แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีไทย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีไทย แสดงบทความทั้งหมด

ประเพณีไทย ทำบุญ ตักบาตร ถวายสังฆทาน


การตักบาตร
  
    การทำบุญตักบาตร คือ การนำอาหารคาวหวานที่เตรียมไว้ นำไปใส่บาตรพระหรือเณรที่ออกมาบิณฑบาตในตอนเช้า คือ เวลาประมาณ 6 โมงเช้า ถึงเวลาประมาณ 7 โมงครึ่ง อาหารที่เตรียมมาใส่บาตรคือข้าวที่หุงสุกใหม่และกับข้าว อาหารคาว รวมถึงของหวาน หรือผลไม้ อาจจะเตรียมดอกไม้ ธูป เทียน ด้วยก็ได้
         
               เมื่อพระมาถึงก็นิมนต์ท่านให้หยุด และท่านก็จะเปิดฝาบาตรให้ใส่อาหารหรือของที่เตรียมมาลงในบาตร ดอกไม้ ธูป เทียน จะถวายวางลงบนฝาบาตรที่ปิดแล้วหรืออาจจะใส่ในย่ามก็ได้ พระจะกล่าวให้ศีล ให้พรเป็นอันเสร็จ


         
      การถวายสังฆทาน เป็น " ประเพณีไทย " ที่ทำกันมาตั้งแต่อดีตจนถึง ณ วันนี้
        
              สังฆทาน คือ การถวายของแก่พระโดยไม่เจาะจงพระ การถวายสังฆทานหลักสำคัญอยู่ที่การไม่เจาะจงผู้รับว่าชื่อนั้นชื่อนี้ เพียงแจ้งความจำนงแก่ทางวัด ว่าต้องการ ถวายทานแก่พระสงฆ์ 1 รูป 4 รูป หรือกี่รูปก็ได้ จากนั้นทางวัดจะจัดพระมาให้หรือถ้าพระเดินผ่านมาก็สามารถนิมนต์พระมารับสังฆทานได้เลย
            พุทธศาสนิกชนมีความเชื่อว่า การถวายสังฆทาน เป็นการทำทานที่ได้บุญมากเพราะเป็นการถวายทานที่ไม่มีการระบุเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์รูปใด ดังนั้นหากผู้ที่ต้องการถวายสังฆทาน แต่กำหนดว่าจะถวายแก่พระรูปใดรูปหนึ่งแล้ว ถือว่าการทำทานนั้นก็ไม่เป็นสังฆทาน
         
           ของที่จะต้องเตรียมในการถวายสังฆทานได่แก่ อาหาร และ ของใช้ที่จำเป็นสำหรับภิกษุ สามเณร เช่น สบง จีวร แปรงสีฟัน สบู่ ผ้าเช็ดตัว อาหารกระป๋อง อาหารแห้ง นม ชา กาแฟ โอวัลติน เป็นต้น หรืออาจจะถวายเงินด้วยก็ได้ขึ้นอยู่กับผู้ทำสังฆทาน
         
         ในการถวายสังฆทาน หากต้องการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ใดก็จะต้องบอกชื่อ สกุล กับพระภิกษุด้วยเพื่อที่จะได้อุทิศส่วนกุศลไปยังผู้นั้น
         
   พิธีการถวายสังฆทาน เป็นพิธีที่เรียบง่าย เมื่อบอกความประสงค์แก่พระสงฆ์เรียบร้อยแล้ว ก็จะจุดธูป เทียน กล่าว นโม 3 จบ แล้วตามด้วยการกล่าวคำถวายสังฆทาน
         
      คำถวายสังฆทานที่เป็นภาษาบาลี มีดังนี้
         อิมานิ มยังภันเต ภัตตานิ สปริวารานิ ภิกขุสังคัสส โอโณชยาม สาธุโน ภันเต ภิกขุ สังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สปริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ฑีฆรัตตัง หิตาย สุขาย
         
     คำแปล
         ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถวายภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ซึ่งภัตตาหารกับบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ
         เมื่อกล่าวคำถวายสังฆทานเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์ก็จะจบ เสร็จแล้วสาธุ ถวายของให้ท่าน แล้วท่านก็จะกล่าวให้ศีลให้พร ผูถวายสังฆทาน กรวดน้ำ แผ่ส่วนบุญ ส่วนกุศล ซึ่งเป็นอันจบพิธีการถวายสังฆทาน

เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com
ข้อมูลอ้างอิง 9ddn.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ความรู้เรื่อง ประเพณีไทย และการทำพิธีรดน้ำ

ความรู้เรื่องประเพณีไทย

ปัจจุบันพิธีการ ประเพณีไทย แต่งงานได้ถูกตัดทอนย่นย่อลงมาก เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน สิ่งที่สิ้นเปลืองก็ตัดออกไป แต่ยังคงรักษาพิธีการแต่งงานตามธรรมเนียมไทยสืบต่อกันมา ซึ่งวันนี้เรามี “พิธีรดน้ำสังข์” และ “ขั้นตอนในการทำพิธีรดน้ำ” มาบอกกัน …
ประเพณีไทย อันดับแรกเมื่อได้ฤกษ์ รดน้ำ หรือ หลั่งน้ำสังข์ พระผู้เป็นประธานจะทำการเจิมให้แก่บ่าวสาว ฝ่ายชายนั้นพระท่านสามารถที่จะทำการเจิม 3 จุด ได้โดยตรง แต่หากเป็นฝ่ายหญิง พระท่านไม่สามารถถูกเนื้อต้องตัวได้ จึงต้องจับมือฝ่ายชายเจิมหน้าผากให้เจ้าสาวของตน หลังจากนั้นจึงทำมงคลแฝดสวมให้คู่บ่าวสาวคนละข้าง มีสายโยงห่างกันประมาณ 2 ศอกเศษ เพื่อความสะดวก และส่วนปลายของมงคลจะโยงมาพันที่บาตรน้ำมนต์ และหางสายสิญจน์ พระสงฆ์จะส่งกันไปโดยจับเส้นไว้ในมือ จนถึงพระองค์สุดท้ายก็จะวางสายสิญจน์ไว้ที่พาน คู่บ่าวสาวต้องนั่งในที่จัดไว้ ซึ่งจะมีหมอนสำหรับรองรับมือและพานรองน้ำสังข์
ประเพณีไทย ส่วนเพื่อนเจ้าบ่าวจะยืนให้กำลังใจอยู่ข้างหลัง และญาติผู้ใหญ่ก็จะทยอยกันมารดน้ำสังข์ตามลำดับ เกี่ยวกับการเลือกเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาว มีคติความเชื่อว่า ควรเลือกที่อายุน้อยหรือใกล้เคียงกับคู่บ่าวสาว และในช่วงที่ใกล้หรือมีโครงการจะแต่งงานเร็ว ๆ นี้ เพราะหากว่าเป็นคนโสดอาจจะต้องกลายเป็นเพียงเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวกันไปตลอด ไม่มีโอกาสได้เป็นเจ้าบ่าวเจ้าสาวตัวจริงกันเสียที แต่ความจริงแล้วอาจเป็นเพราะผู้ใหญ่ต้องการให้ผู้ที่ใกล้แต่งงานได้ดูขั้น ตอนการแต่งงาน เมื่อถึงคราวตนเองจะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องและไม่เคอะเขิน

ขั้นตอนในการทำพิธีรดน้ำ ประเพณีไทย

ความเป็นมาของหอยสังข์ที่นำมาใช้ในพิธี คุณเคยคิดสงสัยไหมว่า ทำไมต้องใช้หอยสังข์เป็นภาชนะใส่น้ำมนต์หลั่งอวยพรให้คู่บ่าวสาว ในสมัยโบราณมีความเชื่อว่า หอยสังข์เป็นหนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 14 อย่าง อันเกิดจากกวนเกษียรสมุทรของเหล่าเทวดาและอสูร บางเชื่อว่าครั้งหนึ่งสังข์อสูรได้ลักเอาพระเวทไปซ่อนไว้ในหอยสังข์ พระนารายณ์ได้อวตารไปปราบและสังหาร แล้วทรงล้วงเอาพระเวทออกมาจากสังข์ ทำให้ปากหอยสังข์มีรอยพระหัตถ์ของพระนารายณ์ จึงถือกันว่าสังข์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะเคยเป็นที่รองรับพระเวท การนำมาใส่น้ำมนต์รดให้คู่บ่าวสาว เชื่อกันว่าเป็นสิริมงคล
เมื่อคู่บ่าวสาวสวมแฝดมงคล และนั่งพนมมือคู่กันในที่จัดไว้แล้ว จะมีคนคอยตักน้ำพระพุทธมนต์เติมในสังข์ เพื่อส่งให้ผู้ที่จะรดน้ำอวยพร โดยเริ่มจากพ่อแม่ของคู่บ่าวสาว หรือญาติผู้ใหญ่ ตามลำดับ นิยมรดใส่ในมือให้เจ้าสาวก่อน แล้วจึงรดให้เจ้าบ่าว และกล่าวอวยพรให้คู่บ่าวสาวประสบความสุขความเจริญ อยู่ด้วนกันจนแก่เฒ่าถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง
ซึ่งขณะรดน้ำสังข์ พระสงฆ์จะสวดชยันโต เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่คู่บ่าวสาว แต่ในปัจจุบันนิยมทำพิธีรดน้ำกันตอนเย็น ก่อนเวลากินเลี้ยงฉลองสมรส ซึ่งมักจะจัดที่โรงแรม หรือหอประชุม หากจะให้มีพระสวดชยันโตในเวลารดน้ำต้องนิมนต์พระมาด้วย
มีเคล็ดลางเกี่ยวกับพิธีรดน้ำสังข์ คือหลังจากพิธีรดน้ำสังข์เสร็จแล้ว หากฝ่ายใดลุกขึ้นยืนก่อน ฝ่ายนั้นจะได้เป็นผู้ที่อยู่เหนือคู่ครองของตน เช่น เจ้าสาวลุกขึ้นก่อน สามีจะกลัว หากถือมากเกินไปคงจะวุ่นวายน่าดูเลย หลังจากเสร็จพิธีรดน้ำต่างตนต่างรีบลุก ควรช่วยกันประคองกันแบบนี้จะดีกว่า แถมดูแล้วน่าประทับใจ
สมัยโบราณ ในประเพณีไทย พิธีการแต่งงานจะไม่มีการรดน้ำสังข์ แต่จะมีพิธีซัดน้ำ พระสงฆ์จะเป็นผู้ทำพิธี โดยตักน้ำมนต์ในบาตรซัดสาดใส่คู่บ่าวสาว บรรดาเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวซึ่งมีอยู่หลายคู่ แกล้งนั่งห้อมล้อมให้คู่บ่าวสาวนั่งเบียดกันชิดกัน การซัดน้ำนี้บางทีซัดจนเปียกปอนต้องเปลี่ยนชุดหลังเสร็จพิธี แบบนี้ก็น่าสนุกไปอีกแบบ
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย บุญข้าวหลามฉะเชิงเทรา

ประเพณีบุญข้าวหลาม เป็นประเพณีของชาวลาวเวียงและลาวพวนในอำเภอพนมสารคาม ซึ่งเป็นชุมชนชาวไทยเชื้อสายลาว ที่อยู่ใกล้เคียงกับชาวไทยเชื้อสายเขมร
ประเพณีนี้อาจเป็นสิ่งที่ยึดถือสืบต่อกันมาแต่ก่อนเมื่อครั้งยังอยู่ในประเทศลาวจึงเท่ากับเป็นการรักษาประเพณีดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติกันมา ซึ่งเท่ากับเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนาทางหนึ่ง
พิธีกรรม
วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ชาวบ้านทุกบ้านจะเผาข้าวหลาม เพื่อนำไปถวายพระในเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ตอนสายจะพากันเดินไปขึ้นเขาดงยาง ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๖ กิโลเมตร เพื่อปิดทองรอยพระพุทธบาทบนเขาดงยาง และนำข้าวหลามไปรับประทานบนเขา
สาระ
นอกเหนือจากการทำบุญกุศลแล้วยังเป็นการชุมนุมพบปะกัน ของชนเผ่าผู้อพยพทางหนึ่ง ทั้งนี้สืบเนื่องจากชุมชนลาวรุ่นแรกๆล้วนมาจากประเทศลาวแล้วแยกย้ายกันบุกเบิกป่าสร้างที่ทำกิน การกำหนดนัดพบหน้าโดยถือเอาวันสำคัญทางศาสนาเป็นแกนนั้นนับได้ว่าได้ทั้งบุญกุศส ได้ทั้งความรู้สึกอบอุ่นทางเชื้อชาติในคราวเดียวกัน
เรียบเรียงใหม่โดย http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com   
ข้อมูลอ้างอิงไม่ทราบที่มาแน่ชัด
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย แห่พระบรมสารีริกธตุวัดนางชี


ประเพณีไทย งานบุญประจำปีทางฝั่งธนบุรีที่ถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านานและเป็นที่รู้จักของคนฝั่งธนบุรีและกรุงเทพฯ อย่างกว้างขวางในสมัยก่อน คือ “งานชักพระวัดนางชี” หรือที่เรียกันในปัจจุบันว่า “งานแห่พระบรมสารีริกธาตุ”
วัดนางชีเป็นวัดเก่า ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยไหน แต่สันนิษฐานได้ว่าเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เจ้าพระยาพิชัยมนตรีได้สร้างร่วมกับพระยาฤาชัยณรงค์ และออกหลวงเสนาสุนทร สาเหตุที่สร้างก็เนื่องมาจาก แม่อิ่มลูกสาวของเจ้าพระยาพิชัยมนตรี ป่วยอย่างไม่รู้สาเหตุจนกระทั่งมีชีปะขาวมานิมิตรเข้าฝัน ให้เจ้าพระยาพิชัยมนตรีแก้บนโดยให้ลูกสาวบวชชี ดังนั้นเมื่อแม่อิ่มหายป่วย เจ้าพระยาพิชัยมนตรีจึงให้ลูกสาวบวชชีพร้อมกับสร้างวัดนี้ วัดนี้ได้กลายเป็นวัดร้างในปลายแผ่นดินของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ (พระราชาธิบดีที่ 2) เพราะขาดการดูแลเอาใจใส่ ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากอยู่ระหว่างทำสงครามกับพม่าก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะแตกครั้งที่ 2 วัดนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พ่อค้าสำเภาชื่อพระยาโชฎึกราชเศรษฐี ซึ่งเป็นพ่อค้าชาวจีนอาศัยอยู่ในแผ่นดินสยาม ได้เป็นผู้บูรณะและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งวัด ได้ดัดแปลงและแก้ไขรูปทรงพระอุโบสถพระวิหารให้เป็นแบบจีน ประดับประดาด้วยเครื่องเคลือบ และนำตุ๊กตาหินแบบจีนและหินปูทางเดินมาจากเมืองจีน เพื่อนำมาทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ นอกจากนี้ยังได้ถวายเครื่องใช้แบบจีนเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งเตียงไม้มะเกลือประดับลายหอยมุกและหินอ่อน ซึ่งเป็นของลูกสาวที่เสียชีวิตอยู่บนเดียงนี้เมื่ออายุประมาณ 18 ปี 1 หลัง เมื่อสร้างเสร็จได้ถวายวัดนี้แด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นพระอารามหลวง ได้พระนามว่า “วัดนางชีโชติการาม” ต่อมาในรัชกาลที่ 3 พระยาราชานุชิต (จ๋อง) ได้บูรณะและปฏิสังขรณ์วัดนี้อีกครั้ง และถวายเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้
ปูชนียวัตถุพิเศษที่สำคัญในวัด ได้แก่ พระบรมสารีริกธาตุและพระบรมธาตุสาวกซึ่งมีจำนวนไม่แน่นอน อาจจะเพิ่มหรือลดลงแตกต่างกันไปในแต่ละปี ก่อนที่จะนำพระบรมสารีริกธาตุมาให้ประชาชนสรงน้ำ จะมีการตรวจนับจำนวนพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุสาวกทุกครั้ง เมื่อแห่เสร็จพระบรมสารีริกธาตุก็จะนำมาตรวจนับอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะนำไปประดิษฐานเก็บไว้บนกุฎิเจ้าอาวาส พระบรมธาตุนั้นจะมีขนาดเล็กมาก คือ มีขนาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของเมล็ดข้าวสารหัก เวลาตรวจนับจะต้องใช้แว่นขยายช่วยจึงจะมองเห็น
กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชาได้เขียนเล่าเกี่ยวกับจำนวนพระธาตุที่เพิ่มขึ้นและลดลงไว้ในหนังสือตำราพระธาตุว่า “พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุนี้ก็เป็นของแปลก ถ้าเป็นพระบรมธาตุก็ว่าเสด็จมาเองบ้าง เสด็จไปเองบ้าง ครั้งหนึ่งประมาณ 20 ปีล่วงมาแล้ว เขาพูดว่าพระบรมธาตุที่วัดนางชี อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดนนทบุรี บางปีก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น บางปีก็มีจำนวนลดลง ที่ว่าไปพิสูจน์นั้นได้เป็นจริงดังที่เขาว่ากัน ปีแรกที่ไปดูมีจำนวนมาก ครั้งที่สองน้อยลง ครั้งที่สามจำนวนมากขึ้น แต่ไม่ถึงจำนวนที่ไปดูครั้งแรก สงสัยว่าทางวัดจะเอาออกหรือเพิ่มขึ้นเพื่อลวงว่ามีอภินิหาร ถามเจ้าอาวาสท่านบอกว่าไม่เคยเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ท่านเป็นเจ้าอาวาสมาหลายปีแล้วไม่เคยเอาออกมาดูเลย เอาออกมาสรงน้ำปีละครั้งคือวันแห่และตรวจต่อหน้ากรรมการด้วย”
พระบรมสารีริกธาตุที่วัดนางชีมิได้บรรจุไว้ในพระเจดีย์ดังเช่นพระบรมธาตุอื่นๆ ที่บรรจุไว้ในผอบแก้วซึ่งเป็นขวดน้ำหอมจากฝรั่งเศส ที่ชาววังใช้น้ำหอมผสมน้ำอาบกันในสมัยก่อน แล้วประดิษฐานไว้ ณ.มณฑปที่จัดทำเป็นพิเศษ ตามประวัติที่เล่ากันต่อๆ มากล่าวว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 1217 คณะพราหมณ์ 3 ท่าน และชาวจีน 9 ท่าน ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุบรรจุผอบทองคำ 2 ผอบ มาโดยเรือสำเภาจากชมพูทวีป เพื่อไปประดิษฐานไว้ที่เมืองปทาคูจาม อาณาจักรศรีวิชัย (นครศรีธรรมราช) และที่เมืองเชียงใหม่อีกแห่งหนึ่ง
แต่เมื่อได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐาน ที่เมืองนครศรีธรรมราช (ในปัจจุบันนี้ได้บรรจุพระบรมธาตุไว้ในพระสถูปเจดีย์ ที่วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช) แล้วได้เดินทางต่อไป จนเรือได้เกิดอุบัติเหตุล่มลงที่ตรงบริเวณปากน้ำคลองด่านปัจจุบัน (ตามสภาพภูมิศาสตร์ ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัยทางแถบเมืองธนบุรียังเป็นป่าทึบ และพื้นดินยังไม่งอกออกมามากมายเท่าในปัจจุบัน) คณะพราหมณ์และชาวจีนจึงได้พร้อมกันอัญเชิญเสด็จพระบรมสารีริกธาตุขึ้น ห่างจากที่เรือล่มประมาณ 5 ไมล์ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยดีก็ตกลงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐาน ณ.ที่นั้น แต่ไม่ทราบว่าได้ประดิษฐ์ไว้อย่างไร
เมื่อนานเข้า ผอบทองที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นได้ถูกฝังจนดินพระบรมสาริกธาตุที่ทูลเชิญเสด็จมาในครั้งนั้นมีด้วยกัน 5 พระองค์ คือ พระบรมสารีริกธาตุที่ส่วนไหล่ ส่วนแขน ซี่โครง หัวเข่า และขา ต่อมาในสมัยพระชัยราชา (พระเอก) กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งกรุงศรีอยุธยา ประมาณปี พ.ศ. 1082 เป็นปีที่วัดนางชีสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระบรมสารีริกธาตุเสด็จขึ้นมาให้ปรากฏแก่แม่ชีอิ่มให้เห็นทั้ง 5 พระองค์ แม่ชีอิ่มได้ทูลเชิญเสด็จบรรจุไว้ในผอบแก้วและได้ประดิษฐานไว้ ณ. วัดนางชีแห่งนี้ตั้งแต่นั้นมา

ข้อมูลอ้างอิงไม่ทราบแหล่งที่มาแน่ชัด ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย แห่ปลา


   
ช่วงเวลา
    ช่วงเวลาที่จัดงาน คือ หลังจากงานสงกรานต์ ๑๓ เมษายน ไปแล้วประมาณ ๑ สัปดาห์
ความสำคัญ
    ประเพณีแห่ปลา ไม่ว่าชาวไทยหรือชาวต่างประเทศรู้จักประเพณีนี้และไปชมกันปีละไม่ต่ำกว่าห้าหมื่นคนความเป็นมาของประเพณีนี้ก็สืบเนื่องมาจากตำนานของมอญที่เล่าต่อๆ กันมาว่า
มีพระอาจารย์องค์หนึ่งมีลูกศิษย์อยู่หลายคน พระอาจารย์องค์นี้มีความเชี่ยวชาญในการทำนายโชคชะตาเป็นยิ่ง วันหนึ่งพระอาจารย์ได้ตรวจดูดวงชะตาของลูกศิษย์คนหนึ่งซึ่งบวชเป็นสามเณรอยู่ ปรากฏว่าสามเณรองค์นั้นอยู่ในเกณฑ์ชะตาขาด จะต้องถึงแก่ความตายในไม่ช้า พระอาจารย์มีความสงสารเป็นอย่างยิ่ง แต่ไม่อาจจะช่วยเหลือได้ จึงบอกให้สามเณรกลับไปเยี่ยมญาติโยมที่บ้านเพื่อที่จะได้มีโอกาสพบปะกันก่อนตาย สามเณรเข้าอำลาพระอาจารย์แล้วเดินทางกลับไปบ้าน ระหว่างทางเดินผ่านไปตามทุ่งนาจนถึงหนองน้ำแห่งหนึ่งน้ำแห้งขอด มีปลาตกปลักจมอยู่ในโคลนรังแต่จะรอความตาย สามเณรเกิดความสงสารจึงได้จับปลาไปปล่อยในลำคลองแล้วเดินทางต่อไปจนถึงบ้าน เมื่อสมควรแก่เวลาแล้วก็เดินทางกลับวัด ฝ่าย
พระอาจารย์เมื่อเห็นสามเณรกลับมาก็แปลกใจเพราะยังเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองอยู่ จึงสอบถามจนได้ความว่าขณะที่เดินทางกลับบ้านนั้นได้ช่วยเหลือปลาที่รอความตายให้กลับมีชีวิตยืนยาวต่อไป พระอาจารย์จึงเข้าใจว่ากุศลที่สามเณรสร้างในครั้งนี้กลับเป็นผลานิสงส์หนุนนำให้สามเณรมีชีวิตยืนยาวต่อไป
จากตำนานดังกล่าวทำให้ชาวรามัญยึดถือเป็นตัวอย่างและปฏิบัติกันอยู่เสมอมา ส่วนประเพณีแห่นกที่ทำควบคู่กับแห่ปลาในปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นทีหลัง
     
    ขอกล่าวย้อนถึงสาเหตุที่จะกลายมาเป็นประเพณีแห่ปลาว่าเมื่อประมาณ ๕๐ ปีล่วงแล้วคุณย่าพ่วง พงษ์เวช ชาวมอญตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง เป็นผู้ที่ชอบทำบุญทำกุศลอย่างมาก ท่านจึงได้บอกให้ อาจารย์คล้าย พงษ์เวช ซึ่งเป็นบุตรชายให้จัดงานทำบุญเลี้ยงพระแล้วปล่อยปลาจำนวนมากๆ ท่านอาจารย์คล้าย พงษ์เวช จึงได้จัดให้ตามความประสงค์ทุกประการ แต่วิวัฒนาการจากการปล่อยปลาตามปกติมาเป็นการเชิญสาวๆในหมู่บ้านมาเข้าขบวนถือโหลปลา นำด้วยดุริยางค์แล้วนำไปปล่อยที่วัดทรงธรรมวรวิหาร ในปีรุ่งขึ้นท่านอาจารย์คล้าย พงษ์เวช เห็นว่าน่าจะกระทำเช่นนี้อีกต่อไป จึงได้เป็นเจ้าภาพจัดงานขึ้น โดยใช้โรงเรียนอำนวยวิทย์ อำเภอพระประแดง ซึ่งท่านเป็นเจ้าของอยู่เป็นสถานที่จัดงานและได้เชิญสาวๆจากหมู่บ้านต่างๆ (หมู่บ้านมอญ) รวม ๑๔ หมู่บ้าน มาร่วมในขบวนแห่ และในปีต่อมาท่านได้เชิญสาวมอญจากบางกระดี่ ตำบลแสมดำ อำเภอบางขุนเทียน จากบางขันหมาก จังหวัดลพบุรี จากปากเกล็ด จังหวัดนนทบุรี มาร่วมขบวนด้วย นับว่าเป็นการจัดงานที่ยิ่งใหญ่และตระการตา เนื่องจากสาวมอญแต่ละแห่งนั้นแต่งกายตามประเพณีในท้องถิ่นของตน ทำให้เกิดความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และปิดท้ายขบวนด้วยกลองยาวที่สร้างความครึกครื้นอยู่ตลอดเวลา ส่วนการแห่นกนั้นท่านอาจารย์ได้ผนวกเข้าทีหลังจนกลายเป็นประเพณีแห่นกแห่ปลาในที่สุด
    พ.ศ. ๒๔๙๘ รูปขบวนก็ได้เปลี่ยนไปอีก กล่าวคือมีขบวนนางสงกรานต์เพิ่มขึ้น ส่วนนางสงกรานต์นั้น ไม่มีการประกวด เพียงแต่เสาะหาสาวที่มีความงามที่สุดมาเป็นนางสงกรานต์ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๐๖ ท่านอาจารย์คล้าย พงษ์เวช ย่างเข้าสู่วัยชราจึงต้องการพักผ่อน แต่ทางราชการเห็นว่าประเพณีนี้เป็นประเพณีที่ดี สมควรจะอนุรักษ์ไว้จึงได้รับการปฏิบัติกันต่อๆ มา ครั้นถึง พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้มีการประกวดนางสงกรานต์พระประแดงขึ้นและต่อๆมาจนถึงปัจจุบัน

สาระ
     ขบวนแห่ปลา แห่นกในปัจจุบันได้รับความร่วมมือจากตำบลต่างๆ ในอำเภอพระประแดง จึงทำให้รูปขบวนวิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ มีสาวงามจำนวนมากขึ้น มีขบวนรถจากตำบลต่างๆ ตกแต่งอย่างสวยงามขั้นขบวนสาวงามอยู่เป็นระยะๆ มีวงดุริยางค์ของโรงเรียนต่างๆ นำแต่ละขบวนเป็นที่ครึกครื้นแล้วปิดท้ายด้วยขบวนกลองยาวอย่างเคย

ข้อมูลอ้างอิงจาก thaigoodview.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

งานประเพณีไทย ไหลเรือไฟ



ประวัติความเป็นมา 
          
งานประเพณีไหลเรือไฟ หรือ งานประเพณีไหลเฮือไฟ (ในภาษาท้องถิ่น-อีสาน) เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลาย จังหวัดในภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดที่ตั้งอยู่ติดลำน้ำ เช่น แม่น้ำมูล - ชี แม่น้ำโขง เป็นต้น การไหลเรือไฟ ในภาคอีสานนั้นเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันแน่ชัดสันนิษฐานว่าคงมีมาก่อนที่พุทธศาสนา จะเผยแพร่มาสู่ประเทศไทย เพราะสมัยก่อนกษัตริย์ไทยยังยึดถือพิธีพราหมณ์อยู่ โดยได้รับอิทธิพลมาจาก อินเดีย สมัยที่นำอารยธรรมเข้ามาเผยแพร่ในแถบสุวรรณภูมิ ดังพบว่าประเพณีงานบุญโดดเด่นที่จัดขึ้น ในภาคอีสานมักเกี่ยวโยงหรือผูกพันกับเรื่องของไฟเกือบทั้งสิ้น เช่น งานแห่เทียนเข้าพรรษา บุญบั้งไฟ พิธีไหลเรือไฟ เพราะมีความเชื่อว่า "ไฟ"เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์ เรียกว่า เทพอัคคี มีฐานะรอง จากพระอินทร์ สามารถเผาผลาญสิ่งชั่วร้ายและขจัดความทุกข์ยากให้ดับสลายไปได้
          จังหวัดต่าง ๆ ที่มีการจัดประเพณีไหลเรือไฟ เช่น จังหวัดศรีษะเกษ จังหวัดเลย จังหวัด นครพนม จังหวัดหนองคาย จังหวัดอุบลราชธานี ฯลฯ  โดยงานประเพณีไหลเรือไฟของจังหวัดนครพนม จัดว่าเป็นงานไหลเรือไฟที่ยิ่งใหญ่ระดับประเทศมักจัดขึ้นคล้ายคลึงกัน แต่ก็แตกต่างกันในด้านคติ ความเชื่อ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
          
จังหวัดนครพนมและหนองคาย (มีทำเลที่ตั้งติดแม่น้ำโขงเหมือนกัน) มีความเชื่อว่า เป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ ที่ริมฝั่งน้ำนัมทานที ซึ่งตามพุทธประวัติกล่าวว่า ครั้งที่พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธองค์ไปแสดงธรรม ในพิภพของนาคใต้เมืองบาดาล เมื่อพระองค์เสด็จกลับทางฝ่ายพญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ประทับรอย พระบาทไว้ ณ ริมฝั่งน้ำนัมทานที พระองค์จึงได้ประทับรอยพระบาทไว้ ณ หาดทรายริมน้ำตามประสงค์ของ พญานาค ซึ่งรอยพระบาทที่ประทับไว้นี้ ไม่เพียงแต่เป็นที่เคารพสักการะของเหล่าพญานาคเท่านั้น ยังเป็นที่เคารพของเหล่าเทวดาและมนุษย์ด้วย   จนแสดงออกด้วยการไหลเรือไฟบูชารอยพระพุทธบาทของพระองค์
          ความเป็นมาของการจัดประเพณีไหลเรือไฟของจังหวัดนครพนม เสฐียรโกเศศ ได้เขียนไว้ ในหนังสือวัฒนธรรมและประเพณีอ้างตามคำบอกเล่าของพระเถระรูปหนึ่งว่า การลอยกระทงที่จังหวัด หนองคาย เมื่อกลางเดือน ๑๑ ชาวคุ้มวัดต่าง ๆ จะร่วมกันสร้างเรือนบนต้นกล้วย เอาไม้เสียบเรียงขนานกัน เป็นทุ่นใช้ผ้าชุบน้ำมันยางมัดติดปลายไม้ หรือใช้ไต้เรียงเป็นระยะ ๆ แล้วช่วยกันเอาเชือกลากออกไปกลาง กระแสน้ำ จุดไฟปล่อยไปในเวลากลางคืน เรียกว่า "ไหลเรือ" และเมื่อลอยไปแล้วมักจะถูกคนที่อยู่ใต้กระแส น้ำเก็บเอาไต้ที่จุดไปเสียทำให้กระทงที่ดูสว่างไสวสวยงามนั้นลอยอยู่ในน้ำไม่ได้นานหลายครั้งหลายหน เข้าผู้ร่วมมือร่วมแรงกันประดิษฐ์กระทงเรือก็หมดกำลังใจ ทำให้การไหลเฮือไฟซบเซาไป และมาหยุดชะงัก เมื่อปี ๒๕๑๘ เมื่อประเทศลาวมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อันเป็นผลกระทบทางด้านการเมือง   ต่อมาทางจังหวัดนครพนมได้ฟื้นฟูประเพณีนี้ขึ้นมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ โดยเทศบาลเมือง นครพนม ได้ประกาศชักชวนส่วนราชการพ่อค้า สมาคม และชาวคุ้มวัดต่าง ๆ ประดิษฐ์เรือไฟด้วยต้นกล้วย ไม้ไผ่ หรือวัสดุอย่างหนึ่งอย่างใดที่สามารถลอยน้ำได้ ให้มีรูปร่างลักษณะเหมือนเรือมีความยาวไม่น้อยกว่า ๖ เมตร และประดิษฐ์เป็นรูปหงส์ นาค ครุฑ หรือรูปอย่างใดก็ได้ที่คิดว่าสวยงามส่งเข้าประกวดชิงรางวัลเงินสด และปรากฏว่ามีผู้สนใจส่งเรือไฟเข้าประกวดถึง ๕๒ ลำ ในงานประกวดนั้นเฮือไฟที่งดงามจากฝีมืออันประณีตประดับด้วยโคมไฟที่สวยสะดุดตาเรียงรายอยู่กลางลำน้ำโขง เป็นภาพที่ประทับใจของชาวนครพนมและผู้ที่ ไปเที่ยวชมอย่างยิ่ง
          
จังหวัดศรีษะเกษ มีความเชื่อว่า เป็นการเซ่นสรวงพญานาค ซึ่งสิงสถิตตามแม่น้ำลำคลอง ให้คุ้มครองผู้ที่สัญจรไปมาทางน้ำ ไม่ให้มีภัยอันตรายเข้ามากล้ำกราย
          

จังหวัดอุบลราชธานี มีความเชื่อว่า          - เป็นการบูชารอยพระพุทธบาท
          - เป็นการบูชาพระรัตนตรัยและพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ อันได้แก่ พระกกุสันโธ พระโกนา-คมโน พระกัสสโป พระโคตโม และพระอาริยเมตไตร- เป็นการบูชาคุณแม่โพสพ คือ บูชาพานข้าว
          - เป็นการบูชาประทีปตามประเพณี
          - เป็นการบูชาดวงวิญญาณของบรรพบุรุษในความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ หรือพกาพรหม ปรากฏตามนิทานชาวบ้านที่เล่าสืบต่อ กันมาว่า ครั้งหนึ่งมีกาเผือกสองผัวเมียทำรังอาศัยอยู่บนต้นไม้ในป่าหิมพานต์ใกล้กับฝั่งแม่น้ำ วันหนึ่งกาตัว ผู้บินจากรังไปหากินเผอิญหลงทางกลับรังไม่ได้ จึงบินกระเจิดกระเจิงหายไป กาตัวเมียที่กำลังกกไข่อยู่ ๕ ฟอง คอยกาตัวผู้ไม่เห็นกลับจึงกระวนกระวายใจ อยู่มาวันหนึ่งเกิดพายุใหญ่พัดรังกาพังไข่ทั้ง ๕ ฟอง ตกลงในแม่น้ำ ส่วนแม่กาถูกพัดพาไปอีกทางหนึ่ง ครั้นลมสงบบินกลับมาที่รังพบว่า รังถูกพายุพัดพังและไข่ ทั้ง ๕ ฟองหายไปหมด จึงเสียใจจนตายไป และไปเกิดใหม่ในพรหมโลก ชื่อท้าวพกาพรหมส่วนไข่ทั้ง ๕ ฟอง มีผู้นำไปรักษาไว้ดังนี้ ฟองแรกแม่ไก่เอาไป ฟองที่ ๒ แม่นาคเอาไป ฟองที่ ๓ แม่เต่าเอาไป ฟองที่ ๔ แม่โคเอาไปและฟองสุดท้ายแม่ราชสีห์เอาไปครั้นเมื่อไข่ครบกำหนดฟักแตกออกมากลับเป็นมนุษย์ไม่ใช่ลูกกาตามปกติครั้นเมื่อลูกกาทั้ง ๕โตเป็นหนุ่มเห็นโทษของการเป็นฆราวาส และเห็นถึงอานิสงส์แห่งการบรรพชาจึงได้ลามารดาเลี้ยงออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งฤาษีทั้ง ๕ ได้มาพบกันจึงได้ไต่ถามเรื่องราวของกันและกัน และพร้อมใจกันอธิษฐานว่า ถ้าต่อไปจะได้เป็น องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าขอให้ร้อนไปถึงมารดาด้วย
          แรงอธิษฐานครั้งนั้นได้ร้อนไปถึงท้าวพกาพรหม และเสด็จจากพรหมโลกจำแลงองค์เป็นกาเผือกบินมาเกาะบนต้นไม้ตรงหน้าฤาษีทั้ง ๕ และเล่าเรื่องเดิมให้ ฟัง และกล่าวว่า "ถ้าคิดถึงแม่ เมื่อถึงวันเพ็ญ เดือน ๑๑ และเดือน ๑๒ ให้เอาด้ายดิบผูกไม้ตีนกาปักธูป เทียนบูชา ลอยกระทงในแม่น้ำเถิด ทำอย่างนี้เรียกว่า คิดถึงแม่" เมื่อบอกเสร็จท้าวพกาพรหมก็ลากลับไป จนกลายมาเป็นที่มาของการลอยกระทงและไหลเรือไฟ
         
 จังหวัดเลย มีความเชื่อว่า  เป็นการบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวคือ บูชา พระพุทธเจ้า ในวันที่พระองค์เสด็จลงมาจากเทวโลกหลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่ดาว ดึงส์พิภพ เพื่อแสดงพระสักธรรมเทศนาอภิธรรม ๗ คัมภีร์ (บทที่ใช้สวดในงานศพ) เพื่อโปรดพุทธมารดา เมื่อออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าก็เสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์ โดยบันไดทิพย์ทั้ง ๓ คือ บันไดทองอยู่เบื้องขวา เป็นที่ลงแห่งหมู่เทพยดา บันไดเงินเป็นที่ลงแห่งหมู่พรหม ส่วนบันไดแก้วเป็นทางเสด็จพระพุทธเจ้า หัวบันได อยู่ยอดเขาพระสิเนรุราช ทรงแสดง"โลกวิวรณ์ปาฏิหาริย์" คือ เปิดโลกโดยทอดพระเนตรไปเบื้องบนถึงพรหม โลก เบื้องต่ำสุดถึงอเวจีนรก และทิศต่าง ๆ ทั้งแปดทิศโลกธาตุแห่งหมื่นจักรวาล และเห็นเป็นลานกว้าง อันเดียวกัน ทำให้สวรรค์ มนุษย์ นรกแลเห็นกันและกัน จึงเรียกวันนี้ว่า "วันพระเจ้าโปรดโลก"พระองค์เสด็จ มา ณ เมืองสังกัสสะ สถานที่นั่นเรียกว่า "อจลเจดีย์" ทวยเทพทั้งหลายส่งเสด็จ มนุษย์ทั้งหลายรับเสด็จด้วยเครื่องสักการะบูชามโหฬาร การไหลเรือไฟก็ถือเป็นการสักการะบูชาอย่างหนึ่งในวันนั้น
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทย อุ้มพระดำน้ำ

สายสุนีย์ สิงหทัศน์...เรื่อง 





ประเพณีอุ้มพระดำน้ำเป็นประเพณีของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ที่มีความเชื่อถือศรัทธาต่อพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง คือพระพุทธมหาธรรมราชา ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรภูมิ จากตำนานเล่าสืบกันมาว่า ย้อนหลังไปประมาณ ๔๐๐ ปี ชาวประมงกลุ่มหนึ่งออกหาปลาบริเวณลำน้ำป่าสัก ซึ่งในสมัยนั้นมีปลาชุกชุมมาก วันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ประหลาด ทั้งวันไม่สามารถจับปลาได้เลย และกระแสน้ำก็เกิดหยุดไหล มีพรายน้ำผุดขึ้นทีละฟอง และมากขึ้นตามลำดับ แล้วเปลี่ยนเป็นวังวนวงใหญ่และลึกมาก ปรากฏพระพุทธรูปองค์หนึ่งลอยจากใต้น้ำขึ้นมาอยู่เหนือน้ำ ชาวประมงจึงอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานบนบกให้ผู้คนทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา และได้นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมิ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของตัวเมืองเพชรบูรณ์ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยลพบุรีลักษณะงดงาม ชาวบ้านจึงขนานนามว่า พระมหาธรรมราชา




บางตำนานก็เล่าว่า มีสามีภรรยาคู่หนึ่งไปทอดแหในแม่น้ำป่าสัก พายเรือจากบ้านไปเรื่อย ๆ จนถึงบ้านนาสารก็หาปลาไม่ได้ พอไปถึงวังน้ำลึกก็ทอดแหลงไป แต่ดึงแหไม่ขึ้น จึงดำน้ำลงไปก็พบพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามมาก จึงนำมาประดิษฐานที่วัดไตรภูมิ ปรากฏว่าประดิษฐานได้ปีเดียวก็หายไปจากตู้กระจก วันหนึ่งหลวงตารพราหมณ์ได้ไปทำทำนบกั้นน้ำ วิดปลาจนน้ำเริ่มแห้งขอด พอใกล้สว่างก็พบพระทองเหลืองอร่าม เป็นองค์เดียวกันกับพระที่หายไปจากวัดไตรภูมิ จึงอัญเชิญไปไว้ที่วัดอีก พระอาจารย์ที่วัดจึงไปหาหมอมาสะกดด้วยการตอกตะปูที่อุ้งพระบาท จึงไม่สามารถหลบไปได้อีก หากปีใดมีความแห้งแล้งเกิดขึ้น ก็จะทำพิธีบวงสรวงโดยยกเป็นศาลเพียงตาสามวันสามคืน หากต้องการให้ฝนตกตามฤดูกาล ก็อัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาแห่รอบเมือง มีการสวดคาถาด้วยก็จะบันดาลให้ฝนตกตามฤดูกาลได้

จากตำนานที่พระพุทธรูปได้หายไปจากวัดไตรภูมิถึง ๒ ครั้ง ดังนั้นจึงได้มีพิธีนำพระพุทธรูปไปดำน้ำป่าสัก ปีแรกมีการอุ้มพระพุทธรูปมาดำน้ำที่เกาะวังศาล ครั้งที่ ๒ ได้นำพระพุทธรูปมาดำน้ำที่วัดโบสถ์หรือวัดโบสถ์ชนะมารมาจนถึงปัจจุบัน


พิธีอุ้มพระดำน้ำจะเริ่มจากการแห่พระวนรอบเมือง เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา หลังจากทำพิธีแห่รอบเมืองแล้ว จะนำพระพุทธมหาธรรมราชาไปประดิษฐานในปะรำพิธีที่วัดไตรภูมิ เพื่อให้ประชาชนได้มากราบไหว้บูชา ปิดทอง ตอนค่ำจะมีการสวดมนต์เย็น ตกกลางคืนจะมีมหรสพและการละเล่นต่าง ๆ พอวันรุ่งขึ้นจะมีพิธีทำบุญวันสารท ชาวบ้านจะนำภัตตาหารมาถวายที่วัด มีข้าวกระยาสารทพร้อมด้วยเครื่องไทยธรรมต่าง ๆ จะมีพิธีอุ้มพระดำน้ำ มีการรำถวายบวงสรวงด้วยการฟ้อนชุดต่าง ๆ


เมื่อได้ฤกษ์พิธีอุ้มพระดำน้ำ จะเริ่มด้วยการอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงบุษบกในเรือพิธี บริเวณที่จะอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงสรงน้ำที่ท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมาร ซึ่งเป็นวังน้ำลึก ผู้ที่รับหน้าที่อุ้มพระพุทธมหาธรรมราชาลงดำน้ำ คือผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยอุ้มพระพุทธรูปลงดำไปยังก้นแม่น้ำ แล้วโผล่ขึ้นมา ทำเช่นนี้จนครบ ๔ ครั้ง ถือว่าเป็นสิริมงคล เชื่อกันว่าหากไม่ได้ทำพิธีอุ้มพระดำน้ำจะเกิดฝนแล้ง


ภายหลังจากที่ได้ผ่านพิธีการอุ้มพระดำน้ำแล้ว ชาวเพชรบูรณ์ถือว่าเป็นน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ จึงกระโดดลงไปอาบน้ำหรือตักขึ้นมาดื่มกิน เสร็จจากพิธีอุ้มพระดำน้ำแล้ว ก็จะเริ่มการแข่งขันเรือประเพณีของจังหวัดซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี


พิธีอุ้มพระดำน้ำในปีนี้จะตรงกับวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นวันสารทไทย สอบถามข้อมูลได้ที่ประชาสัมพันธ์จังหวัดเพชรบูรณ์ โทรศัพท์ ๐ ๕๖๗๒ ๙๗๔๖-๗ สำนักงานเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ โทรศัพท์ ๐ ๕๖๗๑ ๑๔๗๕, ๐๕๖๗๑ ๑๐๐๗ ต่อ ๑๐๒

จังหวัดเพชรบูรณ์อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๓๔๖ กิโลเมตร มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายประเภท ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และธรรมชาติ เช่น ไร่บีเอ็น เขาค้อ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ฯลฯ


อ้างอิงจาก highlightthailand.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทยชักพระหรือลากพระ


ประเพณีชักพระ เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นท้องประจำภาคใต้ตอนกลางของประเทศไทย  โดยเกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และวิถีชีวิตของชาวใต้ ที่มีความผูกพันกับน้ำ  ซึ่งประเพณีชักพระจะจัดขึ้นในช่วงออกพรรษาของทุกปี  โดยเฉพาะในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ที่เชื่อกันว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลงมายังโลกมนุษย์  ประชาชนจึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับ บนบุษบกที่จัดเตรียมไว้  แล้วจัดขบวนแห่ไปยังที่ประทับ  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการจัดขบวนแห่ทางเรือ  แต่ถ้าบริเวณใดที่ห่างไกลแม่น้ำก็จะจัดพิธีทางบกแทน
ประเพณีชักพระ ประกอบด้วยขบวนเรือที่ตกแต่งอย่างงดงาม  ภายในเรือมีพระพุทธรูปประทับอยู่บนบุษบกเรียกว่า “เรือประทาน หรือ เรือพนมพระ”  ที่หัวเรือมีสายเชือกยาวผูกสำหรับลาก  เรือพนมพระ นิยมทำเป็นตัวนาค  และภายในเรือยังมีพระสงฆ์นั่งมาด้วย  โดยพิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้ามืด  มีการจัดทำสลากและนิมนต์พระวัดต่างๆ มาชักผ้าป่าที่หน้าบ้านที่ได้ระบุสลากไว้  หลังจากถวายพุ่มผ้าป่าแล้ว พระผู้ใหญ่ที่ได้รับการเคารพนับถือ จะทำพิธีชักพระด้วยการจับปลายเชือกที่อยู่หัวเรือ  จากนั้นก็จะปล่อยให้เรือของชาวบ้านเข้าลากจูง  ด้วยเชื่อว่าจะได้บุญมาก  เรือจะถูกชักลากไปช้าๆ ตลอดเส้นทาง  พร้อมกับการตีกลองประโคม  เพื่อให้ชาวบ้านรู้ว่าเรือพนมพระกำลังผ่านมา  ชาวบ้านสองฝั่งแม่น้ำ จะออกมาตักบาตร เรียกว่า “ตักบาตรเทโว
เมื่อเรือจอดยังที่ที่กำหนดไว้แล้ว  จะมีการอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนโรงพิธีสงฆ์  เพื่อทำการสมโภชในวันถัดไป  และวันสุดท้ายจะทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นเรือกลับสู่วัด  หลังจากเสร็จพิธีทางศาสนาแล้วก็มีงานรื่นเริงของชาวบ้าน คือ “การแข่งเรือยาว
ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก  thaigoodview.com

ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ไอเดียกระทงสวยๆ

สวัสดีครับผม นายไข่ดาว หมูกรอบ
ปี 2555 ปีนี้เพื่อนๆหาคู่ไปลอยกระทงหรือยังครับ? ฮันแน่!! ถ้ายังไม่มียืมตัวผมไปก็ได้นะ... เข้าเรื่องเลยดีกว่าเนอะ....

วันนี้ผมได้เข้า Google แล้วเจอไอเดียกระทงสวยๆมากมายแต่ผมเลือกมาแค่ 4 อันพอ
ปีนี้เพื่อนๆได้ทำกระทงเตรียมกันไว้หรือยัง? หากยังลองดูแบบที่ผมมาเสมอให้เพื่อนๆดูนะครับ
และทั้งยังสามารถสร้างรายได้เสริมอีกด้วยนะ ! 

วิดีโอวิธีทำกระทง







ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทยเลี้ยงผี


ประเพณีไทย

ประเพณีเลี้ยงผี เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวเมืองลำปาง โดยจะจัดให้มีขึ้นระหว่างเดือน 6 เหนือ (ตรงกับเดือน 4 ของไทยภาคกลาง)จนถึงเดือน 8 ของทุก ๆ ปี เพื่อทำพิธีเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ไปแล้ว 
ประเพณีไทยเลี้ยงผี
ประเพณีไทยเลี้ยงผี 
เมื่อถึงวันทำพิธี ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวและญาติมิตรก็จะนำเครื่องอุปโภคบริโภค เช่น ดอกไม้ ธูปเทียน หมู เป็ด ไก่ ขนมและอาหารอื่น ๆ ไปถวายผีบรรพบุรุษของตน โดยจะทำพิธีแยกออกเป็น 2 แบบ คือการเลีย้งผีผู้ที่ตายไปแล้ว โดยการฟ้อนรำอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "ผีมด" และ"ผีเม้ง" ผีมด คือ การทำพิธีที่ผู้จัดต้องสร้างประรำขึ้น ที่หลังคาประจำจะมีข้าวพองผูกติดไว้เพื่อสำหรับผีเข้าคนทรางยิงด้วยธนู ผีเม้ง คือ การทำพิธีที่ผู้จัดจะสร้างประรำแบบกระโจม และมีเชือกมัดแขวนไว้ตรงกลางประรำ สำหรับให้ผู้ที่จะมาฟ้อนรำถวายจับเชือกนั้น 

ในการฟ้อนรำถวายผีแบบผีเม้งนี้ ผู้ที่จะเข้าฟ้อนรำถวายต้องแต่งตัวตามโบราณ คือ นุ่งโสร่งกระโจมอก พันศรีษะด้วยผ้าสีต่าง ๆ และบ้างก็ทัดดอกไม้ที่หู

ข้อมูลนี้อ้างอิง ປະເພນີປະເທດໄທ.blogspot.com ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

การดูแลรักษา ประเพณีไทย ให้อยู่กับเรานานๆจนลูกหลาน

สวัสดีครับตอนนี้ก็ เวลาก็ 3.33 เลขสวย จึงหาบทความนี้มาเผยแผร่ให้คนไทยได้สืบทอด ประเพณีไทย อยู่กับเรานานๆ

วัฒนธรรม  หมายถึง  สิ่งที่คนไทยกำหนดสร้างขึ้น มีการเรียนรู้สืบต่อกันมามีลักษณะที่แสดงออกถึงความงอกงาม  ความเป็นระเบียบร้อย  ความกลมเกลียว  ตลอดจนการมีศีลธรรมอันดีของสมาชิกไทย  เช่น  การใช้ภาษาไทย  การรู้จักเคารพผู้อาวุโส การไหว้ ศิลปกรรม  แบบไทย  อาหารไทย รวมทั้งการแต่งกายที่สุภาพเรียบร้อย ถูกต้องตามกาลเทศะเหมาะสมตาฐานะและวัย

วัฒนธรรมมีความสำคัญต่อคนไทยและสังคมไทยหลายประการ  ดังนี้
1.  เป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญและเชิดชูเกียรติของบุคคลและประเทศชาติ
2.  เป็นเครื่องที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะประจำชาติและดำรงความเป็นชาติไทย
3.  เป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข
4.  เป็นเครื่องช่วยให้คนไทยภูมิใจในชาติไทย
5.  เป็นเครื่องช่วยในการสร้างสัมพันธ์กับนานาชาติ  โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมของกันและกันและนำมาปรับใช้กับสังคมไทย

ลักษณะของวัฒนธรรมไทย
1. วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม   นับตั้งแต่อดีตคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าว ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทย  เช่น  พิธีแรกนาขวัญ   พิธีสู่ขวัญข้าว เป็นต้น

2. วัฒนธรรมไทยมีแบบแผนทางพิธีกรรม  มีขั้นตอน  รวมถึงองค์ประกอบในพิธีหลายอย่าง เช่นการทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำศพ  พิธีมงคลสมรส เป็นต้น

3. วัฒนธรรมไทยเป็นความคิด  ความเชื่อ  และหลักการ    ที่เป็นองค์ความรู้ซึ่งเกิดจากการสั่งสมและสืบทอดกันมา   เช่นความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์  และศาสนา  ค่านิยมการรักนวลสงวนตัวของสตรี เป็นต้น

4. วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน นอกจากคนไทยจะมีวัฒนธรรมเป็นของตนแล้ว ยังมีการรับวัฒนธรรมของชาติอื่นมาด้วย  เช่น  การไหว้ จากอินเดีย  การปลูกบ้านโดย   ใช้คอนกรีต จากวัฒนธรรมตะวันตก   หรือการทำสวนยกร่อง  จากวัฒนธรรมจีนเป็นต้น

5. วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ  ไม่ว่าจะเป็น   การดำเนินชีวิต บรรทัดฐานทางสังคม  ศิลปกรรม  วรรณกรรม  พิธีกรรม ตลอดจนประเพณีต่างๆ
   เช่น การตักบาตรเทโว  ประเพณีการตักบาตรเทโว  ประเพณีทอดกฐิน  ประเพณีถวายสลากภัต เป็นต้น  จนอาจกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญต่อลักษณะทาง   วัฒนธรรมไทย
การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

การอนุรักษ์วัฒธรรมไทยนั้น  ต้องอาศัยความร่วมมือกันของคนไทยทุกคนมีวิธีการ ดังนี้
1.  ศึกษา  ค้นคว้า  และการวิจัยวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งที่มีการรวบรวมไว้แล้วและยังไม่ได้ศึกษา  เพื่อทราบความหมาย และความสำคัญของวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นมรดกของไทยอย่างถ่องแท้   ซึ่งความรู้ดังกล่าวถือเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิต  เพื่อให้เห็นคุณค่า  ทำให้เกิดการยอมรับ  และนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ต่อไป

2.  ส่งเสริมให้ทุกคนเห็นคุณค่า  ร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยนและตอบสนองกระแสวัฒนธรรมอื่นๆ อย่างเหมาะสม

3. รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชน ตระหนักในความสำคัญ ของวัฒนธรรมว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้การรับผิดชอบร่วมกันในการส่งเสริมสนับสนุน  ประสานงานการบริการความรู้  วิชาการ และทุนทรัพย์สำหรับจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม

4.  ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยการใช้ศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน

5. สร้างทัศนคติ  ความรู้  และความเข้าใจว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง  ฟื้นฟู  และการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของชาติ   และมีผลโดยตรงของความเป็นอยู่ของทุกคน

6.  จัดทำระบบเครื่อข่ายสารสนเทศทางด้านวัฒนธรรมเพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานเพื่อให้ประชาชนเข้าใจ  สามารถเลือกสรร  ตัดสินใจ และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตทั้งนี้สื่อมวลชนควรมีบทบาทในการส่งเสริม และสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

ประเพณีไทยทรงดำ ประเพณีที่คนไทยแทบจะไม่รู้จัก

นายสมจิต จริยะประเสริฐสิน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนางตะเคียน อ.เมืองฯ จ.สมุทรสงคราม กล่าวว่า อบต.นางตะเคียน ร่วมกับ อบจ.สมุทรสงคราม จัดงานฟื้นฟูประเพณีไทยทรงดำ ครั้งที่ 10 ที่วัดธรรมาวุธาราม หรือวัดบังปืน หมู่ 6 ต.นางตะเคียน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมชาวไทยทรงดำให้เป็นอมตะสืบทอดเป็นมรดกไปชั่วลูกชั่วหลาน

    โดยจะจัดงานในวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 ตรงกับวันแรงงานแห่งชาติ ที่ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่หยุดงาน จึงขอเชิญชวนชาวไทยจะเชื้อสายไทยทรงดำหรือไม่ก็ตามมาร่วมงานในวันดังกล่าว

    พระมหาจรูญ ฐานจาโร เจ้าอาวาสวัดธรรมวุธาราม หรือวัดบังปืน กล่าวว่า ทางวัดจัดงานนี้มา 10 ปีแล้ว ในวันที่ 1 พ.ค.ของทุกปี ไม่มีเลื่อนขึ้นหรือเลื่อนลงแม้จะไม่ตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ก็ตาม ประกอบกับวันที่ 1 พ.ค.เป็นวันแรงงาน ผู้ใช้แรงงานได้หยุดเป็นพิเศษ ได้เงินและได้บุญอีกด้วย

    ส่วนที่มาของของชาวไทยทรงดำใน จ.สมุทรสงครามนั้น จากการค้นคว้าพบว่าเป็นคนเชื้อสายลาวจากเวียงจันทน์ที่เรียกกันว่าลาวโซ่ง อพยพมาในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย ตามขอบเขตชายแดนติดกับไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น นครพนม และมุกดาหาร เป็นต้น สาเหตุก็น่าจะเกี่ยวกับการหนีภัยสงคราม
    พระมหาจรูญกล่าวว่า ชาวลาวโซ่งหรือไทยทรงดำกลุ่มนี้เมื่ออพยพมาแล้ว ก็มีการสัญญากันว่าปีหนึ่งเราจะนัดพบกันครั้งหนึ่ง โดยเลือกเอา จ.อุบลราชธานี เป็นศูนย์กลาง ตั้งชื่อว่าเป็นวันชุมนุมชาวไทยทรงดำ แต่มีปัญหาเกิดขึ้น เพราะชาวไทยทรงดำกระจายอยู่ทั่วประเทศ จึงเห็นพ้องกันว่าให้สวมชุดดำเป็นสัญลักษณ์ ถ้าเป็นหญิงก็ให้ใช้ผ้าสีเหลือง สีแดง สีชมพู สีฟ้า สีเขียว สีน้ำเงินและสีขาว เป็นสะไบพาดไหล่ ถ้าเป็นผู้ชายให้ใช้ผ้าสีคาดเอว สีใครสีมัน เพื่อเป็นข้อสังเกตว่าเป็นชาวไทยทรงดำของจังหวัดไหนและจากต้นตระกูลอะไร

    นอกจากแต่งชุดดำมาพบกันแล้ว ชาวไทยทรงดำยังร่วมกันประกอบกิจกรรมในงานคือรำวงร่วมกัน บางแห่งมีการนำดนตรี เช่น แคน แตรวง กลองยาว กลองชุด หรือดนตรีสตริงมาร่วมด้วย ตั้งแต่นั้นมาก็มีการจัดงานชุมนุมชาวไทยทรงดำทุกปีตามหัวเมืองต่างๆ สลับกันไป โดยไม่ตรงกัน อย่างวันที่ 1 พ.ค.จัดที่วัดบังปืน พอวันที่ 20 พ.ค.ก็จัดที่ จ.อุบลราชธานี ซึ่งต่างก็ผลัดกันมาร่วมงาน เวลาจะกลับก็แยกย้ายกันไปโดยมีไม่มีบอกลา โดยถือว่าพบกันแล้วอย่าลา เพื่อวันหน้าจะมาพบกันใหม่

    สำหรับชาวไทยทรงดำที่อพยพมาอยู่ใน จ.สมุทรสงครามมี 50 กว่าครอบครัว ประมาณ 1,500-2,000 คน อยู่ที่หมู่บ้านดอนสามและบ้านดอนมะโนรา อ.บางคนที ในงานชุมนุมจะมากันพร้อมหน้าแบบยกครัวเรือน ขณะที่ชาวไทยทรงดำจากจังหวัดอื่น เช่น เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี และนครปฐม ไปจนถึง จ.อุดรธานี ขอนแก่น พิษณุโลก ก็พากันมาร่วมงานด้วย รวมแล้วจะมีจำนวนคนนับหมื่น

    นายพิสิฐ เสือสมิง นายก อบจ.สมุทรสงคราม กล่าวว่า ยินดีให้ความร่วมมือกับชาวนางตะเคียน ชาวดอนมะโนรา และชาวไทยทรงดำทุกภาคที่มาร่วมงานชุมนุมที่วัดบังปืน เพื่อร่วมอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามเอาไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ อย่างน้อยก็จะได้รู้ว่า จ.สมุทรสงครามซึ่งเป็นจังหวัดเล็กๆ ก็ยังมีชาวไทยทรงดำหรือลาวโซ่งอยู่ร่วมกันด้วย และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นเพื่อนร่วมชาติอีกชนเผ่าหนึ่ง ซึ่งเขาคงรักประเทศไทยเหมือนกับที่คนไทยรัก.
ที่มา http://www.thaipost.net/x-cite/300412/56098
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

วันสงกรานต์ 2556 ประเพณีวันสงกรานต์ และข้อมูลความเป็นมา



พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน



ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาล เป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก"


ความหมายวันมหาสงกรานต์ของแต่ละวัน
    ถ้าปีใดวันมหาสงกรานต์เป็นวันอาทิตย์ ปีนั้นไร่นาเรือกสวน เผือกมัน มิสู้แพงแล วันจันทร์เป็นวันมหา สงกรานต์ จะแพ้เสนาบดี ท้าวพระยาและนางพระยาทั้งหลาย
 วันอังคารและวันเสาร์ เป็นวันมหาสงกรานต์  จะเกิดอันตรายกลางเมือง จะเกิดเพลิงและโจรผู้ร้าย และจะเจ็บ ไข้นักแล วันพุธ เป็นวันมหาสงกรานต์ ว่าท้าวพระยาจะได้เครื่องบรรณาการมาแต่ต่างเมือง แต่จะแพ้ลูกอ่อนนักแล
 วันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ จะแพ้ข้าไท พระสงฆ์ราชาคณะจะได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจกันแล
 วันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ ข้าวน้ำ ลูกหมากรากไม้ทั้งหลายจะอุดม แต่จะแพ้เด็ก ฝนและพายุชุม จะเจ็บตากันมากนักแล 

ความสำคัญของวันสงกรานต์ 
        พิธีสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติ มาแต่โบราณช่วงวัน สงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสนา แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อส่วนนั้นไปและ ในความเชื่อดั้งเดิมที่ใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น และขอพรจาก บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย รวมทั้งแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ การสร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน ได้แก่ การร่วมกันทำบุญให้ทาน การก่อพระเจดีย์ทรายและเป็น การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การเล่นสาดน้ำเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงร่วมกัน นอกจากนี้ ยังสร้างความรู้สึกผูก พันกลมเกลียวต่อบุคคลในสังคมเดียวกัน และสร้างความรู้สึกหวงแหนในสาธารณสมบัติของสังคม และสิ่งแวดล้อมโดยการช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม ตลอดจนอาคารสถานที่สถานที่ต่างๆ

เรียบเรียงย่อโดย ที่นี่ประเพณีไทย
อ้างอิ้งจาก www.dmc.tv
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}

พิธีการงานแต่งแบบประเพณีไทย



ขั้นตอนพิธีแต่งงานแบบไทยแต่งงานแบบไทย

           หลายคนเคยได้ยินแต่ขบวนขันหมากแต่ง แต่ไม่รู้ว่ามีขันหมาก สำหรับพิธีหมั้นด้วย
ซึ่งพิธี ก็เหมือนเป็นการประกาศว่า ผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ
ขบวนขันหมากหมั้น จะมีขันใส่หมาก และขันใส่ของหมั้น

          ขันใส่หมาก  จะมีหมากดิบ 8 ผล พลู 4 เรียง (เรียงละ 8 ใบ) หรืออาจใช้
มากกว่านี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ขอแค่ให้เป็นจำนวนเลขคู่

          ขันใส่ของหมั้น ซึ่งในสมัยก่อน มักจะเป็นทองรูปพรรณ เครื่องเพชรพลอย สร้อยต่างหูกำไล
หรือแหวนทองมรดก จากบรรพบุรุษ ห่อไว้ด้วยผ้าหรือกระดาษสีแดง ให้เรียบร้อย สวยงาม ก่อนบรรจุ
ลงในขัน สมัยนี้เปิด ผ้าแดงออกมามีแต่ธนบัตรล้วนๆ หลายปึกเรียงซ้อนกัน ก็นับว่าเข้าทีเหมือนกัน

          ขันประกอบ มีการเพิ่มขันที่สามเข้าไปเพื่อเป็นขันประกอบโดยบรรจุใบเงินใบทอง ถุงเล็ก
ถุงน้อยที่ใส่ข้าวเปลือก ข้าวตอก ถั่วเขียว และงา (เป็นจำนวนคู่) ซึ่งจัดไว้เพื่อเอาความหมาย
เกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองและความงอกงามในวันข้างหน้า ส่วนขันใส่หมาก ขันใส่ของหมั้น
ขันใส่ข้าวเปลือก ถั่วงา และใบเงินใบทอง ทั้งหมดจัดแต่งอย่างประณีต อาจมีการเย็บใบตองจับจีบ
ประดับด้วยมาลัย ดอกรักและบานไม่รู้โรยแล้วคลุมด้วยผ้าอย่างดีให้เรียบร้อยสวยงาม
ประเพณีแต่งงาน


พิธีแต่งงานไทย2

             เมื่อผู้ใหญ่ทางฝ่ายชายให้คนยกเครื่องขันหมากหมั้นลงจัดวางเรียบร้อยแล้ว จึงเจรจากับผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิง แจกแจงว่า

ของที่นำ มาหมั้นมีอะไรบ้าง พอให้ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเปิดดูข้าวของว่าถูกต้องครบถ้วนแล้ว ค่อยให้คนของฝ่ายตัวเองยกของทั้งหมด
เข้าไปเก็บ ตามตัวเจ้าสาวออกมารับหมั้น หลังจากนั้นจึงส่งภาชนะถาดขันทั้งหลายเหล่านั้นออกมาคืน ซึ่งส่วนใหญ่ครอบครัวฝ่ายหญิง
มักเตรียม ของขวัญเล็กน้อยมีมูลค่า ต่างกันไปตามสถานะผู้รับไว้ให้ขบวนของฝ่ายชายครบทุกคนด้วย นอกจากนี้ในสมัยก่อน
บ้านฝ่ายหญิงอาจ ต้องเตรียมพานใส่หมากพลูไว้ต้อนรับผู้ใหญ่ฝ่ายชายด้วย แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีใครกินหมาก ก็จะละไว้ไม่ต้องจัดเตรียม
เรื่องของพิธีหมั้น มีบางกรณีที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน ว่าจัดรวบเสียวันเดียวกับงานแต่งก็ได้ โดยยกขบวนทั้งของหมั้นของแต่ง
ในคราวเดียวเพื่อ ความสะดวก สำหรับกรณีที่ไม่เคร่งครัดจะไม่มีหมากพลูของหมั้นขันถาดอะไรเลย แค่ล้วงหยิบกล่องใส่แหวน
ออกมาจากกระเป๋า เสื้อเท่านั้นก็ย่อมได้ ถ้าทำความเข้าใจกันไว้แล้วอย่างดีแล้วค่อยไปให้ความสำคัญกับรายละเอียด
ของงานแต่งเพียงอย่างเดียวก็พอ

พิธีแต่งงานไทย3


           ขันหมากงานแต่งก็คล้ายกันกับขันหมากหมั้น เพียงแต่มีเครื่องประกอบเยอะกว่า มีการจัดหมวดหมู่ต่างออกไป คือต้องจัดแยก

เป็นขันหมากเอก และขันหมากโท ซึ่งฝ่ายเจ้าบ่าวจะทำหน้าที่ยกไป เพื่อมอบใหเกับครอบครัวของฝ่ายเจ้าสาว ขันหมากเอก
ประกอบด้วยขันหมากบรรจุหมากพลู หรืออาจจัดแยกเป็นหมากหนึ่งขันและพลูอีกหนึ่งขันก็ได้ จากนั้นต้องมีขันเงินสินสอดตามจำนวน
ที่ได้ตกลงกันไว้ โดยบางตำราระบุว่า ควรจะต้องมีถุงเล็ก ถุงน้อยใส่ถั่วงา ข้าวเปลือก ข้าวตอกใสามาในขันนี้ด้วย แต่ธรรมเนียมบางแห่ง
จัดแยกกัน คือจัดเงินสินสอดใส่ห่อผ้าลงในขันหนึ่ง แล้วจัดถุงข้าวและถั่วงาลงขันอีกใบหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะอย่างไรสิ่งสำคัญคือ ต้องตกแต่ง
ให้เรียบร้อยสวยงาม เช่นประดับ มาลัยดอกรักบาน ไม่รู้โรย ใบตองประดิษฐ์ และมีผ้าคลุมไว้ทุกขันเพื่อความเหมาะสม และต้องจัดให้
ขันบรรจุหมากพลูมีขนาดใหญ่กว่าขันอื่นๆ ด้วย นอกจากนี้ ขันหมากเอกประกอบด้วยพานผ้าไหว้และเตียบเครื่องคาวหวาน จัดไว้เป็น
จำนวนเลขคู่ตามเคย พานไหว้ ได้แก่ พานใส่ผ้าสำหรับไหว้ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง โดยมากจัด 3 สำรับ สำรับแรกเป็นผ้าขาวสำหรับนุ่ง 1 ผืน
และห่ม 1 ผืน เทียนและธูปหอม ดอกไม้อีกกระทง อันนี้สำหรับเซ่นไหว้ผีปู่ย่าตายาย ส่วนอีก 2 สำรับใช้ไหว้พ่อและแม่เจ้าสาว
ไม่ต้องมีธูปเทียนและดอกไม้ กรณีที่ปู่ย่าตายายยังมีชีวิตอยู่ ก็ไม่ต้องจัดพานผ้าไหว้เซ่นบรรพบุรุษ หรือผ้าไหว้สำหรับพ่อตาแม่ยาย
แทนที่จะใช้ผ้าเป็นผืนอาจเปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าที่ท่านจะนำไปใช้งานได้จริง เตียบ คือภาชนะชนิดหนึ่งสำหรับใส่เครื่องของกิน
เป็นตะลุ่มที่มีปากผายออกและมีฝาครอบ เตียบเครื่องคาวหวานในเครื่องขันหมากเอก มีไว้เพื่อเซ่นไหว้ผีปู่ย่าตายายหรือผีบ้านผีเรือน
ของบ้านเจ้าสาว โดยให้จัดไว้ 4 เตียบ เตียบแรกจะใส่เหล้า 1 ขวด เตียบสองไก่ย่าง 1 ตัว เตียบสามใส่ขนมจีนน้ำยาและห่อหมกปลา
เตียบสี่เป็นมะพร้าวอ่อน ส้ม กล้วย รวมกับขนมหวานชนิดอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ ด้วยแต่ละท้องถิ่นมีธรรมเนียมนิยม
เรื่องอาหารต่างกันออกไปอยู่แล้ว ขอเพียงให้มีเหล้า 1 เตียบ และผลไม้ของหวาน 1 เตียบ ก็เป็นอันใช้ได้ ส่วนตัวเตียบนั้นอาจ
ดัดแปลงเปลี่ยนเป็นพานหรือถาดก็ไใช้ได้เช่นกัน แต่ขอให้เตรียมผ้าสวยๆ ไว้คลุมปิดให้เรียบร้อยเป็นพอ (ในบางงานตัดการจัดเตียบ
ออกไปเลยเพราะปู่ย่าตายายก็ยังอยู่กันครบแถมไม่ได้จัดงานที่บ้านจึงไม่ ต้องเซ่นไหว้ผีบ้านผีเรือน) ขันหมากโท เป็นเครื่องของประเภท
ขนมและผลไม้ บรรจุมาในขันหรือภาชนะอื่น เช่นถาดหรือ พาน ชนิดของขนมและผลไม้ไม่จำกัด ต่ส่วนมากมักใช้ชนิดที่นิยมในงานมงคล
มีกล้วย ส้ม มะพร้าวอ่อน ขนมชั้น ฝอยทอง ข้าเหนียวแก้ว กะลาแม จัดเป็นคู่ทั้งจำนวนชิ้นขนม จำนวนภาชนะที่บรรจุ แล้วปักธงกระดาษ
สีแดงตกแต่งไว้ตรงกลางทุกขันหรือทุกถาด

พิธีแต่งงานไทย


พิธีแต่งงานไทย4


          ลำดับขั้นก่อนหลังการจัดขบวนนั้น ต้องเริ่มต้นด้วยเถ้าแก่ของฝ่ายเจ้าบ่าว ตามมาด้วยคนยกขันหมากเอก ซึ่งต้องเรียงตามลำดับ

คือ คนยกขันหมากพลู ขันเงินสินสอด ขันผ้าไหว้ และเตียบ หลังจากนั้นถึงต่อท้ายด้วยคนยักขันหมากโทอีกที ที่เห็นกันบ่อยๆ จนแทบ
จะกลายเป็นสัญลักษณ์ของขบวนขันหมาก คือวงกลองยาวที่ตีฆ้องร้องรำนำหน้าขบวนกันมา สิ่งที่ช่วยสร้างสีสันอีกอย่าง ได้แก่
การตกแต่งหน้าขบวน ซึ่งนิยมใช้ต้นอ้อย 1 คู่ ถือเป็นการเอาเคล็ดเรื่องความหวาน ในบางท้องถิ่นใช้ต้นกล้วย 1 คู่แทน หมายถึง
การมีลูกหลานมากมาย และที่ใช้ทั้งกล้วยทั้งอ้อยก็เหฌนกันอยู่บ่อยๆ ส่วนวงกลองยาวและต้นกล้วยต้นอ้อย หากสถานการณ์ ไม่อำนวย
ไม่ต้องมีก็ได้ เพราะไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญ แต่โดยส่วนมากก็มักจะอยากให้มีประกอบอยุ่ในขบวนด้วยเพื่อความสนุกสนานเฮฮา
ของทั้งเจ้าภาพและของแขกที่มาร่วมงาน ส่วนใหญ่แล้วผู้ทำหน้าที่ยกข้าวของเครื่อง ขันหมากเอกมักใช้ผู้หญิง ส่วนขันหมากโท
จะเป็นชายหรือหญิงทำหน้าที่ยกก็ได้

ประเพณีการแต่งงาน


พิธีแต่งงานไทย5


           เป็นอีกเรื่องที่แรกเริ่มเดิมทีเป็นไปเพื่อความสนุก แต่ภายหลังแทบจะเป็นองค์ประกอบหลักของงานแต่งงานไปทีเดียว

การกั้นประตู คือการขวางทางขบวนขันหมากฝ่ายเจ้าบ่าวไว้เมื่อเคลื่อนเข้ามาในเขตบ้านเจ้าสาว โดยใช้คนสองคนถือสิ่งของที่มีลักษณะ
ยาวออกกางกั้นไว้ หากไม่มอบของกำนัลให้ ก็จะไม่ยอมให้ผ่านเข้าไปได้ การกั้นประตูจะต้องทำโดยญาติพี่น้องหรือลูกหลาน
ในครอบครัวเจ้าสาว ส่วนใหญ่มักทำกัน 3 ครั้ง ครั้งแรกใช้ผ้ากางกั้นไว้ เรียกว่าประตูชัย ประตูที่สองใช้ผืนแพร เรียกว่า ประตูเงิน
สุดท้ายกั้นด้วยสายสร้อยทอง เรียกว่า ประตูทอง
 ในแต่ละประตู เถ้าแก่ ของเจ้าบ่าวจะต้องเจรจาเพื่อมอบของขวัญ

(ส่วนมากนิยมใช้ซองใส่เงิน) ก่อนจะผ่านประตูไปได้ ซึ่งมูลค่าของขวัญมักจะต้องสูงขึ้นตามลำดับด้วย




           เมื่อขบวนขันหมากผ่านเข้ามาจนถึงตัวบ้านแล้ว ฝ่ายเจ้าสาวต้องส่งเด็กผู้หญิงถือพานบรรจุหมากพลูออกมาต้อนรับเถ้า

แก่ฝ่ายเจ้าบ่าว เพื่อเป็นการรับขันหมากและเชิญให้เข้าสไปข้างใน เมื่อผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวออกมาต้อนรับพูดคุย และรับรู้เครื่องของ
ในขบวนแล้ว ก็รับข้าวของเหล่านั้นไว้ และทำการเปิดเตียบ (ในกรณีที่มีเตียบในขบวน) เพื่อจุดธุปเซ่นไหว้ต่อไป รายละเอียด
ขั้นตอนต่างๆ แต่ละท้องถิ่นก็ต่างกันไป ถ้าจะว่ากันโดยสรุปแล้ว เมื่อผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวนับสินสอดครบถ้วนแล้ว ก็ต่อด้วยการให้เจ้าสาว
กราบผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย แล้วจัดการเลี้ยงอาหารแขกที่มาร่วมงาน ซึ่งการเตรียมอาหารเป็นหน้าที่ของฝ่ายเจ้าสาว จากนั้นแจก
ของขวัญหรือซองเงินให้คนยกขันหมากมาในขบวน (รวมทั้งให้ตัวเถ้าแก่ฝ่ายชายด้วย)



           ขั้นตอนการหลั่งน้ำสังข์ให้มีในวันยกขบวนขันหมาก หรือจัดแยกวันไว้ในภายหลังก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวก หรือ ฤกษ์ยาม

โดยเมื่อถึงเวลาที่กำหนด เพื่อนเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าสาวจะพาคนทั้งสองมานั่งบนแท่นสำหรับหลั่งน้ำ แล้วเชิญประธานในพิธีจุดธูปเทียน
จากนั้นสวมมงคลแฝดบนศรีษะเจ้าบ่าวเจ้าสาว แล้วโยงสายสิญจน์ไปยังหม้อน้ำมนต์เจิมหน้าผากด้วย แป้งเจิม แล้วเริ่มหลั่งน้ำสังข์
ให้กับคู่บ่าวสาว อาจมีบางแห่งที่ปฏิบัติต่างกันไปบ้าง คือ ให้บ่าวสาวเป็นผู้จุดธูปเทียนบูชาพระแทน การรดน้ำสังข์นั้น จะรดเจ้าบ่าว
หรือเจ้าสาวก่อนก็ได้ (แต่นิยมให้เจ้าบ่าวนั่งทางขวามือ)และจะรดบนศรีษะหรือบนมือที่มีพานดอกไม้รองรับอยู่ แต่เพื่อความเรียบร้อย
จึงเป็นที่รู้กันว่าการรดบนศรีษะนั้นสงวนไว้ให้สำหรับผู้ใหญ่ประธานในพิธีผู้รดเป็นคนแรก และให้ศีลให้พรไปด้วย จากนั้นก็เป็นผู้ใหญ่
ของทั้งสองฝ่าย ซึ่งจะให้พรไปพร้อมกับหลั่งน้ำ ส่วนคิวต่อๆ ไป มักเรียงลำดับตามอาวุโส ที่น่าสังเกตก็คือ ผู้หลั่งน้ำที่อายุรุ่นเดียวกัน
หรือยังไม่แต่งงานมักไม่นิยมให้พูดจาให้ศีลให้พรแก่คู่บ่าวสาว เมื่อเสร็จสิ้นพิธีการหลั่งน้ำสังข์แล้ว จะจัดให้มีงาน เลี้ยงฉลอง สนุกสนาน
กันอย่างไร สำหรับเรื่องงานเลี้ยงงานแต่งงาน สมัยนี้การที่ฝ่ายเจ้าสาวจะลุกขึ้นมาทำอาหารสำหรับ งานแต่งเห็นจะมีน้อยเต้มที เพราะ
ต้องใช้กำลังคนจำนวนมาก และสถานที่ในบ้านอาจไม่กว้างพอ ดังนั้น การจ้างบริษัทจัดเลี้ยงหรือร้านอาหารให้จัดการให้ จึงเป็นวิธีที่
เหมาะกว่า ซึ่งรายการอาหารในงานแต่ง ไม่มีกำหนดตายตัวอะไร แล้วแต่ความชอบในท้องถิ่นหรือในครอบครัว เพียงแค่หลีกเลี่ยงอาหาร
รสจัดเกินควรและอาหารชื่อไม่เป็นมงคล เช่น ต้มยำต่างๆ ปลาร้าปลาแดก ตีนไก่ หอยขม ที่นิยมกันมาก ได้แก่ ขนมจีน เพราะเป็นเส้น
ยาว ให้ความหมายถึงชีวิตคู่ที่ยืดยาวนาน ส่วนขนมหวานงานแต่งนั้น นอกจากขนมชื่อมงคลต่างๆ แล้วยังมีขนมโบราณคือ ขนมกง
ขนมชะมด และขนมสามเกลอที่มักใช้ในงานแต่งงานอยู่เสมอ ทั้งสามชนิดทำจากแป้งหรือถั่วบด ปั้นและทอดในน้ำมัน แต่ใ่ช้ส่วนผสม
และวิธีทำต่างๆ กันไป ซึ่งร้านขนมไทยบางแห่งอาจยังพอทำเป็นอยู่บ้าง



           เรื่องของการเข้าหอโดยหลักๆ ว่าด้วยพิธี 2 อย่าง นั้นคือ การปูที่นอน และการส่งตัว สมัยนี้มีหลายแห่งที่ถึงแม้จะจัด

งานแต่งงานตาม ธรรมเนียมไทย แต่ก็ลดขั้นตอนพิธีเข้าหอเพื่อถือเคล็ดว่า บ่าวสาวจะได้มีชีวิตคู่ที่ดีเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ที่เป็นแบบอย่าง
คู่นี้ เพราะบางทีแต่งไม่ได้ จัดกันที่บ้านของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่จัดในสถานที่จัดงานอื่นๆ ครั้นจะวิ่งวุ่นหนีแขกหรื่อจากงานเลี้ยงฉลอง
เพื่อกลับมาทำพิธีเข้าหอที่บ้านเจ้าสาว (หรือบ้านเจ้าบ่าว) ก็จะเป็นไปได้โดยลำบาก บางรายทีการปลูกเรือนหอเพื่อรอย้ายเข้าไปอยู่
หากยังตกแต่งไม่เสร็จ ็ไม่รู้จะจัดพิธีเข้าหออย่างไร หรือกรณีที่ส่วนมากจัดงานเลี้ยงฉลองกันในโรงแรม โดยเจ้าบ่าวสาวพักค้างคืน
เสียเลยในโรงแรมนั้น พิธีการต่างๆ เกี่ยวกับการเข้าหอก็อาจยุ่งยาก เกินกว่าจะเตรียมการได้อย่างครบถ้วน มีข้อสังเกตว่า ตามประเพณี
ีดั้งเดิมนั้น เขาไม่มีการส่งตัวเข้าหอกันในวันแต่งงานทว่าต้องรอฤกษ์ดี สำหรับ การนี้โดยเฉพาะในวันหลัง ซึ่งบางทีนั้นก็อาจจะ
นอนหลายวันนับจากวันแต่งงานไปอีกก็ได้

พิธีปูที่นอน 


           เป็นการจัดปูที่นอนในห้องหอคืนส่งตัว     เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของคู่บ่าวสาวต่อไปในอนาคตเดิมนั้นพ่อแม่ฝ่าย

เจ้าสาว จะเชิญผู้ใหญ่คู่สามีภรรยาซึ่งชีวิตครอบครัวมีความสุขสมบูรณ์ ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เคยทะเลาะหรือขัดแย้งกัน ต้องมีลูกแล้ว
และลูกเป็นคนดีด้วย เพื่อถือเคล็ดว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะได้มีชีวิตคู่ที่ดีเช่นเดียวกัน ผู้ใหญ่ที่ทำพิธีปูที่นอนนี้ต้องอาบน้ำให้สะอาด
แต่งตัวเรียบร้อยสวยงามดีก่อน แล้วจึงเข้ามาในห้องหอเพื่อจัดเรียงหมอน 2 ใบ แล้วปัดที่นอนพอเป็นพิธี ไม่จำเป็นต้องปูที่นอน
เองทั้งหมด จริงๆ ก็ได้ จากนั้นจัดวางข้าวของ ประกอบพิธีลงบนที่นอนอันได้แก่ หินบดยาหรือหินก้อนเส้าซึ่งใช้ก่อไฟในครัว
หมายถึงความหนักแน่น ฟักเขียว หมายถึงความอยู่เย็นเป็นสุขแมวคราว (แมวตัวผู้ที่อายุมากแล้ว) หมายถึงการอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน
พานใส่ถุงข้าเปลือก งา ถั่วทองหรือถั่วเขียว ซึ่งล้วนหมายถึง ความเจริญงอกงาม และขันใส่น้ำฝน เป็นความเย็น ความสดชื่นชุ่มฉ่ำ
หรือบางแห่งอาจเพิ่มถุงใส่เงินด้วยในระหว่างจัดวางของ จะให้ศิลให้พร ไปด้วย จากนั้นผู้ใหญ่ทั้งคู่ก็จะนอนลงบนที่นอนนั้น
ฝ่ายหญิงนอนทางซ้าย ฝ่ายชายนอนทางขวา แล้วกล่าวถ้อยคำที่เป็นมงคลต่าง ๆ แก่ชีวิตคู่

การส่งตัว 


           แต่ดั้งแต่เดิมมาผู้ใหญ่จะนำเจ้าสาวเข้ามาส่งตัวในห้องหอซึ่งเจ้าบ่าวเข้ามาคอยอยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่ว่าส่งทั้งเจ้าบ่าวเจ้าสาว

เข้ามาพร้อมๆ กันเหมือนสมัยนี้ การส่งตัวไม่มีอะไรซับซ้อน ส่วนสำคัญของพิธีอยู่ที่คู่ผู้ใหญ่ซึ่งทำพิธีปูที่นอนนั้นพาเจ้าบ่าว
เข้ามาในห้องหอ เจิมหน้าผากอวยพร จากนั้นค่อยนำเจ้าสาวเข้าห้องหอตามมา โดยเจ้าสาวต้องกราบพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่
ฝ่ายของตัวเอง เพื่อเป็นการขอพร เมื่อเจ้าสาวเข้ามา ในห้องหอแล้ว แม่เจ้าสาวต้องเป็นผู้พามามอบให้กับเจ้าบ่าว พร้อมพูดจาฝากฝัง
ให้ช่วยดูแล จากนั้นจะกล่าวให้โอวาทเกี่ยวกับการใช้ชีวิตคู่ ในขั้นตอนนี้ ธรรมเนียมบางท้องถิ่นจะให้พ่อแม่เจ้าสาวเป็นผู้กล่าว
บางแห่งก็ให้กล่าวทั้งพ่อแม่เจ้าสาวและเจ้าบ่าว หรือบางแห่งให้ผู้ใหญ่ คู่เดิมซึ่งทำพิธีปูที่นอนเป็นผู้กล่าวแทนพ่อแม่ไปเลยก็มี
ซึ่งพอให้โอวาทจบ ก็ถือเป็นอันเสร็จพิธี

ข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.centerwedding.com
ให้คะแนนกับบทความนี้:
{[['']]}