ประเพณีไทย ภาคใต้วัฒนธรรมภาคใต้



          ภาคใต้ เป็นดินแดนแห่งหมู่เกาะและท้องทะเลอันงดงาม อีกทั้งยังมีอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติมากมาย นอกจากนี้ ศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวใต้ยังโดดเด่นมีเอกลักษณ์และเปี่ยมเสน่ห์ชวนให้เข้าไปสัมผัสและเรียนรู้อย่างใกล้ชิด จึงไม่น่าแปลกใจว่า ในแต่ละปีภาคใต้จัดเป็นอีกภาคที่มีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติมาเที่ยวชมมากมาย

          เอาล่ะค่ะ...วันนี้กระปุกดอทคอมก็จะนำเสนอเรื่องราวของวัฒนธรรมและประเพณีที่น่าสนใจของภาคใต้มาให้เพื่อน ๆ ทราบกันค่ะ

สำหรับจังหวัดในภาคใต้ จากการแบ่งพื้นที่ตามราชบัณฑิตยสถาน มีทั้งสิ้น 14 จังหวัด ดังนี้

1. กระบี่
2. ชุมพร
3. ตรัง
4. นครศรีธรรมราช
5. นราธิวาส
6. ปัตตานี
7. พังงา
8. พัทลุง
9. ภูเก็ต
10. ยะลา
11. ระนอง
12. สงขลา
13. สตูล
14. สุราษฎร์ธานี

 เพลงพื้นบ้านประจำภาคใต้


          ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะเรียบง่าย มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีจากวัสดุใกล้ตัวซึ่งสันนิษฐานว่าดนตรีพื้นบ้านดั้งเดิมของภาคใต้น่าจะมาจากพวกเงาะซาไก ที่ใช้ไม่ไผ่ลำขนาดต่าง ๆ กัน ตัดออกมาเป็นท่อนสั้นบ้างยาวบ้าง แลัวตัดปากของกระบอกไม้ไผ่ให้ตรงหรือเฉียงพร้อมกับหุ้มด้วยใบไม้หรือกาบของต้นพืช ใช้ตีประกอบการขับร้องและเต้นรำ

          จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาเป็นเครื่องดนตรีแตร กรับ กลองชนิดต่าง ๆ เช่น รำมะนา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมลายู กลองชาตรีหรือกลองตุ๊กที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงมโนราห์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ตลอดจนเครื่องเป่า เช่น ปี่นอกและเครื่องสี เช่น ซอด้วง ซออู้ รวมทั้งความเจริญทางศิลปะ การแสดง และดนตรีของเมืองนครศรีธรรมราช จนได้ชื่อว่าละคอน

          นอกจากนี้ ยังมีการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ประกอบการละเล่นแสดงต่าง ๆ เช่น ดนตรีโนรา ดนตรีหนังตะลุง ที่มีเครื่องดนตรีหลักคือ กลอง โหม่ง ฉิ่ง และเครื่องดนตรีประกอบผสมอื่น ๆ ดนตรีลิเกป่าที่ใช้เครื่องดนตรีรำมะนา โหม่ง ฉิ่ง กรับ ปี่ และดนตรีรองเง็ง ที่ได้รับแบบอย่างมาจากการเต้นรำของชาวสเปนหรือโปรตุเกสมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีการบรรเลงดนตรีที่ประกอบด้วย ไวโอลิน รำมะนา ฆ้อง หรือบางคณะก็เพิ่มกีตาร์เข้าไปด้วย ซึ่งดนตรีรองเง็งนี้เป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทยมุสลิมตามจังหวัดชายแดนไทย-มาเลเซีย

          ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้จะได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนใกล้เคียงหลายเชื้อชาติ จนเกิดการผสมผสานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเน้นจังหวะและลีลาที่เร่งเร้า หนักแน่น และคึกคัก เป็นต้น เพลงพื้นบ้านเกิดจากชาวบ้านเป็นผู้สร้างบทเพลงและสืบทอดกันมาแบบปากต่อปากโดยการจดจำบทเพลงเป็นคำร้องง่าย ๆ ที่เป็นเรื่องราวใกล้ตัวในท้องถิ่นนั้น ๆ จึงทำให้เพลงพื้นบ้านของไทยในภาคต่าง ๆ มีความแตกต่างกันออกไป

 เพลงพื้นเมืองภาคใต้

          เพลงพื้นบ้านภาคใต้ มีอยู่ประมาณ 8 ชนิด มีทั้งการร้องเดี่ยวและการร้องเป็นหมู่คณะ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

          1. เพลงที่ร้องเฉพาะโอกาสหรือในฤดูกาล ได้แก่เพลงเรือ เพลงบอก เพลงนาคำตัก เพลงกล่อมนาคหรือเพลงแห่นาคเป็นต้น

          2. เพลงที่ร้องไม่จำกัดโอกาส ได้แก่ เพลงตันหยง ซึ่งนิยมร้องในงานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นปีใหม่ และงานมงคลต่าง ๆ เพลงเด็กที่ร้องกล่อมเด็กให้หลับ และเพลงฮูลู หรือลิเกฮูลู ที่เป็นการร้องคล้าย ๆ ลำตัด โดยมีรำมะนา เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะกับบทขับร้องภาษาท้องถิ่นคือภาษามลายูเป็นกลอน โต้ตอบ








  เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคใต้

          1. ทับ เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญ ในการให้จังหวะ และควบคุมการเปลี่ยนแปลงจังหวะ

          2. กลองโนรา ใช้ประกอบการแสดงโนรา หรือหนังตะลุง โดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้า

          3. โหม่ง เป็นเครื่องดนตรี ที่มีส่วนสำคัญในการขับบท ทั้งในด้านการให้เสียง


          4. ปี่ เครื่องดนตรีชนิดนี้มีความสำคัญในการเสริมเสียงสะกดใจผู้ชม

          5. แตระพวงหรือกรับพวง เป็นเครื่องประกอบจังหวะทำจากไม้เนื้อแข็ง

          6. กลองหนัง รูปร่างลักษณะเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี เป็นกลองสองหน้าตัวกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง ข้างในกลวงขึ้นหน้าด้วยหนังวัว หรือ หนังแพะทั้งสองด้าน ตีด้วยไม้ 1 คู่ เวลาตีต้องตั้งกลองไว้ที่พื้น หรือขาตั้ง เพื่อให้ตีได้สะดวก ประวัติมีมาแต่โบราณ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ นิยมใช้ในการละเล่นของภาคใต้ทั่วไป จังหวัดที่นิยมบรรเลง ทุกจังหวัดทางภาคใต้ โอกาสที่บรรเลง งานมงคลและงานอวมงคลทั่วไป

          7. โพน เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองสองหน้า ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตรงกลางตัวกลองด้านบนมีหูโลหะตรึงไว้สำหรับแขวนและตีด้วยไม้ขึงด้วยหนังวัว 2 ด้าน ไม่ทราบประวัติที่แน่นอน นิยมตีแข่งขันเสียงดังแต่บางครั้งจะใช้ตีประกอบกับฆ้องเดี่ยวไม่ใช้ประสมวงดนตรีจังหวัดที่นิยมบรรเลงทุกจังหวัดในภาคใต้ โอกาสที่บรรเลงตีเป็นสัญญาณเวลาพระฉันเพลหรือลงโบสถ์ และใช้ตีในขบวนการแห่พระตลอดจนใช้ตีแข่งขันความดังกัน เรียกว่า "จันโพน"


          8. กลองแขก เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองสองหน้ามีลักษณะคล้ายปืด แต่เล็กกว่า ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็งหน้ากลองทำด้วยหนังนากหรือหนังเสือปลา วิธีตีกลองจะตีด้วยไม้มีลักษณะรูปโค้ง และใช้มือตีอีกด้านของหนัง

          9. ฆ้องคู่ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีฆ้องแฝด ตัวฆ้องทำด้วยโลหะผสมตีด้วยไม้หุ้มนวมแขวนอยู่ในกลอง ไม้สี่เหลี่ยมเจาะรูให้เสียงออกประวัติ มีเล่นกันมาช้านานแล้วใช้บรรเลงในวงดนตรีประกอบด้วย ทับ กลองหนัง ฉิ่ง และปี่


ภาพจาก slava296 / Shutterstock.com
  การแสดงพื้นเมืองภาคใต้

          ศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ
          - วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา

          - วัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ

           1. โนรา เป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาศิลปะการแสดงของภาคใต้ มีความยั่งยืนมานับเป็นเวลาหลายร้อยปี การแสดงโนราเน้นท่ารำเป็นสำคัญ ต่อมาได้นำเรื่องราวจากวรรณคดีหรือนิทานท้องถิ่นมาใช้ในการแสดงเรื่อง พระสุธนมโนห์รา เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการแสดงมากที่สุดจนเป็นเหตุให้เรียกการแสดงนี้ว่า มโนห์รา

          ตามตำนานของชาวใต้เกี่ยวกับกำเนิดของโนรา มีความเป็นมาหลายตำนานในแต่ละจังหวัด ทั้งชื่อที่ปรากฏในเรื่องและเนื้อเรื่องบางตอน ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจากความคิด ความเชื่อ ตลอดจนวิธีสืบทอดที่ต่างกัน จึงทำให้รายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละตำนานแตกต่างกัน

          จากการศึกษาท่ารำอย่างละเอียดจะเห็นว่าท่ารำที่สืบทอดกันมานั้น ได้มาจากความประทับใจที่มีต่อธรรมชาติ อาทิ ท่าลีลาของสัตว์บางชนิด เช่น ท่ามัจฉา ท่ากวางเดินดง ท่านกแขกเต้าเข้ารัง ท่าหงส์บิน ท่ายูงฟ้อนหาง ฯลฯ ท่าเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ท่าพระจันทร์ทรงกลด ท่ากระต่ายชมจันทร์

          ต่อมาเมื่อได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาก็มีท่าพระลักษณ์แผลงศร พระรามน้าวศิลป์ และท่าพระพุทธเจ้าห้ามมาร ท่ารำและศิลปะการรำต่าง ๆ ของโนรา ท่านผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าเป็นต้นแบบของละครชาตรีและการรำแม่บทของรำไทยด้วย

          ท่ารำโนรามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผู้ที่ฝึกหัดนาฏศิลป์ของภาคกลางแล้วจะรำท่าของโนราไม่สวย เพราะการทรงตัว การทอดแขน ตั้งวงหรือลีลาต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน ผู้ที่จะรำโนราได้สวยงามจะต้องมีพื้นฐานการทรงตัว ดังนี้

          - ช่วงลำตัว จะต้องแอ่นอกอยู่เสมอ หลังจะต้องแอ่นและลำตัวยื่นไปข้างหน้า ไม่ว่าจะรำท่าไหน หลังจะต้องมีพื้นฐานการวางตัวเช่นนี้เสมอ

          - ช่วงวงหน้า วงหน้า หมายถึง ส่วนลำคอกระทั่งศีรษะ จะต้องเชิดหน้าหรือแหงนขึ้นเล็กน้อยในขณะรำ

          - ช่วงหลัง ส่วนก้นจะต้องงอนเล็กน้อย

          การย่อตัวเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง การรำโนรานั้นลำตัวหรือทุกส่วนจะต้องย่อลงเล็กน้อย นอกจากย่อลำตัวแล้ว เข่าจะต้องย่อลงด้วย


ภาพจาก 1000 Words / Shutterstock.com

วิธีการแสดง 

          การแสดงโนราเริ่มต้นจากการลงโรง (โหมโรง) กาดโรงหรือกาดครู (เชิญครู) "พิธีกาดครู" ในโนราถือว่าครูเป็นเรื่องสำคัญมาก ฉะนั้นก่อนที่จะรำจะต้องไหว้ครู เชิญครูมาคุ้มกันรักษา หลายตอนมีการรำพัน สรรเสริญครู  สรรเสริญคุณมารดา เป็นต้น

การแต่งกาย

          การแต่งกายของโนรา ยกเว้นตัวพรานกับตัวตลก จะแต่งเหมือนกันหมด ตามขนบธรรมเนียม เดิมการแต่งกายก็ถือเป็นพิธีทางไสยศาสตร์ ในพิธีผูกผ้าใหญ่ (คือพิธีไหว้ครู) จะต้องนำเทริดและเครื่องแต่งกายชิ้นอื่น ๆ ตั้งบูชาไว้บนหิ้ง หรือ "พาไล" และเมื่อจะสวมใส่เครื่องแต่งกายแต่ละชิ้นจะมีคาถากำกับ โดยเฉพาะการสวม "เทริด" ซึ่งมักจะต้องใช้ผ้ายันต์สีขาวโพกศีรษะเสียก่อนจึงจะสวมเทริดทับ

         เทริด คือ เครื่องสวมหัวโนรา เดิมนั้นเทริดเป็นเครื่องทรงกษัตริย์ทางอาณาจักรแถบใต้ อาจเป็นสมัยศรีวิชัยหรือศรีธรรมราช เมื่อโนราได้เครื่องประทานจากพระยาสายฟ้าฟาดแล้วก็เป็นเครื่องแต่งกายของโนราไป สมัยหลังเมื่อจะทำเทริดจึงมีพิธีทางไสยศาสตร์เข้าไปด้วย

วงดนตรีประกอบ

          เครื่องดนตรีโนรามี 2 ประเภท คือ

          1. ประเภทเครื่องตี ได้แก่ กลองทับ โหม่ง (ฆ้องคู่) ฉิ่ง แกระหรือแตระ (ไม้ไผ่ 2 อัน ใช้ตีให้จังหวะ)

          2. ประเภทเครื่องเป่า ได้แก่ ปี่

โอกาสที่แสดง

          การแสดงโนรามีแสดงทั่วไปในภาคใต้ แต่เดิมได้รับความนิยมมาก จึงแสดงเพื่อความบันเทิงไม่นิยมแสดงในงานศพและในงานมงคลสมรส ถ้าเป็นงานใหญ่ก็มักจะให้แข่งขัน หรือประชันกันซึ่งทำมากเมื่อ 40 ปีก่อน

           2. รองเง็ง การเต้นรองเง็งสมัยโบราณ เป็นที่นิยมกันในบ้านขุนนาง หรือเจ้าเมืองในสี่จังหวัดชายแดน เดิมการเต้นรองเง็งจะมีลีลาตามบทเพลงไม่น้อยกว่า 10 เพลง แต่ปัจจุบันนี้ที่นิยมเต้นมีเพียง 7 เพลงเท่านั้น

วิธีการแสดง

          การเต้นรองเง็ง ส่วนใหญ่มีชายหญิงฝ่ายละ 5 คน โดยเข้าแถวแยกเป็นชายแถวหนึ่งหญิงแถวหนึ่งยืนห่างกันพอสมควร ความสวยงามของการเต้นรองเง็งอยู่ที่ลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ ลำตัว และลีลาการร่ายรำ ตลอดจนการแต่งกายของคู่ชายหญิง และความไพเราะของดนตรีประกอบกัน

การแต่งกาย
          ผู้ชายแต่งกายแบบพื้นเมือง สวมหมวกไม่มีปีกหรือใช้หมวกแขกสีดำ นุ่งกางเกงขายาวกว้างคล้ายกางเกงจีน สวมเสื้อคอกลมแขนยาวผ่าครึ่งอกสีเดียวกับกางเกง ใช้โสร่งยาวเหนือเข่าสวมทับกางเกงเรียกว่า ซอแกะ

เครื่องดนตรีและเพลงประกอบ ดนตรีที่ใช้ประกอบการเต้นรองเง็ง มี 3 อย่าง คือ
          1. รำมะนา
          2. ฆ้อง
          3. ไวโอลิน

โอกาสที่แสดง


          เดิมรองเง็งแสดงในงานต้อนรับแขกเมืองหรืองานพิธีต่าง ๆ ต่อมานิยมแสดงในงานรื่นเริง เช่น งานประจำปี งานอารีรายอ ตลอดจนการแสดงโชว์ในโอกาสต่าง ๆ เช่น งานแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน

          3. ระบำตารีกีปัส ตารีกีปัสเป็นระบำที่ต้องอาศัยพัดเป็นองค์ประกอบสำคัญ เป็นการแสดงที่แพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี สำหรับลีลาของการแสดงอาจจะมีพลิกแพลงแตกต่างกันไป สำหรับการแสดงชุดนี้ ได้ปรับปรุงท่ารำ เพื่อให้เหมาะสมกับการแสดงที่เป็นหญิงล้วน

          ส่วนเครื่องดนตรีประกอบการแสดง ได้แก่ ไวโอลิน แมนตาลิน ขลุ่ย รำมะนา ฆ้อง มาลากัส บทเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง เพลงตารีกีปัส เป็นเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง บรรเลงดนตรีล้วน ๆ มีท่วงทำนองไพเราะอ่อนหวาน สนุกสนานเร้าใจ ความไพเราะของเพลงตารีกีปัส อยู่ที่การโซโลเสียงดนตรีทีละชิ้น

ภาพจาก budutani.com

          4. ลิเกฮูลู หรือ ดีเกฮูลู เป็นการละเล่นขึ้นบทเป็นเพลงประกอบดนตรีและจังหวะตบมือ มีรากฐานเดิมมาจากคำว่า ลิเก คือการอ่านทำนองเสนาะ และคำว่า ฮูลู ซึ่งหมายถึง ทิศใต้ ซึ่งเมื่อรวมความแล้ว คือ การขับกลอนเป็นทำนองเสนาะจากทิศใต้ บทกลอนที่ใช้ขับเรียกว่า ปันตน หรือ ปาตง ในภาษามลายูถิ่นปัตตานี

          ผู้รู้บางท่านได้กล่าวไว้ว่า ลิเกฮูลู เกิดขึ้นเริ่มแรกที่อำเภอรามัน ซึ่งไม่ทราบแน่นอนว่าผู้ริเริ่มนี้คือใคร ชาวปัตตานีเรียกคนในอำเภอรามันว่า คนฮูลู แต่ชาวมาเลเซียเรียกศิลปะชนิดนี้ว่า ดีเกปารัต ซึ่ง ปารัต แปลว่า เหนือ จึงเป็นที่ยืนยันได้ว่า ลิเกฮูลู หรือ ดีเกปารัต นี้มาจากทางทิศเหนือของประเทศมาเลเซียและอยู่ทางตอนใต้ของปัตตานี

ลักษณะการแสดง

          ลิเกฮูลูคณะหนึ่ง ๆ จะมีประมาณ 10 คน เป็นชายล้วน มีต้นเสียง 1-3 คน ที่เหลือจะเป็นลูกคู่ เวทีลิเกฮูลู จะยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร เปิดโล่งไม่มีม่าน ไม่มีฉาก ลูกคู่ขึ้นไปนั่งล้อมวงร้องรับและตบมือโยกตัวให้เข้ากับจังหวะดนตรี ส่วนผู้ร้องหรือผู้โต้กลอนจะลุกขึ้นยื่นข้าง ๆ วงลูกคู่ ถ้ากรณีมีการประชันกัน แต่ละคณะจะขึ้นนั่งบนเวทีด้วยกัน แต่ล้อมวงแยกกันพอสมควร การแสดงที่ผลัดกันร้องทีละรอบทั้งรุกและรับเป็นที่ครึกครื้นสบอารมณ์ของผู้ชม

          ลิเกฮูลู เริ่มต้นด้วยการแสดงด้วยดนตรีที่ใช้โหมโรงเป็นการเรียกผู้ชม ต่อจากนั้นนักร้องออกมาร้องเพลงในจังหวะต่าง ๆ ทีละคน เนื้อร้องกล่าวถึงความประสงค์ในการเล่น แล้วจึงเริ่มแสดง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวของเหตุการณ์บ้านเมือง ปัญหาท้องถิ่นหรือเรื่องตลกโปกฮา ผู้แสดงจะต้องใช้คารมและปฏิภาณ ให้ทั้งความรู้และความบันเทิงแก่ผู้ชม
การแต่งกาย
          ผู้เล่นลิเกฮูลูนิยมนุ่งกางเกงขายาว นุ่งผ้าซอแกะทับข้างนอกสั้นเหนือเข่า สวมเสื้อคอกลมมีผ้าโพกศีรษะ

เครื่องดนตรีประกอบ

           เล่นลิเกฮูลู ประกอบด้วยรำมะนา อย่างน้อย ๒ ใบ ใช้ตีดำเนินจังหวะในการแสดง ฆ้องเป็นเครื่องกำกับจังหวะ ตีสม่ำเสมอประกอบการร้อง นอกจากนี้ยังมีเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบและเป็นที่นิยมกันว่า ทำให้ครึกครื้น สนุกสนานไพเราะมากยิ่งขึ้น เช่น ขลุ่ย ลูกแซก แต่จังหวะที่ใช้เป็นประเพณีในการละเล่นคือ การตบมือ

โอกาสที่แสดง

          ลิเกฮูลูนิยมแสดงในงานมาแกปูโละ พิธีเข้าสุนัต และงานฮารีรายอ


การแต่งกายประจำภาคใต้

          ประชาชนในภาคนี้มีการแต่งกายต่างกันตามเชื้อชาติ ทำให้การใช้วัสดุและรูปแบบมีเอกลักษณ์ไปตามเชื้อชาติ ถ้าเชื้อสายจีนจะแต่งแบบจีน ถ้าเป็นชาวมุสลิม ก็จะแต่งคล้ายกับชาวมาเลเซีย

          1. กลุ่มเชื้อสายจีน-มลายู เรียกชนกลุ่มนี้ว่ายะหยา หรือ ยอนย่า เป็นกลุ่มชาวจีน เชื้อสายฮกเกี้ยนที่มาสมรสกับชนพื้นเมืองเชื้อสายมลายู ชาวยะหยาจึงมีการแต่งกายอันสวยงามที่ผสมผสานรูปแบบของชาวจีนและมลายูเข้าด้วยกันอย่างงดงาม ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ, เอว และปลายแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ ฝ่ายชายยังคงแต่งกาย คล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิมอยู่


          2. กลุ่มชาวไทยมุสลิม ชนดั้งเดิมของดินแดนนี้นับถือศาสนาอิสลาม และมีเชื้อสายมลายู ยังคงแต่งกายตามประเพณี อันเก่าแก่ฝ่ายหญิงมีผ้าคลุมศีรษะ ใส่เสื้อผ้ามัสลิน หรือลูกไม้ตัวยาวแบบมลายูนุ่งซิ่นปาเต๊ะหรือซิ่นทอแบบมลายู ฝ่ายชายใส่เสื้อคอตั้ง สวมกางเกงขายาว และมีผ้าโสร่งผืนสั้น ที่เรียกว่า ผ้าซองเก็ต พันรอบเอวถ้าอยู่ บ้านหรือลำลองจะใส่โสร่ง ลายตารางทอด้วยฝ้าย และสวมหมวกถัก หรือเย็บด้วยผ้ากำมะหยี่

          3. กลุ่มชาวไทยพุทธ ชนพื้นบ้าน แต่งกายคล้ายชาวไทยภาคกลาง ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบน หรือผ้าซิ่นด้วย ผ้ายกอันสวยงาม ใส่เสื้อสีอ่อนคอกลม แขนสามส่วน ส่วนฝ่ายชายนุ่งกางเกงชาวเล หรือ โจงกระเบนเช่นกัน สวมเสื้อผ้าฝ้ายและมีผ้าขาวม้าผูกเอวหรือพาดบ่าเวลาออกนอกบ้านหรือไปงานพิธีกลับหน้า


 อาหารพื้นบ้านภาคใต้

          อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก

          อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้าน มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ



          นอกจากนี้ ยังมีผักหลายชนิดที่คนภาคใต้นิยมรับประทานกันจนเป็นเอกลักษณ์ของอาหารภาคใต้ ได้แก่ ฝักสะตอ มีลักษณะเป็นฝักยาว สีเขียว เวลารับประทานต้องปอกเปลือกแล้วแกะเม็ดออก ใช้ทั้งเม็ด หรือนำมาหั่นปรุงอาหารโดยใช้ผัดกับเนื้อสัตว์หรือใส่ในแกง นอกจากนี้ยังใช้ต้มกะทิรวมกับผักอื่น ๆ หรือใช้เผาทั้งเปลือกให้สุกแล้วแกะเม็ดออกรับประทานกับน้ำพริก หรือจะใช้สด ๆ โดยไม่ต้องเผาก็ได้ ถ้าต้องการเก็บไว้นาน ๆ ควรดองเก็บไว้

          เม็ดเหรียง เป็นคำเรียกของคนภาคใต้ มีลักษณะคล้ายถั่วงอกหัวโต แต่หัวและหางใหญ่กว่ามาก สีเขียว เวลาจะรับประทานต้องแกะเปลือกซึ่งเป็นสีดำออกก่อน จะนำไปรับประทานสด ๆ หรือนำไปผัดกับเนื้อสัตว์ หรือนำไปดองรับประทานกับแกงต่าง ๆ หรือกับน้ำพริกกะปิ หรือจะนำมาหลนก็ได้
          ลูกเนียง มีลักษณะกลม เปลือกแข็งสีเขียวคล้ำเกือบดำ ต้องแกะเปลือกนอก แล้วรับประทานเนื้อใน ซึ่งมีเปลือกอ่อนหุ้มอยู่ เปลือกอ่อนนี้จะลอกออกหรือไม่ลอกก็ได้แล้วแต่ความชอบ ใช้รับประทานสด ๆ กับน้ำพริกกะปิ หลนแกงเผ็ด โดยเฉพาะแกงไตปลา ลูกเนียงที่แก่จัดใช้ทำเป็นของหวานได้ โดยนำไปต้มให้สุกแล้วใส่มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย และน้ำตาลทรายคลุกให้เข้ากัน

          เห็นแล้วใช่ไหมคะว่า นอกจากภาคใต้จะมีชื่อเสียงในเรื่องสถานที่ท่องท่องเที่ยวที่สวยงามแล้ว แต่ยังมีวัฒนธรรมและประเพณีของคนภาคใต้ที่มีความงดงามและน่าชื่นชมอีกมากมายที่รอให้คุณได้ไปสัมผัสอย่างใกล้ชิด รับรองเลยว่าคุณจะหลงเสน่ห์ภาคใต้แบบไม่รู้ลืมเลยล่ะค่า...


เรียบเรียงโดย http://travel.kapook.com
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
blog.eduzonestruepanya.muslimthaipost.comwww.culture.go.th,www.trueplookpanya.comthaidance.wordpress.comwww.thaigoodview.com,lms.thaicyberu.go.thwww.sara108.comwww.itikkecil.com


ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย แห่ปราสาทผึ้ง



การแห่งปราสาทผึ้ง  เป็นประเพณีไทยโบราณอีสาน มุ่งทำเป็นพุทธบูชา หรือเกี่ยวข้อง กับความเชื่อทางศาสนา คำว่า "ปราสาทผึ้ง" ในภาษาอีสานจะออกเสียง "ผาสาทเผิ่ง"

        ความเชื่อเรื่องการแห่ปราสาทผึ้ง  เกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมทางพุทธศาสนา โดยเริ่ม พิธีกรรมนี้ ในภาคอีสาน ตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ในตำนาน เรื่องหนองหาน (สกลนคร) กล่าวไว้ว่า ในสมัยขอมเรืองอำนาจ และครองเมืองหนองหานในแผ่นดินพระเจ้าสุวรรณภิงคาราช  ได้โปรดให้ ข้าราชบริพารทำต้นผึ้งหรือปราสาทผึ้งในวันออกพรรษา เพื่อห่คบงันที่วัดเชิงชุม (วัดมหาธาตุเชิงชุมวรวิหาร) จากนั้นเมืองหนองหานได้จัดวันปราสาทผึ้ง ติดต่อกันมาทุกปี


ความเชื่อในประเพณีการแห่ปราสาทผึ้งนั้น มีรากฐานของความเชื่อ ที่เนื่องมาจากความเชื่อในพุทธศาสนา ความเชื่อในเรื่องภูตผีวิญญาณ และความเชื่อ ในศาสนาพราหมณ์ กล่าวคือ


 ความเชื่อที่เนื่องในพุทธศาสนา ถือเป็นปรัชญานำมาสู่การสร้างปราสาทผึ้งนั้น มีที่มาจากเรื่องราวพุทธประวัติ ซึ่งมีปรากฏในเหตุการณ์ที่สำคัญคือ เหตุการณ์ตอนที่ พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาที่ป่าปาเลไลยก์ ได้พบช้างและลิงที่มาทำหน้าที่ เป็นอุปัฏฐาก โดยเฉพาะลิงนั้น ได้นำรวงผึ้งมาถวายแด่พระพุทธองค์ เมื่อพระพุทธเจ้า รับรวงผึ้งนั้นไปแัน ทำให้ลิงกระโดดด้วยความดีใจ จนพลาด ตกจากต้นลงมาตาย  ด้วยอานิสงส์ที่ลิงได้ถวายรวงผึ้งแดพระพุทธองค์ (จากการ ที่ผู้จัดทำได้ศึกษาเรื่องนี้ ก็ไม่ปรากฏว่าลิงพลาดตกต้นไม้แต่ประการใด ไม่ทราบว่า คงมีใครเอามาเล่าต่อ ๆ  กันมา) ทำให้ได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเหตุการณ์ ตอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ขณะเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ภายหลังจากที่เสด็จไปจำพรรษา เทศนาโปรดพระพุทธมารดา และเหล่าเทวดา ด้วยการเปิดโลกทั้งสาม คือ สวรรคภูมิ  มนุษยภูมิ และนรกภูมิ ได้เห็นซึ่งกันและกัน โดยตลอด ซึ่งเรียกเหตุการณ์ตอนนี้ว่า เทโวโรหนปริวัตต์  ทำให้ผู้คนเห็น ความแตกต่าง ของความสะดวกสบายบนสวรรคภูมิ และความยากลำบากในนรกภูมิ ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้พุทธศาสนิกชน ได้คิดสร้างอาคารศาสนสถาน ถวายเป็น พุทธบูชาด้วยหวังให้เป็นอานิสงส์เพื่อที่จะได้ไปเกิดบนสวรรค์

 ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างปราสาทผึ้งจาเรื่องไตรภูมิพระร่วง ในพุทธศาสนา ซึ่งเป็นคำสอนที่มีปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนา ที่ว่าด้วยการที่มนุษย์ต้องเวียนว่าย ตายเกิดในโลกภูมิต่าง ๆ  ตามที่ได้ประกอบกรรมดีหรือกรรมชั่วไว้ โดยเฉพาะ ความเชื่อที่ว่า ผู้ที่ประกอบกรรมดีจะได้ไปเกิดบนสวรรค์ภูมิชั้นต่าง ๆ  ที่มีวิมาน ปราสาทเป็นเรือนที่อยู่อาศัย
     
   ความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างปราสาทผึ้งจากเรื่องราวที่ปรากฏในคัมภีร์ มาเลยยเทวัตเถรวัตถุ (เป็นของพระลังกาแต่ง) ที่ได้กล่าวถึงพระมาลัยอรหันต์ ซึ่งเป็นพุทธสาวกองค์หนึ่ง (ไม่ใช่สาวกที่เกิดร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า แต่เป็นสาวก รุ่นหลัง เหมือนพระนาคเสน และเป็นพระลังกา) ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เคย ไปเทศนาโปรดสัตว์ในนรกภูมิ (ความจริงแล้ว สัตว์นรกไม่สามารถฟังธรรมได้ เพราะอำนาจบาปกรรมที่ทำไว้ ไม่มีปัญญาที่จะรับรู้หรือเข้าใจธรรมได้) และได้เสด็จ ขึ้นไปบนสวรรค์เพื่อไหว้องค์พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย์ (ในตำราทางพุทธ เถรวาท เรียกว่า "พระเมตไตยะ"  ที่จะเสด็จมาตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคตกาล หลังจากนั้น พระมาลัยอรหันต์ ได้เทศนาโปรดแก่พุทธศาสนิกชน เพื่อให้ทราบถึงวิธีการสร้างบุญกุศล เพื่อที่จะได้ไปเกิดบนสวรรค์ รวมทั้งการสร้าง อาคารศาสนสถานถวายเป็นพุทธบูชานั้นเป็นหนทางหนึ่ง ที่เป็นอานิสงส์ นำพาให้ได้ ไปเกิดในบนสวรรค์ มีวิมานเป็นที่อยู่อาศัย และมีเหล่านางฟ้าเป็นบริวารด้วย


  ความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างปราสาทผึ้ง จากเรื่องการประกอบพิธีพลีดวงวิญญาณ หรือพิธีกงเต็กตามคติในพุทธศาสนามหายาน ด้วยการจัดทำสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างบ้านเรือนด้วยกระดาษ ในลักษณะของสิ่งของเครื่องใช้ และบ้านจำลอง แล้วนำมาเผาอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณบรรพบุรุษ ผู้ล่วงลับ ได้นำไปใช้อยู่อาศัยในโลกหน้าต่อไป
     
   ความเชื่อที่เนื่องในภูตผีวิญญาณ เป็นความเชื่อพื้นบ้านที่ทำให้ชาวอีสาน ถือเป็น ปรัชญาคติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างปราสาทผึ้ง คือ ความเชื่อที่ว่า คนที่ตายไป แล้ว  ดวงวิญญาณ (ทางพุทธเรียกว่า "โอปปาติกะ = สัตว์จำพวกหนึ่ง ที่ผุดเกิดขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ เช่น เทวดา สัตว์นรก เปรต อสุรกาย มนุษย์ต้นกัลป์ ฯลฯ เรียกง่าย ๆ  ว่า กายทิพย์") ก็ยังต้องการสิ่งต่าง ๆ  เช่นเดียวกับเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต้องการที่อยู่อาศัย ทำให้มีการประกอบพิธีเซ่นสรวง ดวงวิญญาณ ตลอดจนการสร้างเรือนจำลองในลักษณะของศาลหรือหอผี (อีสาน ก็ทำเหมือนจีน คือ เอาไม้ไผ่มาทำเป็นโครงบ้าน แล้วปะด้วยกระดาษ) เพื่ออุทิศ ให้เป็นที่สิงสถิตแก่ดวงวิญญาณด้วย  จากความเชื่อดังกล่าว จึงเป็นแนวคิดส่วนหนึ่ง ที่ปรับเข้ากับการสร้างปราสาทผึ้ง ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารจำลอง เพื่ออุทิศส่วนกุศล จากการสร้างปราสาทผึ้งแก่ดวงวิญญาณบรรพบุึรุษ หรือเจ้ากรรมนายเวรผู้ล่วงลับ

   ความเชื่อที่เนื่องในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่เกี่ยวกับความนิยม ในการสร้างปราสาทหินหรือเทวาลัย ให้เป็นอาคารเทวสถาน ที่เชื่อว่าเป็นวิมาน ที่ประทับของเทพเจ้าสำคัญในศาสนาพราหมณ์ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ โดยเชื่อว่า การสร้างเทวาลัยอุทิศถวายแด่เทพเจ้านั้น เป็นอานิสงส์อย่างสูงสุด และยังเชื่อว่าอานิสงส์ของผู้ที่สร้างเทวาลัยอุทิศถวายนั้น จะส่งผลให้ชีวิตหลัง ความตาย คือดวงวิญญาณจะได้เข้าไปรวมกับองค์เทพเจ้า ที่ประดิษฐาน อยู่ในอาคารเทวาลัย ที่ได้สร้างไว้


 ปราสาทผึ้งทรงพระธาตุ ลักษณะรูปแบบโดยส่วนรวม คล้ายกับองค์พระสถูปเจดีย์ หรือพระธาตุที่มีปรากฏ ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ เป็นเจดีย์ทรงเหลี่ยม หรือบางทีเรียกว่า เจดีย์ทรง ดอกบัวเหลี่ยม เช่น พระธาตุพนม  พระเชิงชุม  พระธาตุ ศรีสองรักษ์ พระธาตุบังพวน ฯลฯ  จากหลักฐานภาพถ่าย จากกองจดหมายแห่งชาติ สันนิษฐานว่า น่าจะมีการ กระทำอยู่ในช่วง  พ.ศ. 2499 เป็นต้นมา


     ปราสาทผึ้งทรงหอผี เป็นปราสาทผึ้ง ที่สร้างขึ้น เลียนแบบอาคารเรือนที่อยู่อาศัยแบบพื้นเมือง ของชาวอีสาน แต่สร้างให้มีขนาดเล็ก เป็นลักษณะ ของเรือนจำลอง ปราสาทผึ้งแบบทรงหอผี มีลักษณะ เช่นเดียวกับศาลพระภูมิ หรือหอผีที่ชาวอีสาน นิยมสร้าง โดยทั่วไป อันเนื่องด้วยความเชื่อเกี่ยวกับศาลพระภูมิ ศาลมเหศักดิ์ หรือศาลปู่ตา ตามหมู่บ้านต่าง ๆ  ในชนบท ซึ่งลักษณะของศาลต่าง ๆ  เหล่านั้น จะมีลักษณะ โดยส่วนรวม ที่จำลองรูปแบบมาจากลักษณะรูปแบบ ของอาคารเรือนที่อยู่อาศัย  การสร้างปราสาทผึ้ง ทรงหอผี ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2473 เป็นต้นมา

 ปราสาทผึ้งทรงบุษบก  เป็นปราสาทผึ้ง ที่สร้างขึ้น เลียนแบบหรือจำลองจากบุษบก บุกษบก เป็นเรือนเครื่องยอดขนาดเล็ก หลังคาทรงมณฑป ตัวเรือนโปร่ง มีฐานทึบและเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ย่อมุขไม้ ลักษณะของปราสาทผึ้ง ทรงบุษบกนี้ มีลักษณะ เช่นเดียวกับบุษบกธรรมาสน์ ที่พระสงฆ์นั่งแสดงธรรม ซึ่งชาวอีสานเรียกว่า หอธรรมาสน์ หรือธรรมาสน์เทศน์

    ปราสาทผึ้งทรงจตุรมุข เป็นปราสาทผึ้งที่สร้างขึ้น เลียนแบบหรือมีลักษณะที่แสดงถึงการจำลองรูปแบบ มาจากพระที่นั่งปราสาทราชมณเฑียรสถาน ในพระบรมมหาราชวัง แต่มีขนาดเล็กเป็นลักษณะ ของอาคารจำลอง ลักษณะรูปแบบของอาคาร ทรงจตุรมุข คือ อาคารที่มีแผนผังเป็นรูปกากบาท มีสันหลังคาจั่ว ชั้นบนอยู่ในระดับเดียวกัน และออกมุข เสมอกันทั้งสี่ด้าน ที่หลังคามีจั่วหรือหน้าบันประจำมุข ด้านละจั่ว หรือด้านละหนึ่งหน้าบัน ด้วยเหตุที่มีการออกมุขทั้งสี่ด้าน และประกอบด้วยหน้าบัน สี่ด้าน จึงเรียกว่า ทรงจตุรมุข  ซึ่งเป็นอาคาร ที่มีเรือนยอดเป็นชั้นสูงเช่นเดียวกับอาคารประเภทบุษบก และมีการออกมุขทั้งสี่ด้านที่หลังคาทรงจั่ว
     โดยทั่วไป ประชาชนจะนับเอาวันขึ้น  14  ค่ำ เดือน 11 เป็นวัน "โฮม" หรือวันรวมปราสาทผึ้งจากคุ้มต่าง ๆ ที่บริเวณวัด แต่ละคุ้มจะอยู่ซุ้มของตนเอง

     วันรุ่งขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 มีการทำบุญตักบาตร เสร็จแล้วจัดขบวนแห่ปราสาทผึ้ง ในแต่ละขบวน จะแห่ด้วยเกวียนใช้คนเทียมแทนวัว นางฟ้าปราสาทผึ้ง (เทพี) จะนั่งอยู่ตอนหน้าของเกวียน  ตรงกลางเป็น ปราสาทผึ้ง ขบวนแห่มีพิณ กลอง ฆ้อง ตามด้วยขบวนคนหนุ่มสาว และเฒ่าแก่ถือธูป เทียน ประนมมือ แห่ครบ 3 รอบ ก็ถวายแก่ทางวัด ประเพณีปัจจับัน นิยมทำกันมากในสี่จังหวัดภาคอีสาน คือ สกลนคร  นครพนม  หนองคาย และเลย

เรียบเรียงใหม่โดย ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ข้อมูลอ้างอิงจาก allknowledges.tripod.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีแข่งเรือ อ่างเก็บน้ำเขาเต่า

หลายๆคนก็อยากรู้ประเพณีแข่งเรือที่ อ่างเก็บน้ำเขาเต่า หัวหิน วันนี้ผมก็มานำเสนอประวัติย่อๆของการแข่งเรือครั้งนี้ ปีนั้นผมก็อยู่แล้วก็ปลื้มใจมากที่ได้เจอและพบในหลวงเสด็จมาดูการแข่งเรือครั้งแรกที่อ่างเก็บน้ำเขาเต่า ในปีนี้ก็จะแข่งกัน 8-9 ธันวาคม ซึ่งจะจัดทุกปี


ผลการจับสลากแบ่งสายเรือยาวประเพณี
ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
ณ โครงการพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
ระหว่างวันที่ 8-9 ธันวาคม 2555
................................

ประเภทไม่เกิน 55 ฝีพาย
สาย A  เจ้าแม่ประดู่ทอง, สิงห์อีสาน, เทพสุริยะ, ศรีสุราษฎร์
สาย B  พรพระแก้ว, เจ้าขุนเณร, สาวสวยสุภาพร, เทพจินดา

ประเภทไม่เกิน 30 ฝีพาย
สาย A  สาวเมืองเพชร-กระทิงแดง, แม่พรายทองทิพย์, ย่าบุญโฮม
สาย B  หมื่นวัยวรนารถ, ขุนพญา, พรแม่บุปผา
สาย C  ธิดาท่าจีน, ชลเทพ, นางพญา31
สาย D  ดอกประดู่, เทพวารินทร์, หนุ่มโพหัก

ประเภทไม่เกิน 23 ฝีพาย
สาย A  ศรีนาครินทร์, กระจกเพชร, ศรนารายณ์-เข็มทอง
สาย B  ชาดมังกร, แม่พรายทองทิพย์, เพชรนางพญา


ผลการแข่งขันอ้างอิงจาก thailongboat.com

ประวัติความเป็นมา



ในหลวง เสด็จฯ ทอดพระเนตรการแข่งขันเรือยาวประเพณี ของเทศบาลเมืองหัวหินที่อ่างเก็บน้ำเขาเต่า อ.หัวหิน ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พสกนิกร นักท่องเที่ยวต่างปลาบปลื้มจากการได้เข้าเฝ้าใกล้ชิด
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 14.30 น. วานนี้ (28 ธ.ค.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์จากพระตำ หนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล มายังอ่างเก็บน้ำเขาเต่า โครงการพระราชดำริ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยคุณทองแดง เพื่อทอดพระเนตร การแข่งเรือยาวประเพณี ของเทศบาลเมืองหัวหิน โดยพระองค์ทรงสูทสีน้ำตาล สะพายกล้องถ่ายรูป มี นายปานชัย บวรรัตนปราณ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และนายจิระ พงษ์ไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน ถวายการต้อนรับ



       
       โดยบรรยากาศบริเวณ อ่างเก็บน้ำเขาเต่า มีข้าราชการทุกหน่วยงาน องค์กรปกครองประชาชนและนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่ทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะทรงเสด็จทอดพระเนตร การแข่งเรือยาวประเพณีในครั้งนี้ ต่างเดินทางมาเฝ้ารอนับหมื่นคน และเมื่อเสด็จมาถึง ทุกคนได้เปล่งเสียงถวายพระพร ทรงพระเจริญดังกึกก้อง
       
       นอกจากนั้น เมื่อได้เวลาเริ่มทำการแข่งขัน ซึ่งเป็นรอบชิงชนะเลิศ เรือที่เข้าร่วม แข่งขันจากจังหวัดต่างๆ ต่างทยอยนำเรือมาบริเวรหน้าพระที่นั่ง และเรือทั้งหมดได้ทยอย พายออกไป โดยมีการก้มหมอบแสดงความเคารพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
       
       สำหรับบรรยากาศในการแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยกกล้องขึ้นมาถ่ายรูปการแข่งขันเรือยาว ตลอดเวลา และมีพระพักตร์ที่ทรงยิ้ม โดยมีคุณทองแดง นั่งอยู่ไม่ห่างกายของพระองค์
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ครั้งนี้เป็นครั้งแรกของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การแข่งขันเรือยาวประเพณี ครั้งนี้ซึ่งในปีที่ผ่านมาทางเทศบาลเมืองหัวหิน ได้จัดแข่งขันมาแล้วครั้ง 1 แต่ปีนี้เป็นครั้งแรกของการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยในครั้งนี้ยังมีการถ่ายทอดสดจากสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ หรือ ไทยพีบีเอส
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากจบการแข่งขันเรือยาวประเพณี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานถ้วยรางวัลการแข่งขัน ให้กับทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทั้ง 2 รุ่น ทั้งประเภท 55 ฝีพาย และ 30 ฝีพาย ทำให้ทีมที่เข้าร่วมแข่งขันต่างรู้สึกซาบซึ้ง จนหาที่เปรียบไม่ได้ และถือเป็นเกียรติประวัติอย่างสูงส่ง ของผู้เข้าร่วมแข่งขันเรือยาวประเพณีในครั้งนี้ ขณะที่พระองค์ยังได้ทรงถ่ายรูปอย่างต่อเนื่อง อีกด้วย
       
       หลังจากนั้นพระองค์ ยังเสด็จลงไปยังบริเวณท่าน้ำที่เรือยาวทั้งหมดจอดอยู่ และทรงทอดพระเนตร อ่างเก็บน้ำเขาเต่าโดยรอบ พระองค์ได้ทรงมีสีหน้ายิ้มแย้ม ขณะที่พสกนิกร ต่างเปล่งเสียงทรงพระเจริญ อย่างกึกก้องต่อเนื่อง และทรงโบกพระหัตถ์ และเสด็จพระราชดำเนินกลับพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล เมื่อเวลา 16.10 น.
       
       นายเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ซึ่งเดินทางมาชมการแข่งขัน กล่าวว่าทางสถานีมีการถ่ายทอดสดการแข่งขันเรือยาว ตามจังหวัดต่างๆปกติอยู่แล้ว โดยครั้งนี้ก็ไม่ทราบล่วงหน้าว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จทอดพระเนตรเป็นการส่วนพระองค์ ทีมงานทุกคนรู้สึกซาบซึ้ง เป็นอย่างยิ่ง และ เชื่อว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการอนุรักษ์ประเพณี สืบสานการแข่งเรือยาวประเพณี
       
       นอกจากนั้นทางรายการศึกษาทรรศน์ ของโรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน สถานีโทรทัศน์ไทยคม ยังได้เดินทางมาติดตามบันทึกเทปการแข่งขันเรือยาวประเพณี ตามพระประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯด้วย
       
       นายจิระ พงษ์ไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน เปิดเผยว่า รู้สึกปลื้มเป็นปีติ อย่างล้นพ้น ต่อพสกนิกรชาวอำเภอหัวหิน เป็นอย่างมากที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ทอดพระเนตรการแข่งขันเรือยาวประเพณี ในอ่างเก็บน้ำเขาเต่า ซึ่งถือเป็นอ่างเก็บน้ำโครงการพระราชดำริของพระองค์ท่าน ซึ่งการแข่งขันเมื่อวานนี้เป็นวันเปิดการแข่งขัน ซึ่งไม่ได้ทรงมาก่อนล่วงหน้า ทราบเมื่อวานนี้ (27 ธ.ค.) โดยทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสำนักพระราชวังแจ้งให้ทราบ ตอนนั้นรู้สึกดีใจเป็นพิเศษที่สุดสำหรับชีวิต ตลอดทั้งคืนทางทุกฝ่ายได้เข้ามาจัดเตรียมสถานที่อย่างสมพระเกียรติ
       
       นายจิระ กล่าวว่า ครั้งนี้เป็นการแข่งขันอย่างยิ่งใหญ่เพราะ ได้รับพระราชทานถ้วยแข่งขันจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยการแข่งขันครั้งนี้ก็เพื่อเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีทางวัฒนธรรมของไทยและยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ของอำเภอหัวหิน อีกทางหนึ่งด้วย
       
       ด้านนายแล สังข์สุข อดีตครูใหญ่โรงเรียนเทศบาลบ้านเขาเต่า (ระหว่างปีพ.ศ. 2487-2451)ด้วยวัยที่ล่วงเลยมากว่า 60 ปี ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่รู้สึกประทับใจสำหรับวันนี้ที่พระองค์เสด็จทอดพระเนตรการแข่งขันกีฬาเรือพายประเพณี ในอ่างเก็บน้ำเขาเต่า
       
       "ยอมรับรู้สึกดีใจจนบอกไม่ถูก เพราะทราบจากเพื่อนบ้านเมื่อเย็นวานนี้ว่า ในหลวง จะมาดูการแข่งขันเรือพายครั้งนี้ ตอนนั้นรู้สึกว่าเป็นเสมือนของขวัญปีใหม่ ที่พ่อมีให้กับลูกจริงๆ เพราะเหลืออีกไม่กี่วันแล้วจะถึงปีใหม่ ในหลวงก็เสด็จมา"
       
       นายแล กล่าวว่า ในอดีตเริ่มแรกนั้นพระองค์เสด็จมาเมื่อปี 2501 สมัยนั้นยังไม่มีความเจริญเข้ามา ปัจจุบันนี้คนที่นี่ยังรู้สึกซาบซึ้งต่อพระองค์ท่านที่ได้ทรงดำเนินการอ่างเก็บน้ำเขาเต่า เป็นแหล่งน้ำจืด ที่ให้ประชาชนได้ดื่มกิน และใช้ประโยชน์ในหลายๆด้าน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวในปัจจุบัน
       
       คุณป้ากมลวรรณ เอี่ยมสำองค์ วัย 59 ปี ชาวบ้านเขาเต่า กล่าวว่า วันนี้ได้เห็นพ่อหลวง มีสีหน้าแจ่มใสแล้วรู้สึกดีใจอย่างที่จะหาอะไรมาเปรียบไม่ได้ และรู้สึกดีใจที่สุดเป็นอีกครั้งหนึ่งของชีวิต ที่มีโอกาสได้มีโอกาสได้มาเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ครั้งนี้ พระองค์ท่านยิ้มแย้มเป็นอย่างมาก
       
       "ป้าทราบข่าวเมื่อค่ำวานนี้คนในหมู่บ้านก็รู้สึกดีใจเหมือนกัน จะจดจำไว้ตลอดชั่วชีวิตในหลวงท่านเคยเสด็จมาดูอ่างเก็บน้ำของพระองค์ท่าน ตอนเปิดประตูระบายน้ำ ป้าก็ได้รอรับเสด็จ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว วันนี้ได้ถวายผ้าฝ้ายทอสีชมพูอมฟ้า ให้พระองค์ท่านยิ่งรู้สึกเป็นความภาคภูใจเหมือนกัน เพราะหมู่บ้านเขาเต่า มีการจัดตั้งกลุ่มสตรีทอผ้าเขาเต่า และเป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริ"


ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ภาพเก็บตกงานประเพณี เดินวิ่งถนนของพ่อ ถวายให้ในหลวง

อ่านความเป็นมา

หากต้องการดูภาพแบบขนาดใหญ่คลิ๊กที่รูป

บรรยากาศตอนตี 4 กว่าๆสวยงามมากครับ หลวงปู่ทวดวัดห้วยมงคล สถานที่จัดงานเดินวิ่งถนนของพ่อ

บรรกาศเพื่อนๆจากหลายหมู่คณะ ทั้งทหาร นักเรียน นักศึกษา พี่้น้องอำเภอใกล้เคียง และจังหวัดต่างๆ

ท่าน สุวัจน์ ลิปตพัลลภ กำลังตีกล่องกลองสะบัดชัยเปิดพิธีงานเดินวิ่งถนนของพ่อ

ตอนนี้มีบางส่วนกำลังเดินกลับครับ เนื่องจากคนถ่ายอาจจะเดินช้าไปนิดมีบ้างส่วนเดินไปถึงจุดแล้วกำลังเดินกลับ

เสื้อที่เพื่อนๆไปเดินกันแล้วทางงานเขาแจกให้

สวยใช่ไหมละ ปีหน้ามีอีกแล้วเจอกันครับ :D

ขอบคุณ คุณ นุ่น นักศึกษา กศน. อำเภอหัวหิน สำหรับรูปภาพเก็บตก
https://www.facebook.com/profile.php?id=100001881876714

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย วันพ่อแห่งชาติ



วันพ่อ หรือ Father’s Day นั้นเป็นวันสำคัญในหลายๆ ประเทศ มักมีการฉลองความเป็น พ่อ และบุคคลที่นับถือในการเป็นพ่อ วันพ่อแห่งชาติ นั้นหลากหลายแห่งทั่วโลกจะมีการจัดแตกต่างกันไป โดยในไทยจะจัดตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี แต่สำหรับในกว่า 50 ประเทศจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่สามของเดือนมิถุนายน ของทุกปี ซึ่งพิธีต่างๆ ก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศเช่นเดียวกัน
ของขวัญสำหรับวันพ่อสำหรับในไทยนั้นมักจะให้เค๊ก เหมือนกับงานฉลองทั่วไป ดอกไม้ ก็เป็นสิ่งที่นิยมให้กันในวันนี้ แต่ในต่างประเทศนั้น ลูกๆ หลานๆ มักนิยมซื้อ Polo-Boots ให้แก่กันในวันสำคัญแบบนี้ ไม่ก็จะเป็น Men Neck Ties สวยๆ หรือไม่ก็เป็นเสื้อผ้าชั้นดี ที่แสดงถึงความเอาใจใส่แก่กันและกันในวันสำคัญอย่างเช่น วันพ่อ นี้



Father’s Day หรือ วันพ่อแห่งชาติ
ในต่างแดนนั้นมีหลายประเทศ จะถูกให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับ พ่อ นั่นคือ วันอาทิตย์ ที่ 3 ของเดือนมิถุนายน ในประเทศ ญี่ปุ่น, อาร์เจนตินา, ไอร์แลนด์, มาเลเซีย, สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร จะยึดวันนี้เป็น วันพ่อแห่งชาติ ของขวัญยอดนิยมสำหรับวันพ่อของต่างชาตินั่นคือ การให้เนกไท เป็นของขวัญสำหรับพ่อและผู้ใหญ่ที่น่าเคารพเสมือนพ่อสำหรับวันพ่อแห่งชาติ ทั่วโลกนั้นแต่ละประเทศจะให้ความสำคัญดังนี้


  • วันที่ 19 มีนาคม ในประเทศสเปน, โปรตุเกส, อิตาลี
  • วันที่ 8 พฤษภาคม ในประเทศเกาหลีใต้
  • วันที่ 5 มิถุนายน ในประเทศเดนมาร์ก
  • วันที่ 23 มิถุนายน ในประเทศโปแลนด์
  • วันอาทิตย์ ที่ 2 ของเดือนสิงหาคม ในประเทศบราซิล
  • วันอาทิตย์แรกของเดือนกันยายน ในประเทศออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์
  • วันอาทิตย์ ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายน ในประเทศฟินแลนด์, นอร์เวย์, สวีเดน
  • วันที่ 5 ธันวาคม ในไทย

ประวัติ วันพ่อแห่งชาติ ในประเทศไทย
ในประเทศไทยเองนั้น วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อขึ้นแห่งชาติ เนื่องจากพ่อ เป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคมที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนและตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็น วันพ่อแห่งชาติ เนื่องด้วยในหลวงเองทรงเป็น พ่อของแผ่นดิน สำหรับคนไทย นั่นเอง

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
อ้างอิงจาก ikssn.org


ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}