห่เจ้า เป็นขบวนใหญ่โตมโหฬาร
  เช่นขบวนของเจ้าแม่กวนอิม โดยการคัดเลือกสาวงามที่มีคุณสมบัติ ให้เป็นตัวแทนของเจ้าแม่กวนอิม ขบวนเองกอ ล่อโก้ว ขบวนนางฟ้า สาวงามถือธง เด็กหญิงน้อย ๆ หาบกระเช้าดอกไม้ การเชิดสิงโต ของสมาคมต่าง ๆในจังหวัดนครสวรรค์ ขบวนอัญเชิญเจ้าและผู้เข้าทรง บางปีก็มีการลุยไฟ และขบวนที่ขาดเสียไม่ได้และเป็นจุดเด่นของงานทุกปี ก็คือ ขบวนแห่มังกร ซึ่งการเชิดมังกรทองที่จังหวัดนครสวรรค์มีชื่อเสียงมากในด้านความสวยงาม และการแสดงที่ตื่นเต้นเร้าใจ

  ตรุษจีนนั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณี และพิธีกรรมความเป็นมาของการฉลองตรุษจีน นั้นมีมานานกว่าศตวรรษ จริงๆแล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลอง เป็นเวลานานถึง 15 วัน การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อน วันตรุษจีน (คล้ายกับวันคริสต์มาสของประเทศตะวันตก)เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ 

ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูก ทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่าง หน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูก ประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืนเป็นต้น วันก่อนวันตรุษจีนนั้นเป็นวันแห่งการการรอคอย จะว่าไปถือวันที่น่าตื่นเต้นมากที่สุด ในบรรดาการฉลองทั้งหมดเห็นจะได้ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆกัน


  อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรือง และความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสด จะนำมาซึ่งโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึง บรรพชนอวยพร และเป็นธรรมดาเสื้อผ้าที่ใส่สีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคลเป็นการไล่ปีศาจร้ายให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาว เป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้า เพื่อรอวันใหม่ โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง เมื่อถึงวันตรุษจีน ประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อังเปา ซึ่งหมายถึง กระเป๋าแดง เป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง 


หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว ต่าง ออกมาเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ เริ่มจากญาติๆ แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับ การที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป) ในวันตรุษนี้ อารมณ์โมโห โกรธาจะถูกลืม และไม่สนใจ การฉลองวันตรุษจีนสิ้นสุดลงในงานโคมไฟ ซึ่งฉลองโดยการร้องเพลง เต้นรำ และงานแสดงโคมไฟ ถึงแม้ว่าการฉลองวันตรุษจีน จะมีแตกต่างกันออกไปแต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การอวยพร ความสงบ และความสุขให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนทุกคน

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ขอบคุณข้อมูลจาก
- prapayneethai.com 
- student.nu.ac.th/rachida
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย สรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย


พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งของจังหวัดลำพูน เป็นจอมเจดีย์องค์หนึ่งในจำนวน 8 แห่งของประเทศไทย เป็นเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สร้างในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชพระบรมธาตุหริภุญชัยเป็นศูนย์รวมความศรัทธาของประชาชนโดยทั่วไป ประเพณีสรงน้ำธาตุ เป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ เป็นที่สนใจของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียง ประเพณีนี้ยึดถือและปฏิบัติมาเป็นประจำทุกปี


วัตถุประสงค์ของประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย มีดังนี้
1.เพื่อเป็นการสักการะพระบรมธาตุ ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ของวัดพระบรมธาตุหริภุญชัย และนับเป็นโบราณสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาวลำพูนและชาวพุทธทั่วไป
2.เพื่อสักการะพระบรมอัฐิธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
3.เพื่อเป็นการบูชาเสาหลักเมือง ทั้งนี้เพราะประชาชนลำพูนถือว่าเจดีย์พระบรมธาตุหริภุญชัยเป็นเสาหลักเมืองทำพิธีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัยจึงได้ทำบุญเสาหลักเมืองลำพูนด้วย


กิจกรรมสำคัญ ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย กำหนดจัดขึ้น ณ วัดพระบรมธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เหนือ หรือที่ชาวเหนือเรียกว่า " วันแปดเป็ง " (ระหว่างเดือนพฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของภาคกลาง) หรือ" วันวิสาขบูชา " กิจกรรมที่จัดขึ้น มีทั้งพิธีราษฎร์และพิธีหลวง มีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้

พิธีราษฎร์ เริ่มเวลาประมาณ 07.00 น. คณะศรัทธาประชาชนร่วมประกอบพิธีทำบุญตักบาตรเวลา 11.00 น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ประจำวิหารทั้งสี่ทิศ คือ พระวิหารหลวง วิหารพระละโว้ วิหารพระเจ้าทันใจและวิหารพระพุทธ พระสงฆ์อนุโมทนาเป็นเสร็จพิธีราษฎร์

พิธีหลวง เริ่มเวลาประมาณ 13.00 น. คณะข้าราชการในจังหวัดลำพูนนำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นำขบวนแห่น้ำสรงพระราชทาน เครื่องสักการะ ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ธูปเทียนของหลวง ผ้าห่มพระธาตุสีแดง ยาวประมาณ 1 เมตร และน้ำศักดิ์บนดอยคะม้อ เริ่มขบวนแห่จากศาลากลางจังหวัดเข้าสู่วัดพระบรมธาตุหริภุญชัยการประกอบพิธีสรงน้ำพระบรมธาตุเริ่มพิธีทางศาสนาอัญเชิญน้ำสรงพระราชทาน น้ำศักดิ์สิทธิ์จากดอยคะม้อชักรอกขึ้นสรงน้ำพระบรมธาตุ พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญชัยมงคลคาถา โดยมีพราหมณ์ 8 คน ประจำอยู่บนเจดีย์พระบรมธาตุ หลังจากนั้นจึงเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปนำน้ำขมิ้นส้มป่อยขึ้นสรงน้ำโดยวิธีชักรอบเช่นกัน เวลาประมาณ 17.00 น. เป็นเสร็จพิธีหลวง


อนึ่ง หลังจากเสร็จพิธีสรงน้ำพระราชทานและน้ำศักดิ์สิทธิ์แล้ว จะมีขบวน "ครัวทาน"จากหัววัดต่างๆ แห่เข้าสู่บริเวณพิธีเพื่อนมัสการและสักการะพระบรมธาตุ ทั้งนี้ขบวน " ครัวทาน" จะตกแต่งเป็นเรื่องทางพระพุทธประวัติหรือมหาชาติที่ให้ข้อคิดคติธรรม ในขบวนจะประกอบด้วยขบวนตุง ธงทิว การแสดงศิลปพื้นบ้าน การบรรเลงดนตรีพื้นเมืองที่ครึกครื้นสนุกสนานและให้ความบันเทิงแก่ผู้ร่วมพิธี

ในภาคกลางคืน เริ่มเวลาประมาณ 18.00 น. พระสงฆ์ประมาณ 20 รูป พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชน ประกอบพิธีเวียนเทียนประทักษิณองค์พระบรมธาตุ 3 รอบและพระสงฆ์แยกย้ายเข้าประจำพระวิหารทั้ง 4 ทิศ เพื่อเจริญพระพุทธมนต์ แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์สวดเบิกวิหารละ 4 วาร (วาระ) เป็นเสร็จพิธี


คำบูชาพระบรมธาตุหริภุญชัย สุวัณณะเจติยัง หะริภุญชะยัฏฐัง วะระโมลีธารัง อุรัฏฐิเสฏฐรัง สะทะอังคุลีฏฐัง
กัจจายะเนนตินะ ปัตตะปูรัง สีเสนะมัยหัง ปาณะมามิธาตุง อะหังวันทามิสัพพะทา

ข้าพเจ้า ขอเอาเศียรเกล้าของข้าพเจ้า นอบน้อมพระธาตุ อันเป็นเจดีย์ทอง ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหริภุญชัย คือ พระอัฏฐิเบื้องพระทรวงอันประเสริฐ กับทั้งพระอัฏฐิพระองคลี และพระธาตุย่อยเต็มบาตรหนึ่ง อันพระกัจจายะนะนำมา ข้าพเจ้าขอวันทาในกาละทุกเมื่อแล

ขอบคุณข้อมูลจาก  baanjomyut.com
ขอบคุณภาพสวยๆ จาก facebook.com/tatchiangmai.fanpage

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย ปอยหลวงของชาวล้านนา


  งานบุญประเพณีไทยของชาวล้านนาไม่ว่าจะเป็นงานน้อยงานใหญ่ ก็ล้วนแล้วมาจากพลังศรัทธาของชาวบ้านทั้งสิ้น เช่นเดียวกับงานบุญปอยหลวง วิถีการดำรงชีวิตของผู้คนแต่ละท้องถิ่นบ่งบอกถึงวัฒนธรรม ประเพณีที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมา จนกลายเป็นแบบแผนที่คนรุ่นหลังจำต้องยึดถือปฏิบัติ และดำรงรักษาไว้

  ความเชื่อของคนล้านนาส่วนใหญ่มักจะสอดคล้องกับหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา อาจเป็นเพราะว่าศาสนา ได้เข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนล้านนามาช้านาน จะเห็นได้จากการร่วมแรงร่วมใจในการจัดงานบุญประเพณีนั้น สร้างความสามัคคี และพลังศรัทธาอันมหาศาลต่อพระพุทธศาสนา ดังความเชื่อที่ว่า อานิสงส์ของการสร้างกุศลผลบุญ จะส่งผลให้ดวงวิญญาณของผู้ทำบุญได้ขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์ ดังนั้น ในงานบุญประเพณีของชาวล้านนา ไม่ว่าจะเป็นงานน้อย งานใหญ่ ก็ล้วนแล้วมาจากพลังศรัทธาของชาวบ้านทั้งสิ้น เช่นเดียวกับงานบุญปอยหลวง


  คำว่า "ปอยหลวง" ในภาษาล้านนา หมายถึง การจัดงานเฉลิมฉลองศาสนสถาน ที่สร้างขึ้นจากศรัทธาของชาวบ้าน เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลา กุฏิ หรือ กำแพงวัด การที่เรียกว่า "ปอยหลวง" เพราะเป็นงานใหญ่ที่ต้องอาศัยความร่วมมือ จากชาวบ้านเป็นจำนวนมาก ในงานจะมีกิจกรรมต่างๆ ทั้งพิธีทางศาสนา และมหรสพบันเทิง

  ก่อนที่จะถึงวันงานประมาณ 2-3 วัน ชาวบ้านจะมีการทานตุง ซึ่งทอด้วยฝ้ายหลากสีสัน ประดับด้วยดิ้น สีเงิน สีทอง บางผืนทอขึ้นเป็นสีธงชาติไทย หรือปักเป็นรูปนักษัตร 12 ราศี ยาวประมาณ 2 เมตร นำไปติดไว้กับปลายไม้ไผ่ ศรัทธาชาวบ้านจะนำตุงของแต่ละบ้านไปปักไว้ตามถนนระหว่างหมู่บ้าน ตุงหลากสีสันที่เรียงรายอย่างสวยงาม ตลอดสองข้างทางของหมู่บ้านนั้น จะเป็นสัญลักษณ์ให้ผู้คนที่ผ่านไปมาได้ทราบว่า วัดแห่งนั้นกำลังจะมีงานปอยหลวง


งานประเพณีปอยหลวงของชาวล้านนา นิยมจัดขึ้น 2-3 วัน   วันแรก เรียกว่า "วันแต่งดา"  หรือ  "วันห้างดา"   วันที่ 2  เรียกว่า "วันกิน"   ส่วนวันสุดท้าย เรียกว่า  "วันตาน"  หรือ  "วันครัวตานเข้า"

 วันแต่งดา  คือ  วันที่มีการเตรียมอาหารคาวหวาน ผลไม้ รวมทั้งข้าวของ เครื่องใช้ที่จะนำไปถวายวัด
ใส่ใน "ครัวตาน" ซึ่งสร้างขึ้นจากไม้ เป็นรูปสี่เหลี่ยมสำหรับใช้คนหาม  ด้านบนมียอดแหลม  ทำมาจากใบคา สำหรับปักเงิน หรือสิ่งของเครื่องใช้ไม้สอยสำหรับพระภิกษุ สามเณร  เช่น  แป้ง สบู่  ผงซักฟอก  แปรงสีฟัน  สมุด  ดินสอ  ปากกา  เพื่อนำไปถวายให้กับวัด   ส่วนยอดของครัวตานแต่ละบ้านจะไม่เหมือนกัน  บางบ้านทำเป็นรูปใบโพธิ์  นำถ้วย  ช้อน 
จาน  ชามมาประดับ    บางบ้านนำโต๊ะ เก้าอี้ สำหรับถวายให้กับวัด  ซึ่งแล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบ้าน   ถ้าต้นครัวตานของใครสวยงาม ก็จะเป็นที่ชื่นชอบของบรรดาผู้มาร่วมงาน   สิ่งสำคัญของครัวตาน คือ ยอด มักนิยมนำธนบัตรมาหนีบไว้กับไม้ไผ่  แล้วนำมาปักประดับตามยอดเป็นช่อชั้นอย่างสวยงาม

  เมื่อถึงวันกิน จะมีบรรดาญาติสนิท มิตรสหาย แขกผู้มีเกียรติ ซึ่งเจ้าของบ้านได้บอกกล่าวให้มาร่วมงาน
ก็จะมีการยกสำรับกับข้าว เหล้ายาปลาปิ้งมาเลี้ยง ซึ่งวันนี้ถือว่าเป็นวันที่สนุกสนาน รุ่งขึ้นอีกวันถือเป็นวันตาน มีการแห่ต้นครัวตานของแต่ละบ้านไปวัด บรรยากาศในวันนี้ก็ยิ่งสนุกสนานคึกคัก ด้วยว่าแต่ละบ้านจะมีมหรสพ แตรวง ดนตรีพื้นบ้านนำหน้าครัวตาน ญาติพี่น้องก็จะออกมาร่วมรำวงฟ้อนรำ


  ขณะเดียวกันบรรยากาศภายในวัดก็ดูคึกคักไม่แพ้กัน มีทั้งคนเฒ่า หนุ่มสาว เด็กเล็ก พ่อค้าแม่ค้านำสินค้ามาจำหน่าย
รวมถึงศรัทธาญาติโยม ตลอดจนพระสงฆ์องค์เจ้า ที่มาร่วมงานตามคำเชิญของวัดเจ้าภาพ พระภิกษุสงฆ์ที่อาราธนามาเป็นเจ้าพร หรือ ตุ๊เจ้าปั๋นปอน จะเป็นพระที่มีน้ำเสียงไพเราะ มีโวหารที่สละสลวย เพราะต้องให้ศีล ให้พรแก่ศรัทธาที่นำครัวตานมาถวาย เจ้าพรอาจจะพรรณนาถึงความงดงามของครัวตานนั้นๆ เพื่อให้ผู้ที่นำครัวตานมาถวายเกิดความปลาบปลื้มใจ

  ส่วนบริเวณใกล้ๆ วัดจะมีการแสดงมหรสพพื้นบ้าน เช่น ซอ ลิเก ให้กับผู้มาร่วมงานชม งานปอยหลวงจะดำเนินไป
ทั้งกลางวัน และกลางคืน เป็นเวลาติดต่อกันหลายวัน ในบางหมู่บ้าน เวลากลางคืนจะมีคนมาเที่ยวงานเป็นจำนวนมาก เพราะกลางวันอาจติดภารกิจ การงาน ประการหนึ่งยังเป็นโอกาสที่หนุ่มสาวจะได้พบปะพูดคุยกันอีกด้วย
ประเพณีปอยหลวงของชาวล้านนา ถือว่าเป็นงานบุญถวายทานที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งนานปีจะมีสักครั้ง ดังนั้นงานประเพณี
ปอยหลวง จึงเป็นงานที่ทุกคนปลาบปลื้มภูมิใจ บางคนชั่วอายุหนึ่งอาจมีโอกาสได้เป็นเจ้าภาพในงานปอยหลวงเพียงครั้ง หรือสองครั้งเท่านั้น เพราะงานปอยหลวง จะจัดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการก่อสร้างศาสนสถานขึ้นเท่านั้น 

ขอบคุณข้อมูลและภาพสวยๆ จาก http://student.nu.ac.th/chollathit

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย งานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ


ประวัติประเพณี
 หลังจากพระยาลิไท ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุช่อแฮแล้ว ได้โปรดให้มีงานฉลองสมโภช 5 วัน 5 คืน ระหว่างวันขึ้น 11 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เหนือ เดือน 4 ใต้ ซึ่งอยู่ระหว่างในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ต้นเดือนมีนาคมของทุกปี นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาเจ้าผู้ครองนครแพร่ทุกองค์จึงได้ยึดถือประเพณีไหว้พระธาตุประจำปี สืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

  ประเพณีไทยการไหว้พระธาตุช่อแฮเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เดิมจะจัด 5 วัน 5 คืน ในปี พ.ศ. 2536 ได้เปลี่ยนแปลงเป็น 7 วัน 7 คืน วันแรกของงาน จะเริ่มขึ้นในวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 6 เหนือ เดือน 4 ไต้ของทุกปีซึ่งถือว่าการจัดงานไหว้พระธาตุช่อแฮ ยึดถือตามจันทรคติเป็นหลัก ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่ แห่ตุงหลวง ในการจัดงานมีขบวนแห่อันยิ่งใหญ่ประกอบไปด้วยริ้วขบวนของทุกอำเภอ การฟ้อนรำ ขบวนช้างเจ้าหลวง และเครื่องบรรณาการ ขบวนแห่ กังสดาล ขบวนแห่หมากเป็ง ขบวนต้นผึ้ง ขบวนแห่ผ้าห่มองค์พระธาตุ 12 ราศี ซึ่งประกอบด้วยขบวนตุง 12 ราศรี ขบวนข้าวตอกดอกไม้ ต้นหมาก ต้นผึ้ง ต้นดอก ขบวนแห่ผ้าห่มองค์พระธาตุ 12 ราศรี ขบวนกังสดาล ขบวนตุง ขบวนฟ้อนรำ มีการเทศน์และมีการเทศน์และฟังเทศน์มหาชาติ มหาเวสสันดรชาดก ทั้งกลางวันและกลางคืน สำหรับกลางคืนมีมหรสพสมโภชตลอดงาน




ข้อมูลต่างๆของประเพณี

  วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 11 ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่ประมาณ 8 กิโลเมตร ในบริเวณวัด ประดิษฐานพระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นหนึ่งในพระธาตุประจำปีเกิดสิบสองราศี คือ พระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล (ปีเสือ) องค์พระธาตุมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสองบุด้วยทองดอกบวบ สูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร ศิลปะแบบเชียงแสน

  ตามหนังสือตำนานพระเจ้าเลียบโลก กล่าวว่า สมัยครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จมา ณ ดอยโกสิยะ แห่งนี้ และได้มอบพระเกศาให้กับขุนลั๊วะอ้ายก้อม จึงได้นำมาใส่ในท้องสิงห์ทองคำบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์พระธาตุช่อแฮแห่งนี้ เพื่อไว้เป็นที่เคารพสักการะสืบมา

   ด้านประวัติศาสตร์ ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างขึ้นสมัยสุโขทัย โดยระหว่างจุลศักราช 586-588 (พ.ศ.1879-1881) ในสมัยพระมหาธรรมราช (ลิไท) ขณะดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราช ปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ได้เสด็จมาสักการะองค์พระธาตุช่อแฮ และใน พ.ศ.1902 ได้เสด็จมาปฏิสังขรณ์พระเจดีย์แห่งนี้ และขนานนามว่า “โกสิยธชัคคปัพพเต” หรือ “โกสัยธชัคคบรรพต” จากนั้นได้จัดงานสักการะ 7 วัน 7 คืน และต่อมาจึงได้ชื่อว่า “พระธาตุช่อแฮ” (คำว่า “แฮ” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “แพร” แปลว่า ผ้าแพร)

  สมัยกรุงธนบุรี (ปี พ.ศ.2512) สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงยกทัพตีพม่าที่ยึดครองล้านนาอยู่ โดยมีพญาแพร่หรือเจ้ามังไชยะ ผู้ปกครองเมืองแพร่ พาขุนนาง กรมการเมืองและไพร่พล เข้าเฝ้าถวายบังคมเข้าร่วมทัพ ยกทัพไปตีพม่าที่เมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดแต่งตั้งให้เป็นพระยาสุริยวงศ์

  ดังนั้นในสมัยกรุงธนบุรี จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุช่อแฮ โดยพญาแพร่หรือเจ้ามังไชยะ (พระยาศรีสุริยวงศ์) ตลอดมา พญาแพร่หรือเจ้ามังไชยะ (พระยาศรีสุริยวงศ์) ได้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาดูแลองค์พระบรมธาตุช่อแฮจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ในปี พ.ศ.2361 ก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยเจ้าหลวงเทพวงศ์ (เจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นทอง) ในปี พ.ศ.2373 เจ้าหลวงอินทวิไชย ก็รับการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อจากเจ้าหลวงเทพวงศ์

ในปี พ.ศ.2415 เจ้าหลวงที่มีบทบาทในตำบลป่าแดงมากที่สุดและอุปถัมภ์พระบรมธาตุช่อแฮตลอดคือ เจ้าหลวงพิมพิสาร (เจ้าหลวงขาเค) และจนมาถึงเจ้าหลวงองค์สุดท้ายของเมืองแพร่เป็นผู้ที่มีพระคุณต่อเมืองแพร่มากที่สุด คือเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ (พระยาพิริวิไชย) ท่านปกครองเมืองแพร่ ปี พ.ศ.2432 ถึง ปี 2445 เจ้าหลวงเดินทางลี้ภัยไปหลวงพระบางซึ่งในปีนี้เมืองแพร่เกิดจลาจลเงี้ยวปล้นเมืองแพร่

ในปี พ.ศ.2467 องค์พระธาตุช่อแฮก็ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่อีกครั้งโดยนักบุญแห่งล้านนาไทย ที่ซึ่งเรียกตามคนเมืองแพร่ว่า ครูบาศีลธรรมหรือครูบาศรีวิชัยนั่นเอง ดังค่าวตำนานปางเดิม

กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนองค์พระธาตุช่อแฮ เป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2474 และได้ประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถานเล่มที่ 97 ตอนที่ 159 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2532

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้มีหนังสือรับรองสภาพวัดไว้ว่า วัดพระธาตุช่อแฮ ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.1900 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.1910 ตามหนังสือ ที่ พ.ศ. 0003/526 ลงวันที่ 24 มกราคม 2548

วัดพระธาตุช่อแฮ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกวัดราษฎร์ ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2549 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 123 ตอนที่ 96 ง ลงวันที่ 24 มกราคม 2549

จังหวัดแพร่ได้จัดงานประเพณีนมัสการองค์พระธาตุช่อแฮ โดยยึดถือตามจันทรคติ ในระหว่างวันขึ้น 9 ค่ำ-ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ใต้ เดือน 6 เหนือ ของทุกปีโดยใช้ชื่องานว่า “งานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮเมืองแพร่แห่ตุงหลวง”

ด้วยความสำคัญดังกล่าว จังหวัดแพร่นำองค์พระธาตุช่อแฮ ประดิษฐานบนหลังม้า เป็นตราสัญลักษณ์ของจังหวัด และนำมาเป็นคำขวัญประจำจังหวัดแพร่ ดังนี้
“หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมืองลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม”

ผู้เรียบเรียงใหม่ http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ข้อมูลอ้างอิงจาก wikipedia.org และ phrathatchohae.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}