แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีข้าว แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีข้าว แสดงบทความทั้งหมด

ประเพณีไทย บุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า


  คำว่า “ ข้าวประดับดิน ” ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2538 ได้ให้ ความหมายไว้ว่า “ ข้าวประดับดิน (ถิ่นอีสาน) ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เอาไปบูชาตามต้นโพธิ์และพระเจดีย์เวลาเช้ามืดเดือน 9 ” ความหมายตามพจนานุกรมภาษาถิ่นภาคนะวันออกเฉียงเหนือของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ฉบับพิมพ์ที่ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2537 ได้ให้ความหมายไว้ว่า

“ ข้าวประดับดิน ชื่อของบุญเดือน 9 บุญข้าวสากน้อยที่เรียกว่า : ชื่ออาหารคาวหวาน หมากพลูบุหรี่ที่จัดใส่กระทง วางไว้ตามพื้นดินหรือโคนต้นไม้เพื่อเป็นการเซ่นดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ ”


   เนื่องจากคนลาวและไทอีสานมีความเชื่อสืบต่อกันมาแต่โบราณกาลแล้ว ว่ากลางคืนของเดือนเก้าดับ (วันแรมสิบสี่ค่ำเดือน เก้า) เป็นวันที่ประตูนรกเปิด ยมบาลจะปล่อยให้ผีนรกมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์ในคืนนี้คืนเดียวเท่านั้นในรอบปี ดังนั้นจึงพากัน จัดห่อข้าว ไว้ให้ญาติที่น้องที่ตายไปแล้ว ผู้ล่วงรับไปแล้ว

   ครั้งพระพุทธกาลบรรดาญาติของพระเจ้าพิมพิสารกินของสงฆ์แล้ว ตายไปเป็นเปรต เมื่อพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระ พุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์แล้ว จึงได้ทรงอุทิศส่วนกุศลผลบุญไปให้บรรดาเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้น เมื่อเปรตมิได้รับผลบุญ ถึง เวลากลางคืนพากันมาส่งเสียงน่ากลัว เพื่อขอส่วนบุญอยู่ใกล้ ๆ กับพระราชนิเวศน์ พระเจ้าพิมพิสารทรงได้ยินเช่นนั้น พอรุ่งเช้าจึง เสด็จไปทูลถามสาเหตุจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงทรงแจ้งสาเหตุให้พระเจ้าพิมพิสารททรงทราบ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารนั้นทรง ทราบแล้ว จึงถวายทานและอุทิศส่วนกุศลซึ่งได้ทำให้เปรต ตั้งแต่นั้นมาบรรดาเปรตเหล่านั้นก็ไม่มารบกวนอีก เพราะเปรตที่เป็น ญาติได้รับผลบุญแล้ว ชาวอีสานจึงถือเอามูลเหตุนี้ทำบุญข้าวประดับดินติต่อกันมา


   พอถึงวันแรม 13 ค่ำ เดือนเก้า ชาวบ้านเตรียมอาหารมีทั้งคาวหวาน แก่ เนื้อปลาเผือกมัน ข้าวต้ม ขนม น้ำอ้อย น้ำตาล ผลไม้ เป็นต้น และหมากพลูบุหรี่ไว้ให้พร้อมเพื่อจัดทำเลี้ยงกันในครอบครัวบ้าง และทำบุญถวายพระภิกษุสมเณรบ้าง ส่วน สำหรับอุทิศให้ญาติที่ตายใช้ห่อด้วยใบตองกล้ายคาวห่อหนึ่ง หวานห่อหนึ่ง และหมากพลูบุหรี่ห่อหนึ่งเย็บหุ้มปลายแต่บางคนใส่ ใบตองที่เย็บเป็นกระทงก็มีหรือหากไม่แยกกัน อาจเอาอาหารทั้งคาวหวานหมากพลูบุหรี่ใส่ในห่อหรือกระทงเดียวกันก็ได้

   พอเช้าวันรุ่งขึ้น คือ วันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้าตอนเช้ามืด คือ เวลาประมาณ 4 ถึง 6 นาฬิกา ชาวบ้านก็นำอาหารหมากพลู บุหรี่ที่ห่อหรือใส่กระทงแล้ว ไปวางไว้ตามพื้นดิน วางแจกไว้ตามบริเวณโบสถ์ ต้นโพธิ์ ศาลาวัดตามกิ่งไม้ หรือต้นไม้ใหญ่ ๆ ใน บริเวณวัด พร้อมพับจุดเทียนไว้ และบอกกล่าวแก่เปรตให้มารับเอาของและผลบุญด้วย

เสร็จพิธีอุทิศผลบุญส่งไปให้เปรตแล้ว ชาวบ้านก็จะนำอาหารที่เตรียมไว้ไปตักบาตรและถวายทานแต่พระภิกษุสามเณร มีการ สมาทานศีลฟังเทศน์และกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับต่อไป

การทำบุญข้าวประดับดิน บางท้องถิ่นมีการห่ออาหารคาว หวานหมากพลูบุหรี่ไปวางไว้ตามที่ต่าง ๆ บริเวณวัด ภายหลังการถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณรแล้วก็มี เป็นเสร็จพิธีทำบุญ ข้าวประดับดิน


คำถวายสังฆทาน (ข้าวประดับดิน)

   อิมานิ มะยัง ภันเต ปิณฑะภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยะมะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ปิณฑะ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

คำแปล

   ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายข้าวและอาหาร (ข้าวประดับดิน) กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับข้าวและอาหาร(ข้าวประดับดิน) พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์และ ความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ.


   การห่อข้าวปลาอาหารและของขบเคี้ยวต่างๆ เป็นห่อๆ แล้วนำไปถวายทานบ้าง แขวนไว้ตามต้นไม้บ้าง ตามบริเวณกำแพงวัดบ้าง (คนอีสานโบราณเรียกกำแพงวัดว่า ต้ายวัด) เรียกว่าข้าวประดับดิน การทำบุญด้วย การให้ทาน รักษาศีล ด้วยอาศัยข้าวประดับดินเป็นมูลเหตุเรียกว่า "ข้าวประดับดิน" นักปราชญ์อีสานโบราณได้ กล่าวไว้เป็นบทผญา โดยได้พรรณนาถึงความอุดมสมบูรณ์และประเพณีการทำบุญในเดือนนี้ว่า...

เดือนแปดคล้อยเห็นลมทั่งใบเสียว 
เหลียวเห็นหมู่ปลาขาวแล่นมาโฮมต้อน 
กบเพิ่นนอนคอยท่าฝนมาสิได้ม่วน 
ชวนกันลงเล่นน้ำโห่ฮ้องซั่วแซว 
เดือนเก้ามาฮอดแล้วบ้านป่าขาดอน 
เห็นแต่นกเขางอยคอนส่งเสียงหาซู้ 
เถิงระดูเดือนเก้าอีสานเฮาทุกท้องถิ่น 
คงสิเคยได้ยินบุญประดับดินกินก้อนทานทอดน้อมถวาย

อ้างอิงจาก www.phibun.com/thai_tradition ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย บุญข้าวหลามฉะเชิงเทรา

ประเพณีบุญข้าวหลาม เป็นประเพณีของชาวลาวเวียงและลาวพวนในอำเภอพนมสารคาม ซึ่งเป็นชุมชนชาวไทยเชื้อสายลาว ที่อยู่ใกล้เคียงกับชาวไทยเชื้อสายเขมร
ประเพณีนี้อาจเป็นสิ่งที่ยึดถือสืบต่อกันมาแต่ก่อนเมื่อครั้งยังอยู่ในประเทศลาวจึงเท่ากับเป็นการรักษาประเพณีดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติกันมา ซึ่งเท่ากับเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนาทางหนึ่ง
พิธีกรรม
วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ชาวบ้านทุกบ้านจะเผาข้าวหลาม เพื่อนำไปถวายพระในเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ตอนสายจะพากันเดินไปขึ้นเขาดงยาง ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๖ กิโลเมตร เพื่อปิดทองรอยพระพุทธบาทบนเขาดงยาง และนำข้าวหลามไปรับประทานบนเขา
สาระ
นอกเหนือจากการทำบุญกุศลแล้วยังเป็นการชุมนุมพบปะกัน ของชนเผ่าผู้อพยพทางหนึ่ง ทั้งนี้สืบเนื่องจากชุมชนลาวรุ่นแรกๆล้วนมาจากประเทศลาวแล้วแยกย้ายกันบุกเบิกป่าสร้างที่ทำกิน การกำหนดนัดพบหน้าโดยถือเอาวันสำคัญทางศาสนาเป็นแกนนั้นนับได้ว่าได้ทั้งบุญกุศส ได้ทั้งความรู้สึกอบอุ่นทางเชื้อชาติในคราวเดียวกัน
เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com   
ข้อมูลอ้างอิงไม่ทราบที่มาแน่ชัด
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย ลงแขกเกี่ยวข้าว


มารู้จักการลงแขกเกี่ยวข้าวกันเถอะ


ช่วงนี้อิสานบ้านเฮาก็ย่างเข้าสู่ปลายฝนต้นหนาวชาวนา ก็สิเริ่มเข้าสู่ฤดูการเก็บเกี่ยว ประเพณีอิสานบ้านเฮาอีกย่างหนึ่งคือประเพณี ลงแขกเกี่ยวข้าว หรือ การหา ,การวาน,เพื่อมาช่วยกัน โดยไม่มีค่าจ้าง ลักษณะสิเป็นการแสดงนําใจ ในการช่วยเหลือกัน ซึ่งชาวนาอิสานสิหมุนเวียนช่วยกันไปเรื่อยๆ หลังจากช่วยคนหนึ่งเสร็จ วันต่อไปก็ไปช่วยอีกคนหนึ่ง ซึ่งเจ้าของที่นาหลังจากเพื่อนบ้านมาช่วยแล้วก็ สิแต่ งสําหรับ กับข้าว เหล้าไห ไก่ตัว บางที่ก็ร้องรํา ทําเพลงม่วนชื่นกันไปหลังจากเหน็ดเหนื่อยมาทั้ง วัน เป็นการสังสรรค์ต่างตอบแทน ที่มาช่วยเหลือ ซึ่งการกระทําในลักษณะนี้ ยุควัตถุนิยมสิหาดูยากมาก ทุกวันนี้สิมีแต่การจ้าง ใช้เงินเป็นหลัก บ่อคือรุ่นก่อน สิช่วยกันด้วยใจจริง


    คนอีสานส่วนใหญ่ จะเป็นผู้มีน้ำใจไมตรี ดังนั้นในการทำกิจการ งานใดๆ ไม่ว่างานเล็กงานใหญ่ จะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเพราะทุกคนต่างมีน้ำใจให้กันและกัน ช่วยงานกันคนละมือละไม้ใช้เวลาไม่นานงานก็สำเร็จลุล่วงไปได้สมปรารถนา การทำงานแบบนี้ คนอีสานเรียกว่า "ลงแขก" การลงแขกในภาคอีสานก็คือการบอกกล่าวขอแรงบรรดาญาติสนิทมิตรสหาย ให้มาช่วยทำงานนั่นเอง งานที่จะลงแขกกันนั้นอาจจะเป็นงานส่วนรวมหรืองานส่วนตัวก็ได้ สำหรับงานส่วนตัวนั้นส่วนมากมักจะเป็นงานใหญ่สุดกำลังคนในครอบครัวจะทำได้ หรืออาจจะเป็นงานหนักแต่จำเป็นต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว จึงต้องบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยเหลือเพื่อให้งานเสร็จสิ้นไปงานที่มักลงแขก เช่น การลงแขกทำนา ซึ่งมีการลงแขกดำนา ลงแขกเกี่ยวข้าว ลงแขกตีข้าว (นวดข้าว) ลงแขกสร้างบ้าน ลงแขกขุดมัน ลงแขกลอกปอ เป็นต้น


  -การลงแขกทำนา ด้วยการทำนาเป็นงานหนักและในรอบปีหนึ่งต้องใช้ แรงงานมากถึง 4 วาระด้วยกันคือช่วงการดำนา การเกี่ยว การตี และเอาข้าวขึ้นเล้า ดังนั้นการทำงาน ทุกๆ ระยะ ส่วนมากจะใช้วิธีการลงแขก อาศัยแรงจากญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยกัน เมื่อลงแขกในนาตนเสร็จก็เปลี่ยนไปลงแขกนาของคนอื่นๆ ต่อไปเป็นการตอบแทน ซึ่งเป็น การแสดงน้ำใจที่มีให้กันและกัน โดยเฉพาะในปัจจุบันลูกหลานคนหนุ่มสาวไปทำงานต่างถิ่น ปล่อยให้พ่อแม่และคนแก่อยู่บ้าน การลงแขกจึงยังมีความจำเป็นสำหรับชาวร้อยเอ็ด

  -การลงแขกสร้างบ้าน การลงแขกขุดมัน การลงแขกลอกปอ ก็จะมีลักษณะ การทำงานเช่นเดียวกับ การลงแขกทำนาคือคนที่เป็นเจ้าของงานจะไปบอกกล่าวญาติมิตร และ เพื่อนบ้านให้ทราบว่าตนจะทำอะไร และขอแรงเขามาช่วยงาน จะต้องการแรงงานมากน้อยเพียงใด ก็บอกกล่าวไปตามจำนวนที่ต้องการ นัดกำหนดวันที่จะทำงาน
ในการลงแขกฝ่ายเจ้าบ้านจนเป็นฝ่ายตระเตรียมอาหารการกินไว้ให้พร้อมบริบูรณ์ มิให้ขาดตกบกพร่อง เป็นอาหารที่มีคุณค่า ทั้งปริมาณก็มากพอเพียง และต้องเป็นอาหารพิเศษ เช่น ลาบ ตำบักฮุ่ง(ส้มตำ) ปิ้งไก่ ต้มไก่ เป็นต้น

   ขณะทำงาน คณะลงแขกจะทำงานไปพูดคุยกันไป และมีการจ่ายผญา สลับกับ การเล่านิทานก้อม เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศให้สนุกสนานครื้นเครงและผ่อนคลายความเหนื่อยล้าเวลาทำงาน เมื่อทำงานเสร็จแล้วก็ต่างแยกย้ายกันกลับไป การลงแขกถือได้ว่าเป็นประเพณีที่ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้านที่สำคัญของชาวร้อยเอ็ดที่นำมาใช้ เพื่อให้คนได้แสดงความมีน้ำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และยังแสดงถึงกุศโลบายในการที่จะสร้างความรัก ความสามัคคีกลมเกลียวกันของคนในสังคมอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิงจาก http://blog.eduzones.com/yukiokung
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}