ประเพณีไทย การเบิกน่านน้ำ


ช่วงเวลา กระทำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ในเทศกาลออกพรรษา ก่อนจะมีการแข่งขันเรือพาย

ความสำคัญ
เนื่องจากจังหวัดมุกดาหารตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง จึงมีประเพณีการแข่งขันเรือพายขึ้น ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่า งานออกพรรษา ประเพณีการแข่งเรือถือว่าเป็นการบูชาพญานาค ๗ ตระกูล และเชื่อมความสัมพันธไมตรีระหว่างชาวมุกดาหารกับชาวสวันเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

พิธีกรรม
ก่อนจะมีการแข่งขันเรือ จะต้องทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ศาลเจ้าฟ้ามุงเมือง และศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง โดยจะมีขบวนแห่จากชาวคุ้มวัดต่าง ๆ เพื่ออัญเชิญเจ้าฟ้ามุงเมืองลงเรือลำแรก (ชื่อเรือมุกดาสวรรค์) โดยเจ้าฟ้ามุงเมืองในร่างของจ้ำหรือคนทรงจะประทับนั่งที่หัวเรือ เพื่อเป็นการเบิกน่านน้ำ ให้การแข่งขันเรือพายในครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เกิดผลดี เป็นสิริมงคล เกิดความสนุกสนานแก่ปวงชนปราศจากอุปสรรคทั้งปวง ต่อจากเรือมุกดาสวรรค์จะเป็นขบวนเรือประเพณี ประกอบด้วยฝีพายที่เป็นหญิง แต่งกายสีสันตามแบบพื้นเมือง หัวเรือ ๒ คน และท้ายเรือ ๓ คน จะเป็นชาย หลังจากล่องเรือแข่งกันแล้วจะเริ่มพายทวนน้ำจากหน้าวัดศรีบุญเรืองไปสิ้นสุดที่หน้าวัดศรีมงคลใต้ ระหว่างทางจะหยุดรับเครื่องสักการะจากชาวบ้าน มีเหล้า ดอกไม้ ธูป เทียน และดอกดาวเรือง ส่วนเรือประเพณีที่ตามหลังจะมีสาวงาม ๑ คน ฟ้อนหางนกยูงอย่างสวยงามที่หัวเรือ พร้อมกับฝีพายจะร้องเล่น เซิ้งและผญาอย่างสนุกสนาน

สาระ
เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่มีมาแต่โบราณ เชื่อมสัมพันธไมตรี ระหว่างพี่น้องสองฝั่งโขงไทย-ลาว แสดงถึงความสามัคคีของชาวจังหวัดมุกดาหารและชาวสวันเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

อ้างอิงจาก prapayneethai.com

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย บุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า


  คำว่า “ ข้าวประดับดิน ” ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2538 ได้ให้ ความหมายไว้ว่า “ ข้าวประดับดิน (ถิ่นอีสาน) ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เอาไปบูชาตามต้นโพธิ์และพระเจดีย์เวลาเช้ามืดเดือน 9 ” ความหมายตามพจนานุกรมภาษาถิ่นภาคนะวันออกเฉียงเหนือของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ฉบับพิมพ์ที่ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2537 ได้ให้ความหมายไว้ว่า

“ ข้าวประดับดิน ชื่อของบุญเดือน 9 บุญข้าวสากน้อยที่เรียกว่า : ชื่ออาหารคาวหวาน หมากพลูบุหรี่ที่จัดใส่กระทง วางไว้ตามพื้นดินหรือโคนต้นไม้เพื่อเป็นการเซ่นดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ ”


   เนื่องจากคนลาวและไทอีสานมีความเชื่อสืบต่อกันมาแต่โบราณกาลแล้ว ว่ากลางคืนของเดือนเก้าดับ (วันแรมสิบสี่ค่ำเดือน เก้า) เป็นวันที่ประตูนรกเปิด ยมบาลจะปล่อยให้ผีนรกมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์ในคืนนี้คืนเดียวเท่านั้นในรอบปี ดังนั้นจึงพากัน จัดห่อข้าว ไว้ให้ญาติที่น้องที่ตายไปแล้ว ผู้ล่วงรับไปแล้ว

   ครั้งพระพุทธกาลบรรดาญาติของพระเจ้าพิมพิสารกินของสงฆ์แล้ว ตายไปเป็นเปรต เมื่อพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระ พุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์แล้ว จึงได้ทรงอุทิศส่วนกุศลผลบุญไปให้บรรดาเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้น เมื่อเปรตมิได้รับผลบุญ ถึง เวลากลางคืนพากันมาส่งเสียงน่ากลัว เพื่อขอส่วนบุญอยู่ใกล้ ๆ กับพระราชนิเวศน์ พระเจ้าพิมพิสารทรงได้ยินเช่นนั้น พอรุ่งเช้าจึง เสด็จไปทูลถามสาเหตุจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงทรงแจ้งสาเหตุให้พระเจ้าพิมพิสารททรงทราบ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารนั้นทรง ทราบแล้ว จึงถวายทานและอุทิศส่วนกุศลซึ่งได้ทำให้เปรต ตั้งแต่นั้นมาบรรดาเปรตเหล่านั้นก็ไม่มารบกวนอีก เพราะเปรตที่เป็น ญาติได้รับผลบุญแล้ว ชาวอีสานจึงถือเอามูลเหตุนี้ทำบุญข้าวประดับดินติต่อกันมา


   พอถึงวันแรม 13 ค่ำ เดือนเก้า ชาวบ้านเตรียมอาหารมีทั้งคาวหวาน แก่ เนื้อปลาเผือกมัน ข้าวต้ม ขนม น้ำอ้อย น้ำตาล ผลไม้ เป็นต้น และหมากพลูบุหรี่ไว้ให้พร้อมเพื่อจัดทำเลี้ยงกันในครอบครัวบ้าง และทำบุญถวายพระภิกษุสมเณรบ้าง ส่วน สำหรับอุทิศให้ญาติที่ตายใช้ห่อด้วยใบตองกล้ายคาวห่อหนึ่ง หวานห่อหนึ่ง และหมากพลูบุหรี่ห่อหนึ่งเย็บหุ้มปลายแต่บางคนใส่ ใบตองที่เย็บเป็นกระทงก็มีหรือหากไม่แยกกัน อาจเอาอาหารทั้งคาวหวานหมากพลูบุหรี่ใส่ในห่อหรือกระทงเดียวกันก็ได้

   พอเช้าวันรุ่งขึ้น คือ วันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้าตอนเช้ามืด คือ เวลาประมาณ 4 ถึง 6 นาฬิกา ชาวบ้านก็นำอาหารหมากพลู บุหรี่ที่ห่อหรือใส่กระทงแล้ว ไปวางไว้ตามพื้นดิน วางแจกไว้ตามบริเวณโบสถ์ ต้นโพธิ์ ศาลาวัดตามกิ่งไม้ หรือต้นไม้ใหญ่ ๆ ใน บริเวณวัด พร้อมพับจุดเทียนไว้ และบอกกล่าวแก่เปรตให้มารับเอาของและผลบุญด้วย

เสร็จพิธีอุทิศผลบุญส่งไปให้เปรตแล้ว ชาวบ้านก็จะนำอาหารที่เตรียมไว้ไปตักบาตรและถวายทานแต่พระภิกษุสามเณร มีการ สมาทานศีลฟังเทศน์และกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับต่อไป

การทำบุญข้าวประดับดิน บางท้องถิ่นมีการห่ออาหารคาว หวานหมากพลูบุหรี่ไปวางไว้ตามที่ต่าง ๆ บริเวณวัด ภายหลังการถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณรแล้วก็มี เป็นเสร็จพิธีทำบุญ ข้าวประดับดิน


คำถวายสังฆทาน (ข้าวประดับดิน)

   อิมานิ มะยัง ภันเต ปิณฑะภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยะมะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ปิณฑะ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

คำแปล

   ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายข้าวและอาหาร (ข้าวประดับดิน) กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับข้าวและอาหาร(ข้าวประดับดิน) พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์และ ความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ.


   การห่อข้าวปลาอาหารและของขบเคี้ยวต่างๆ เป็นห่อๆ แล้วนำไปถวายทานบ้าง แขวนไว้ตามต้นไม้บ้าง ตามบริเวณกำแพงวัดบ้าง (คนอีสานโบราณเรียกกำแพงวัดว่า ต้ายวัด) เรียกว่าข้าวประดับดิน การทำบุญด้วย การให้ทาน รักษาศีล ด้วยอาศัยข้าวประดับดินเป็นมูลเหตุเรียกว่า "ข้าวประดับดิน" นักปราชญ์อีสานโบราณได้ กล่าวไว้เป็นบทผญา โดยได้พรรณนาถึงความอุดมสมบูรณ์และประเพณีการทำบุญในเดือนนี้ว่า...

เดือนแปดคล้อยเห็นลมทั่งใบเสียว 
เหลียวเห็นหมู่ปลาขาวแล่นมาโฮมต้อน 
กบเพิ่นนอนคอยท่าฝนมาสิได้ม่วน 
ชวนกันลงเล่นน้ำโห่ฮ้องซั่วแซว 
เดือนเก้ามาฮอดแล้วบ้านป่าขาดอน 
เห็นแต่นกเขางอยคอนส่งเสียงหาซู้ 
เถิงระดูเดือนเก้าอีสานเฮาทุกท้องถิ่น 
คงสิเคยได้ยินบุญประดับดินกินก้อนทานทอดน้อมถวาย

อ้างอิงจาก www.phibun.com/thai_tradition ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย การทำขวัญผึ้ง

 
   เป็นประเพณีไทยพื้นบ้านที่เก่าแก่ของหมู่บ้านโซกกระบาท ตำบลคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ประเพณีนี้ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่หลังจากสูญหายไปราว 40 ปี ในอดีตเมืองศรีคีรีมาศต้องส่งส่วยน้ำผึ้งทดแทนการถูกเกณฑ์แรงงานตามพระราชกำหนดตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้มีการยกเลิกการส่งส่วยน้ำผึ้ง

การส่งส่วยดังกล่าวเป็นผลให้เกิดมีประเพณีการทำขวัญผึ้งเพื่อให้ผึ้งมาทำรังตามต้นไม้มากๆ ต่อมาประเพณีได้ค่อย ๆ เลือนหายไป ศูนย์ศึกษาและวิจัยวัฒนธรรมพื้นบ้าน หัวเมืองฝ่ายเหนือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก) ได้ฟื้นฟูประเพณีการทำขวัญผึ้งตำบลคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัยขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2526 ตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3

   สถานที่ประกอบพิธีทำขวัญผึ้งเป็นป่าใหญ่อยู่ไกลออกไปจากหมู่บ้าน บริเวณเขาหลวงนี้อุดมไปด้วยว่านนานาชนิด จึงเป็นแหล่งที่เกิดน้ำผึ้งดอกว่านขึ้น ก่อนจะถึงวันทำพิธี ชาวบ้านจะช่วยกันเตรียมข้าวของเครื่องใช้ ข้าวปลาอาหาร สำหรับรังผึ้งปลอมต้องทำไว้ตั้งแต่กลางคืน คือ การทำขนมแดกงา เริ่มด้วยการนำข้าวเหนียวล้างสะอาด แช่น้ำไว้จนข้าวเหนียวขึ้นน้ำ นำไปนึ่งให้สุกเมื่อสุกแล้วเทข้าวเหนียวร้อน ๆ ใส่ครกผสมกับเกลือเล็กน้อยโขลกให้เกลือเหลวแล้วจึงค่อย ๆ เอางาดำที่คั่วแล้วผสมลงไปโขลกด้วยจนน้ำมันงาออกทำให้ข้าวเหนียวไม่ติดครก เมื่อโขลกเหนียวได้ที่แล้วเอาข้าวเหนียวผสมงาไปใส่กระด้งนวดให้เหนียวผสมงาอีกครั้งหนึ่งจนมีสีดำ


   จากนั้นทำเป็นรังผึ้งขนาดต่าง ๆ ติดกิ่งไม้ไว้เพื่อเตรียมไปแขวนที่ป่า เช้าของวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ชาวบ้านจะพากันเดินทางไปยังบริเวณที่ประกอบพิธีในป่า บริเวณที่จะทำพิธีต้องมีต้นไม้ใหญ่และเคยมีรังผึ้งมาก่อนแล้ว เรียกลักษณะเช่นนี้ว่า "โซกลำเกลียว" เท่าที่ผ่านมาต้นไม้ที่ใช้ประกอบพิธี คือ ต้นยาง เมื่อได้ต้นไม้ในลักษณะที่ต้องการแล้ว กำหนดเขตโดยใช้ไม้ไผ่สานสูงประมาณเอว กั้นเป็นอาณาเขตห่างจากต้นไม้ประมาณ 3 วา เว้นช่องทางให้เข้าทั้งหมด 8 ช่อง เพื่อเป็นประตู 8 ทิศ แต่ละประตูสร้างศาลตีนเดียวสูงประมาณ 2 วา ที่ศาลจะมีเครื่องเซ่นสังเวยด้วย ก่อนที่จะเริ่มพิธีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งจะเอารังผึ้งปลอม (ทำจากขนมแดกงา) ไปติดตามต้นไม้รอบบริเวณนั้นจะมีกี่รังก็ได้ แต่จะต้องมีรังหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 1 ศอกเป็นรังผึ้งหลวงเพื่อใช้ประกอบพิธี อีกกลุ่มหนึ่งก็เอาผ้าสามสีและด้ายขาวแดงมาพันรอบต้นไม้ใหญ่ แต่เดิมนั้นใช้ผ้าม่วงผ้าไหมปัจจุบันหาไม่ได้แล้วจึงใช้ผ้าสามสีแทน และที่ผ้าสามสีจะประดับด้วยเหรียญเงินโดยรอบ เรียกว่า พวงเงิน พวงทอง ด้ายแดงขาวอีกส่วนหนึ่งนำไปพันที่รอบต้นไม้ใหญ่ 9 รอบ ตรงหน้าต้นไม้ใหญ่สร้างศาลตีนเดียวขนาดใหญ่หนึ่งศาล หน้าศาลมีที่วางเครื่องเซ่นสังเวย ได้แก่ บายศรี 1 ปาก หัวหมู 1 หัว ตีนหมู 8 ตีน หางหมู 1 หาง ไก่ต้ม 1 ตัว เหล้าป่า ข้าวเหนียวขาว ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ข้าวสุกจากปากหม้อ ผักหญ้า ปลายำ ไข่ต้ม มะพร้าวอ่อน 1 ผล หมากพลูอย่างละ 3 คำ ธูป 3 ดอก เทียน 3 เล่ม เครื่องเซ่นเหล่านี้จะแบ่งไปตามศาลตีนเดียวทั้ง 8 ศาลด้วย

   เมื่อจะเริ่มพิธีมีการจุดธูปเทียนที่ศาลใหญ่และศาลทั้ง 8 ทิศ ผู้ทำพิธีจะทำน้ำมนต์เพื่อปัดเสนียดจัญไร แล้วเอาน้ำมนต์พรมที่เครื่องสังเวยและคนในบริเวณนั้น จากนั้นจะไหว้พระรัตนตรัย กระทำธรณีสาร กล่าวคาถาชุมนุมเทวดาให้มารับเครื่องเซ่นสังเวยและร้องเชิญพ่อผึ้ง แม่ผึ้งให้ชวนบริวารมาทำรัง จากนั้นจะมีชาวบ้านชายหญิงสมมติเป็นพ่อผึ้ง แม่ผึ้ง ลูกผึ้ง ชวนกันมาทำรังที่ต้นไม้นี้ โดยจะเข้ามาทางประตูทั้ง 8 ทิศ ชาวบ้านที่สมมติเป็นเทวดาผู้เฝ้าประตูจะคอยซักถามว่า พ่อผึ้ง แม่ผึ้ง ลูกผึ้งนี้มาจากไหน และเชิญชวนให้มาทำรังผึ้งที่ป่าแห่งนี้ เมื่อขบวนผึ้งเข้ามาแล้วก็จะออกไปยังประตูตรงกันข้ามแล้วเข้ามาใหม่โดยมีเทวดาผู้เฝ้าประตูซักถามอีก จะเดินเข้าออกในลักษณะนี้จนครบทั้ง 8 ทิศ เป็นอันว่าเสร็จพิธี


   หลังจากนั้นชาวบ้านที่มาร่วมในพิธีนี้จะเล่นขโมยรังผึ้งกัน โดยจะขโมยขนมแดกงาที่มีผู้นำไปแขวนไว้ตามต้นไม้ในบริเวณพิธีและจะมีตำรวจคอยจับขโมย ถ้าขโมยคนใดถูกตำรวจจับได้ ตำรวจก็จะจับส่งฟ้องศาล ซึ่งศาลจะตัดสินจำคุกกี่ปีก็ได้ การลงโทษจำคุกนี้ใช้วิธีการดื่มเหล้าแทน เช่นจำคุก 5 ปี ก็ให้ดื่มเหล้า 5 จอก เป็นการละเล่นที่สนุกสนานของชาวบ้านมาก

 เมื่อสิ้นสุดการละเล่นแล้วจะมีการสมมติตีรังผึ้งจากต้นยาง ที่ใช้ประกอบพิธี เป็นการเสร็จสิ้นพิธีการทำขวัญผึ้งโดยสมบูรณ์

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
อ้างอิงจาก www.info.ru.ac.th/province/sukhotai

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย บุญแจกข้าว

  
       ชาวอีสานมีความเชื่อว่าดวงวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว หากไม่ได้รับการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้แล้ว ดวงวิญญาณนั้นก็จะมีแต่ความอดอยากทนทุกข์ทรมานและไม่ได้ไปผุดไปเกิด ด้วยความเชื่อดังกล่าวนี้จึงทำให้มีการจัดงานหรือการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ที่เสียชีวิต หรือเรียกว่า การทำบุญแจกข้าว
               
  การทำบุญแจกข้าวเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องที่ได้ล่วงลับไป ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่พี่น้องปู่ย่าตายายพี่ป้าน้าอา ซึ่งผู้เสียชีวิตเหล่านั้นได้เสียชีวิตไปได้ไม่นานมากนัก ประมาณ 1-3 ปี

  โดยการทำบุญแจกข้าวนี้ ต้องมีการระบุไปว่ามีความต้องการจะทำบุญแจกข้าวให้ใคร โดยจะมีการจัดงานกันใหญ่พอสมควรโโยมีการบอกกล่าวเพื่อนบ้านใกล้เคียงและ ภายในหมู่บ้านหรือต่างหมู่บ้าน และมีการบอกกล่าวไปถึงญาติพี่น้องที่อยู่ห่างไกลให้มาร่วมงานนี้ด้วย

  งานทำบุญแจกข้าวนี้นิยมทำกันในเดือนสี่ จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ชาวอีสานว่างเว้นจากการทำไร่ไถนาจึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะในการทำกิจกรรมนี้ การทำบุญแจกข้าวเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากสำหรับชาวอีสานเพราะชาวอีสานมีความเชื่อว่าทุกคนที่เสียชีวิตไปแล้ว ต้องได้กินข้าวแจก หากคนใดที่เสียชีวิตไปแล้วแล้วไม่ได้ทำบุญแจกข้าวไปให้บุคคลนั้นจะได้รับความอดอยากไม่ได้ไปผุดไปเกิด จะยังคงวนเวียนเพื่อรอรับข้าวแจกจากญาติพี่น้องต่อไป

  บุคคลใดเมื่อมีญาติที่เสียชีวิตไปแล้วไม่ได้ทำบุญแจกข้าวอุทิศส่วนกุศลไปให้ ก็จะถูกดูหมิ่นดูแคลนจากคนภายในหมู่บ้าน ว่าไม่รู้จักบุญคุณไม่รักใคร่ญาติที่เสียชีวิตไป เป็นคนเห็นแก่ตัวไม่รู้จักเสียสละ
          

   ก่อนการทำบุญแจกข้าวจะมีการบอกเล่าญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านว่าจะมีการทำบุญ ให้ญาติที่เสียชีวิตไป พอถึงวันทำบุญในช่วงตอนกลางวันจะมีการจัดแต่งเครื่องไทยทาน เรียกว่า ห่ออัฎฐิ และมีการจัดเลี้ยง อาหารกลางวันแก่ผู้ที่มาจัดแต่งเครื่องไทยทานและมาช่วยงานในเรื่องต่างๆ บางครั้งภายในงานก็จะมีการบว๙นาคด้วย ในช่วงเย็นก็จะมีการฟังเทศน์และในช่วงกลางคืนก็ก็จะมีงานมหรสพที่เจ้าภาพของงานว่าจ้างมา ไม่ว่าจะเป็น หมอลำ ภาพยนตร์ เป็นต้น

  ในช่วงเช้าของวันใหม่จะมีการถวายอาหารและเครื่องไทยทานแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยจะนิมนต์มาบ้านเจ้าภาพหรือนำไปถวายที่วัดก็ได้ หลังจากนั้นก็จะมีการถวายผ้าบังสกุล ฟังเทศน์ และกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไป หลังจากนั้นก็จะมีการจัดเลี้ยงอาหารให้ผู้ที่มาร่วมงาน ก็เป็นอันเสร็จพิธี การทำบุญแจกข้าวแก่ญาติที่เสียชีวิตไป
          
  ชนชาวอีสานถือเรื่องความกตัญญูต่อญาติพี่น้องและผู้มีพระคุณ การจัดงานทำบุญแจกข้าวจึงเป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้ที่เสียชีวิตไป เพื่อให้ดวงวิญญาณของคนเหล่านั้นได้รับบุญกุศลและไปเกิดใหม่ไม่ต้องวนเวียนเพื่อรอรับส่วนบุญอีกต่อไป

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ข้อมูลอ้างอิงจาก ibrary.uru.ac.th/webdb

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย พิธีสืบชะตาแม่น้ำ


ในยามที่เห็นว่าแม่น้ำกำลังเปลี่ยนแปลงไป เช่น น้ำแห้ง น้ำแล้ง หรือแม้แต่ปลาลดลง ชาวบ้านก็จะจัดพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ ชาวบ้านเชื่อว่าการสืบชะตาหมายถึง การต่ออายุให้ยืนยาวออกไป

ในกรณีของทางภาคเหนือนั้น การต่อชะตามีหลายอย่าง และนิยมทำในหลายกรณี ชาวบ้านบางกลุ่มที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับแม่น้ำ ชาวบ้านก็นิยมจัดพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ เพื่อต่ออายุ และความเป็นสิริมงคลจะได้เกิดขึ้นกับแม่น้ำรวมทั้งผู้คนในชุมชนไปด้วย การสืบชะตาให้กับแม่น้ำจึงเป็นการแสดงความศรัทธา ความเคารพ และเหนือสิ่งอื่นใดคือการร่วมกันแสดงออกถึงความห่วงใยต่อแม่น้ำ

พิธีสืบชะตาแม่น้ำประยุกต์มาจากพิธีสืบชะตาคนและสืบชะตาหมู่บ้าน มีความสำคัญดังนี้ 
๑. ก่อให้เกิดความร่วมมือ ความสามัคคีและช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในชุมชน
๒. ทำให้เกิดความเลื่อมใส เคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องรักษาแม่น้ำ
๓. เกิดความรักหวงแหนและสำนึกในการดูแลรักษาแม่น้ำ ตลอดจนต้นน้ำลำธาร



พิธีกรรม
๑. ก่อนทำพิธีสืบชะตาแม่น้ำ ชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกัน ขุดลอกลำคลองและแหล่งน้ำ โดยใช้เครื่องไม้เครื่องมือพื้นบ้าน
๒. ในวันกระทำพิธีจะมีการบวงสรวงเทวดา เพื่อเป็นการขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาแม่น้ำ
๓. เครื่องสืบชะตาประกอบด้วย กระโจมไม้สามขา ท่อนแสก เรียกว่าสะพานเงิน สะพานทอง อีกท่อนหนึ่ง จะผูกติดด้วยไม้ค้ำท่อนเล็ก ๆ จำนวนพอประมาณแต่ลงท้ายด้วยเลข ๙ เครื่องประกอบอื่น ๆ ได้แก่กระบอกน้ำ หน่อกล้วย อ้อย ลูกมะพร้าว หม้อเงิน หม้อทอง เทียนถุง เมี้ยง บุหรี่ หมากพลู ข้าวตอกดอกไม้รวมกันในด้ง บทสวดที่ใช้ในการสืบชะตาแม่น้ำ คือบทสืบชะตาหลวง (อินทชาตา, ชินบัญชร อัฏฐอุณหัสสและธรรมสาลาวิจารสูตร)


อย่างไรก็ดีการสืบชะตาถ้าพูดง่ายๆ ก็คือการต่ออายุให้มีอายุยืนยาวขึ้นนั่นเอง เราคงเคยได้ยินหรือคุ้นเคยกับคำพูด  สืบชะตาเมือง    

จากโหร หรือนักโหราศาสตร์ในช่วงบ้านเมืองเกิดวิกฤต  โดยพิธีสืบชะตาแม่น้ำนี้  จัดขึ้นเพื่อเป็นการต่อชีวิตให้กับแม่น้ำ  และเป็นการขอขมาต่อแม่น้ำ สายน้ำที่มีความสำคัญต่อสรรพสิ่งทั้งมวลรวมถึงผู้คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำและเป็นการกระตุ้นเตือนให้คนที่อาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำมีจิตสำนึกช่วยกันรักษาสายน้ำแห่งนี้ให้ยืนยาวอย่างยั่งยืน

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
บทความ : อ. สิริชัย พยากรณ์

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย แห่สลุงหลวง

ประวัติประเพณี
  ในเทศกาลสงกรานต์ คือในวันที่ 12 เมษายน ชาวลำปางจะจัดขบวนแห่ที่เรียกว่า "ประเพณีแห่สลุงหลวงจังหวัดลำปาง" ( สลุงหลวง แปลอีกความหมายว่าขันเงินใบใหญ่
พิธีการคือนำน้ำจากแหล่งน้ำสำคัญไปสรงพระเจ้าแก้วมรกตดอนเต้า วัดพระธาตุลำปางหลวง ที่อัญเชิญมาให้ประชาชนได้ร่วมกันสรงน้ำในช่วงวันขึ้นปีใหม่ไทย

  การสรงน้ำพระที่ถูกต้องตามประเพณีไทย คือใช้วิธีตักน้ำจากสลุงเทสู่ รางริน ซึ่งเป็นทางให้น้ำขมิ้น ส้มป่อย น้ำอบ น้ำหอม ไหลไปสรงองค์พระ อันถือว่าเป็นการสรงน้ำที่ถูกต้องตามประเพณี น้ำที่สรงองค์พระจะไหลไปสู่ภาชนธ และถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวล้านนานำมาประพรมศีรษะ ร่างกายหรือที่อยู่อาศัยเพื่อควาเป็นสิริมงคล ร่มเย็นเป็นสุขแก่ชีวิตและครอบครัวของตนสืบไป
ชาวลำปาง ยึดถือประเพณีสรงน้ำองค์พระแก้วมรกตดอนเต้าสืบมาตลอด การจัดขบวนแห่สลุงหลวง เพื่อรับน้ำขมิ้น ส้มป่อย น้ำอบ น้ำหอม ถือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมแต่โบราณ

พิธีกรรม
  ขบวนแห่สลุงเริ่มจากการแห่ตุง(ธง) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่เต็มไปด้วยสีสันในขบวนแห่ตุงแต่ละผืน มีความหมายในตัว มีทั้งตุงสีชมพูอ่อน ชมพูเข้ม สีส้ม สีเหลือง เขียวสลับลายชมพูและฟ้า ผู้แห่ในขบวนส่วนใหญ่ประกอบด้วยชายฉกรรจ์ โพกผ้าขาวไว้บนศีรษะ เปลือยกายท่อนบนส่วนท่านล่างบางคนนุ่งกางเกงขาสั้นสีแดงบ้าน สีดำบ้าง ในขณะทีบางคนนุ่งกางเกงขายาวสีขาว มีผู้ร่วมขบวนแห่นับร้อยคนแลดูตื่นตาตื่นใจสำหรับผู้พบเห็น


  ต่อจากขบวนตุง ก็เป็นขบวนเครื่องสายและเครื่องเป่าที่คอยประโคมให้ขบวนแห่ครบเครื่อง ทั้งสีสันอันสดสวย และเสียงเครื่องดนตรีขับกล่อมที่สร้างมนต์ตราตรึงให้ผู้พบเห็นได้เข้าถึงพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ได้ง่ายขึ้น

  ต่อจากขบวนเครื่องสาย ก็เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในขบวนแห่ คือ ชาวลำปางจะอาราธนาพระเจ้า แก้วมรกตและพระเจ้าแก่นจันทร์ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะบูชาอย่างสูงของชาวลำปางร่วมในงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ของเมืองลำปาง เพื่อให้ผู้คนชาวลำปางได้ร่วมกันสรงน้ำพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ จากสลุงหลวงเงินสู่ลำรางสรงน้ำต่อไปตามลำดับ

  ขบวนเครื่องสักการะจะมีส่วนประกอบหลักๆได้แก่ สุ่มดอก หรือต้นดอก หรือหลักบายศรี เป็นเครื่องสักการบูชาประเภทหนึ่ง ที่ใช้ใบไม้ ดอกไม้ ตกแต่งคล้ายกับบายศรี ทำรูปลักษณะเหมือนกรวย หรือเป็นพุ่ม หมากสุ่ม คือ การนำผลหมากที่ผ่าซีกแล้วเสียบร้อยด้วยปอหรือด้ายผูกไว้เป็นพวงตากแห้งเก็บไว้กิน 


ซึ่งคนทางเหนือเรียก “หมากไหม” มาปักคลุมโครงไม้หรือโครงเหล็กที่ทำเป็นต้นพุ่มไว้ หมากเบ็ง มีลักษณะเดียวกับหมากสุ่ม แต่ใช้ผลหมากดิบหรือหมากสุกทั้งลูกแทน มีจำนวน ๒๔ ลูก ผูกติดตรึงโยงไว้กับโครงไม้หรือโครงเหล็กที่ทำเป็นพุ่ม ลักษณะการผูกโยงตรึงกันนี้ คนเหนือเรียกว่า “เบ็ง” จึงเป็นที่มาของชื่อต้นพุ่มชนิดนี้ ต้นเทียน มีการนำเทียนเล่มเล็กๆ มาผูกห้อยกับโครง เพื่อให้พระสงฆ์เก็บนำไปใช้สอยได้เลย สะดวกกว่าต้นผึ้งที่ต้องสะสมไปหล่อเทียนเอง


เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
อ้างอิงข้อมูลจาก lampangclub.com/board
ขอบคุณภาพจาก อีเมล์ psuka49@hotmail.com

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย ผีนางด้งประเพณีภาคอีสาน

  ประวัตินางด้ง

  นางด้ง เป็นการละเล่นแต่ครั้งสมัยโบราณ ซึ่งผู้สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยปู่-ย่า ตา-ยาย ซึ่งแต่ก่อนจะมีการละเล่นอย่างอื่นอีกมากมาย จากการสอบถามผู้สูงอายุคนเก่าคนแก่ของหมู่บ้านเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนจะมีการละเล่นมากมายหลายอย่างตามความเชื่อถือ ผี สาง เทวดา จะเข้าแค่แขนของคนทรง และยังมีการละเล่นอีกบางอย่างที่คนเฒ่าคนแก่ได้เล่าให้ฟังว่า ผี สาง เทวดา จะเข้าทรงทั้งตัว คือ นางแม่สี นางช้าง แต่ปัจจุบันจะเหลือการละเล่นเพียงแค่ นางด้งเท่านั้น แต่บางปีก็จะมีการละเล่น นางหัวควาย นาไซ นางข้อง บ้างแต่ก็ไม่ค่อยนิยม ที่นิยมมากและก็จะเล่นสืบต่อกันมาตลอดคือ นางด้ง จะเล่นกันตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ และอีกอย่างที่คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังให้คือ

  ที่การละเล่นทั้งหลายที่กล่าวมานี้ช่วงหลังๆ จนถึงปัจจุบันไม่ได้เล่น ก็เพราะว่าคนไม่เหมือนแต่ก่อนและก็ปากคนไม่เหมือนแต่ก่อนและก็ปากคนไม่เหมือนสมัยก่อนไม่ค่อยรักษาขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม บางครั้งชอบพูดจาไม่เป็นมงคล ตามคำเชื่อถือจึงทำให้ ผี สาง เทวดา ไม่ทรงลงมาประทับเข้าทรง การละเล่นเหล่านี้จะเล่นกันในเวลากลางคืนยกเว้นวันพระ และจะเล่นกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์และวันสงกรานต์ของชาวบ้านชมพูจะเล่นกันทั้งหมด 7 วัน วันสุดท้ายของวันสงกรานต์คือวันที่ 19 เมษายน จะมีพิธีรดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่และสรงน้ำพระ จะทำสืบต่อกันมาทุกปี


  การละเล่นที่กล่าวมาก็จะเล่นกันมากในสมัยก่อนเพราะสมัยก่อนไม่มีดนตรี ก็จะมีแต่เพลงพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านตอนกลางวันเล่นกันที่ลานวัด พอกลางคืนก็จะเล่นการละเล่นดังที่กล่าวมาข้างต้นที่ลานกลางบ้านซึ่งเป็นศูนย์กลางหรือบริเวณที่มีพื้นที่กว้างขวางเหมาะที่จะเล่นด้วยคนจำนวนมากๆ

  การละเล่นนางด้ง จะเล่นสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันและจะเล่นกันทุกปี เป็นการเล่นที่ทุกเพศทุกวัยชอบได้รับความสนุกสนานถึงจะเจ็บตัวกันเป็นแถวๆ แต่ก็ไม่มีใครว่าอะไรกัน นางด้งจะมีคนเข้าทรงครั้งละ 2 คน เป็นผู้หญิง เมื่อเข้าทรงได้แล้วจะถือกระด้งเป็นอาวุธคอยเฝ้าสาก (จากการสอบถามคนเข้าทรงหลังจากออกจากทรงแล้วคนเข้าทรงเล่าว่าจะชาที่ช่วงแขนเหมือนมีอะไรบังคับซึ้งตัวเองก็ไม่รู้เหมือนกัน และจะรู้สึกหวงสากมากที่สุด เพราะสากที่วางอยู่คู่กันจะเห็นเป็นทองคำ เมื่อมีใครเข้ามาจะเอาสากก็จะไล่ตี) 


  ส่วนคนที่ไม่ได้เข้าทรงก็คือคนดูไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงจะเข้าไปแย่งสาก เมื่อมีคนเข้ามาแย่งสากก็จะถูกนางด้งไล่ตี บางคนหลบไม่ดีถูกตีหัวแตกก็มี บางคนก็แขน ขา หน้าถลอกเป็นแผลก็มี แต่ก็ไม่มีใครถือโทษโกรธอะไรเพราะเป็นการละเล่นมีแต่เสียงหัวเราะ เสียงฮา อยากมีความสุขสนุกสนานบางครั้งถ้าไม่เข้าไปแย่งสากก็จะเข้าไปฟ้อนรำหรือถามหาคู่ว่าอยู่ทิศใด นางด้งก็จะชี้และก็รำกับคนเข้าไปรำด้วย เวลานางด้งจะออกจากการทรงก็จะโยนหรือวางกระด้งที่ถือหงายขึ้นถ้ากระด้งคว่ำจะต้องหงายใหม่เพราะไม่อย่างนั้น ผีสาง เทวดา ไม่ยอมออก พอนางด้งออกจากร่างทรงก็จะเริ่มทำพิธีบวงสรวงอัญเชิญเข้าทรงอีก 

  ก็จะมีกลุ่มคนคอยเคาะไม้ไผ่เป็นจังหวะและก็จะร้องเพลงของนางด้งไปด้วย อีกกลุ่มก็จะไปยืนมุงดูการทรงล้อมวงและก็ร้องเพลงนางด้งไปด้วย จะมีคนคนเฒ่าผู้สูงอายุเป็นคนคอยเซ่นบวงสรวงเจ้าลงมาประทับเข้าทรงนางด้ง นางด้งเข้าหรือไม่เข้าดูได้จากกระด้งที่คนเข้าทรงจับกระด้งเริ่มสั่นก็แสดงว่าเจ้าเริ่มเข้าประทับทรงคนดูคนเชียร์ก็จะเร่งจังหวะร้องเพลงให้เร็วขึ้นพอเข้าเสร็จวงก็จะแตกฮือออกจากบริเวณนั้นเพราะกลัวถูกตี คืนหนึ่งก็จะเล่นกันประมาณ 2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับคนเข้าทรงว่ามีเยอะหรือน้อย และขึ้นอยู่กับคนเล่นและคนดูว่าเล่นกันสุภาพหรือไม่ ถ้าเล่นกันไม่ดีไม่สุภาพก็จะเลิกเล่นกันทันที และจะเล่นกันจนครบ 3 วัน และคนเฒ่าคนแก่ยังบอกอีกว่าคนที่จะเข้าทรงนั้นต้องเป็นคนขวัญอ่อน จิตอ่อน ถึงจะเข้าทรงได้


ความสำคัญ การเล่นนางด้ง เป็นพิธีการขอฝนพิธีหนึ่งของชาวชมพู ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนทุกวันนี้

สาระ การประกอบพิธีการเล่นนางด้งเป็นการแสดงออกถึงความร่วมมือ ร่วมใจ ความสามัคคีปรองดองและเป็นการแก้ปัญหาของท้องถิ่นร่วมกัน

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
อ้างอิงจาก npnfe.wordpress.com

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณี งานนมัสการหลวงพ่อปานและแข่งเรือพาย


อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เตรียมจัดงานนมัสการหลวงพ่อปาน ประจำปี 2555 เพื่อสืบสานงานประเพณีท้องถิ่นที่ดีงาม
กำหนดจัดงานนมัสการหลวงพ่อปาน ประจำปี 2555 ระหว่างวันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2555 ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โดยงานนมัสการหลวงพ่อปานอำเภอบางบ่อ เป็นงานประเพณีของอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ที่จัดต่อเนื่องมากว่า 80 ปี เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้มานมัสการและปิดทองรูปหล่อหลวงพ่อปาน ซึ่งเป็นพระอริยะสงฆ์ที่ยึดมั่นเคร่งครัดทางพระธรรมวินัย เป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังทางวิปัสสนากรรมฐาน ยึดมั่นทางธุดงค์ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวอำเภอบางบ่อและใกล้เคียง นอกจากนี้ยังเป็นการน้อมรำลึกถึงคุณงามความดี และวัตรปฏิบัติอันดีงามของท่าน เมืองครั้งยังอยู่ในเพศบรรพชา จนกระทั่งมรณภาพ ถือว่าเป็นการสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมพื้นบ้าน จึงได้ยึดวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปีเป็นวันเริ่มงาน สำหรับงานในปีนี้ตรงกับวันที่ 21 พฤศจิกายน 2555 เป็นวันเริ่มงาน ภายในงานยังมีการจัดแสดงมหรสพต่างๆ เช่น ดนตรี ลิเก ลำตัด การแข่งขันเรือพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้าน

หลวงพ่อปาน เกิดที่ตำบลบางเหี้ย ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อ พ.ศ. 2368 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บิดาเป็นคนจีนไม่ทราบชื่อ มารดาเป็นคนไทยชื่อ นางตาล เมื่อวัยเยาว์หลวงพ่อปานได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอรุณราชวราราม จนครบอายุอุปสมบทที่วัดอรุณราชวราราม เป็นเวลาพอสมควรจึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดมงคลโคธาวาส (วัดบางเหี้ย) อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาหลวงพ่อปานได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น ”พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ” หลวงพ่อปานมรณภาพเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2453 สิริอายุได้ 86 พรรษา

คำสอนหลวงพ่อปาน "ไม่เกิดต้องทำอย่างไร"

ทีนี้คนที่จะไม่เกิดต้องทำอย่างไร มันทำไม่ยาก ทำง่าย ๆ คือ

๑. รักษาศีลให้บริสุทธิ์ คนรักษาศีลน่ะเป็นคนดี ไอ้คนไม่มีศีลน่ะเป็นคนระยำ จำไว้ให้ดี ถ้าเราอยากจะเป็นคนดี เราต้องเป็นคนมีศีล ถ้าเรายังปฏิบัติศีลไม่ได้ ให้รู้ตัวว่าเราระยำเต็มทีแล้ว เลวเต็มทีแล้ว ให้รู้ตัวไว้ อย่าเป็นคนเข้าข้างตัว จงเป็นคนรู้ตัวดีกว่าคนเข้าข้างตัว

๒. รักษาสมาธิให้ตั้งมั่น ซึ่งเป็นของที่ไม่ต้องลงทุน

๓. ปลงสังขาร ไว้ว่า โลกทุกโลกเป็นแดนของความทุกข์ สังขารทุกสังขารเป็นดินแดนของความทุกข์ เราจะเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เทวดาก็ดี พรหมก็ดี ก็ไม่พ้นทุกข์

ถ้าเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม ก็ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉาน เราไม่ต้องการโลกทั้ง ๓ ประการ และไม่ต้องการอะไรทั้งหมด ขึ้นชื่อว่ามนุษยโลกก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี ไม่ใช่สิ่งที่เราปรารถนา สิ่งที่เราปรารถนาจริงๆ ก็คือ พระนิพพาน ภาวนาไว้ว่า สิทตะมหานิพพานัง หรือ นิพพานัง เฉยๆ ก็ได้ นึกไว้ว่า นิพพานๆ เราต้องการพระนิพพานโลกนี้ทั้งหมดเราไม่ต้องการอะไร ความรัก ความเกลียด ความโกรธ ความเร่าร้อน เราถือเป็นของธรรมดา อะไรจะมากระทบกระทั่ง นั่นถือเป็นเรื่องธรรมดา เราจะเปลื้องสมบัติสภาวการณ์ต่างๆ ของโลกให้สิ้นไป

เราอยู่กับโลก เราจะอาศัยโลกและสมบัติของโลกชั่วคราว เมื่ออัตตภาพมีอยู่ เมื่อความสิ้นไปแห่งอัตตภาพมีเมื่อไหร่ เมื่อนั้นแหละเราจะไปพระนิพพาน

ที่มา : FB ศูนย์พุทธศรัทธา

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย ปีใหม่ม้ง

ประวัติย่อ
   ประเพณีไทย ปีใหม่ม้ง ที่หมู่บ้านของชาวไทยภูเขาเผ่าม้งประเพณีปีใหม่ของพวกเขาตรงกับ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะเวลาระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปี ซึ่งในวันปีใหม่นี้ของชาวม้งจัดเป็นงานประเพณีที่ชาวม้งรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ เนื่องจากจะเป็นการพบปะกันระหว่างกลุ่มญาติมีประเพณีขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์และผู้อาวุโส เป็นวันที่หนุ่มๆสาวๆในหมู่บ้านจะได้เลือกคู่ มีการจัดการแข่งขันกีฬาประเพณีและการละเล่นต่างๆ เช่น ลูกข่าง ลูกช่วง และยังมีการแข่งขันล้อเลื่อนไม้ชิงแชมป์ประเทศไทยซึ่งเป็นกีฬาที่ท้าทายน่าสนใจเป็นอย่างมาก แต่นอกการละเล่นที่สร้างความสนุกสนานแล้วชาวม้งก็ไม่ลืมที่จะทำพิธีกรรมต้อนรับปีใหม่ซึ่งจัดเป็นพิธีกรรมที่ชาวม้งให้ความสำคัญกันมากโดยมี 4 อย่างดังนี้ วันดา วันขึ้นปีใหม่, วันที่สาม, วันที่สี่, การแข่งขันล้อเลื่อนไม้,

วันดา
   หรือ แรม 12 ค่ำ เดือน 1 ชาวม้งจะมีการเตรียมต้อนรับปีใหม่โดยทุกบ้านจะทำความสะอาดบ้านโดยใช้ใบไผ่กวาดบ้านเพื่อเอาสิ่งไม่ดีไปกับปีเก่า และจะมีพิธีเรียกขวัญโดยนำไก่ต้มสุก 1 คู่ มาทำพิธีบนแท่นบูชา โดยระหว่างงานปีใหม่นี้จะจุดธูปหรือตะเกียงไว้กลางบ้านตลอด แต่ละแซ่จะสอนสิ่งดีๆให้กับลูกหลาน ระหว่างที่สอนจะนำเม็ดข้าวโพดใส่ในกระด้งแล้วโยกไปมา ทุกวันของวันปีใหม่จะมีการจัดเลี้ยง แต่วันดาจะเป็นวันที่ดื่มเหล้ากันมากที่สุด กลางคืนของวันดานี้ทุกคนจะเฝ้ารอเสียงสัตว์ร้อง เพราะเสียงสัตว์ร้องเสียงแรกจะถือเป็นเวลาที่เริ่มต้นของวันปีใหม่ ถ้าเป็นเสียงไก่ร้องจะถือว่าดีที่สุด ทันทีที่ได้ยินเสียงสัตว์ร้องเสียงแรก ผู้ชายของทุกบ้านจะยิงปืนต้อนรับปีใหม่ และในเวลา 01.00 น. จะเทภาชนะที่บรรจุน้ำภายในบ้านทิ้งและตวงน้ำใส่ใหม่ ผู้หญิงจะเริ่มตำข้าวหุงข้าวเพื่อเตรียมเลี้ยงงานปีใหม่


ปัจจุบันชาวม้งได้เลื่อนการจัดปีใหม่ม้งไม่มีวันที่แน่นอน บางปีจัดวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 บางปีจัดวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 2 หรือบางปีจัดตรงกับปีใหม่สากลซึ่งก็คือวันที่ 1 มกราคม แต่ละปีจะจัดไม่เหมือนกันเพราะวิถีชีวิตและการดำรงชีพเริ่มแตกต่างไปจากเดิม

วันขึ้นปีใหม่
  (ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ) ในวันนี้จะมีการละเล่นในหมู่บ้าน เช่น การเล่นลูกข่าง ซึ่งจะแข่งขันกัน ใครตีได้แม่นหรือลูกข่างหมุนได้นานก็จะเป็นฮีโร่ของงาน 

   นอกจากนี้วันนี้จะเป็นวันที่หนุ่มสาวจะเลือกคู่กันโดยใช้วิธีโยนลูกช่วง โดยหนุ่มๆสาวๆก็จะแต่งกายด้วยชุดสวยงาม ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายทำลูกช่วงซึ่งทำจากผ้าเป็นลูกกลมๆและวานให้เพื่อนหญิงหรือจะเป็นหญิงที่แต่งงานแล้วเป็นผู้นำลูกช่วงของตนไปมอบให้กับชายหนุ่มที่ตนพึงพอใจ และหญิงสาวที่ทำหน้าที่เป็นแม่สื่อนี้จะบอกกับชายหนุ่มว่าลูกช่วงนั้นเป็นของหญิงสาวคนใดเพื่อที่ชายหนุ่มจะได้นำลูกช่วงนี้ไปโยนหรือขว้างเล่นกับหญิงสาวผู้เป็นเจ้าของลูกช่วงต่อไป หรือหากผู้ชายหมายตาหญิงสาวคนใดไว้ก็จะไปขอโยนลูกช่วงด้วย ถ้าฝ่ายหญิงไม่พอใจก็จะไม่โยนด้วย ระหว่างที่ชายหนุ่มหญิงสาวโยนลูกช่วงก็จะพูดจาจีบกันในเวลานี้ ในส่วนใหญ่แล้วคู่โยนลูกช่วงจะมีการสู่ขอแต่งงานกันหลังงานปีใหม่ (ตามประเพณีเดิมแล้วถ้าผู้ชายพอใจก็จะฉุดหญิงสาวไปด้วยเลยแล้วค่อยมาทำการสู้ขอในภายหลัง) และวันนี้ในแต่หลังคาเรือนก็จะจัดเลี้ยงแขกที่เข้าไปเยี่ยมในบ้านซึ่งจะมีการตั้งวงร่ำสุรา ตามธรรมเนียมของชาวม้งแล้วจะมีการต้มเหล้าข้าวโพดเตรียมไว้สำหรับฉลองเทศกาลปีใหม่นี้ 

   ใครที่มีฝีมือดีก็จะต้มเหล้าได้ใสเป็นตาตั๊กแตน ผู้เขียนเคยได้ลองชิมเหล้าข้าวโพดนี้แล้วบอกได้เลยว่าทั้งหอมหวานรสชาดสู้กับเหล้าฝรั่งได้เลย ส่วนความแรงนั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะเวลาที่ดื่มเข้าไปนั้นก็ทราบทันทีเลยว่าเหล้าได้เดินทางไปถึงส่วนไหนของทางเดินอาหารแล้วประกอบกับความหวานของเหล้านั้นทำให้ดื่มได้เรทื่อยๆ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็เมาไปซะแล้ว 

ธรรมเนียมการนั่งในวงสุราจะนั่งตามผู้อาวุโส ผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าจะนั่งทางด้านซ้ายมือของผู้ที่อาวุโสกว่า หากเราจะไปร่วมวงการร่ำสุรานี้ก็ต้องถามจากเขาก่อนว่าเราสามารถนั่งได้ตรงไปไหน ด้านหลังของวงเหล้าจะมีผู้ทำหน้าที่รินเหล้าหนึ่งคน จอกเหล้าสองจอก โดยจะเริ่มดื่มจากผู้อาวุโสที่หัวแถวก่อนแล้ววนไปทีละ สองจอกจนครบเก้ารอบ รอบสุดท้ายจะเป็นจอกใหญ่กับจอกเล็กเรียกว่าแม่วัวกับลูกวัว ทุกคนในวงต้องดื่มให้หมดเพื่อเป็นการให้เกียรติเจ้าบ้าน ถ้าใครดื่มไม่ไหวก็ต้องให้คนในครอบครัวมายืนข้างหลังคอยช่วยดื่ม

วันที่สาม
   (ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 1) เป็นวันที่จะไปดำหัวผู้เสียชีวิตไปแล้วที่หลุมศพ และถือเป็นวันสุดท้ายของปีใหม่ ไก่ที่ต้มไว้วันแรกต้องกินให้หมดวันนี้และดับธูปหือตะเกียงที่จุดไว้ตลอดปีใหม่

วันที่สี่
   เป็นวันที่ส่งผีกลับ ในตอนเช้าจะต้มไก่ใหม่ไว้บนโต๊ะ ผู้นำครอบครัวทำพิธีปล่อยผีกลับและบอกไว้ว่าถ้ามีอะไรจะเรียกผีนี้กลับมาช่วย ในหมู่บ้านชาวม้งบางหมู่บ้านจะมีต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้านเรียกว่า ดงเซ้ง ซึ่งต้องดูแลให้ดี หากไม่เช่นน้นจะทำให้เกิดเหตุร้ายขึ้นได้ 

และในวันที่สี่นี้หมู่บ้านที่มีดงเซ้งก็จะเข้าไปทำความสะอาดและพิธีที่ดงเซ้งนี้เพื่อขอพรให้อยู่ดีมีสุขก็เป็นหลังจากที่ทำพิธีกรรมทั้งหมดที่เล่ามานี้ ก็มาถึงการละเล่นพื้นบ้านที่สนุกสนานต่างๆของม้งที่มีมากมาย เช่น การตีลูกข่าง การยิงหน้าไม้ การหาบน้ำ การฝัดข้าว การโยนไข่ การประกวดแม่บ้านสมบูรณ์ การโยนลูกช่วงหรือประเพณีเกี้ยวสาวที่กล่าวไปข้างต้น แต่ที่เป็นไฮไลท์สุดก็ต้องเป็นกีฬาแข่งขันล้อเลื่อนไม้หรือโกคาร์ทชาวเขานั่นเอง

การแข่งขันล้อเลื่อนไม้ [ย่อ]
  ล้อเลื่อนชาวเขานี้ถือว่าเป็นภูมิปัญญาของชาวเขามาหลายชั่วอายุคนแล้ว โดยเหล่าชาวเขาได้คิดค้นพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ในปัจจุบันล้อเลื่อนไม้นี้ถูกแทนที่ด้วยรถยนต์และจักรยานยนต์ไปแล้ว เหลือแต่การละเล่นและแข่งขันกันเพื่อความสนุกสนาน จากการแข่งขันกันใหม่หมู่เพื่อนฝูงก็กลายมาเป็นการแข่งขันกันระหว่างหมู่บ้านและมีทีท่าว่าจะขยายไปเรื่อยๆ เนื่องจากในปีนี้จะเห็นได้ว่าได้มีผู้สมัครแข่งขันจากหลากหลายที่ เช่น ชาวเขาจากดอยเต่า ดอยสุเทพ ดอยปุย นอกจากนี้แล้วก็ยังมีนักแสดงชื่อดังมาร่วมแข่งขันด้วย เช่น ลิฟท์, เจี๊ยบ ชวนชื่น, เอิร์ท ณัฐนันท์, อาจารย์ธัญธีรา ยิ้มอำนวย หัวหน้าภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิถีชีวิตและประเพณีปีใหม่ของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง


ล้อเลื่อนไม้สำหรับบรรทุกวัตถุดิบสำหรับดำรงชีวิตจากป่าหรือโกคาร์ทชาวเขานั้น จัดได้ว่าเป็นภูมิปัญญาในการปรับตัวสอดคล้องกับวิถีชีวิต แสดงให้เห็นถึงดูแลครอบครัวของฝ่ายชายซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำและเป็นผู้ไปหาเลี้ยงครอบครัว นอกจากนี้ก็ยังแสดงให้เห็นถึงสังคมที่พึ่งพาอาศัยกันอีกด้วย ล้อเลื่อนไม้จึงเป็นเหมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชนซึ่งอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์กับธรรมชาติและมีขอบเขตจำกัดไม่สะสมมากเกินพอ และยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจแบบพึ่งพาอาศัยไม่แสวงหากำไร อีกทั้งการแข่งขันล้อเลื่อนไม้นี้ก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรม เป็นกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กัน ความเท่าเทียมกันทางสังคมอีกด้วย”

อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมประเพณีบางอย่างก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่วันนี้การแข่งขันล้อเลื่อนไม่เพียงเป็นกีฬาที่สร้างความสัมพันธ์และอนุรักษ์วัฒนธรรมระหว่างชาวม้งได้เป็นอย่างดี ทั้งยังคงสร้างความสนุกสนานระหว่างชาวบ้านที่แข่งกับคนดูซึ่งเป็นชาวเขาในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวที่มาจากทั่วสารทิศอีกด้วย และการแข่งขันนี้เชื่อไหมว่าเป็นการแข่งขันที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกอีกด้วยเพราะการแข่งขันนี้ได้ลงข่าวในช่อง ESPN ซึ่งเป็นช่องข่าวกีฬาชื่อดังของโลกอีกด้วย หากใครสนใจจะไปเที่ยวงานปีใหม่ชาวม้งนั้นคงต้องดูปฏิทินกันล่วงหน้าก่อน เพราะเขากำหนดวันขึ้นปีใหม่กับแบบข้างขึ้นข้างแรมกันโดยจะอยู่ในช่วงราวเดือนธันวาคม-ต้นเดือนกุมพาพันธ์ของทุกปี ซึ่งก็สามารถสอบถามข้อมูลล่วงหน้าจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
  ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก http://th.wikipedia.org
    ขอบคุณภาพจาก อินเตอร์ ค้นหาโดย Google
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย แห่พระแข่งเรือ ขึ้นโขนชิงธง


ช่วงเวลาที่จัด
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี

เอกลักษณ์ของประเพณี 
เป็นการแห่พระและจัดแข่งเรือโดยผู้ชนะการแข่งขันต้องขึ้นโขนชิงธงขณะเรือเข้าเส้นชัย

พิธีกรรม
การแข่งเรือ ของอำเภอหลังสวน เป็นประเพณีที่ดำเนินการสืบทอดมายาวนาน ซึ่งเริ่มมาจากการแข่งเรือระหว่างวัดต่าง ๆ ในงานออกพรรษาของทุกปี โดยมีการวางกติกา สำหรับเรือที่ชนะว่า ก่อนการเข้าเส้นชัย นายหัวเรือต้องปีนขึ้นหัวเรือ ซึ่งเรียกว่า โขนเรือ เพื่อไปหยิบธงที่ผูกไว้ ณ เส้นชัย การผูกธงจะใช้เรือโป๊ะลอยลำกลางแม่น้ำ และใช้สมอช่วยในการทรงตัวของเรือให้นิ่ง ธงชัยนั้นจะมีการนำท่อเป๊ปสอดที่ข้างเรือให้มีความยาวเสมอกัน จุดต่อของท่อจะผูกด้วยด้าย ซึ่งผู้แข่งขันต้องกระชากธงให้ขาด ถ้าเรือถึงเส้นชัยโดยไม่ได้ธงจะถือว่าแพ้ หรือ นายหัวเรือขึ้นชิงธงแต่ตกน้ำก็ถูกจับแพ้เช่นกันแม้ว่าเรือจะถึงเส้นชัยก่อน จากกติกาที่กำหนดให้เรือที่ชนะต้องปีนขึ้นหัวเรือทำให้เรือที่เข้า แข่งขันต้องใช้ไม้ที่เบาและเหนียว หัวเรือที่นิยมทำจะใช้ไม้กำจัด เพื่อไม่ให้หัวเรือหนักเวลาต้องวิ่งขึ้นไปกระตุกธงขณะเข้าเส้นชัย เรือที่ใช้ในการแข่งขัน ไม่จำกัดความยาวของเรือ แต่กำหนดจำนวนฝีพายไม่เกิน ๓๒ ฝีพาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรือจากวัดต่าง ๆ ในการจัดแข่งขันกรรมการจัดงานจะต้องติดต่อมาที่วัด เพื่อเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน และเปิดรับสมัครจากภายนอกเช่นเดียวกับการรับสมัครแข่งขันกีฬาทั่ว ๆ ไป 



ประเภทของการแข่งเรือมี ๒ ประเภทคือ ประเภท ก เป็นการแข่งเรือจากทุกจังหวัดเพื่อชิงรางวัลคือโล่ห์พระราชทาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนประเภท ข เป็นการแข่งขันเฉพาะเรือในจังหวัดชุมพร เพื่อชิงรางวัลเป็นขันน้ำพานรองจากนายกรัฐมนตรี การถือครองรางวัลมีเงื่อนไขว่า เรือที่ชนะเลิศสามารถครอบครองโล่ห์หรือถ้วยรางวัลเป็นเวลา ๑ ปี และต้องส่งคืนในวันงานของปีต่อไป แต่ถ้าสามารถชนะเลิศได้ ๓ ปีซ้อน ผู้จัดงานจะมอบโล่ห์จำลองให้ไปครอบครองแทน โดยไม่ต้องส่งคืน ที่มาของโล่ห์รางวัล ได้มาจากการขุนชัด รัตนราช ขณะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด (เคยเป็นข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท เมื่อเสด็จประทับที่ภาคใต้) ขอพระราชทานรางวัลในงานดังกล่าว
ส่วนการประกวดเรือประเภทสวยงาม รางวัลที่ได้คือโล่ห์พระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตพระบรมราชินีนาถ นอกจากโล่ห์แล้วยังมีการมอบเงินสดเป็นรางวัล และเงินช่วยเหลือเรือที่ร่วมแข่งขัน ซึ่งได้จากการประมูลให้เช่าพื้นที่จำหน่ายสินค้า ระหว่างการจัดงาน


ผู้ประกอบพิธี ประกอบด้วย
(๑)คณะกรรมการผู้จัดการ เดิมเป็นความรับผิดชอบของนายอำเภอ ต่อมาได้มอบให้เทศบาลเป็นผู้จัดและมีคณะกรรมการร่วมดำเนินการ ปัจจุบันผู้รับผิดชอบในการจัดประเพณีนี้ คือ จังหวัด โดยให้อำเภอหลังสวนเป็นผู้รับผิดชอบ 
(๒) ผู้เข้าร่วมแข่งขัน 
(๓) ผู้ชมการแข่งขัน 

สถานที่จัด
ในระยะแรก ๆ จัดกันที่วัดขันเงิน โดยเริ่มจากการแห่พระคือการลากพระ ชักพระ เป็นการใช้เรือขนาดเล็ก ร่วมพิธีเพื่อพายแข่งกันชิงข้าวต้ม (ข้าวเหนียวห่อ) และปรับเปลี่ยนใช้เรือพายขนาดใหญ่ขึ้นพร้อมทั้งเคลื่อนย้ายไปจัดที่แม่น้ำหลังสวนบริ
เวณหน้าเทศบาล ซึ่งมีร่องน้ำลึก และสายน้ำตรง จุดปล่อยเรือจะอยู่ใกล้สะพานข้ามแม่น้ำ ส่วนเรือตัดสิน หรือ เรือชิงธง อยู่ห่างจากจุดปล่อยประมาณ ๕๐๐ เมตร ลงไปทางใต้ สำหรับเวลาจัดงาน หรือ ระยะการแข่งขัน ปัจจุบันใช้เวลา ๔ วัน

การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย
มีการเปลี่ยนแปลงกติกาบางประการโดยผลการประชุมของคณะกรรมการจัดงาน ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงได้แก่ การห้ามเรือเล็กเข้าใกล้บริเวณเรือแข่งขัน จากเดิมที่เคยมีการอนุญาต ให้ร่วมเพื่อสังสรรค์ร่วมกันได้ และมีการกำหนดจำนวนฝีพายให้มีจำนวนไม่เกิน ๓๒ ฝีพาย เพิ่มจากเดิมที่ใช้ฝีพายจำนวน ๑๙ คน ในตำบลหาดยายมีเรือดังกล่าว ๒ ลำ คือเรือนางยวน และเรือมะเขือยำ (ปัจจุบันใช้เป็นเรือนำขบวนพาเหรด เพราะเป็นเรือเก่าแก่ของอำเภอหลังสวนที่ใช้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ)

รูปแบบของการแข่งเรือ จะถูกกำหนดโดยคณะกรรมการจัดงาน ดำเนินงานหาเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเปิดรับสมัครเรือที่เข้าแข่งขัน และมีขบวนแห่ที่มีทั้งพาเหรดทางบก และพาเหรดทางน้ำ ขบวนแห่จะอัญเชิญโล่ห์พระราชทานเป็นต้นขบวน ลักษณะของขบวนพาเหรดทางน้ำ ประกอบด้วยขบวนที่มีการตกแต่งอย่างสวยงาม จัดให้มีการประกวดเรือประเภทต่าง ๆ เช่น ประเภทสวยงาม ประเภทความคิด ประเภทตลกขบขัน และมีการประกวดมารยาทเรือ ซึ่งพิจารณาจากการเข้าร่วมแข่งขันตลอดรายการ
 

นอกจากนี้ ยังมีการประกวดนายหัวเรือดีเด่น เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติลุกได้เร็ว ขึ้นโขนเร็ว ไม่ผิดพลาด และไม่ใช่กลอุบายหลอกเรือคู่แข่ง
งานประเพณีแข่งเรือหลังสวน เป็นกิจกรรมที่ต้องจัดขึ้นในทุกปี




บอกเล่าเรื่องราวโดย
ชื่อ นายสมเจตน์ เขียวสม 
เกิด วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ 
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๖ หมู่ ๔ ตำบลหาดยาย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 
การศึกษา มัธยมปีที่ ๖ วิชาชีพครู ครูพิเศษมัธยม 
อาชีพ ทำสวน 
สถานภาพ แต่งงาน 
ชาติพันธุ์ ไทย 
ภาษา ไทย (ท้องถิ่นใต้) 
วันที่ให้สัมภาษณ์ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๑

ข้อมูลอ้างอิงจาก culture.go.th/pculture/chumphon


ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย ค้ำโพธิ์ค้ำไทร


  ความเชื่อเรื่องประเพณีค้ำโพธิ์ ค้ำไทร เมื่อคนป่วย มีอาการนอนไม่หลับ ผอมเหลือง ทำงานไม่ได้ ปวดหัวตัวร้อนตลอดเวลาต้องพึ่งพระ ให้จัดหาไม้คูณ ไม้ยอ ถากกลบเท่า ประมาณขาของคนป่วย ยาวประมาณ 1-2 วา

  เมื่อถึงวันพระ 15 ค่ำ กลางเดือน นำดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู บุหรี่ ข้าวตอกดอกไม้ นำผู้ป่วยไปจัดเพื่อประกอบพิธี นิมนต์เจ้า อาวาส พร้อมลูกวัด 4 รูป ร่วมพิธีรับศีล ชุมนุมเทวดา

  ประกาศรุกขเทวดารักษาต้นโพธิ์ ต้นไทร ขอให้อาการป่วย บรรเทาต่ออายุให้ยืนยาว แล้วนำไม้เสานั้นค้ำโพธิ์ ค้ำไทร พระสงฆ์สวดอนุโมทนา ผู้ป่วยกรวดน้ำ

  ความเชื่อเรื่องประเพณีสูตรธาตุ-ชะตา เมื่อมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย นอนอาการหนักจนผู้มีความรู้เห็นว่าชะตาถึงฆาต ดวงชะตาขาด ควรสูตรชะตา ซึ่งใช้ภาชนะสองอัน ภาชนะ อันหนึ่งใช้ดินเหนียวทำเป็นเจดีย์เล็ก ๆ สูงแค่ศอกคนป่วย

  รอบเจดีย์บนภาชนะนั้น เจดีย์เล็ก ๆ อีก 9 อัน รอบเจดีย์ใหญ่นำไม้ไผ่ยาวแค่ศอกเท่าอายุคนป่วย กรรไกรตัดกระดาษ เป็นธงสามเหลี่ยมติดปลาย ไม้ไผ่ มัดเรียงที่ยอดเจดีย์ ทำธงเล็กเท่าอายุ

  ภาชนะอันที่สองนั้นเอามัดธงกระดาษ และมัดธงเหล็กนั้นเอาตั้งไว้บนภาชนะ ตัดกระบอกไม้ไผ่ยาวเท่านิ้วชี้มีรูหลวมนิ้วชี้ผู้ป่วย 5 อัน อันหนึ่งเอาถ่านไฟใส่ให้เต็ม อัน ที่สองยัดนุ่นให้เต็ม อันที่สามใส่ดินให้เต็ม อันที่สี่ใส่น้ำให้เต็มเป็นเครื่องหมายธาตุ คือ

  น้ำ ไฟ ลม มัดติดกับเสาธงกระดาษและธงเหล็กบนภาชนะ กระบอกไม้ไผ่อันที่ 5 ใช้ตวงข้าวสารเท่าอายุผู้ป่วย ใส่ขันหรือกะละมังไว้แล้วเย็บกระทงตองกล้วยเท่ากำมือผู้ป่วย 5 อัน ใส่ข้าวตอกกระทงหนึ่ง ใส่ดอกบานไม่รู้โรยกระทงหนึ่ง ใส่ข้าวเปลือกกระทงหนึ่ง ใส่ถั่วงากระทงหนึ่งใส่เมี่ยงหมากกระทงหนึ่ง วางบนภาชนะรอบเสาธง เทียนยาวรอบหัว เทียนสูงแค่หัว วัดจากสะดือผู้ป่วยถึงลูกกระเดือก เทียนเล่มบาท 1 คู่ ขัน 5-8 ปัจจัยเท่าอายุ

  พอถึงตอนเย็นแบกไปที่วัดถวายเจ้าอาวาส พระสงฆ์ 4 รูป จะนำไปสวดในพระอุโบสถสวดเสี่ยงทายอยู่ 3 วัน 3 คืน หลังทำวัตรสวดมนต์เย็นแล้ว ผู้ป่วยชะตาขาดธาตุ สูญตวงข้าวสารในกระบอกไม้ไผ่เท่าอายุ ชะตาผู้ป่วยยังไม่ขาดธาตุยังไม่สูญ ข้าวสารที่ตวงเท่าอายุนั้นเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยต้องหายแน่

  ถ้าข้าวสารในกระบอกขาดไปจัดแจงสวด ตามกำลังวัน ตวงดูยังขาดอย่างเดิม ผู้ป่วยไปไม่รอดแน่ คืนที่สองสวดอีกตวงข้าวสารแล้วมีข้าวสารเพิ่มขึ้นเหนือกระบอกโดยลำดับผู้ป่วยหายแน่ เช่น

  พิธีตัดกรรม-ตัดเวร คนไข้เจ็บป่วย อัมพาต ป่วยมานานจนลุกเดินไปไหนมาไหนไม่ได้ ชาวอีสาน เกิดจากกรรมเวรในชาติก่อนหรือชาตินี้ตามสนอง จึงต้องได้รับ ความทุกข์ทรมาน ผู้ที่มีความรู้ก็จะจัดแจงแต่งเครื่องตัดกรรมตัดเวร มีหม้อแกง 4 หม้อ เครื่องหมายธาตุ 4 มีคาวหวาน ห่อพริก ห่อเกลือ ห่อปลาร้า ปลาเค็ม บุหรี่ตัว หมากคำ เงินสตางค์ห่ออันละนิดใส่ลงในหม้อ ทั้งสี่หม้อเหมือนกันหมด ด้ายสายสิญจน์ 4 เส้นยาว 2 วามีดน้อย 4 ดวง ขัน 5-8 หมาก พลู บุหรี่ถวายพระ

  พอถึงตอนเย็นนำไปที่วัดพร้อมเชิญคนป่วยไปด้วย คนป่วยใส่ล้อหรือนั่งเก้าอี้หามไปที่ต้นโพธิ์ นิมนต์พระสงฆ์นั่งทิศตะวันออกต้นโพธิ์ ให้คนป่วยนั่งหรือนอนอยู่ตรงกลาง ตั้ง หม้อในทิศทั้ง 4 ด้วยสายสิญจน์ผูกปากหม้อ พระสงฆ์ทั้ง 4 รูป จับด้ายสายสิญจน์ ไหว้พระรับศีลอาราธนาพระสงฆ์สวดตัดกรรม-ตัดเวร สวดตามกำลังวัน


  พิธีการแต่งบูชาพระเคราะห์แห่งปี ชาวอีสานถือเป็นประเพณีประจำครอบครัว ในเรื่องการประกอบสัมมาอาชีพ การป่วยไข้ หมอชาวบ้านจะแนะนำให้แต่งบูชา พระเคราะห์ ประเภทแก้พระเคราะห์บูชาโรค การบูชาพระเคราะห์ในบ้านเรือนครอบครัวจะมีความสุข เจ็บไข้ได้ป่วยป้องกันอันตราย ความเดือดร้อนในการครองเรือน โชค ร้ายจะหายไป จะได้โชคลาภ ป้องกันอันตราย ความเดือดร้อนในการครองเรือนโชคร้ายจะหายไปจะได้โชคลาภ

  หมอแต่งบูชานพเคราะห์นุ่งขาวห่มขาว จุดธูปเทียน บูชาพระรัตนตรัยชุมนุมเทวดา ใช้ใบตองกล้วยสดปู จึงเอากระทงบูชานพเคราะห์วางบน เจ้าชะตามานั่งตรงหน้า ประกาศบอกเทวดา บอกชื่อเจ้าชะตามีความเคารพพรหมชาติชะตาของตน แต่งเครื่องบูชาพระนพเคราะห์บูชาพระเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะ

  ขอเชิญพระนพเคราะห์คือ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุทธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหูและพระเกตุ จงมารับเครื่องสักการะของเจ้าชะตา อันมีมา ในทักษาและมหาทักษา อีกทั้งพระมฤตยูผู้เป็นใหญ่ใน 12 ราศี อันเจ้าชะตานี้สักการะบูชาพระรัตนตรัยได้จัดลงใส่ในกระทงคาวหวานเป็นอเนกประการ

  ขอความสวัสดีมีชัยในลาภข้าวของเงินทองอันเนืองนอง จงมีแก่เจ้าชะตาเจริญรุ่งเรืองทุกเมื่อเทอญ พิธีสูตรขวัญก่อง การเจ็บป่วยของชาวอีสานได้ใช้พระพุทธศาสนาเข้าช่วย ผู้ป่วยที่กินไม่ได้นอนไม่หลับ ฝันร้ายตลอดเวลาขวัญหนีดีฝ่อ ร่างกายผอมเหลือง

  ซึ่งญาติพี่น้องจะนิมนต์ให้พระสงฆ์ สอดขวัญก่องให้ด้วยการหาก่องข้าวสูงแค่ศอก ผู้ป่วย ผู้ป่วยเป็นผู้ชายจัดเอาหวี แป้งหอม น้ำหอม ผ้าเช็ดหน้า แหวน กระจกเงา เครื่องแต่ง ตัว ของผู้ชายใส่ลงในก่องข้าว พร้อมทั้งเขียนชื่อผู้ป่วยและปัจจัยเท่าอายุ เทียนรอบหัว เทียนยาวแค่ตัววัดแค่สะดือถึงลูกกระเดือก ผ้านุ่ง ผ้าอาบของผู้ป่วยใส่ภาชนะขัน 5-8 ดอก ไม้ธูปเทียนข้าวตอก หมากพลู บุหรี่

นำไปถวายเจ้าอาวาส ถ้าเป็นผู้หญิงป่วยให้แต่งเครื่องผู้หญิง มีช่องหวี สร้อยคอ กำไลมือ กระจอนหู ต่างหู แป้งหอม น้ำหอม และ เขียนชื่อผู้ป่วยใส่ลงในก่องข้าว

  นอกนั้นเหมือนกันกับของผู้ชาย พอถึงเวลาเย็นนำไปวัดเจ้าอาวาสรู้แล้วพอถึงเย็นทำวัตรสวดมนต์ก่อนจำวัตรเจริญภาวนา จะนำก่องข้าวมาตรวจดู วางภาชนะเสื้อผ้าชิดก่อง ข้าว จุดธูปเทียน ชุมนุมเทวดาประกาศให้รู้ว่าคนป่วยชื่อนั้น ไม่สบายเป็นไข้ นำก่องข้าวมาให้ข้าสวดมงคลเรียกขวัญ ขวัญคนชื่อนี้ไปเที่ยวที่ใด จงมาลงในก่องข้าวนี้

  ขณะที่สวดให้เปิดฝาก่องข้าวไว้ ห้ามพูดกับใคร จำวัตรเลย คืนแรกฝันดีห้ามเอาคืนที่สองสวดอีกเหมือนเดิมห้ามพูด จำวัตรเลย มีนิมิตดีฝันดีไม่ต้องเอา คืนที่สามให้ สวดเหมือนเดิม คืนนี้เป็นคืนสุดท้าย สุบินนิมิตจะฝันดีเหมือนคืนที่แล้วมา เวลาประมาณตี 4 หรือตี 5. ลุกขึ้นให้ปิดฝาก่องข้าว ปิดให้แน่นห้ามเปิด

  พอถึงตอนเย็นพระผู้สวดนั้นถือก่องข้าวและภาชนะผ้าเข้าไปในบ้านเรือนของคนป่วย ห้ามใช้พระรูปอื่นแทน ทำพิธีเอาก่องข้าวและภาชนะไว้ใต้แขนประมาณ 30-40 นาที

  จึงเอาด้ายผูกข้อมือคนป่วยและลูกเมียในครอบครัว ฮายความส่งบัตรพลี กระทงหน้าวัว กระทงกาบกล้วยพร้อมทั้งบัตรพลี เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วจะนำไปไว้ที่ต้นโพธิ์หรือทาง 4 แพร่ง คนป่วยจะจัดสิ่งของบูชาหมอตามประเพณี

  ความเชื่อเป็นเรื่องของความรู้สึกและจิตใจ อาจจะมีเหตุผลหรือไม่มีซึ่งเกิดจากการยอมรับภายในจิตสำนึกของมนุษย์ในด้านนั้น ๆ แม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้ก็ตาม แต่ความเชื่อก็ยังสืบต่อกันมาแฝงอยู่ในวิถีชีวิตของชาวอีสาน

  ความเชื่อก็ได้เกิดขวัญกำลังใจในภาระหน้าที่การงาน ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ความสามัคคีในหมู่คณะ ความร่วมมือร่วมใจทำงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานก่อให้เกิดปัญญา ความคิดค้นหาเหตุผล

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ข้อมูลอ้างอิงจาก kku.ac.th ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย จีน แห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพ

  
  มีงานประเพณีที่สำคัญของท้องถิ่นที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาของชาวปากน้ำโพ เพื่อเป็นการเคารพสักการะเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ มีความเป็นมาดังนี้คือ เมื่อประมาณ ๗๐ กว่าปีที่ผ่านมาได้เกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) ขึ้น ชาวบ้านปากน้ำโพได้รับความเดือดร้อน เจ็บป่วยล้มตายกันมาก สมัยนั้น การแพทย์ยังไม่เจริญเหมือนกับปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อความอยู่รอด จึงได้มีชาวบ้านเข้าไปบนบานกับเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ให้ช่วยรักษาให้พ้นจากโรคร้าย 

  เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ได้ช่วยเหลือโดยการเข้าร่างผู้ที่เป็นร่างทรง และ เขียนยันต์หรือที่ชาวจีนเรียกว่า ฮู้ เผาไฟใส่น้ำ ให้ชาวบ้านดื่มกิน เป็นที่อัศจรรย์โรคร้ายหายไป ชาวบ้านอยู่กันอย่างมีความสุข ความเจริญยิ่งขึ้น จึงเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไปถึงความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ดังนั้น ชาวตลาดปากน้ำโพจึงได้มีการร่วมแรงร่วมใจกันจัดประเพณี การแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพขึ้นโดยจัดให้มีขบวนแห่เจ้า เป็นขบวนใหญ่โตมโหฬาร
  เช่นขบวนของเจ้าแม่กวนอิม โดยการคัดเลือกสาวงามที่มีคุณสมบัติ ให้เป็นตัวแทนของเจ้าแม่กวนอิม ขบวนเองกอ ล่อโก้ว ขบวนนางฟ้า สาวงามถือธง เด็กหญิงน้อย ๆ หาบกระเช้าดอกไม้ การเชิดสิงโต ของสมาคมต่าง ๆในจังหวัดนครสวรรค์ ขบวนอัญเชิญเจ้าและผู้เข้าทรง บางปีก็มีการลุยไฟ และขบวนที่ขาดเสียไม่ได้และเป็นจุดเด่นของงานทุกปี ก็คือ ขบวนแห่มังกร ซึ่งการเชิดมังกรทองที่จังหวัดนครสวรรค์มีชื่อเสียงมากในด้านความสวยงาม และการแสดงที่ตื่นเต้นเร้าใจ

  ตรุษจีนนั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณี และพิธีกรรมความเป็นมาของการฉลองตรุษจีน นั้นมีมานานกว่าศตวรรษ จริงๆแล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลอง เป็นเวลานานถึง 15 วัน การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อน วันตรุษจีน (คล้ายกับวันคริสต์มาสของประเทศตะวันตก)เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ 

ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูก ทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่าง หน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูก ประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืนเป็นต้น วันก่อนวันตรุษจีนนั้นเป็นวันแห่งการการรอคอย จะว่าไปถือวันที่น่าตื่นเต้นมากที่สุด ในบรรดาการฉลองทั้งหมดเห็นจะได้ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆกัน


  อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรือง และความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสด จะนำมาซึ่งโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึง บรรพชนอวยพร และเป็นธรรมดาเสื้อผ้าที่ใส่สีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคลเป็นการไล่ปีศาจร้ายให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาว เป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้า เพื่อรอวันใหม่ โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง เมื่อถึงวันตรุษจีน ประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อังเปา ซึ่งหมายถึง กระเป๋าแดง เป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง 


หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว ต่าง ออกมาเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ เริ่มจากญาติๆ แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับ การที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป) ในวันตรุษนี้ อารมณ์โมโห โกรธาจะถูกลืม และไม่สนใจ การฉลองวันตรุษจีนสิ้นสุดลงในงานโคมไฟ ซึ่งฉลองโดยการร้องเพลง เต้นรำ และงานแสดงโคมไฟ ถึงแม้ว่าการฉลองวันตรุษจีน จะมีแตกต่างกันออกไปแต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การอวยพร ความสงบ และความสุขให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนทุกคน

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ขอบคุณข้อมูลจาก
- prapayneethai.com 
- student.nu.ac.th/rachida
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย สรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย


พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งของจังหวัดลำพูน เป็นจอมเจดีย์องค์หนึ่งในจำนวน 8 แห่งของประเทศไทย เป็นเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สร้างในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชพระบรมธาตุหริภุญชัยเป็นศูนย์รวมความศรัทธาของประชาชนโดยทั่วไป ประเพณีสรงน้ำธาตุ เป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ เป็นที่สนใจของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียง ประเพณีนี้ยึดถือและปฏิบัติมาเป็นประจำทุกปี


วัตถุประสงค์ของประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย มีดังนี้
1.เพื่อเป็นการสักการะพระบรมธาตุ ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ของวัดพระบรมธาตุหริภุญชัย และนับเป็นโบราณสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาวลำพูนและชาวพุทธทั่วไป
2.เพื่อสักการะพระบรมอัฐิธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
3.เพื่อเป็นการบูชาเสาหลักเมือง ทั้งนี้เพราะประชาชนลำพูนถือว่าเจดีย์พระบรมธาตุหริภุญชัยเป็นเสาหลักเมืองทำพิธีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัยจึงได้ทำบุญเสาหลักเมืองลำพูนด้วย


กิจกรรมสำคัญ ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย กำหนดจัดขึ้น ณ วัดพระบรมธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เหนือ หรือที่ชาวเหนือเรียกว่า " วันแปดเป็ง " (ระหว่างเดือนพฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของภาคกลาง) หรือ" วันวิสาขบูชา " กิจกรรมที่จัดขึ้น มีทั้งพิธีราษฎร์และพิธีหลวง มีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้

พิธีราษฎร์ เริ่มเวลาประมาณ 07.00 น. คณะศรัทธาประชาชนร่วมประกอบพิธีทำบุญตักบาตรเวลา 11.00 น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ประจำวิหารทั้งสี่ทิศ คือ พระวิหารหลวง วิหารพระละโว้ วิหารพระเจ้าทันใจและวิหารพระพุทธ พระสงฆ์อนุโมทนาเป็นเสร็จพิธีราษฎร์

พิธีหลวง เริ่มเวลาประมาณ 13.00 น. คณะข้าราชการในจังหวัดลำพูนนำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นำขบวนแห่น้ำสรงพระราชทาน เครื่องสักการะ ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ธูปเทียนของหลวง ผ้าห่มพระธาตุสีแดง ยาวประมาณ 1 เมตร และน้ำศักดิ์บนดอยคะม้อ เริ่มขบวนแห่จากศาลากลางจังหวัดเข้าสู่วัดพระบรมธาตุหริภุญชัยการประกอบพิธีสรงน้ำพระบรมธาตุเริ่มพิธีทางศาสนาอัญเชิญน้ำสรงพระราชทาน น้ำศักดิ์สิทธิ์จากดอยคะม้อชักรอกขึ้นสรงน้ำพระบรมธาตุ พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญชัยมงคลคาถา โดยมีพราหมณ์ 8 คน ประจำอยู่บนเจดีย์พระบรมธาตุ หลังจากนั้นจึงเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปนำน้ำขมิ้นส้มป่อยขึ้นสรงน้ำโดยวิธีชักรอบเช่นกัน เวลาประมาณ 17.00 น. เป็นเสร็จพิธีหลวง


อนึ่ง หลังจากเสร็จพิธีสรงน้ำพระราชทานและน้ำศักดิ์สิทธิ์แล้ว จะมีขบวน "ครัวทาน"จากหัววัดต่างๆ แห่เข้าสู่บริเวณพิธีเพื่อนมัสการและสักการะพระบรมธาตุ ทั้งนี้ขบวน " ครัวทาน" จะตกแต่งเป็นเรื่องทางพระพุทธประวัติหรือมหาชาติที่ให้ข้อคิดคติธรรม ในขบวนจะประกอบด้วยขบวนตุง ธงทิว การแสดงศิลปพื้นบ้าน การบรรเลงดนตรีพื้นเมืองที่ครึกครื้นสนุกสนานและให้ความบันเทิงแก่ผู้ร่วมพิธี

ในภาคกลางคืน เริ่มเวลาประมาณ 18.00 น. พระสงฆ์ประมาณ 20 รูป พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชน ประกอบพิธีเวียนเทียนประทักษิณองค์พระบรมธาตุ 3 รอบและพระสงฆ์แยกย้ายเข้าประจำพระวิหารทั้ง 4 ทิศ เพื่อเจริญพระพุทธมนต์ แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์สวดเบิกวิหารละ 4 วาร (วาระ) เป็นเสร็จพิธี


คำบูชาพระบรมธาตุหริภุญชัย สุวัณณะเจติยัง หะริภุญชะยัฏฐัง วะระโมลีธารัง อุรัฏฐิเสฏฐรัง สะทะอังคุลีฏฐัง
กัจจายะเนนตินะ ปัตตะปูรัง สีเสนะมัยหัง ปาณะมามิธาตุง อะหังวันทามิสัพพะทา

ข้าพเจ้า ขอเอาเศียรเกล้าของข้าพเจ้า นอบน้อมพระธาตุ อันเป็นเจดีย์ทอง ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหริภุญชัย คือ พระอัฏฐิเบื้องพระทรวงอันประเสริฐ กับทั้งพระอัฏฐิพระองคลี และพระธาตุย่อยเต็มบาตรหนึ่ง อันพระกัจจายะนะนำมา ข้าพเจ้าขอวันทาในกาละทุกเมื่อแล

ขอบคุณข้อมูลจาก  baanjomyut.com
ขอบคุณภาพสวยๆ จาก facebook.com/tatchiangmai.fanpage

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}