ประเพณีไทย ลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัด.สุโขทัย


ประวัติความเป็นมา เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทง เริ่มมีมาแต่ สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าว ศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่า พิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีปและนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสอง มาใช้ใส่เทียนประ ทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอน ต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของ ไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ" ประเพณีลอยกระทงนั้นมีมาแต่โบราณ โดยมีคติความเชื่อหลายอย่าง เช่น เชื่อว่าเป็นการบูชาและขอขมา แม่พระคงคาเป็นการสะเดาะเคราะห์ เป็น การบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น การลอยกระทงนิยมทำกัน ในวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกๆ ปี อันเป็นช่วงที่น้ำในแม่น้ำลำคลองขึ้นสูง


ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง

  • เป็นการขอขมาพระแม่คงคาที่มนุษย์ได้ใช้น้ำได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่ น้ำ
  • เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมม ทานที ในประเทศอินเดีย
  • เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
  • ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่าพระอุป คุตทรงสามารถปราบพระยามารได้
ประวัติความเป็นมาประเพณีลอยกระทง

    ลอยกระทง (Loi Krathong Day) เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบ ต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทง เริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน 11 ถึง กลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมาก คือ ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะ อาดแสงจันทร์ส่องเวลากลางคืนเป็น บรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่ การลอยกระทง
 เดิมพิธีลอยกระทง เรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคมลอยโคม ซึ่ง เป็นพิธีของพราหมณ์เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระ นารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอิน เดีย
    ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญ โดยเฉพาะ ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง และประกวดธิดางาม ประ จำกระทงด้วย




    การลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง ในเดือน 12 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วยและดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะ อธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวัง พร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคาตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวด กระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้กระทงควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย ตามธรรมชาติ



ข้อมูลอ่างอิง thaigoodview.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย หมั้นและแต่งงาน


การแต่งงานแบบไทย เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีไทยของ คนไทย ที่ถือปฏิบัติกันมาช้านาน ซึ่งควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามครรลองเพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิตต่อไป โดยที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงนั้นจะต้องรักใคร่ชอบพอกันในระยะเวลาที่เหมาะสม และเมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงปลงใจที่ใช้ชีวิตคู่ด้วยกันแล้ว เบื้องต้นฝ่ายชายจะต้องเป็นผู้บอกกับพ่อแม่ตนให้รับทราบ เพื่อจะได้ดำเนินการให้พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่นับถือมาทาบทามสู่ขอหรือหมั้น หมายฝ่ายหญิงจากพ่อแม่ก่อนที่จะแต่งงานกัน...
หมั้นและแต่งงาน
หมั้นและแต่งงาน


การทาบทามหรือที่เรียกว่า 'พิธีการสู่ขอ'
ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้มาสู่ขอตามประเพณี คือ เฒ่าแก่ เพราะ ในอดีตหญิงชายนั้นไม่มีโอกาสที่จะคบหาศึกษาดูใจกันก่อน แต่จะอาศัยเฒ่าแก่ หรือผู้ใหญ่ที่นับถือเข้าไปทาบทาม โดยส่วนใหญ่แล้วเฒ่าแก่นั้นจะมีฐานะดี มีผู้ให้ความเคารพนับถือ หรือมีหน้ามีตาในสังคม และเป็นที่รู้จักของพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายด้วย เพราะจะเป็นผู้รับรองในคุณสมบัติของฝ่ายชาย ซึ่งหากฝ่ายหญิงไม่มีทีท่ารังเกียจ และการเจรจาผ่านพ้นไปด้วยดี ฝ่ายชายก็จะสานความสัมพันธ์กับฝ่ายหญิงต่อ หลังจากนั้นจะมีการตกลงในเรื่องของสินสอดทองหมั้น และหาฤกษ์ยามในการจัดพิธี ซึ่งในขั้นตอนนี้ฝ่ายหญิงจะขอวันเดือนปีเกิดของฝ่ายชายไว้ด้วย และถ้าหากฝ่ายหญิงต้องการปฏิเสธการสู่ขอของฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงอาจจะนำเรื่องดวงชะตามาเป็นข้ออ้างได้ว่า ดวงไม่สมพงศ์กัน เพื่อเป็นการรักษาน้ำใจของฝ่ายชายนั่นเอง

แจ้งผลการทาบทาบ สู่ขอ
เมื่อการเจราจาเรื่องสินสอดทองหมั้น และการหาฤกษ์ยามในการจัดพิธีเป็นได้ด้วยดี เฒ่าแก่จะเป็นผู้แจ้งข่าวแก่ฝ่ายชาย และดำเนินการพูดคุยเพื่อเตรียมการ เช่น ขบวนขันหมาก ของที่ต้องใช้ในการจัดพิธี รวมไปถึงเรื่องของจำนวนคน แขกฝ่ายชายที่จะมารวมเป็นสักขีพยาน ควรเลี้ยงดูปูเสื่อเป็นอย่างดี ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญไม่ควรให้ขาดตกบกพร่อง เพราะถือเป็นธรรมเนียมไทยที่ยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างช้านาน

เรือนหอรอรัก
ในสมัยก่อนฝ่ายชายต้องทำการปลูกเรือนหอใน พื้นที่ของฝ่ายหญิง เพราะ"ต้องแต่งเขยเข้าบ้าน" ดังนั้น เรือนหอจึงควรให้เสร็จก่อนถึงพิธีแต่งงาน แต่ในปัจจุบันหากเรือนหอยังไม่พร้อม อาจจะมาอาศัยอยู่บ้านของพ่อแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก่อนก็ได้ แล้วแต่จะ ตกลงกัน

การหมั้นหมาย
หลังจากที่มีการเจรจาสู่ขอเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในบางครั้งผู้ใหญ่ก็จะให้หมั้นหมายไว้ ก่อนสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยจัดงานแต่งงานกันในภายหลัง  เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายได้ศึกษานิสัยใจคอกันให้มากขึ้น โดยจะมีการกำหนดฤกษ์ยาม และสินสอดทองหมั้น หรือที่เรียกว่า "ขันหมากหมั้น" โดยผู้ใหญ่ฝ่ายชายจะเป็นผู้นำของหมั้นมา และแจกแจงของที่นำมาว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งฝ่ายหญิงก็จะนำไปไว้ที่ตัว ในสมัยก่อนทางบ้านฝ่ายหญิงต้องเตรียมพานหมากพลูไว้ต้อนรับทางฝ่ายชายด้วย แต่เดี๋ยวนี้ไม่นิยมกินหมากจึงละไว้ ไม่จำเป็นต้องเตรียม

สินสอดทองหมั้น หรือของหมั้น
สินสอดทองหมั้นถือเป็นหน้าเป็นตาของทางฝ่ายหญิง ส่วนใหญ่จะเรียกเป็นทองคำ จึงเรียกติดปากว่า ทองหมั้น  ซึ่งปัจจุบันนี้หันมานิยมเพชร เพราะล้ำค่า เปรียบประหนึ่งว่า 'เธอนั้นคือคุณค่าทางจิตใจอันสูงส่งสำหรับฉัน นั่นเอง 

ทั้งนี้ ตามประเพณีแล้วของหมั้นจะตกเป็นของเจ้าสาว และจะนำมาประดับร่างกายในพิธีวันแต่งงาน นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเงินสินสอดและผ้าไหว้ ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของพ่อแม่ โดยถือเป็นค่าเลี้ยงดูหรือค่าน้ำนม นั่นเอง

กำหนดฤกษ์ยามการหมั้นหมาย
การกำหนดฤกษ์ยามถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด โดยมากการกำหนดฤกษ์ยามในการหมั้นนั้น นิยมกำหนดในช่วงเช้าก่อนเที่ยง ซึ่งการกำหนดฤกษ์ จะมีตั้งแต่ฤกษ์ขันหมาก ฤกษ์หมั้น สู่ขอ ฤกษ์รดน้ำ  รวมถึงทิศทางที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวควรจะนั่ง  ส่วนฤกษ์ปูที่นอน เรียงหมอน และส่งตัว จะดูทั้งวันเดือนปีเกิดที่สมพงศ์กันของคู่แต่งงาน

คนไทยนิยมแต่งงานเดือนคู่ตามปฏิทินจันทรคติ ยกเว้นเดือน 12 เพราะถือว่าเป็นเดือนที่สัตว์มีคู่ วันสิบสองค่ำทั้งข้างขึ้นและข้ามแรม ตามตำราโบราณห้ามแต่งเพราะถือว่าเป็น "วันจม" วันอังคารและวันเสาร์ถือเป็น "วันแรง" วันพุธถือเป็นวันนามไม่ดี ส่วนวันพฤหัสบดีตามตำราฮินดูแล้วถือว่าเป็นวันไม่ดี เพราะลูกสาวพฤหัสบดีแต่งงานแล้วไปมีชู้ วันศุกร์นั้นเป็นวันที่เหมาะจะแต่งงานเพราะเสียงไปพ้องกับคำว่า "สุข"  แต่ปัจจุบันนี้หลายคู่ถือเอา "ฤกษ์สะดวก" เป็นสำคัญ



ขันหมากหมั้น
ตามธรรมเนียมไทย ขันหมากและทองหมั้น เฒ่าแก่หรือพ่อแม่ฝ่ายชายจะเป็นคนนำไปมอบให้ฝ่ายหญิง ซึ่งตอนแต่งควรเป็นเฒ่าแก่คนเดียวกันกับคนที่ไปทำการทาบทาม สู่ขอ โดยเฒ่าแก่ขันหมากหมั้นนั้น นิยมใช้คู่สามีภรรยาที่เป็นคนดี มีคนนับหน้า ถือตา มีบุตรหลานที่เชื่อฟัง และทั้งคู่ก็อยู่กินกันมานาน เป็นการถือเคล็ดในการใช้ชีวิตคู่ ขันหมากโดยมากจะใช้เป็นขันเงิน ขันทอง ขันนาก ขันถมตามแต่ฐานะ

สิ่งที่ต้องเตรียมในขันหมากหมั้น
ใช้หมากดิบทั้งลูก 4 ผล หรือ 8 ผล แต่ควรเป็นคู่ไม่ต้องเฉาะ หรือเฉือน และใช้ปูนแดงป้ายที่เปลือกหมากเล็กน้อยทุกลูก และใช้ใบพลู 4 เรียง หรือ 8 เรียงก็ได้แต่ต้องเป็นคู่ โดยใช้ปูนแดงแต้มที่โคนของใบพลูทุกใบ แล้ววางเรียงเป็นวงรอบๆ ในขัน ก้นขันหมากจะบรรจุข้าวเปลือก ถั่วเขียว ข้าวตอก และงาดำ อย่างละ 1 ถุง เป็นเคล็ดให้คู่รักมีความเจริญงอกงาม

ขันสินสอด หรือขันหมั้น
ภายในนั้นมีเงิน ทอง ของหมั้น หรือค่าสินสอดตามที่ตกลงไว้ ซึ่งอาจจะใส่เศษเงินเพิ่มเข้าไปเป็นการถือเคล็ดในเรื่องของความงอกเงย ผลิดอกออกผล นอกจากนี้ยังใส่ใบเงิน ใบทอง ใบนาก ใบแก้ว ใบรัก และเย็บถุงแพรเล็กๆใส่ข้าวเปลือก ถั่วงา ลงไปด้วย โดยใช้ผ้าแพรคลุมไว้อีกชั้น

ดอกไม้ธูปเทียน
ใช้ธูปแพร เทียนแพร ดอกไม้ (จะเป็นดอกอะไรก็ได้) ใส่ไว้ในกระทงกรวยปิด ตั้งไว้บนธูปแพรเทียนแพรอีกที

ผ้าไหว้
มี 2 อย่าง คือ ผ้าไหว้พ่อแม่และผู้มีพระคุณ ถ้าผู้ไปไหว้เป็นผู้หญิงให้ใช้ผ้าลาย กับผ้าแพรห่ม หรือว่าจะเป็นผ้าไหมก็ได้ ถ้าเป็นผู้ชายนิยมผ้าม่วงนุ่ง กับผ้าขาวม้า ส่วน ผ้าไหว้ผี ควรเป็นผ้าขาวเพื่อไปเย็บเป็นสบงหรือจีวรสำหรับถวายพระ  ทั้งนี้ ผ้าไหว้ทั้งสองชนิดจะจัดใส่พานแยกกัน

เครื่องขันหมาก
จะประกอบด้วยขนมและผลไม้ บางครั้งอาจมีสุรา หรือยาเซ่นสำหรับไหว้ผีบรรพบุรุษรวมอยู่ด้วย

การจัดขบวนขันหมากหมั้น
โดยมากมักใช้ลูกหลานเป็นผู้เชิญขั้นหมากไปยัง บ้านเจ้าสาว เพราะการเชิญขั้นหมาก สินสอด หรือผ้าไหว้ถือเป็นเกียรติ เมื่อมอบหมายหน้าที่แล้วก็จัดเข้าขบวนออกจากบ้านฝ่ายชาย ไปยังบ้านฝ่ายหญิงให้ตรงกับฤกษ์พอดี โดยมากมักเป็นตอนเช้าเช่นเดียวกับฤกษ์หมั้น คนเชิญดอกไม้ธูปเทียนเป็นผู้นำขบวน ต่อด้วยคนถือขันหมาก ขันสินสอด ตัวเฒ่าแก่ และผ้าไหว้ (บ้างก็ให้ขันหมากเดินนำหน้า)

โดยมากมักเป็นลูกหลานของฝ่ายหญิง ทำหน้าที่ถือพานหมากออกมารับ ในพานจะมีหมากพลูที่เจียนและจีบเป็นคำๆ ใส่ไว้เป็นจำนวนคู่ พอขันหมากหมั้นมาถึง เด็กจะส่งพานหมากพลูให้กับเฒ่าแก่ฝ่ายชาย เมื่อเฒ่าแก่ฝ่ายชายรับแล้วก็จะให้เงินเป็นของขวัญ พร้อมทั้งคืนพานหมากให้ด้วย หลังจากนั้นก็จะเข้าไปยังสถานที่ซึ่งทำพิธีหมั้น ฝ่ายหญิงจะคอยต้อนรับ 

ความสุขสนุกสนานในช่วงนี้จะอยู่ที่ขบวนขัน หมาก กล่าวคือมีการ กั้นประตูเงินประตูทอง ของทางฝ่ายหญิง ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นลูกหลานของฝ่ายหญิง โดยนำเอาเข็มขัดหรือสร้อยเงินมากั้นขบวนไว้ไม่ให้ผ่านเข้าไปได้ง่ายๆ เฒ่าแก่ฝ่ายชายจะต้องแจกซองที่เตรียมไว้ให้เป็นรางวัลก่อนจึงจะผ่านได้ โดยประตูท้ายๆ มักจะใช้ทองหรือเพชรกั้น ค่าผ่านทางจึงต้องเพิ่มสูงตามลำดับ อาจมีการหยอกล้อระหว่างญาติฝ่ายหญิงและขบวนของฝ่ายชาย สร้างความครึกครื้นเป็นยิ่งนัก

ปัจจุบันพิธีหมั้นมักตัดขั้นตอนของขบวนขัน หมากออกไป เหลือเพียงการนำสินสอดของหมั้นฝ่ายหญิง และมีการเลี้ยงฉลองกันในหมู่ญาติ พิธีหมั้นอาจจัดควบคู่กับพิธีสู่ขอ หรืออาจจัดในช่วงเช้าของวันแต่งงานเลยก็ได้ แต่คู่รักสมัยนี้นิยมการหมั้นแล้วแต่งเลย เพราะถือเป็นวิธีที่สะดวกที่สุดในการเตรียมงาน

ฤกษ์ยามการแต่งงาน
ในสมัยก่อนเดือนที่นิยมจัดพิธีแต่งงาน ได้แก่ เดือน 6 เดือน 9 เดือน 10 เดือน 2 และเดือน 4 แล้วแต่ความเหมาะสม เพราะเชื่อถือว่าเป็นเดือนคู่ บางทีก็แต่งงานเดือน 9 ถือเคล็ดเรื่องความก้าวหน้า เนื่องจากคำว่า "เก้า" กับ "ก้าว" ออกเสียงใกล้เคียงกัน เดือนที่นิยมแต่งงานมากที่สุดคือ เดือน 6 เพราะเริ่มเข้าสู่หน้าฝน อาจเพราะมีบรรยากาศที่โรแมนติก นั่นเอง ส่วนเดือนที่ไม่นิยมจัดพิธีแต่งงานคือ เดือน 12 เพราะเป็นช่วงเดือนคู่ของสัตว์

เป็นการแสดงความคารวะนบนอบต่อบิดามารดา และบรรดาญาติผู้ใหญ่ เงินที่ได้จากพิธีรับไหว้ถือว่าเป็นเงินทุนให้แก่คู่บ่าวสาวอีกด้วย เหมือนกับพิธียกน้ำชาในการแต่งงานของคนจีน ถ้าผู้รับไหว้เป็นบิดามารดา หรือผู้หลักผู้ใหญ่ เจ้าบ่าวเจ้าสาวจะกราบลงพร้อมกันสามครั้ง แต่หากเป็นญาติคนอื่นๆ ก็จะกราบหนึ่งครั้ง โดยไม่ต้องแบมือ แล้วส่งพานดอกไม้ธูปเทียนให้พ่อแม่รับไว้ หลังจากนั้นท่านก็จะให้ศีลให้พรแก่ทั้งคู่  แล้วหยิบเงินรับไหว้ใส่ในพาน หยิบด้ายมงคลหรือสายสิญจน์เส้นเล็กๆ ผูกข้อมือให้คู่บ่าวสาว แสดงการรับไหว้ หลังจากทำพิธีรับไหว้เสร็จ ต่อจากนั้นพ่อแม่และญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่าย ที่มีความประสงค์จะมอบเงินเพิ่มทุนให้แก่คู่บ่าวสาว ก็จะใส่เพิ่มตามความพอใจ ต่อจากนั้นจึงนำถั่วงา และแป้งประพรมพร้อมอวยพร

คู่บ่าวสาว...ทำบุญตักบาตร
การตักบาตรสมัยก่อนจะให้คู่บ่าวสาวตักคนละ ทัพพี แต่ปัจจุบันนิยมให้ตักทัพพีเดียวกัน เชื้อว่าตักบาตรพร้อมกันต่อไปชาติหน้าจะได้เกิดมาคู่กันอีก นอกจากนี้ ยังมีความเชื่ออีกว่าการตักบาตรของคู่บ่าวสาวถ้าผู้ใดจับที่ยอดหรือคอทัพพี ผู้นั้นจะได้เป็นใหญ่เหนือกว่าคู่ของตน วิธีแก้เคล็ดให้ผลัดกันจับที่คอทัพพีก็จะไม่มีใครเหนือกว่าใคร คู่บ่าวสาวอาจมีการตักบาตรร่วมกันอีกครั้งหลังจากวันแต่งงาน แต่ต้องทำติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 วัน 7 วัน หรือ 9 วัน เพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิตคู่

หมั้นและแต่งงาน

รดน้ำสังข์...วันแห่งความสุข
เป็นการอวยพรความสุขให้คู่บ่าวสาว โดยพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่จะรดน้ำสังข์ให้ เจ้าสาวก่อน แล้วจึงรดให้เจ้าบ่าว ส่วนการเจิมหน้าผากนั้น พระผู้เป็นประธานจะทำการเจิมให้แก่บ่าวสาว ซึ่งฝ่ายชายนั้นพระท่านสามารถที่จะทำการเจิม 3 จุดได้โดยตรง แต่สำหรับฝ่ายหญิง พระท่านไม่สามารถถูกเนื้อต้องตัวได้ จึงต้องจับมือฝ่ายชายเจิมหน้าผากให้เจ้าสาวของตน หลังจากนั้นจึงทำมงคลแฝดสวมให้คู่บ่าวสาวคนละข้าง มีสายโยงห่างกันประมาณ 2 ศอกเศษ เพื่อความสะดวก และส่วนปลายของมงคลจะโยงมาพันที่บาตรน้ำมนต์ ส่วนหางสายสิญจน์พระสงฆ์จะส่งกันไปเป็นทอดๆโดยจับไว้ในมือ จนถึงพระองค์สุดท้ายก็จะวางสายสิญจน์ไว้ที่พาน หากเป็นการรดน้ำตอนเย็นจะเป็นมงคลแฝดแบบไม่มีสายโยง คู่บ่าวสาวต้องนั่งในที่จัดไว้ ซึ่งจะมีหมอนสำหรับรองรับมือ และพานรองน้ำสังข์ ส่วนเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะยืนให้กำลังใจอยู่ข้างหลัง จากนั้นญาติผู้ใหญ่ก็จะทยอยกันมารดน้ำสังข์ตามลำดับ ในสมัยก่อน หลังจากพิธีรดน้ำสังข์เสร็จสิ้นลงเรียบร้อยแล้ว หากฝ่ายใดลุกขึ้นยืนก่อน ฝ่ายนั้นจะเป็นผู้ที่อยู่เหนือกว่าคู่ครองของตน เช่น ถ้าเจ้าสาวลุกขึ้นก่อนก็ว่ากันว่า สามีจะกลัว

การเลือกเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาว
เชื่อกันว่า... ควรเลือกที่อายุน้อยหรือใกล้เคียงกับคู่บ่าวสาว และควรมีโครงการจะแต่งงานเร็วๆ นี้ เพราะหากว่าเป็นคนโสด อาจจะต้องกลายเป็นเพียงเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวกันไปตลอด ไม่มีโอกาสได้เป็นเจ้าบ่าวเจ้าสาวตัวจริงกันเสียที แต่ความจริงแล้วน่าจะเป็นกุศโลบายที่ผู้ใหญ่ต้องการให้ผู้ที่ใกล้แต่งงานได้ ดูขั้นตอนการแต่งงาน เมื่อถึงคราวตนเองจะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องและไม่เคอะเขินนั่นเอง

งานเลี้ยงงานสมรส
โดยคู่บ่าวสาวและพ่อแม่ทั้งสองฝ่าย ขึ้นกล่าวขอบคุณแขกที่มาร่วมแสดงความยินดีในงาน โดยพิธีกรจะบอกถึงความเป็นมาของคู่บ่าวสาว และพูดหยอกล้อกัน อาจมีการหอมแก้ม การร้องเพลงร่วมกัน หลังจากนั้นคู่บ่าวสาวจะเดินไปตามโต๊ะ เพื่อขอบคุณแขกและแจกของชำร่วย รวมทั้งถ่ายรูปเป็นที่ระลึกด้วยเช่นกัน

คู่บ่าวสาวเข้าห้องหอ
ก่อนเข้าห้องหอนั้นจะมีการ ดูฤกษ์ทำพิธี จัดแจงปูที่นอน จัดหมอน พอถึงฤกษ์เรียงหมอนผู้ทำพิธีฝ่ายชายก็จะล้มตัวลงนอนทางด้านขวา ฝ่ายหญิงนอนทางซ้าย เป็นการเอาเคล็ดให้แคล้วคาดปลอดภัย

ส่วนการส่งตัวเจ้าสาวพ่อแม่ฝ่ายหญิงจะนำเจ้า สาวมาส่งให้กับเจ้าบ่าว จากนั้นก็ฝากฝังให้ช่วยดูแล สำหรับการทำพิธีปูที่นอน มีสิ่งของมงคลอันควรนำมาวางไว้บนที่นอน ได้แก่

- กลีบดอกกุหลาบ บานไม่รู้โรย ดอกรัก กลีบบัว ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ทั้งคู่รักกันมากขึ้น

- ฟักเขียว มีหมายความว่า จะได้เย็นเหมือนฟัก มีความอดทนอดกลั้นต่อกัน

- หินบดยา สื่อหมายความว่า จะได้มีความหนักแน่น

- แมวสีขาว ให้หมายความว่า จะได้อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
อ้างอิงข้อมูลโดย weddingmakmy.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย ทำบุญ ตักบาตร ถวายสังฆทาน


การตักบาตร
  
    การทำบุญตักบาตร คือ การนำอาหารคาวหวานที่เตรียมไว้ นำไปใส่บาตรพระหรือเณรที่ออกมาบิณฑบาตในตอนเช้า คือ เวลาประมาณ 6 โมงเช้า ถึงเวลาประมาณ 7 โมงครึ่ง อาหารที่เตรียมมาใส่บาตรคือข้าวที่หุงสุกใหม่และกับข้าว อาหารคาว รวมถึงของหวาน หรือผลไม้ อาจจะเตรียมดอกไม้ ธูป เทียน ด้วยก็ได้
         
               เมื่อพระมาถึงก็นิมนต์ท่านให้หยุด และท่านก็จะเปิดฝาบาตรให้ใส่อาหารหรือของที่เตรียมมาลงในบาตร ดอกไม้ ธูป เทียน จะถวายวางลงบนฝาบาตรที่ปิดแล้วหรืออาจจะใส่ในย่ามก็ได้ พระจะกล่าวให้ศีล ให้พรเป็นอันเสร็จ


         
      การถวายสังฆทาน เป็น " ประเพณีไทย " ที่ทำกันมาตั้งแต่อดีตจนถึง ณ วันนี้
        
              สังฆทาน คือ การถวายของแก่พระโดยไม่เจาะจงพระ การถวายสังฆทานหลักสำคัญอยู่ที่การไม่เจาะจงผู้รับว่าชื่อนั้นชื่อนี้ เพียงแจ้งความจำนงแก่ทางวัด ว่าต้องการ ถวายทานแก่พระสงฆ์ 1 รูป 4 รูป หรือกี่รูปก็ได้ จากนั้นทางวัดจะจัดพระมาให้หรือถ้าพระเดินผ่านมาก็สามารถนิมนต์พระมารับสังฆทานได้เลย
            พุทธศาสนิกชนมีความเชื่อว่า การถวายสังฆทาน เป็นการทำทานที่ได้บุญมากเพราะเป็นการถวายทานที่ไม่มีการระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด ดังนั้นหากผู้ที่ต้องการถวายสังฆทาน แต่กำหนดว่าจะถวายแก่พระรูปใดรูปหนึ่งแล้ว ถือว่าการทำทานนั้นก็ไม่เป็นสังฆทาน
         
           ของที่จะต้องเตรียมในการถวายสังฆทานได่แก่ อาหาร และ ของใช้ที่จำเป็นสำหรับภิกษุ สามเณร เช่น สบง จีวร แปรงสีฟัน สบู่ ผ้าเช็ดตัว อาหารกระป๋อง อาหารแห้ง นม ชา กาแฟ โอวัลติน เป็นต้น หรืออาจจะถวายเงินด้วยก็ได้ขึ้นอยู่กับผู้ทำสังฆทาน
         
         ในการถวายสังฆทาน หากต้องการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ใดก็จะต้องบอกชื่อ สกุล กับพระภิกษุด้วยเพื่อที่จะได้อุทิศส่วนกุศลไปยังผู้นั้น
         
   พิธีการถวายสังฆทาน เป็นพิธีที่เรียบง่าย เมื่อบอกความประสงค์แก่พระสงฆ์เรียบร้อยแล้ว ก็จะจุดธูป เทียน กล่าว นโม 3 จบ แล้วตามด้วยการกล่าวคำถวายสังฆทาน
         
      คำถวายสังฆทานที่เป็นภาษาบาลี มีดังนี้
         อิมานิ มยังภันเต ภัตตานิ สปริวารานิ ภิกขุสังคัสส โอโณชยาม สาธุโน ภันเต ภิกขุ สังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สปริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ฑีฆรัตตัง หิตาย สุขาย
         
     คำแปล
         ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถวายภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ซึ่งภัตตาหารกับบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ
         เมื่อกล่าวคำถวายสังฆทานเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์ก็จะจบ เสร็จแล้วสาธุ ถวายของให้ท่าน แล้วท่านก็จะกล่าวให้ศีลให้พร ผูถวายสังฆทาน กรวดน้ำ แผ่ส่วนบุญ ส่วนกุศล ซึ่งเป็นอันจบพิธีการถวายสังฆทาน

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ข้อมูลอ้างอิง 9ddn.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย ตรุษสงกรานต์


         

ตรุษ หมายถึง นักขัตฤกษ์ เมื่อเวลาสิ้นปี กำหนดวันทางจันทรคติตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 ถึงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5
         ประเพณีทำบุญตรุษ เป็นประเพณีทำบุญสิ้นปี ซึ่งจะทำในช่วงวัน แรม 14 ค่ำ เดือน 4 จนถึงวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ซึ่งจะมีการทำบุญเลี้ยงพระ



         ประเพณีสงกรานต์ถือเป็นประเพณีขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งยึดถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ และในวันนี้ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งจะมีกิจกรรมประเพณีที่นิยมทำในช่วงวันสงกรานต์ ดังนี้

         การทำบุญตักบาตรและปล่อยนกปล่อยปลา พุทธศาสนิกชนจะนำอาหารคาวหวาน ไปทำบุญที่วัด ทุกคนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสดใสและเมื่อได้ทำบุญตักบาตรเรียบร้อยแล้ว จะมีการบังสุกุลอัฐิของบรรพบุรุษเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้นอกจากการทำบุญตักบาตรแล้ว ยังนิยมทำบุญโดยการปล่อยนกปล่อยปลา ซึ่งถือว่าเป็นการให้ชีวิตใหม่แก่สัตว์

         การสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์ การสรงน้ำพระพุทธรูปจะมีการแห่ อัญเชิญพระพุทธรูป เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสสรงน้ำกันอย่างทั่วถึงการสรงน้ำพระพุทธรูปจะนำน้ำอบไปประพรมที่องค์พระเพื่อความเป็นสิริมงคล และนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชาการสรงน้ำพระสงฆ์จะรดน้ำที่มือของท่านและเมื่อสรงน้ำ พระท่านก็จะให้ศีล ให้พร เพื่อความเป็นสิริมงคลหลังจากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นการสรงน้ำพระสงฆ์แล้ว ท่านจะเปลี่ยนไตรจีวรใหม่ที่อุบาสก อุบาสิกานำมาถวาย

         การรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ เป็นการที่ลูกหลานจะเชิญให้ญาติผู้ใหญ่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย มานั่งในที่ที่จัดไว้ แล้วลูกหลานหรือผุ้ที่มารดน้ำจะรดด้วยน้ำอบไทยผสมเจือกับน้ำที่โรยด้วยดอกไม้ เช่น ดอกมะลิ หรือกลีบกุหลาบ โดยรกที่มือ หรืออาจจะรดไปที่ตัวก็ได้ ท่านผู้ใหญ่ก็จะให้ศีลให้พร อวยพรให้ผู้ที่รดน้ำมีความสุขความเจริญ ซึ่งประเพณีนี้นับว่าเป็นการช่วย เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัว และเป็นประเพณีที่ดีงาม ควรค่าแก่การส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้
         
     การก่อพระเจดีย์ทราย เป็นการนำทรายมาก่อเป็นเจดีย์ทรายบริเวณลานวัดซึ่งคนไทยมีความเชื่อว่าเป็นการขนทรายเข้าวัดมาก่อเจดีย์นั้นเป็นการได้กุศลมาก

         การเล่นสาดน้ำ หลังจากที่ทำพิธีสรงน้ำพระและรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่เสร็จเรียบร้อยแล้ว หนุ่มสาวก็จะเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งน้ำที่ใช้จะต้องเป็นน้ำสะอาดซึ่งอาจจะผสมน้ำอบด้วยก็ได้ บริเวณที่เล่นสาดน้ำจะเป็นที่ลานวัดหรือลานกว้างของหมู่บ้าน เมื่อถึงตอนเย็นก็จะแยกย้ายกันกลับบ้าน เพื่ออาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วมารวมกันอีกครั้งเพื่อร่วมการละเล่นพื้นบ้าน

         การละเล่นพื้นบ้าน ที่นิยมเล่นในวันสงกรานต์เพื่อเพื่อสร้างความสนุกสนาน ความสามัคคี และหนุ่มสาวมีโอกาสที่ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น การละเล่นที่นิยมได้แก่ มอญซ่อนผ้า ชักเย่อ วิ่งเปรี้ยว หลับตาตีหม้อ ขี่ม้าส่งเมือง นอกจากนี้ยังมีการรำวง เล่นลำตัด เพลงยาว ประกวดนางสงกรานต์ เป็นต้น
         
    ประเพณีสงกรานต์ในแต่ละท้องถิ่นอาจจะมีประเพณีที่แตกต่างกันไปบ้างและอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมตามแต่ละยุคแต่ละสมัย

         ประเพณีไทยสงกรานต์ เป็นประเพณีที่มีคุณค่าต่อครอบครัว ชุมชน สังคม ศาสนา
         คุณค่าต่อครอบครัว สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสได้อยู่รวมตัวกันและได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีให้สมาชิกได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้แสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วโดยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้
         คุณค่าต่อชุมชน การพบปะสังสรรค์ การร่วมกันละเล่นกิจกรรมรื่นเริงต่างๆ สามารถช่วยเสริมสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนได้
         คุณค่าต่อสังคม ในวันสงกรานต์คนในชุมชนจะช่วยกันร่วมทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม บำเพ็ญประโยชน์โดยการทำความสะอาดวัดวาอาราม ที่สาธารณะ อาคารของหน่วยงานต่างๆ
         คุณค่าต่อศาสนา พุทธศาสนิชน จะทำบุญตักบาตร เลี้ยงพระ ฟังเทศน์ สรงน้ำพระซึ่งถือเป็นการทำนุบำรุงพระศาสนา

เรียบเรียงโดยใหม่ http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ข้อมูลอ้างอิง 9ddn.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย ตักบาตรเทโว


"ตักบาตรเทโว"  มาจากคำเต็มว่า "ตักบาตรเทโวโรหณะ" คือ การตักบาตร แดพระุพุทธเจ้า เมื่อคราวเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

     เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เทศนาโปรดประชาชน ในแคว้นต่าง ๆ ในชมพูทวีปตอนเหนือ ตั้งแต่เมืองราชคฤห์ เมืองพาราณสี เมืองสาวัตถี ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นปิตุภูมิของพระองค์ ทรงเทศนาโปรดพระประยูรญาติ ทั้งหลายและพระพุทธบิดา แล้วทรงปรารถนาจะสนองคุณพระมารดา ซึ่งหลังจาก ประสูติพระองค์แล้วได้ 7 วัน ทรงสิ้นพระชนม์และได้ไปอุบัติเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ ชั้นดุสิต ในพรรษาที่ 7  หลังจากตรัสรู้ พระพุทธองค์จึงเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎก โปรดพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่ง (เหตุที่ทรงใช้ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นที่แสดงพระธรรมเทศนา ด้วยทรงพระประสงค์ จะโปรดเทวดา ชั้นต่ำด้วย หากพระองค์เสด็จไปชั้นดุสิต เทวดาชั้นดาวดึงส์ จะขึ้นไปชั้นดุสิตไม่ได้ เหมือนประชาชนจะเข้าวังได้ยาก แต่ราชสกุลออกมาฟังกับประชาชนได้) พอถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จึงเสด็จลงมาประทับที่เมืองสังกัสสะ ประชาชนพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น การทำบุญตักบาตรในวันที่พระพุทธองค์ เสด็จลงจากเทวโลก จึงเรียกว่า "การตักบาตรเทโวโรหนะ" หรือ "ตักบาตรเทโวฯ" และพุทธศาสนิกชนได้ยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ประเพณีการทำบุญ ตักบาตรเทโว เป็นประเพณีที่ปฏิบัติคล้ายคลึงกันในทุกวัดทั่วประเทศ ดังจะเห็นได้จาก   



พระพุทธเจ้า ทรงโปรดพุทธมารดา
พระพุทธเจ้า เสด็จลงจากดาวดึงส์
พระพุทธเจ้าทรงเปิดโลก
  
ที่จังหวัดกาญจนบุรี
     
    วัดบ้านถ้ำจัดประเพณีตักบาตรเทโวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 จนถึงปัจจุบัน โดยทำ ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุึกปี ชาวบ้านจะถือเป็นเทศกาลพิเศษที่มาร่วมกัน ตักบาตรเทโวอย่างพร้อมเพรียงกัน เนื่องจากวัดบ้านถ้ำ เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนยอดเขา พระครูกาญจโนภาส (หลวงพ่ออุ่น ป.ธ. 4) เป็นผู้ริเริ่มจัดถ้ำใหญ่ให้สมมติ เป็นสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แล้วนิมนต์พระสงฆ์จากอารามต่าง ๆ  มารับอาหาร บิณฑบาต โดยมีผู้แต่งกายเป็นเทวบุตรเดินลงมาจากถ้ำคูหามังกรสวรรค์ (ถ้ำนางบัวคลี่) เป็นแถวมาตามขั้นบันได ซึ่งประดับประดาไปด้วยธงทิว ทั้งสองข้างทาง มีขบวนตามมาข้างหลัง ประกอบด้วย พระอินทร์ พระพรหม เหล่าเทพบุตรเทพธิดา เหล่าฝูงเปรตอสูรกายเดินลงตามพระสงฆ์ลงมาเป็นแถว ๆ  เป็นการจำลองตอนพระเจ้าเปิดโลก อาหารที่ชาวบ้านนิยมนำมาตักบาตรเทโว นอกจากจะเป็นข้าวปลาอาหารธรรมดาแล้ว จะมีข้าวต้มมัดใต้ ข้าวต้มลูกโยน หรือข้าวต้มผัดหรือที่เรียกว่า "ข้าวต้มมัด"

 การที่ชาวบ้านถือเป็นประเพณีที่จะต้องมีข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มลูกโยน ในการตักบาตรเทโว เนื่องจากชาวบ้านพากันมาจากท้องถิ่นไกล ๆ เพื่อมาใส่บาตร ฉะนั้นอาหารหรือเสบียงกรังที่ติดตัวมา จึงเป็นอาหารที่ไม่บูดเสียง่าย แบ่งปันกันสะดวก อยู่ไกลก็โยนให้กันได้ เมื่อมีเสบียงประเภทนี้ติดตัวมา จึงใส่บาตรพระด้วยเสบียงดังกล่าว




พุทธศาสนิกชนทำบุญตักเทโวโรหนะในวันออกพรรษา

     เมื่อเสร็จสิ้นพิธีตักบาตรเทโวแล้ว จะมีเทศน์พิเศษให้ชาวบ้านฟัง เรียกว่า เทศน์เรื่อง เทโว คือเทศน์เรื่องพระพุทธเจ้าเปิดโลก ที่จังหวัดอุทัยธานี

     ประเพณีตักบาตรเทโวที่วัดสังกัสรัตนคีรี จังหวัดอุทัยธานี เป็นงานประเพณี ที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของจังหวัด และจัดได้สอดคล้องกับตำนานมาก โดยสมมติ ให้มณฑปที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสะแกกรัง เป็น "สิริมหามายากุฎาคาร" มีบันไดทอดยาวจากมณฑปลงสู่บริเวณลานวัดสังกัสรัตนคีรี ซึ่งอยู่เชิงเขาสะแกกรัง เปรียบเสมือนบันไดทิพย์ที่ทอดยาวจากสวรรค์ดาวดึงส์ สู่เมืองสังกัสนคร

ประเพณีไทยการตักบาตรเทโวของวัดสังกัสรัตนคีรี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ก่อนออกพรรษา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี จะตีระฆังที่หน้ามณฑป บนยอดเขาสะแกกรัง เสียงระฆังจะดังกังวานไปไหลเป็น สัญญาณว่า เทศกาลงานตักบาตรเทโวเริ่มขึ้นแล้ว และพระสงฆ์ 9 รูป จะเจริญพระพุทธมนต์บนยอดเขา มีการแสดงปาฐกถาธรรม จุดพลุ ตะไล ไฟพะเนียง สวยงาม วันรุ่งขึ้น (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) ตอนสาย ๆ จะอัญเชิญพระพุทธรูปปางเปิดโลก ขึ้นเสลี่ยงคานหาม โดยมีผู้แต่งชุดนุ่งขาวห่มขาวสมมติเป็นเทวดาหามเสลี่ยง ลงมาจากยอดเขา ตามด้วยขบวนพระภิกษุสงฆ์ทุกรูป ที่จำพรรษาในเขตอำเภอเมือง อุ้มบาตรลงมาจากยอดเขา เดินลงมาตามบันได สู่บริเวณเชิงเขาด้านล่าง

    ส่วนชาวพุทะทางจังหวัดภาคใต้ของไทย นิยมจัดงานประเพณีชักพระหรือขบวนแห่พระพุทธรูปทั้งทางบก และทางน้ำแทนประเพณีตักบาตรเทโว

     ประเพณีการตักบาตรเทโว นับว่าเป็นประเพณี ที่สืบเนื่องพุทธศาสนาอันเป็นพิธีมงคลที่สมควรอนุรักษ์ไว้ เพราะประเพณีนี้ นอกจากจะแสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนิกชนยังมีความเลื่อมใสศรัทธา  ในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังมีคุณค่าด้านอื่นอีก ได้แก่


พิธีตักบาตรเทโว ที่ขึ้นของวัดสังกัสรัตนคีรี จังหวัดอุทัยธานี


     จากตำนานความเป็นมาของการตักบาตรเทโว ที่กล่าวว่า พระพุทธองค์ทรงระลึกถึงพระคุณ ของพระราชชนนี จึงเสด็จไปเทวโลก เพื่อแสดงธรรม ให้พระราชชนนีบรรลุโลกุตตรธรรม  แสดงให้เห็น ถึงความกตัญญูกตเวทีที่ลูกมีต่อแม่

     ประชาชนจำนวนมากจากต่างถิ่นที่อยู่กัน มากระทำพิธี ตักบาตรร่วมกัน แสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ในอันที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา มีความสมัครสมาน สามัคคีกันระหว่างบ้านกับวัด
     ในวันสำคัญเช่นนี้ พระสงฆ์ก็ได้ปฏิบัติศาสนกิจ ตามหน้าที่ของสงฆ์ได้แผ่เมตตา โปรดสัตว์ ได้แสดง พระธรรมเทศนาสั่งสอนให้ประชาชนกระทำความดี การปฏิบัติต่าง ๆ  เหล่านี้ของพระสงฆ์นับได้ว่า เป็นการเผยแพร่ศาสนาโดยตรง

     การที่ประชาชนยังยึดมั่นในประเพณีและปฏิบัติศาสนกิจ ในวันสำคัญทางศาสนาเช่นนี้ นับว่าเป็นการทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาโดยตรง

     ประเพณีการทำบุญตักบาตรเทโว จึงเป็นประเพณี ที่สมควรอนุรักษ์ไว้มิให้สูญหายไป เพราะประเพณีที่ดี บ่งบอกให้เห็นถึงความศรัทธาเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา จากความเป็นมาของประเพณีก็มีส่วนทำให้ผู้มาทำบุญ ตักบาตรเทโวในวันนี้ มีจิตใจระลึกถึงพระคุณของมารดา ผู้ให้กำเนิด  ดังนั้น เพื่อให้ประเพณีการทำบุญ ตักบาตรเทโว ยังคงอยู่กับพระพุทธศาสนาตลอดไป จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่พุทธศาสนิกชนทุกคน รวมทั้งทางวัด จะต้องร่วมมือร่วมใจกันโดยสืบทอดประเพณีและจัดให้มี ประเพณีการทำบุญตักบาตรเทโวทุกปีอย่างสม่ำเสมอ

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com


ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}